Breaking News
Home / env@msu.ac.th (page 35)

env@msu.ac.th

เกียรติบัตร ผู้ที่เข้าร่วมกิจกรรมอบรม EdPEx pdf ดาวน์โหลด

>>>เกียรติบัตร ผู้ที่เข้าร่วมกิจกรรมอบรม EdPEx pdf ดาวน์โหลด<<<   ภาพและข่าว : คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์/ชลทิตย์ สีเทา เผยแพร่โดย : ชลทิตย์ สีเทา ณ วันที่ : 8 กันยายน 2564

Read More »

เทศบาลตำบลนาเชือก เข้าพบคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์และคณะสาธารณสุขศาสตร์ เพื่อบูรณาการความร่วมมือสู่การพัฒนารูปแบบการจัดการขยะที่เหมาะสมกับพื้นที่

เมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2564 เวลา 15.00 น. ที่ผ่านมา คุณเพิ่มพล ไกรวงษ์  นายกเทศมนตรีตำบลนาเชือก              อ.นาเชือก จ.มหาสารคาม  พร้อมด้วยคณะทำงาน เดินทางเข้าพบปะ เพื่อหารือในประเด็นการจัดการขยะ ซึ่งกำลังเป็นปัญหาในพื้นที่ ร่วมกับ 2 หน่วยงาน คือ คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ และคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม โดยมีรองศาสตราจารย์ ดร. อดิศักดิ์ สิงห์สีโว คณบดีคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์  พร้อม ดร.ธายุกร พระบำรุง รองคณบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ  และรองศาสตราจารย์ ดร. สุมัทนา กลางคาร คณบดีคณะสาธารณสุขศาสตร์ พร้อมด้วยคณะผู้บริหารและผู้เกี่ยวข้อง ร่วมต้อนรับ หารือ และหาแนวทางร่วมกัน โดยผลจากการหารือนั้น ได้ระบุถึงความสำคัญของข้อมูลขยะในพื้นที่ ซึ่งจะเป็นข้อมูลพื้นฐานในการค้นหาวิธีการกำจัดขยะในพื้นที่ได้อย่างเหมาะสม เกิดประโยชน์ร่วมกัน และทุกภาคส่วนมีส่วนร่วม และควรดำเนินการไปร่วมกับมิติการพัฒนาพื้นที่ในด้านอื่น ๆ ซึ่งต้องพิจารณาร่วมกับข้อมูลการวิเคราะห์จุดอ่อน …

Read More »

คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ ฉีดพ่นเอลกอฮอล์ฆ่าเชื้อโรคเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อโรค COVID-19 เมื่อวันที่ 3 กันยายน 2564 เวลา 09.00-09.30 น.

เมื่อวันที่ 3 กันยายน 2564 เวลา 09.00-09.30 น.  ณ คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม (มมส)  เจ้าหน้าที่จากกองอาคารสถานที่ เข้าดำเนินการฉีดพ่นแอลกอฮอล์ น้ำยาฆ่าเชื้อ ภายในอาคารคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ โดยทำการฉีดพ่นตามบริเวณห้องสำนักงานคณะ ห้องคณบดี ห้องพักอาจารย์ ห้องประชุม และห้องน้ำ ตามมาตรการเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของเชื้อโรค COVID-19 และตามบริเวณพื้นที่เสี่ยงต่อการสะสมเชื้อไวรัส COVID-19  เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อโรคไวรัส COVID-19 และเพื่อความปลอดภัยของนักเรียน นิสิต อาจารย์ และบุคลากรของคณะฯ รวมทั้งบุคคลภายนอกที่เข้ามาติดต่อราชการ ภาพและข่าว : คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์/ธวนนท์  เนียมโงน เผยแพร่โดย : ชลทิตย์ สีเทา ณ วันที่ : 3 กัยยายน 2564

Read More »

ภาพและข่าว : ศูนย์วิจัยด้านสิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม จัดอบรมหลักสูตรระยะสั้น เรื่อง “การเขียนผลงานทางวิชาการสำหรับครูวิทยาศาสตร์”(แบบออนไลน์)

เมื่อวันอาทิตย์ ที่ 29 สิงหาคม 2564 ที่ผ่านมา ศูนย์วิจัยด้านสิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ได้จัดอบรมหลักสูตรระยะสั้น เรื่อง “การเขียนผลงานทางวิชาการสำหรับครูวิทยาศาสตร์”  ในรูปแบบออนไลน์ โดยมีวิทยากรที่มาบรรยายให้ความรู้จำนวน 4 ท่าน ได้แก่ (1)  รศ.ดร.อดิศักดิ์  สิงห์สีโว (2)  รศ.ดร.ประยูร  วงศ์จันทรา (3)  ผศ.ดร.จุไรรัตน์  คุรุโคตร (4)  มีคุณครูกล่อมจิต ดอนภิรมย์ ในกิจกรรรมดังกล่าวนี้ มีผู้สนใจเข้าร่วมอบรมในสายออนไลน์จำนวน  24 คน และใหผู้เข้าร่วมในห้องประชุม จำนวน 7 คน รวมทั้งสิ้น 31 คน โดยในกิจกรรมช่วงแรก รศ.ดร.อดิศักดิ์  สิงห์สีโว ประธานศูนย์วิจัยด้านสิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ กล่าวเปิดกิจกรรมการอบรมหลักสูตรระยะสั้น เรื่อง “การเขียนผลงานทางวิชาการสำหรับครูวิทยาศาสตร์”  พร้อมกล่าวต้อนรับและกล่าวทักทายผู้เข้าร่วมอบรม และในช่วงที่สองจึงเริ่มเข้าสู่การบรรยายให้ความรู้เกี่ยวกับการสร้างแรงบันดาลใจและแนวทางในการทำผลงานทางวิชาการ  …

Read More »

CMARE พัฒนาอินโฟกราฟฟิคระบบการจัดการขยะมูลฝอยเชิงบูรณาการ โดยเน้นการมีส่วนร่วม เพื่อให้โรงเรียนนำไปใช้ฟรี ๆ

CMARE พัฒนาสื่อการสร้างการเรียนรู้ สำหรับเยาวชนและเกษตรกร เพื่อช่วยให้เข้าใจทรัพยากรดิน

เครือข่ายนักวิจัยหน่วยปฏิบัติการวิจัยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การบรรเทา และการปรับตัว (CMARE) สังกัดคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ ได้รวบรวมข้อมูลและออกแบบแนวทางการจัดการขยะเชิงบูรณาการ โดยกระบวนการมีส่วนร่วม  สำหรับโรงเรียน ในรูปของอินโฟกราฟฟิค (ประกอบด้วย ประเภทของขยะ หน้าที่ของผู้ก่อให้เกิดขยะ แนวทางการจัดการขยะ ความมุ่งมั่นของโรงเรียนในแสดงในรูปนโยบายด้านการจัดการขยะ และมาตรการการลดขยะต้นทาง) ร่วมกับคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม โดยนายวรวุฒิ แสนตรง นิสิตคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เป็นผู้ออกแบบ โดยจัดทำให้อยู่ในรูป   2 ภาษา (ไทย-อังกฤษ) และได้ตรวจสอบภาษา โดย Miss Alice Padmini Albert คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ทั้งนี้ เป็นการถอดบทเรียนการให้บริการวิชาการ กรณีของโรงเรียนหัวเรือพิทยาคม อ.วาปีปทุม จ.มหาสารคาม ซึ่งเป็นโรงเรียนนำร่อง “โรงเรียนปลอดขยะและคาร์บอนต่ำ” และมีคณะกรรมการบริหารและจัดการขยะที่มาจากหลายส่วนงานและนโยบายการด้านจัดการขยะที่ชัดเจน ทั้งนี้หน่วยปฏิบัติการวิจัย CMARE จะขยายผลไปยังแนวทางระบบการจัดการขยะ สำหรับครัวเรือน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  พุทธศาสนา …

Read More »

CMARE พัฒนาสื่อการสร้างการเรียนรู้ สำหรับเยาวชนและเกษตรกร เพื่อช่วยให้เข้าใจทรัพยากรดิน ด้วยพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์

หน่วยปฏิบัติการวิจัยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การบรรเทา และการปรับตัว (CMARE) โดย ดร.ธายุกร    พระบำรุง ผู้อำนวยการหน่วยปฏิบัติการวิจัยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การบรรเทา และการปรับตัว (CMARE) สังกัดคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ได้รวบรวมองค์ความรู้ที่เผยแพร่โดยกรมพัฒนาที่ดิน รวมถึงงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น สู่การพัฒนาเป็นสื่อการสร้างการเรียนรู้  ชื่อ “นาฬิกาตรวจสอบคุณภาพดินเบื้องต้น หรือที่เด็กๆ เรียกว่า วงล้อตรวจดิน”  โดยมีอาจารย์เอกลักษณ์ แสงเดือนฉาย สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี เป็นผู้ออกแบบกราฟฟิก ภายใต้โครงการ “การจัดการองค์ความรู้ท้องถิ่นสำหรับเยาวชน สู่การปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอย่างยั่งยืน” ซึ่งเป็นโครงการปีที่ 1 ที่ได้รับการสนับสนุนงบประมาณ จากสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อสนับสนุนการพัฒนาความรู้และทักษะของเยาวชน ชุมชน และบุคคลทั่วไป ให้เกิดความเข้าใจในสถานภาพดิน โดยเฉพาะในท้องถิ่น  การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นเนื่องจากกิจกรรมที่มนุษย์และธรรมชาติสร้างขึ้น เกิดความตระหนักถึงคุณค่าของทรัพยากรดิน  และสามารถปรับปรุงดินโดยไม่ใช้สารเคมีให้มีความอุดมสมบูรณ์และเหมาะสมต่อการใช้ประโยชน์ที่ยั่งยืน และบรรลุตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals) ตลอดจนเพื่อน้อมรำลึกถึงพระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร …

Read More »

ประชาสัมพันธ์ : ขอเชิญบุคลากร คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เข้าร่วมกิจกรรม “อบรม EdPEx” ในระหว่างวันทืี่ 16,17 และ 24 สิงหาคม 2564 ด้วยระบบออนไลน์ Google Meet

ขอเชิญบุคลากร คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เข้าร่วมกิจกรรม “อบรม EdPEx” ในระหว่างวันทืี่ 16,17 และ 24 สิงหาคม 2564 ด้วยระบบออนไลน์ Google Meet ลิงค์เข้าร่วม : วันจันทร์, 16 สิงหาคม · 8:15am ถึง 4:30pm ลิงก์วิดีโอคอล: https://meet.google.com/ouk-ourr-vqs หรือโทร: ‪(US) +1 707-726-6438‬ PIN: ‪402 851 856‬# วันอังคาร, 17 สิงหาคม · 1:00 ถึง 3:00pm ลิงก์วิดีโอคอล: https://meet.google.com/tio-bwyz-mmg หรือโทร: ‪(US) +1 970-439-1212‬ PIN: ‪641 288 …

Read More »

ขอแสดงความยินดีกับผลงานคลิปสั้นสร้างการเรียนรู้ หัวข้อ “โลกร้อนและการปรับตัวในสไตล์อีสานอินดี้”

    เครือข่ายนักวิจัยหน่วยปฏิบัติการวิจัยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การบรรเทา และการปรับตัว (CMARE) สังกัดคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ ร่วมกับนักวิจัยจากคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ คณะการบัญชีและการจัดการ และคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม จัดกิจกรรมประกวดคลิปสั้นเพื่อสร้างการเรียนรู้  หัวข้อ “โลกร้อนและการปรับตัวในสไตล์อีสานอินดี้” ความยาวไม่เกิน 5 นาที  เพื่อชิงทุนการศึกษารวม 3,500 บาท พร้อมใบประกาศนียบัตร รวมถึงผลงานที่ได้รับความนิยม (ตัดสิน ณ วันที่ 10 สิงหาคม 2564) ภายใต้โครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและการพัฒนาท้องถิ่น โดยมีสถาบันอุดมศึกษาเป็นพี่เลี้ยง เครือข่ายเพื่อการพัฒนาอุดมศึกษา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ชื่อโครงการ “การพัฒนาระบบการจัดการข้อมูลดิจิทัล เพื่อสนับสนุนการจัดการเรียนการสอน แบบสหวิทยาการ สู่การปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ” สนับสนุนโดยสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (สป.อว) โดยเกณฑ์การประเมินผลงาน ประกอบด้วย ความสอดคล้องกับหัวข้อ ความเกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์ สังคม และภาษา …

Read More »

CMARE สร้างหลักสูตรท้องถิ่น เพื่อพร้อมปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการแพร่ระบาดของโควิด19 สู่การเป็นยุวผู้ประกอบการ

เครือข่ายหน่วยปฏิบัติการวิจัยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การบรรเทา และการปรับตัว (CMARE) ร่วมกับนักวิจัยจากคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ คณะการบัญชีและการจัดการ และคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ได้ดำเนินโครงการ “การพัฒนาระบบการจัดการข้อมูลดิจิทัล เพื่อสนับสนุนการจัดการเรียนการสอน แบบสหวิทยาการ สู่การปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ” ปี 2 ต่อเนื่องจากโครงการ “การจัดการองค์ความรู้ท้องถิ่นสำหรับเยาวชน สู่การปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอย่างยั่งยืน” ปี 1 ซึ่งมุ่งเน้นการยกระดับศักยภาพของครูและเยาวชนโรงเรียนโคกก่อพิทยาคม และโรงเรียนนาเชือกพิทยาสรรค์ โดยเน้นการมีส่วนร่วมของชุมชน ในการพัฒนาความรู้และความเข้าใจสถานะปัจจุบันด้านทรัพยากรธรรมชาติในท้องถิ่น ศิลปวัฒนธรรม วิถีชีวิต ประเพณี และการประกอบอาชีพ รวมถึงรับทราบการเปลี่ยนแปลงด้านสิ่งแวดล้อมที่ส่งผลต่อคุณภาพดินและน้ำ ที่เชื่อมโยงกับสภาพภูมิอากาศ  และสามารถสกัดคุณค่าของภูมิทรัพยากรธรรมชาติ  สู่การพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ชุมชนที่มีอัตลักษณ์เฉพาะถิ่นที่สามารถแข่งขันทางการตลาดได้ สอดรับกับการผลักดันสู่เศรษฐกิจโมเดลใหม่ (Bio-Circular-Green Economy หรือ BCG)  และสามารถวิเคราะห์ตลาดและทำแผนการตลาดได้   ร่วมกับการใช้ระบบการจัดการข้อมูลดิจิทัลที่พัฒนาขึ้น เพื่อเป็นเครื่องมือ ในพัฒนาศักยภาพของเยาวชน  สำหรับเตรียมพร้อมสู่การเป็นยุวผู้ประกอบการ รวมถึงการขยายผลการดำเนินการไปยังโรงเรียนในเครือข่ายที่สนใจ  โดยจะจัดให้มีกิจกรรมสะท้อนบทเรียนของโรงเรียนนำร่อง และการสาธิตการใช้ระบบข้อมูล ผ่่านการอบรมออนไลน์อีกครั้ง  เพื่อเปิดโอกาสให้ครูผู้สอนในโรงเรียนต่าง ๆ ที่อยู่ในตำบลโคกก่อและอำเภอนาเชือก ซึ่งรายละเอียดของคู่มือหลักสูตรท้องถิ่นครอบคลุมไว้แล้ว …

Read More »

มมส MOU ร่วมเป็นภาคีวิจัยบรรยากาศแห่งประเทศไทย (Thailand Consortium for Atmospheric Research; TCAR) ฉบับที่ 2

เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2564 ที่ผ่านมา ศาสตราจารย์ ดร. อนงค์ฤทธิ์  แข็งแรง รองอธิการบดีฝ่ายพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน วิจัย และนวัตกรรม ปฏิบัติหน้าที่แทนอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ได้ร่วมพิธีลงนามในบันทึกความเขัาใจภาคีความร่วมมือวิจัยบรรยากาศแห่งประเทศไทย ฉบับที่สอง ในรูปแบบออนไลน์ ระหว่างภาคีวิจัยฯ และกรมอุตุนิยมวิทยา ซึ่งเป็นหน่วยงานที่มีศักยภาพ มีความเชี่ยวชาญทางด้านการพยากรณ์อากาศ การรายงานปรากฏการณ์ธรรมชาติต่าง ๆ ทั้งยังมีความพร้อมด้านอุปกรณ์เครื่องมือและข้อมูลที่จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการดำเนินงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง หลังจากได้ลงนามจัดตั้งด้วยบันทึกความเข้าใจฉบับแรกเมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2563 มุ่งหมายเสริมศักยภาพการวางแผนร่วมกัน เพื่อบูรณาการกำลังคนและทรัพยากรทางการวิจัย  เตรียมเสนอแผนที่นำทางของการวิจัยที่เชื่อมโยงกับการศึกษาค้นคว้า หาสาเหตุที่มาของคุณภาพอากาศ และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เจาะลึกถึงต้นตอของปัญหา PM2.5 และภัยพิบัติทางธรรมชาติในประเทศไทย โดยสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร.) กระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม เป็นแกนนำระดมคณาจารย์ นักวิชาการ และผู้เชี่ยวชาญจาก 3 องค์การมหาชน 2 หน่วยงานรัฐ …

Read More »