Breaking News
Home / Uncategorized / คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ผนึกกำลังโรงเรียนโคกก่อพิทยาคม เสนอแนวทางเพื่อเป็นกลไกสร้างการรับรู้ท้องถิ่นเพื่อลดการเผา

คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ผนึกกำลังโรงเรียนโคกก่อพิทยาคม เสนอแนวทางเพื่อเป็นกลไกสร้างการรับรู้ท้องถิ่นเพื่อลดการเผา

วันที่ 17 พฤษภาคม ที่ผ่านมา คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม โดย ดร.ธายุกร พระบำรุง ผู้อำนวยการหน่วยปฏิบัติการวิจัยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การบรรเทา และการปรับตัว (CMARE) ร่วมกับโรงเรียนโคกก่อพิทยาคม  ได้จัดนิทรรศการ เพื่อสะท้อนบทเรียนและนำเสนอแนวในการพัฒนาองค์ความรู้ท้องถิ่นเพื่อลดการเผา ที่ต้องเข้าใจทั้งดิน น้ำ และป่าไม้  รวมถึงการสื่อสารข้อมูลที่ถูกต้อง โดยเฉพาะโอโซนผิวพื้น (Surface Ozone) เป็นมลพิษทางอากาศทุติยภูมิ ซึ่งการเผา เป็นแหล่งกำเนิดของสารตั้งต้น  ได้แก่ ไนโตรเจนไดออกไซด์ คาร์บอนมอนอกไซด์ และสารอินทรีย์ระเหยง่าย โดยชุมชน ยังมีความเข้าใจผิดและสื่อสารสาธารณะไม่ถูกต้อง  ในโครงการส่งเสริมการหยุดเผาในพื้นที่การเกษตรและโครงการสร้างมูลค่าเพิ่มจากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร สร้างเครือข่ายปลอดการเผา รณรงค์และสาธิตการเกี่ยวข้าว ไถกลับตอซัง งดการเผา  ภายใต้โครงการจังหวัดมหาสารคาม เกษตรปลอดการเผา  จัดโดยสำนักงานเกษตรจังหวัดมหาสารคาม ร่วมกับบริษัท สยามคูโบต้าคอร์ปอเรชั่น จำกัด และบริษัท คูโบต้ามหาสารคาม จำกัด ณ แปลงเกษตรสาธิต บริเวณอ่างเก็บน้ำโคกก่อ โดยมี นายเกียรติศักดิ์ ตรงศิริ ผู้ว่าราชการจังหวัดมหาสารคาม เป็นประธาน และมีหลายหน่วยงานภาครัฐเข้าร่วม อาทิเช่น  สถานีพัฒนาที่ดินมหาสารคาม และสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดมหาสารคาม โดยบทเรียนการนำเสนอผลงานจากความร่วมมือนั้น เป็นผลจากการดำเนินการร่วมกันในหลายโครงการ ทั้งคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์เป็นพี่เลี้ยงและโรงเรียนการดำเนินการเอง  ได้แก่ โครงการโครงการบูรณาการหนึ่งหลักสูตรหนึ่งชุมชน ปีงบประมาณ 2561 ต้นแบบชุมชนรักษ์สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ: ต้นน้ำห้วยคะคาง โดยหลักสูตรสาขาเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มมส.  การพัฒนาบัญชีการกักเก็บคาร์บอนในมวลชีวภาพของป่าชุมชนบ้านน้ำจั้น โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน (https://www.facebook.com/env4community)  สนับสนุนโดยคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์  และโครงการการจัดการองค์ความรู้ท้องถิ่นสำหรับเยาวชน สู่การปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอย่างยั่งยืน และการพัฒนาระบบการจัดการข้อมูลดิจิทัล เพื่อสนับสนุนการจัดการเรียนการสอน  แบบสหวิทยาการสู่การปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งสนับสนุนงบประมาณจากสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (สป.อว)และโครงการมหิงสาสายสืบ
ทั้งนี้ นักเรียน ได้นำเสนอการใช้นาฬิกาดินที่เป็นนวัตกรรมสร้างเรียนรู้อย่างง่าย เพื่อการพัฒนาความรู้และความเข้าใจเรื่องของสมบัติทางกายภาพและเคมีของดินเบื้องต้น ในการทำการเกษตรควบคู่กับการใช้ประโยชน์จากวัสดุเหลือใช้ทางเกษตร ซึ่งจะเป็นการลดการเผาอีกทางหนึ่ง    https://www.youtube.com/watch?v=VR3NkXmxvh0

ภาพและข่าว :  คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มมส /  ดร.ธายุกร พระบำรุง

เผยแพร่โดย : ชลทิตย์ สีเทา

ณ วันที่ : 6 มิถุนายน 2566

About env@msu.ac.th

Check Also

โครงการภาคสนามสิ่งแวดล้อม ระหว่างวันที่ 5-16 พฤศจิกายน 2567 ณ โรงเรียนอนุบาลเมืองอาจสามารถ อำเภออาจสามารถจังหวัดร้อยเอ็ด

โครงการภาคสนามสิ่งแวดล้อม ระหว่างวันที่ 5-16 พฤศจิกายน 2567 ณ โรงเรียนอนุบาลเมืองอาจสามารถ อำเภออาจสามารถจังหวัดร้อยเอ็ด

โครงการภาคสนามสิ่งแวดล้อม ระหว่างวันที่ 5-16 พฤศจิกายน 2567 ณ โรงเรียนอนุบาลเมืองอาจสามารถ อำเภออาจสามารถจังหวัดร้อยเอ็ด หลักสูตร วท.บ. สิ่งแวดล้อมศึกษา คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ได้จัดโครงการภาคสนามสิ่งแวดล้อม ระหว่างวันที่ …

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *