เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2566 ที่ผ่านมา คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางวิชาการกับ Prof.Lee Shiou Yih ผู้แทนจากคณะ Health & Life Sciences มหาวิทยาลัยอินติ (INTI University) ประเทศมาเลเซีย โดยในช่วงเช้า รองศาสตราจารย์ ดร.อดิศักดิ์ สิงห์สีโว คณบดีคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ พร้อม อาจารย์ ดร.พรรคพงษ์ ศรีประเสริฐ ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายวิเทศสัมพันธ์และบริการวิชาการ ตามด้วย รองศาสตราจารย์ ดร.ธวัดชัย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. เพ็ญแข ธรรมเสนานุภาพ กับเจ้าหน้าที่ของคณะ และ Prof.Lee Shiou Yih ผู้แทนจากมหาวิทยาลัยอินติ เข้าพบ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ พลเดช เชาวรัตน์ รองอธิการบดีฝ่ายประชาสัมพันธ์และพันธกิจสากล เพื่อแนะนำทำความรู้จักและสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับภาคีเครือข่ายพร้อมหารือแลกเปลี่ยนความร่วมมือทางวิชาการที่เป็นประโยชน์ต่อมหาวิทยาลัยมหาสารคาม จากนั้น …
Read More »เสริมศักยภาพของวิสาหกิจชุมชนเพื่อการผลิตผลิตภัณฑ์สมุนไพรด้วยระบบมาตรฐานสากล
เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2566 ที่ผ่านมา คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ โดย ดร.ธายุกร พระบำรุง ผู้อำนวยการหน่วยปฏิบัติการวิจัยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การบรรเทา และการปรับตัว (CMARE) หัวหน้าโครงการวิสาหกิจชุมชนภูมินวัตกรรมผลิตภัณฑ์สมุนไพรจากสารสกัดจากต้นเชือกของอำเภอนาเชือก จังหวัดมหาสารคาม ร่วมต้อนรับนางวิลาวรรณ พิพัฒน์ชัยกร ประธานวิสาหกิจชุมชนกลุ่มเกษตรอินทรีย์และการแปรรูปผลิตภัณฑ์ริมอ่างห้วยค้อนำที ต.เขวาไร่ อ.นาเชือก จ.มหาสารคาม พร้อมด้วยคณะผู้บริหารวิสาหกิจ โดยมี รศ.ดร.สมศักดิ์ นวลแก้ว ผู้จัดการโรงงานฟาร์มแคร์ ฟาร์มาซูติคอล คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ร่วมต้อนรับ ให้คำปรึกษา คำแนะนำ ตลอดจนเอื้อเฟื้อการเยี่ยมชมโรงงานผลิตยาและผลิตภัณฑ์สมุนไพร เพื่อเตรียมความพร้อมวิสาหกิจชุมชนให้สามารถนำไปบริหารจัดการองค์กรธุรกิจชุมชนในด้านการผลิตได้อย่างเป็นระบบและมีมาตรฐานต่อไป ภาพและข่าว : คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มมส/ ดร.ธายุกร พระบำรุง เผยแพร่โดย : ชลทิตย์ สีเทา ณ วันที่ : 21 สิงหาคม 2566
Read More »คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ ร่วมเป็นสมาชิกเครือข่ายคาร์บอนนิวทรัลประเทศไทย (Thailand Carbon Neutral Network: TCNN)
คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ เข้าร่วมเป็นเครือข่ายคาร์บอนนิวทรัลประเทศไทย หรือ Thailand Carbon Neutral Network ซึ่งจัดตั้งโดยองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) หรือ TGO โดยมีวัตถุประสงค์ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคท้องถิ่น/ชุมชน ในการยกระดับการลดก๊าซเรือนกระจก สร้างการเติบโตอย่างยั่งยืนบนสังคมที่เป็นมิตรต่อสภาพภูมิอากาศ และมุ่งสู่การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ตามเจตนารมณ์ของประชาคมโลกที่ปรากฏในเป้าหมายของความตกลงปารีสว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ทั้งนี้ หน่วยปฏิบัติการวิจัยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การบรรเทา และการปรับตัว (CMARE) เป็นผู้ประสานระหว่างหน่วยงานภายในและนอก รวมถึงเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนการสร้างกลไกควบคู่กับการวิจัยและการบริการวิชาการ โดยสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://tcnn.tgo.or.th/ ภาพและข่าว : คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มมส / ดร.ธายุกร พระบำรุง เผยแพร่โดย : ชลทิตย์ สีเทา ณ วันที่ : 15 พฤษภาคม 2566
Read More »ภาพและข่าว”กิิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เรื่อง การสร้างเครือข่ายวิจัยกับองค์กรต่างประเทศ”
เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2566 เวลา 14.30 ถึง 16.00 น. คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ได้จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เรื่อง การสร้างเครือข่ายวิจัยกับองค์กรต่างประเทศ โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.อดิศักดิ์ สิงห์สีโว คณบดีคณะสิ่งแวดล้อมฯ เป็นประธาน โดยมีคณาจารย์และบุคลากรสายสนับสนุนร่วมกิจกรรม โดยพร้อมเพรียง ณ ห้องประชุมคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ วิทยากร คือ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ยรรยงค์ อินทร์ม่วง สังกัดคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม วัตถุประสงค์ของการจัดกิจกรรมนี้เพื่อเสริมสร้างใหอาจารย์และนักวิจัยของคณะฯ ได้มีโอกาสในการสร้างเครือข่ายวิจัยกับองค์กรต่างประเทศเพิ่มมากขึ้น และมีโอกาสได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันถึงการสร้างเครือข่ายวิจัยกับองค์กรต่างประเทศที่ผ่านมา ทราบปัญหาและอุปสรรค รวมทั้งร่วมกันหาแนวทางปฏิบัติที่ดีในการสร้างเครือข่ายวิจัยกับองค์กรต่างประเทศ ภาพและข่าว : คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มมส / ชลทิตย์ สีเทา เผยแพร่โดย : ชลทิตย์ สีเทา ณ วันที่ : 8 พฤษภาคม 2566
Read More »“The Plastic Bags” จากขยะจากเราสู่การเขยิบเพื่อโลก โดยกลุ่ม Youth for Changes MSU หลักสูตรสาขาวิชาเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม
เมื่อวันที่ 15 มกราคม ที่ผ่านมา กลุ่ม Youth for Changes MSU หลักสูตรสาขาวิชาเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม นำโดย นางสาวพิมพ์ชนก คงวัฒน์ นิสิตระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 1 ได้ผนึกพลังเยาวชนหลายคณะ เพื่อจัดกิจกรรม “The Plastic Bags” ซึ่งมีวัตถุประสงค์ เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของของเยาวชนในมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ในการลดการใช้และเพิ่มมูลค่าถุงพลาสติก รวมถึงการลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกสู่บรรยากาศ โดยใช้แนวทาง Upcycling (กระเป๋าสะพายจากถุงพลาสติกใช้แล้ว) ที่สอดรับกับ Roadmap การจัดการขยะพลาสติก พ.ศ. 2561-2573 ทั้งนี้ รองศาสตราจารย์ ดร.อดิศักดิ์ สิงห์สีโว คณบดีคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ เป็นประธานเปิดงาน พร้อมด้วยคณะผู้บริหารและอาจารย์หลักสูตร เข้าร่วมงาน โดยกิจกรรมนี้ ได้รับการสนับสนุนจาก Young Southeast Asian Leaders Initiative (YSEALI) สถานทูตสหรัฐอเมริกา (The …
Read More »CMARE นำเอาอัตลักษณ์ตำบลและชุมชน เพื่อขับเคลื่อนในการพัฒนาเมืองมหาสารคามอย่างยั่งยืน
CMARE นำเอาอัตลักษณ์ตำบลและชุมชน เพื่อขับเคลื่อนในการพัฒนาเมืองมหาสารคามอย่างยั่งยืน ในวันที่ 17 มกราคม 2566 ที่ผ่านมา หน่วยปฏิบัติการวิจัยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การบรรเทา และการปรับตัว (CMARE) โดย ดร.ธายุกร พระบำรุง ผู้อำนวยการหน่วยฯ ได้จัดกิจกรรมสะท้อนบทเรียนการดำเนินการและถ่ายทอดองค์ความรู้ เทคโนโลยี และนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาพื้นที่เมืองตำบลตลาดอย่างยั่งยืน ณ ห้องประชุมอเนกประสงค์ เทศบาลเมืองมหาสารคาม ต.ตลาด อ.เมือง จ.มหาสารคาม โดยมีนางพิชชาภัสร์ ธีรศาสตรานนท์ รองนายกเทศมนตรีเมืองมหาสารคาม เป็นประธาน และรองศาสตราจารย์ ดร.อดิศักดิ์ สิงห์สีโว คณบดีคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ กล่าวรายงาน กิจกรรมนี้ อยู่ในโครงการการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG) ภายใต้ชื่อโครงการบูรณาการ เพื่อยกระดับวิถีชีวิตด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนและการท่องเที่ยวเชิงวิถีชุมชนเมือง ดำเนินการระหว่างเดือนกรกฎาคม-กันยายน 2565 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และได้บูรณาการความร่วมมือกับคณะวิทยาศาสตร์ คณะศึกษาศาสตร์ …
Read More »เพิ่มขีดความสามารถให้กับนิสิตชั้นปีสุดท้าย สู่การประยุกต์ใช้เครื่องมือสมัยใหม่ เพื่อเตรียมพร้อมรับมือภัยพิบัติในสายอาชีพ ตามแนวทาง ISO 22301:2019
คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ ได้จัดโครงการพัฒนาศักยภาพเพื่อเตรียมความพร้อมให้กับนิสิตก่อนสำเร็จการศึกษา ประจำปีการศึกษา 2565 โดยฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ ได้บูรณาการความร่วมมือกับฝ่ายบริหารและพัฒนานิสิต และฝ่ายวิชาการและประกันคุณภาพ ในการจัดการอบรมเชิงปฏิบัติการเตรียมความพร้อมด้านความรู้มาตรฐานระบบการบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจ ISO 22301:2019 ในระหว่างวันที่ 24-25 ธันวาคม 2565 ณ ห้อง ENV 210 และ 110 คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ โดยคุณโฆษิต แก้วเต่า ผู้บริหารและที่ปรึกษา บริษัท B. Training and Consultant จำกัด เป็นวิทยากร และให้การสนับสนุนงบประมาณด้านอาหาร (การจัดอาหารแบบลดขยะจากบรรจุภัณฑ์) ซึ่งมาตรฐานระบบสากลนี้ สอดรับกับยุคปัจจุบัน ตามประกาศคณะกรรมการกำหนดมาตรฐานด้านการตรวจสอบและรับรอง ฉบับที่ 40 (พ.ศ. 2564) ออกตามความในพระราชบัญญัติการมาตรฐานแห่งชาติ พ.ศ. 2551 เรื่อง กำหนดมาตรฐานการตรวจสอบและรับรองแห่งชาติ ความมั่นคงปลอดภัยและการฟื้นคืนสู่สภาวะปกติ-ระบบการบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจ-ข้อกำหนด ซึ่งมีวัตถุประสงค์ เพื่อป้องกัน ลดโอกาสในการเกิดภัยคุกคาม …
Read More »คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ รวมพลังเรียนรู้การอนุรักษ์สายน้ำแห่งชีวิตร่วมกับเครือข่ายคนลำน้ำชี
คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ รวมพลังเรียนรู้การอนุรักษ์สายน้ำแห่งชีวิตร่วมกับเครือข่ายคนลำน้ำชี เมื่อวันที่ 9-10 ธ.ค. 2565 ที่ผ่านมา ดร.ธายุกร พระบำรุง ในฐานะคณะกรรมการภาคตะวันออกเฉียงเหนือ-ตอนล่าง สถาบันลูกโลกสีเขียว/ผู้แทนสถาบันการศึกษา ได้เข้าร่วมเรียนรู้ในเวทีเสวนา “รวมพลังเรียนรู้การอนุรักษ์สายน้ำแห่งชีวิตร่วมกับเครือข่ายคนลำน้ำชี” ซึ่งเกิดจากความร่วมมือกันของสถาบันลูกโลกสีเขียวและเครือข่ายคนลำน้ำชี เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้และขับเคลื่อนเครือข่าย ในการอนุรักษ์ลำน้ำชีและระบบนิเวศอย่างยั่งยืน ณ ชุมชนบ้านรำเบอะ ต.เชื้อเพลิง อ.ปราสาท จ.สุรินทร์ โดยกิจกรรมเสวนานี้ ประกอบด้วย นางวรุตม์สุรางค์ ธรรมอารี ผู้อำนวยการสถาบันลูกโลกสีเขียว ดร.รอยล จิตรดอน สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) ดร.สมศักดิ์ สุขวงศ์ ผู้ก่อตั้งศูนย์วนศาสตร์ชุมชนเพื่อคนกับป่า ร่วมถึงชุมชน หน่วยงาน องค์กรภาครัฐและเอกชน สถาบันการศึกษา พร้อมทั้งผู้เกี่ยวข้องด้านการอนุรักษ์ใน 8 พื้นที่ตลอดสองฝั่งลำน้ำชีในจังหวัดสุรินทร์และบุรีรัมย์ ประกอบด้วยกลุ่มต้นน้ำและปลายน้ำที่ได้รับรางวัลด้านการอนุรักษ์ในแต่ปี ร่วมวงเสวนา ต้นแบบด้านการอนุรักษ์ใน 8 พื้นที่ตลอดสองฝั่งลำน้ำชี ในจังหวัดสุรินทร์และจ.บุรีรัมย์ ประกอบด้วยกลุ่มต้นน้ำที่มี นางประมวล มาลัย จ.บุรีรัมย์ …
Read More »ขอแสดงความยินดีกับนักวิจัยที่ได้ทุนอุดหนุนจากโครงการบริการวิชาการแบบบูรณาการเพื่อสร้างนวัตกรรมและชุมชนต้นแบบสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566
ขอแสดงความยินดีกับนักวิจัยที่ได้ทุนอุดหนุนจากโครงการบริการวิชาการแบบบูรณาการเพื่อสร้างนวัตกรรมและชุมชนต้นแบบสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ ขอแสดงความยินดีกับนักวิจัยทั้ง 2 ท่าน ประกอบด้วย ผศ.ดร.อภิพงษ์ พุฒคำ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยด้านสิ่งแวดล้อมและพลังงานที่ยั่งยืน (SEER) โครงการส่งเสริมกระบวนการผลิต-ขึ้นเม็ดปุ๋ยจากขยะอินทรีย์ชุมชนและวัสดุเศษเหลือจากโรงงานน้ำตาลเพื่อสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานรากของชุมชน (ลำดับ 21) โดยบูรณาการความร่วมมือกับคณะเทคโนโลยีและคณะสถาปัตยกรรมศาตร์ ผังเมือง และนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ดร.ธายุกร พระบำรุง ผู้อำนวยการหน่วยปฏิบัติการวิจัยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การบรรเทา และการปรับตัว (CMARE) โครงการยกระดับชุมชนโพธิ์ศรี1 เป็นองค์กรธุรกิจชุมชนผลิตภัณฑ์แปรรูปจากข้าวเม่าที่เป็นอัตลักษณ์ของตำบลตลาด อำเภอเมืองมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม (ลำดับ 14) โดยบูรณาการความร่วมมือกับคณะสาธารณสุขศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ คณะการบัญชีและการจัดการ และคณะสถาปัตยกรรมศาตร์ ผังเมือง และนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ภาพและข่าว : คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ / ดร.ธายุกร พระบำรุง เผยแพร่โดย : ชลทิตย์ สีเทา ณ วันที่ : 13 …
Read More »คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ ร่วมอบรม ผ่านเครือข่าย TNDR และ UNDRR “ก่อร่างสร้างเมืองรีซิเลียนซ์”
เมื่อวันที่ 16-18 พฤศจิกายน 2565 นี้ ดร.ธายุกร พระบำรุง รองคณบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ ได้เป็นผู้แทนในการเข้าร่วมอบรมเชิงวิชาการหัวข้อ “ท้องถิ่นกับการบริหารจัดการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติ และ Making Cities Resilience 2030 (MCR2030)” ณ โรงแรม รอยัล ออคิด เชอราตัน โฮเทล แอนด์ ทาวเวอร์ กรุงเทพฯ ซึ่งเป็นการดำเนินการ ภายใต้ความร่วมมือของเครือข่ายพัฒนาความเข้มแข็งต่อภัยพิบัติไทย (Thai Network for Disaster Resilience หรือ TNDR) กับองค์การสหประชาชาติ United Nations Office for Disaster Risk Reduction (UNDRR) โดยมุ่งเน้นการสร้างความเข้าใจเรื่องการสร้าง Resilience ของท้องถิ่น โดยเฉพาะการวางแผนบริหารจัดการและการสร้างความร่วมมือระหว่างภาคี พร้อมแนะนำ MCR2030 แนวคิดและเครื่องมือสำหรับการก่อร่างสร้างเมืองรีซิเลียนซ์ตลอดจนร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับผู้เข้าร่วมอบรมจำนวน …
Read More »