Breaking News
Home / กิจกรรม : บุคลากร

กิจกรรม : บุคลากร

ภูมิปัญญาอีสาน: เครื่องมือจากอดีตสู่การรับมือภัยพิบัติในปัจจุบัน

ภูมิปัญญาอีสาน: เครื่องมือจากอดีตสู่การรับมือภัยพิบัติในปัจจุบัน

จากการเสวนา เรื่อง  “ภูมิปัญญาอีสานกับการจัดการภัยพิบัติ: จากรากสู่ระบบโลก”   ผ่านรายการ “โสเหล่ออนไลน์ ส่องซอดอีสาน” ของสถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม  ซึ่งได้ถ่ายทอดออนไลน์ไป เมื่อวันพุธที่ 11 มิ.ย. 2568 เวลา 17:-30 – 18:30 น. โดยมีปราชญ์ชาวบ้านผู้สืบทอดภูมิปัญญา  ประกอบด้วย นางสมจิตร งามยิ่ง ปราชญ์ชาวบ้าน นางลัดดา คำสีลา ประธาน อสม. ชุมชนศรีสวัสดิ์ 2  ดร.ธายุกร พระบำรุง  ผู้อำนวยการหน่วยปฏิบัติการวิจัยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การบรรเทา และการปรับตัว (CMARE) ในฐานะนักวิชาการด้านสิ่งแวดล้อม) นางสาวสุนิสา โฮ Associate Programme Management Officer สำนักงานเพื่อการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติแห่งสหประชาชาติ (UNDRR) และคณะผู้ร่วมเสวนาประจำรายการจากสถาบันฯ จำนวน 4 ท่าน ในการเสวนาครั้งนี้ …

Read More »

CMARE คว้ารางวัล Best Award จากเวทีประชุมวิชาการ TNDR ครั้งที่ 3 เดินหน้าสนับสนุนวิชาการสู่การจัดการสิ่งแวดล้อมยั่งยืนระดับท้องถิ่นและประเทศ

เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน 2568 คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม โดยหน่วยวิจัยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การบรรเทาและการปรับตัว (CMARE) ได้รับรางวัล Best Award ในการนำเสนอผลงานวิจัย  ร่วมกับผลงานของมหาวิทยาลัยนเรศวร  จากการประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติ Thai Network for Disaster Resilience (TNDR) ครั้งที่ 3 ภายใต้หัวข้อ “The Future of Resilience: Transforming Disaster Management through Technology and Collaborative Networks” ณ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรุงเทพฯ ผลงานวิชาการที่ได้รับรางวัล คือ “Mapping Community Flood Risk Management through Spatial Analysis and …

Read More »

คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ รับมอบธงเจ้าภาพการประชุม TNDR ครั้งที่ 4 เดินหน้าสานต่อความร่วมมือด้านการจัดการภัยพิบัติอย่างยั่งยืน

คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ รับมอบธงเจ้าภาพการประชุม TNDR ครั้งที่ 4 เดินหน้าสานต่อความร่วมมือด้านการจัดการภัยพิบัติอย่างยั่งยืน

เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน 2568 เวลา 16.30 น. ณ ห้องประชุมชั้น 20 อาคารเฉลิมราชกุมารี 60 พรรษา (จามจุรี 10) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรุงเทพมหานคร รองศาสตราจารย์ ดร.อดิศักดิ์ สิงห์สีโว คณบดีคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม  พร้อมด้วย ดร.ธายุกร พระบำรุง ผู้อำนวยการหน่วยปฏิบัติการวิจัยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การบรรเทา และการปรับตัว (CMARE)/ผู้ประสานเครือข่าย เป็นผู้แทนมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ในการรับมอบธงเจ้าภาพการจัดประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติ Thai Network for Disaster Resilience (TNDR) ครั้งที่ 4   การรับมอบธงในครั้งนี้ สะท้อนถึงบทบาทของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ในฐานะสถาบันอุดมศึกษาที่ร่วมขับเคลื่อนการจัดการภัยพิบัติอย่างยั่งยืน ที่จะเกิดจากการบูรณาการระหว่างศาสตร์ภายในและนอกมหาวิทยาลัย  โดยเป็นผลจากการดำเนินงานภายใต้บันทึกข้อตกลงความร่วมมือกับเครือข่ายพัฒนาความเข้มแข็งต่อภัยพิบัติไทยอย่างต่อเนื่อง และความพยายามผลักดันกลไก สถาบันการศึกษา เป็นพี่เลี้ยง ให้กับท้องถิ่น ในการสร้างเมืองรีซิเลียนซ์อย่างยั่งยืน …

Read More »

คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ ร่วมขับเคลื่อนกลไกเตือนภัยกลุ่มเปราะบางในพื้นที่เสี่ยงชายฝั่งตะวันออก

คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ ร่วมขับเคลื่อนกลไกเตือนภัยกลุ่มเปราะบางในพื้นที่เสี่ยงชายฝั่งตะวันออก

คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ ร่วมขับเคลื่อนกลไกเตือนภัยกลุ่มเปราะบางในพื้นที่เสี่ยงชายฝั่งตะวันออก คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม โดยหน่วยปฏิบัติการวิจัยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การบรรเทา และการปรับตัว (CMARE) ได้เข้าร่วมเป็นวิทยากร ในการประชุมเชิงปฏิบัติการหัวข้อ “การสื่อสารสร้างความตระหนักรู้ในพื้นที่เครือข่ายอาสาเพื่อเตือนภัยในชุมชน (ครู ก)” ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 รุ่นที่ 1 จัดโดยสำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 2 ระหว่างวันที่ 10–11 มิถุนายน 2568 ณ โรงแรมลองบีช การ์เด้น โฮเต็ล แอนด์ สปา ตำบลนาเกลือ อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี โดยได้รับเกียรติจากนายพงศ์ธสิทธิ์ ปิจนันท์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี เป็นประธานเปิดงาน และนางศิรทิพย์ ภาศรีสมบัติ ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 2 เป็นผู้กล่าวรายงาน ในการนี้ ทีมวิทยากร ประกอบด้วย ผู้ทรงคุณวุฒิจากนางสาวสุนิสา โฮ Associate Programe Management …

Read More »

สานพลังปัญญา–ปฏิบัติ: บทบาทคณะสิ่งแวดล้อมฯ ในการขับเคลื่อนพื้นที่ด้วย Soft Power และอัตลักษณ์เมือง

สานพลังปัญญา–ปฏิบัติ: บทบาทคณะสิ่งแวดล้อมฯ ในการขับเคลื่อนพื้นที่ด้วย Soft Power และอัตลักษณ์เมือง

สานพลังปัญญา–ปฏิบัติ: บทบาทคณะสิ่งแวดล้อมฯ ในการขับเคลื่อนพื้นที่ด้วย Soft Power และอัตลักษณ์เมือง คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ โดยหน่วยปฏิบัติการวิจัยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การบรรเทา และการปรับตัว (CMARE) ได้ดำเนินงานอย่างต่อเนื่องเพื่อสนับสนุนเทศบาลเมืองมหาสารคามในการพัฒนาระบบการบริหารจัดการที่ดี ผ่านกลไกการมีส่วนร่วมของภาควิชาการ ภาคประชาชน และภาครัฐอย่างเป็นระบบ ความร่วมมือดังกล่าวมีศักยภาพในการต่อยอดสู่ การเสนอรางวัลองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีการบริหารจัดการที่ดี ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 โดยเน้นการใช้ทุนวัฒนธรรมเป็นฐานพัฒนาเชิงพื้นที่ สร้างนวัตกรรมกระบวนการที่แตกต่างและขยายผลได้จริง บทบาทและความพยายามของ CMARE ใน 6 ด้านสำคัญ 1. ผลักดันการจัดตั้งกลุ่มวิสาหกิจชุมชนที่ยึดโยงกับภูมิปัญญาท้องถิ่น ส่งเสริมการรวมกลุ่มของชุมชนบนฐานทุนวัฒนธรรม เช่น ข้าวเม่า หมี่กรอบ ปลาร้า และไข่เค็ม เพื่อสร้างเศรษฐกิจฐานราก พร้อมผลักดันการสร้างตราผลิตภัณฑ์ชุมชน เช่น ข้าวเม่าชุมชนโพธิ์ศรี 1, ไข่เค็มชุมชนโพธิ์ศรี 2 เพื่อเพิ่มมูลค่าและสร้างความภาคภูมิใจให้ชุมชน 2. สร้างกลไกการพัฒนาท้องถิ่นโดยใช้อัตลักษณ์ชุมชนและเมืองเป็นฐาน ร่วมวิเคราะห์ทุนวัฒนธรรม วิถีชุมชน และประเพณีท้องถิ่น เพื่อนำมาออกแบบกิจกรรมในแผนพัฒนาท้องถิ่น เช่น …

Read More »

CMARE ร่วมเสริมพลังองค์กรสู่สำนักงานสีเขียว

CMARE ร่วมเสริมพลังองค์กรสู่สำนักงานสีเขียว

วันที่ 29–30 พฤษภาคม 2568 ณ ห้องประชุม 202 อาคารทวี ญาณสุคนธ์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จตุจักร กรุงเทพมหานคร คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม โดย ดร.ธายุกร พระบำรุง ผู้อำนวยการหน่วยปฏิบัติการวิจัยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การบรรเทา และการปรับตัว (CMARE) ได้เป็นวิทยากรอบรมเชิงปฏิบัติการ หัวข้อ การตรวจประเมินสำนักงานสีเขียว (Green Office) ซึ่งเป็นกลไกสำคัญภายใต้กรอบของกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม เพื่อส่งเสริมให้องค์กรต่าง ๆ พัฒนาแนวปฏิบัติด้านสิ่งแวดล้อมที่เป็นรูปธรรม และก้าวสู่ความยั่งยืนอย่างมีเป้าหมาย โดยผู้ร่วมอบรม ประกอบด้วย หน่วยงานที่ดำเนินงานสำนักงานสีเขียว จำนวน 22 แห่ง ซึ่งมีทั้งหน่วยงานที่จะขอการรับรองใหม่ในปี 2568 และหน่วยงานที่ได้รับการรับรองแล้ว มีการดำเนินงานต่อเนื่อง จำนวนผู้เข้าร่วมการอบรม รวมทั้งสิ้น 74 เข้าร่วมการอบรมที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 64 คน และเข้าร่วมอบรมผ่าน online …

Read More »

คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มมส. โดย CMARE หนุนพลังเยาวชน-ชุมชน ร่วมขับเคลื่อนสิ่งแวดล้อมสู่รางวัลลูกโลกสีเขียว

คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มมส. โดย CMARE หนุนพลังเยาวชน-ชุมชน ร่วมขับเคลื่อนสิ่งแวดล้อมสู่รางวัลลูกโลกสีเขียว

คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มมส. โดย CMARE หนุนพลังเยาวชน-ชุมชน ร่วมขับเคลื่อนสิ่งแวดล้อมสู่รางวัลลูกโลกสีเขียว “เชิดชู – ให้กำลังใจ – สร้างแรงบันดาลใจ เพื่อความยั่งยืนจากฐานราก” ดร.ธายุกร พระบำรุง  ผู้อำนวยหน่วยปฏิบัติการวิจัยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การบรรเทา และการปรับตัว (CMARE) คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ในฐานะภาคีเครือข่ายของสถาบันลูกโลกสีเขียว และผู้แทนคณะกรรมการภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ร่วมลงพื้นที่เพื่อประเมินคุณค่าผลงานของกลุ่มเยาวชนและเรียนรู้ผลการดำเนินการของชุมชน ที่แสดงถึงพลังของความคิดสร้างสรรค์ ภูมิปัญญาท้องถิ่น และจิตสำนึกรักษ์สิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน วันที่ 21–23 พฤษภาคม 2568 CMARE เข้าร่วมในคณะกรรมการภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ได้ลงพื้นที่ประเมินคุณค่าผลงานกลุ่มเยาวชน ณ โรงเรียนไพรบึงวิทยาคม จ.ศรีสะเกษ และโรงเรียนเมืองคง จ.นครราชสีมา ซึ่งมีแนวทางการพัฒนานวัตกรรมสิ่งแวดล้อมที่โดดเด่น โดยเฉพาะการบูรณาการองค์ความรู้กับภูมิปัญญาท้องถิ่น เป็นอีกหนึ่งแรงบันดาลใจให้กับเยาวชนในพื้นที่อื่น ๆ วันที่ 25 พฤษภาคม 2568 คณะกรรมการภาคฯ ประชุมพิจารณาผลงาน ณ โรงแรมโครานารี่ …

Read More »

โรงเรียนการศึกษาคนตาบอด จังหวัดขอนแก่น ร่วมมือกับคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ และเครือข่ายภัยพิบัติ พัฒนาแผนอพยพสำหรับผู้พิการทางการมองเห็น พร้อมเชิญชวนหน่วยงานภายนอกร่วมสนับสนุนอย่างยั่งยืน

โรงเรียนการศึกษาคนตาบอด จังหวัดขอนแก่น ร่วมมือกับคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ และเครือข่ายภัยพิบัติ พัฒนาแผนอพยพสำหรับผู้พิการทางการมองเห็น พร้อมเชิญชวนหน่วยงานภายนอกร่วมสนับสนุนอย่างยั่งยืน

โรงเรียนการศึกษาคนตาบอด จังหวัดขอนแก่น ร่วมมือกับคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ และเครือข่ายภัยพิบัติ พัฒนาแผนอพยพสำหรับผู้พิการทางการมองเห็น พร้อมเชิญชวนหน่วยงานภายนอกร่วมสนับสนุนอย่างยั่งยืน ระหว่างวันที่ 14–15 พฤษภาคม 2568 โรงเรียนการศึกษาคนตาบอด จังหวัดขอนแก่น จัดกิจกรรม “การอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาแผนเผชิญเหตุและกระบวนการอพยพจากเหตุการณ์ภัยพิบัติ” สำหรับบุคลากรและนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการมองเห็น จำนวนประมาณ 50 คน โดยมีเป้าหมายเพื่อยกระดับความพร้อมของสถานศึกษาในการรับมือกับภัยพิบัติอย่างครอบคลุมและยั่งยืน กิจกรรมอบรมได้รับเกียรติจากนางชัญญานุช มูลวิชา ผู้อำนวยการโรงเรียน กล่าวเปิดงาน โดยมี ดร. ปิยวัฒน์ ขนิษฐบุตร วิทยากรหลักจากเครือข่ายพัฒนาความเข้มแข็งภัยพิบัติไทย (TNDR) ร่วมกับ ดร.ธายุกร      พระบำรุง ผู้อำนวยการหน่วยวิจัย CMARE และนางสาววิภารัตน์ หนูปัทยา จากหน่วยวิจัย RDSC มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ร่วมเป็นคณะวิทยากรสนับสนุนด้านข้อมูลเชิงพื้นที่และกลไกการจัดการภัยพิบัติสำหรับผู้พิการทางการมองเห็น ในการอบรม ผู้เข้าร่วมได้เรียนรู้การวางโครงสร้างแผนเผชิญเหตุ ฝึกซ้อมการอพยพ และวิเคราะห์ข้อจำกัดเชิงพื้นที่จริง โดยออกแบบให้เหมาะสมกับผู้พิการทางการมองเห็น เช่น การใช้เสียงแจ้งเตือนเฉพาะ การนำทางด้วยการสัมผัส การเดินผ่านเส้นทางที่ปลอดภัย และจุดรวมพลที่เข้าถึงง่าย …

Read More »

ขอเชิญรับชมละครเวที “เสียงจากวันพรุ่งนี้” เพื่อร่วมสร้างเมืองที่พร้อมรับมือภัยพิบัติอย่างยั่งยืน

ขอเชิญรับชมละครเวที "เสียงจากวันพรุ่งนี้" เพื่อร่วมสร้างเมืองที่พร้อมรับมือภัยพิบัติอย่างยั่งยืน

“ละครเวทีเรื่องนี้… ไม่ใช่เพียงการแสดง แต่คือเวทีแห่งการเรียนรู้ร่วมกัน เพื่อเมืองที่ยืดหยุ่น ปลอดภัย และเข้าใจภัยพิบัติได้อย่างแท้จริง” คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ขอเชิญชวนทุกท่านร่วมรับชมละครเวทีสร้างสรรค์ “เสียงจากวันพรุ่งนี้: The Echoes from Tomorrow” ละครเวทีเพื่อส่งเสริมการรับรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับแนวคิด MCR2030 (Making Cities Resilient 2030) ละครเวทีเรื่องนี้ จัดทำขึ้นโดยความร่วมมือระหว่างคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ (หน่วยปฏิบัติการวิจัยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การบรรเทา และการปรับตัว;  CMARE) คณะศิลปกรรมศาสตร์และวัฒนธรรมศาสตร์ (ภาควิชาศิลปะการแสดง) คณะวิทยาศาสตร์ (ศูนย์วิจัยเฉพาะทางนวัตกรรมดิจิทัลเพื่อการจัดการภัยพิบัติลุ่มน้ำแบบบูรณาการ) ร่วมกับสำนักงานเพื่อการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติแห่งสหประชาชาติ (UNDRR) และเครือข่ายพัฒนาความเข้มแข็งต่อภัยพิบัติไทย (TNDR) ละครเรื่องนี้ ถ่ายทอดแนวคิดเกี่ยวกับการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติ การสร้างเมืองรีซิเลียนซ์ และบทบาทของภาคส่วนต่าง ๆ ในการร่วมขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงสู่ความยั่งยืน หลังชมละคร ท่านจะได้รับประสบการณ์และความรู้ดังนี้ เข้าใจแนวคิด MCR2030 ผ่านสถานการณ์สมมติที่สะท้อนภัยพิบัติใกล้ตัวมองเห็นบทบาทของภาครัฐ ภาคประชาชน และเยาวชนในการจัดการความเสี่ยงมีส่วนร่วมในการพัฒนาองค์ความรู้เพื่อการวางรากฐานเมืองที่ปลอดภัยยิ่งขึ้น ขอเชิญร่วมตอบแบบประเมินก่อนและหลังชมละคร เพื่อร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการศึกษาประสิทธิภาพของละครเวทีครั้งนี้ แบบฟอร์มเดียว …

Read More »

ภาพและข่าวกิจกรรม “Big Cleaning Day” คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ณ วันที่ 8 พฤษภาคม 2568

ภาพและข่าวกิจกรรม “Big Cleaning Day” คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ณ วันที่ 8 พฤษภาคม 2568

วันนี้ 8 พฤษภาคม 2568 เวลา 09.00 ณ คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.อดิศักดิ์  สิงห์สีโว  คณบดีคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม พร้อมด้วยผู้บริหาร คณาจารย์ บุคลากร และนิสิต ได้จัดกิจกรรมทำความสะอาด Big Cleaning Day โดยร่วมกันทำความสะอาดรอบบริเวณอาคาร สำนักงาน และบริเวณรอบๆ เพื่อให้มีความสะอาดเป็นระเบียบเรียบร้อย เหมาะกับการจัดการเรียน การสอน และได้ร่วมมือกันเป็นอย่างดี แสดงถึงความสามัคคี มีจิตสาธารณะ และความรับผิดชอบ ภาพและข่าว : คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์/ชลทิตย์ สีเทา เผยแพร่โดย : ชลทิตย์ สีเทา ณ วันที่ : 8 พฤษภาคม 2568

Read More »