คณะสิ่งแวดล้อมฯ ขับเคลื่อนละครเวที “เสียงสะท้อนจากวันพรุ่งนี้” สื่อสารภัยพิบัติผ่านศิลปะ ชี้เมืองต้องตื่นรู้ ก่อนทุกอย่างสายเกินไป ฝุ่นควันยังไม่ทันจาง ฟ้าก็ผ่าพายุโหม — แล้วแผ่นดินก็ไหว เราจะรอให้ทุกอย่างถาโถม หรือจะลุกขึ้น “เตรียมพร้อม”? คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม โดยหน่วยปฏิบัติการวิจัยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การบรรเทา และการปรับตัว (CMARE) ได้ร่วมกับ คณะศิลปกรรมศาสตร์และวัฒนธรรมศาสตร์ (ภาควิชาศิลปะการแสดง) คณะวิทยาศาสตร์ (ศูนย์วิจัยเฉพาะทางนวัตกรรมดิจิทัลเพื่อการจัดการภัยพิบัติลุ่มน้ำแบบบูรณาการ) สำนักงานเพื่อการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติแห่งสหประชาชาติ (UNDRR) และเครือข่ายพัฒนาความเข้มแข็งต่อภัยพิบัติไทย (TNDR) จัดแสดงละครเวทีสร้างสรรค์เรื่อง “The Echoes of Tomorrow (เสียงสะท้อนจากวันพรุ่งนี้)” เพื่อย้ำเตือนว่า ภัยพิบัติในยุคนี้ ไม่ได้มาเพียงอย่างเดียว และไม่รอให้เราพร้อม เมืองไทยเผชิญภัยซ้อน- เราต้องพร้อมหลายมิติ แผ่นดินไหวในกรุงเทพฯ และภาคเหนือ สะเทือนใจคนทั้งประเทศค่าฝุ่น PM2.5 ทะลุเกณฑ์ความปลอดภัยในหลายจังหวัดต่อเนื่องพายุฤดูร้อน ถล่มหลายพื้นที่ สร้างความเสียหายอย่างไม่คาดคิด เหตุการณ์เหล่านี้ อาจไม่เกิดทุกวัน… แต่เมื่อมันเกิด …
Read More »คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เข้าร่วมประชุมเริ่มต้นโครงการ (Kick-off) โครงการพัฒนาระบบบัญชีเศรษฐกิจสิ่งแวดล้อม บัญชีระบบนิเวศ โดยสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในวันพฤหัสบดีที่ 6 มีนาคม 2568
คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เข้าร่วมประชุมเริ่มต้นโครงการ (Kick-off) โครงการพัฒนาระบบบัญชีเศรษฐกิจสิ่งแวดล้อม บัญชีระบบนิเวศ โดยสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในวันพฤหัสบดีที่ 6 มีนาคม 2568 ผู้แทนมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ผศ.ดร.ธนายุทธ ไชยธงรัตน์ รองอธิการบดีฝ่ายโครงสร้างพื้นฐานและการจัดการสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ร่วมกับ ดร.พรรคพงษ์ ศรีประเสริฐ ผู้ช่วยคณบดี ฝ่ายวิเทศสัมพันธ์ วิจัยและบริการวิชาการ คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เข้าร่วมประชุมเริ่มต้นโครงการ (Kick-off) โครงการพัฒนาระบบบัญชีเศรษฐกิจสิ่งแวดล้อม บัญชีระบบนิเวศ โดยสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในวันพฤหัสบดีที่ 6 มีนาคม 2568 เวลา 08.30 – 12.00 น. ณ ห้องกมลทิพย์ 3 ชั้น 2 โรงแรมเดอะ สุโกศล กรุงเทพฯ เพื่อรับฟังการชี้แจงกรอบการศึกษาและแผนการดำเนินงานของโครงการฯ ร่วมกับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องกับทรัพยากรป่าไม้ ระบบนิเวศป่าไม้ และพื้นที่สีเขียว …
Read More »CMARE Music Lab เปิดโอกาสให้ใช้บทเพลงเพื่อการเรียนรู้และสร้างความตระหนักด้านสิ่งแวดล้อม โดยไม่มีค่าใช้จ่าย!
คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม โดยหน่วยปฏิบัติการวิจัย Climate Change, Mitigation, and Adaptation Research Unit (CMARE) หลักสูตรสาขาวิชาเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม เปิดตัว CMARE Music Lab โครงการนวัตกรรมสื่อเพลงเพื่อการสื่อสารด้านสิ่งแวดล้อม ที่ผสมผสานองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์เข้ากับศิลปะดนตรี และการใช้เทคโนโลยี AI เพื่อสร้างเพลงที่เข้าถึงง่ายและส่งผลกระทบเชิงบวกต่อสังคม เพลงเหล่านี้สะท้อนปัญหาสิ่งแวดล้อม เช่น PM2.5 น้ำท่วม ความร้อน และภัยแล้ง ผ่านบทเพลงที่มีทั้งข้อมูลวิชาการและอารมณ์ทางศิลปะ เปิดให้หน่วยงาน องค์กร และสถานศึกษา ใช้บทเพลงเพื่อการศึกษาและรณรงค์โดยไม่มีค่าใช้จ่าย! CMARE Music Lab พร้อมสนับสนุนการนำเพลงไปใช้ในกิจกรรมต่าง ๆ อาทิ การเรียนการสอน ในวิชาสิ่งแวดล้อม การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และการจัดการภัยพิบัติการรณรงค์และแคมเปญสาธารณะ เพื่อสร้างความตระหนักเรื่องฝุ่นละอองขนาดเล็ก น้ำท่วม และผลกระทบจากภาวะโลกร้อนงานสัมมนาและประชุมเชิงวิชาการ ที่ต้องการนำเสนอข้อมูลผ่านสื่อสร้างสรรค์กิจกรรมของเยาวชนและชุมชน ที่มุ่งเน้นการเสริมสร้างความเข้าใจด้านสิ่งแวดล้อม รายชื่อบทเพลงจาก CMARE Music …
Read More »หลักสูตรเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม ม.มหาสารคาม ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) วิเคราะห์พื้นที่จริง ลดการเผาในที่โล่ง สร้างแนวทางจัดการสิ่งแวดล้อมชุมชน
หลักสูตรเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม ม.มหาสารคาม ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) วิเคราะห์พื้นที่จริง ลดการเผาในที่โล่ง สร้างแนวทางจัดการสิ่งแวดล้อมชุมชน หลักสูตรเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ “วัสดุเหลือใช้มีค่า สร้างอากาศดี สร้างรายได้” ณ โรงเรียนขามเรียงเขียบโนนแสบงดอนมัน เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2568 โดยนิสิตชั้นปีที่ 3 จากรายวิชา 1705372 ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์สำหรับงานเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม ได้ร่วมวิเคราะห์ข้อมูลระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ด้านการใช้ประโยชน์ที่ดินและสิ่งปกคลุมดิน พร้อมศึกษาความหนาแน่นของจุดความร้อน (Fire Hotspot) โดยใช้ข้อมูลจากมิตรเอิร์ธ ระหว่างปี พ.ศ. 2545-2565 ซึ่งได้แสดงให้เห็นถึงปัญหาการเผาในโล่งแจ้งที่ส่งผลต่อคุณภาพอากาศ จากการวิเคราะห์ข้อมูล พบว่า พื้นที่รอบโรงเรียนตั้งอยู่ในเขตเกษตรกรรมที่มีการเผาฟางข้าวและเศษวัสดุทางการเกษตรอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้เกิดฝุ่น PM2.5 ที่กระทบต่อสุขภาพของชุมชน โดยนิสิตได้ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ เพื่อเชื่อมโยงข้อมูลการใช้ที่ดินและสิ่งปกคลุมดินกับจุดความร้อน ทำเข้าใจพื้นที่เสี่ยงและการพัฒนาแนวทางลดการเผาร่วมกับภาคชุมชนได้ ในกิจกรรมครั้งนี้ นิสิต ได้สาธิตกระบวนการผลิตกระดาษจากฟางข้าว ซึ่งเป็นแนวทางหนึ่งในการทดแทนการเผา พร้อมให้ความรู้เรื่องเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) แนวทางการจัดการวัสดุเหลือใช้อย่างยั่งยืน …
Read More »นิสิตหลักสูตรเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม มมส ศึกษาดูงานสถานที่ฝังกลบขยะมูลฝอยเทศบาลเมืองมหาสารคาม
นิสิตหลักสูตรเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม มมส ศึกษาดูงานสถานที่ฝังกลบขยะมูลฝอยเทศบาลเมืองมหาสารคาม วันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2568 ที่ผ่านมา นิสิตจากรายวิชา 1705372 ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์สำหรับงานเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม และ 1705425 การประยุกต์ใช้โปรแกรมด้านสิ่งแวดล้อม เพื่อการวางแผนและจัดการคุณภาพอากาศ คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ได้เข้าศึกษาดูงาน ณ สถานที่กำจัดขยะมูลฝอยเทศบาลเมืองมหาสารคาม (ต.หนองปลิง) โดยวัตถุประสงค์ของการศึกษาดูงาน คือ 1) เพื่อเรียนรู้กระบวนการจัดการขยะมูลฝอย ตั้งแต่การรับขยะ การฝังกลบ และแนวทางการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม 2) เพื่อศึกษาการจัดการก๊าซเรือนกระจกและสารอินทรีย์ระเหยง่าย (VOCs) จากพื้นที่ฝังกลบ โดยใช้เทคโนโลยีและแบบจำลอง เช่น LandGEM และฐานข้อมูล SPECIATE 3) เพื่อสำรวจแนวทางการใช้ประโยชน์จากขยะ เช่น การผลิตพลังงานจากขยะ และแนวโน้มการพัฒนาโรงไฟฟ้าจากขยะในพื้นที่และ 4) เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมของชุมชนและแนวทางพัฒนาสถานที่ฝังกลบให้เป็นระบบที่ยั่งยืน กิจกรรมนี้เป็นส่วนหนึ่งของการเรียนรู้ภาคสนาม ที่ช่วยให้นิสิตเข้าใจการบริหารจัดการของเสียในระดับเทศบาล และสามารถนำองค์ความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมได้อย่างมีประสิทธิภาพ หลักสูตรเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม เปิดโอกาสให้นิสิตได้เรียนรู้และพัฒนาทักษะที่สามารถนำไปใช้ในงานด้านสิ่งแวดล้อม ไม่ว่าจะเป็นการประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ …
Read More »CMARE ผ่านเครือข่าย American Corner MSU ร่วมสร้างพลังนักสื่อสารวิทย์เพื่อสู้วิกฤตโลกเดือด ในเวที UniTi Talks 2024
ดร.ธายุกร พระบำรุง ผู้อำนวยการหน่วยปฏิบัติการวิจัย CMARE ในฐานะผู้แทนศูนย์ข้อมูลและวัฒนธรรมอเมริกัน (American Corner) มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ร่วมแสดงความยินดีและส่งกำลังใจแก่นักศึกษาทุกท่านที่เข้าร่วมการแข่งขัน UniTi Talks 2024 ซึ่งถือเป็นกำลังสำคัญในการสื่อสารวิทยาศาสตร์เพื่อรับมือวิกฤตโลกเดือดโดยเฉพาะผลงานที่ได้รับรางวัลชนะเลิศ “Who Kills The Sharks?” ที่สะท้อนให้เห็นความสำคัญของระบบนิเวศทางทะเลต่อการลดภาวะโลกร้อน เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2567 ณ พิพิธภัณฑ์เทคโนโลยีสารสนเทศ NSM จ.ปทุมธานี การแข่งขันครั้งนี้จัดขึ้นภายใต้หัวข้อ “UniTi Talks on STI for Climate Change” เน้นการสร้างความตระหนักรู้ การลดผลกระทบ และการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยความร่วมมือระหว่างองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) สถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย และเครือข่ายศูนย์ข้อมูลและวัฒนธรรมอเมริกันและ 5 มหาวิทยาลัยเครือข่าย ได้แก่ มหาวิทยาลัยบูรพา บางแสน มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ …
Read More »ภัยพิบัติรับมือได้ ด้วยพลังชุมชน: สร้างทางเลือก สู่ทางรอด จากบทเรียนเมืองมหาสารคาม
การถอดบทเรียนจาก 31 ชุมชนในเขตเทศบาลเมืองมหาสารคาม โดยทีมเครือข่ายนักวิจัยสหวิทยาการ หน่วยปฏิบัติการวิจัยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การบรรเทา และการปรับตัว (CMARE) คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม นำไปสู่การพัฒนาแนวทางบูรณาการการจัดการความเสี่ยงภัยพิบัติที่เชื่อมโยงกับกลไกการทำงานของชุมชนและเทศบาลเมือง แนวทางนี้ใช้การวิเคราะห์แบบองค์รวม ผ่านแผนที่ทุนทางสังคมที่ชุมชนมีส่วนร่วม ครอบคลุมทั้งการประเมินภัย ความเปราะบาง และศักยภาพชุมชน พร้อมบทเรียนจากเหตุการณ์ภัยพิบัติที่ผ่านมา สามารถนำไปปรับใช้กับบริบทพื้นที่อื่นได้ สอดคล้องกับกรอบ MCR2030 ของ UNDRR มุ่งสู่การเป็นเมืองรีซิเลียนซ์ต่อภัยพิบัติอย่างยั่งยืน ดาวน์โหลดแนวทางฉบับสมบูรณ์ได้ที่ https://pubhtml5.com/uvjg/cyxx/ #DisasterResilience #CommunityBasedDRM #มหาสารคาม #การจัดการภัยพิบัติ ภาพและข่าว : คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์/ดร.ธายุกร พระบำรุง เผยแพร่โดย : ชลทิตย์ สีเทา ณ วันที่ : 2 มกราคม 2568
Read More »เสริมศักยภาพครูรักษ์ถิ่น สู่การพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน” – CMARE มมส ร่วมกับ คณะศึกษาศาสตร์ มข.
เสริมศักยภาพครูรักษ์ถิ่น สู่การพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน” – CMARE มมส ร่วมกับ คณะศึกษาศาสตร์ มข. คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม โดยหน่วยปฏิบัติการวิจัยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การบรรเทา และการปรับตัว (CMARE) จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ “การพัฒนาศักยภาพของครูรักษ์ถิ่น เพื่อการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน” เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2567 ที่ผ่านมา ดร.ธายุกร พระบำรุง ผู้อำนวยการหน่วยปฏิบัติการวิจัย CMARE ได้รับเกียรติเป็นวิทยากรถ่ายทอดความรู้ให้แก่นักศึกษาโครงการครูรักษ์ถิ่น คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จำนวน 35 คน พร้อมด้วยคณาจารย์ผู้ควบคุมดูแล การอบรมครั้งนี้มุ่งเน้นการพัฒนาศักยภาพนักศึกษาครูในหลายมิติ ประกอบด้วย การวิเคราะห์บริบทชุมชนผ่านเครื่องมือ SWOT Analysisการออกแบบและจัดทำโครงการพัฒนาชุมชนการประยุกต์ใช้โมเดลธุรกิจ Canvas ในการวางแผนงานการนำเทคโนโลยี AI มาสร้างสรรค์บทเพลงเพื่อการสื่อสารชุมชน นอกจากนี้ ทีมวิทยากรยังอยู่ระหว่างจัดทำตำรา “Educators as Catalysts for Sustainable Community …
Read More »นวัตกรรมแผนที่ทุนสังคม: มหาสารคามนำร่องเมืองปลอดภัย MCR2030″ – ความสำเร็จความร่วมมือ CMARE มมส และเทศบาลเมืองมหาสารคาม
คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ โดยหน่วยปฏิบัติการวิจัยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การบรรเทา และการปรับตัว (CMARE) มหาวิทยาลัยมหาสารคาม นำโดย ดร.ธายุกร พระบำรุง ผู้อำนวยการหน่วยฯ ร่วมกับนายภาคิน ติระพงศ์ไพบูลย์ นายกเทศมนตรีเมืองมหาสารคาม โดยการสนับสนุนทางวิชาการจากเครือข่ายพัฒนาความเข้มแข็งต่อภัยพิบัติไทย (TNDR) สำนักงานเพื่อการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติแห่งสหประชาชาติ (UNDRR) และการสนับสนุนงบประมาณจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมนำเสนอความสำเร็จการขับเคลื่อนเมืองเพื่อสร้างความรีซีเลียนซ์ต่อภัยพิบัติ (MCR2030) ในรายการ “เปลี่ยนโฉมประเทศไทย” ตอน “แผนที่ทุนสังคม: นวัตกรรมรับมือภัยพิบัติจากฐานราก” ทาง NBT11 ทีวีอีสาน วันพฤหัสบดีที่ 12 ธันวาคม 2567 เวลา 13:30-14:00 น. ความสำเร็จที่น่าจับตามองมีดังนี้ การผสานพลังความร่วมมือ บูรณาการองค์ความรู้วิจัย การบริการวิชาการ และศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น เสริมสร้างความเข้มแข็งผ่านกลไกคณะกรรมการชุมชนและ อสม. พัฒนาระบบสื่อสารข้อมูลและการสนับสนุนจากเทศบาลเมืองมหาสารคาม นวัตกรรมการสื่อสารสร้างสรรค์ ละครเวทีสร้างความตระหนักรู้ โดย อ.ทรรณรต ทับแย้ม คณะศิลปกรรมศาสตร์และวัฒนธรรมศาสตร์ …
Read More »คณะสิ่งแวดล้อมฯ ร่วมผลักดันกลไกสร้างเมืองรีซิเลียนซ์ต่อภัยพิบัติ ผ่านเวทีเสวนาสุขภาวะชุมชนเมืองตักสิลา
คณะสิ่งแวดล้อมฯ ร่วมผลักดันกลไกสร้างเมืองรีซิเลียนซ์ต่อภัยพิบัติ ผ่านเวทีเสวนาสุขภาวะชุมชนเมืองตักสิลา เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2567 ที่ผ่านมา คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม แสดงบทบาทสำคัญในการสนับสนุนองค์ความรู้และวิชาการ เพื่อผลักดันการพัฒนาเมืองยืดหยุ่นรับมือภัยพิบัติ (Urban Resilience) ผ่านการร่วมเสวนา “สุขภาวะชุมชนเมืองตักสิลา” ณ ห้องประชุมตักสิลาคอนเวนชั่นฮอลล์ ภายใต้การสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) โดย ดร.ธายุกร พระบำรุง อาจารย์ประจำภาควิชาเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม/ผู้อำนวยการหน่วยปฏิบัติการวิจัยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การบรรเทา และการปรับตัว (CMARE) และนักวิจัยเครือข่ายพัฒนาความเข้มแข็งต่อภัยพิบัติไทย (TNDR) ได้รับเชิญให้นำเสนอแนวทางการเสริมสร้างศักยภาพชุมชนและกลไกเมืองในการรับมือกับภัยพิบัติ โดยได้ชี้ให้เห็นว่า การสร้างเมือง รีซิเลียนซ์ต่อภัยพิบัติ หรือ MCR2030 ภายใต้กรอบของสำนักงานเพื่อการลดความเสี่ยงต่อภัยพิบัติแห่งสหประชาชาติ (UNDRR) นั้น ต้องอาศัยการบูรณาการองค์ความรู้ทางวิชาการเข้ากับภูมิปัญญาท้องถิ่น คณะสิ่งแวดล้อมฯ ได้ทำงานร่วมกับเทศบาลเมืองมหาสารคามในการพัฒนาระบบกลไกด้านข้อมูลความเสี่ยงจากการสะท้อนบทเรียนของชุมชน ร่วมการวิเคราะห์เชิงพื้นที่ การจัดทำแผนที่การบริหารจัดการภัยพิบัติระดับชุมชน อาทิเช่น น้ำท่วม วาตภัย อัคคีภัย และฝุ่นละอองขนาดเล็ก และการเสริมสร้างศักยภาพให้กับคณะกรรมการชุมชนและอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) …
Read More »