คณะสิ่งแวดล้อมฯ ขับเคลื่อนละครเวที “เสียงสะท้อนจากวันพรุ่งนี้” สื่อสารภัยพิบัติผ่านศิลปะ ชี้เมืองต้องตื่นรู้ ก่อนทุกอย่างสายเกินไป ฝุ่นควันยังไม่ทันจาง ฟ้าก็ผ่าพายุโหม — แล้วแผ่นดินก็ไหว เราจะรอให้ทุกอย่างถาโถม หรือจะลุกขึ้น “เตรียมพร้อม”? คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม โดยหน่วยปฏิบัติการวิจัยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การบรรเทา และการปรับตัว (CMARE) ได้ร่วมกับ คณะศิลปกรรมศาสตร์และวัฒนธรรมศาสตร์ (ภาควิชาศิลปะการแสดง) คณะวิทยาศาสตร์ (ศูนย์วิจัยเฉพาะทางนวัตกรรมดิจิทัลเพื่อการจัดการภัยพิบัติลุ่มน้ำแบบบูรณาการ) สำนักงานเพื่อการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติแห่งสหประชาชาติ (UNDRR) และเครือข่ายพัฒนาความเข้มแข็งต่อภัยพิบัติไทย (TNDR) จัดแสดงละครเวทีสร้างสรรค์เรื่อง “The Echoes of Tomorrow (เสียงสะท้อนจากวันพรุ่งนี้)” เพื่อย้ำเตือนว่า ภัยพิบัติในยุคนี้ ไม่ได้มาเพียงอย่างเดียว และไม่รอให้เราพร้อม เมืองไทยเผชิญภัยซ้อน- เราต้องพร้อมหลายมิติ แผ่นดินไหวในกรุงเทพฯ และภาคเหนือ สะเทือนใจคนทั้งประเทศค่าฝุ่น PM2.5 ทะลุเกณฑ์ความปลอดภัยในหลายจังหวัดต่อเนื่องพายุฤดูร้อน ถล่มหลายพื้นที่ สร้างความเสียหายอย่างไม่คาดคิด เหตุการณ์เหล่านี้ อาจไม่เกิดทุกวัน… แต่เมื่อมันเกิด …
Read More »CMARE Music Lab เปิดโอกาสให้ใช้บทเพลงเพื่อการเรียนรู้และสร้างความตระหนักด้านสิ่งแวดล้อม โดยไม่มีค่าใช้จ่าย!
คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม โดยหน่วยปฏิบัติการวิจัย Climate Change, Mitigation, and Adaptation Research Unit (CMARE) หลักสูตรสาขาวิชาเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม เปิดตัว CMARE Music Lab โครงการนวัตกรรมสื่อเพลงเพื่อการสื่อสารด้านสิ่งแวดล้อม ที่ผสมผสานองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์เข้ากับศิลปะดนตรี และการใช้เทคโนโลยี AI เพื่อสร้างเพลงที่เข้าถึงง่ายและส่งผลกระทบเชิงบวกต่อสังคม เพลงเหล่านี้สะท้อนปัญหาสิ่งแวดล้อม เช่น PM2.5 น้ำท่วม ความร้อน และภัยแล้ง ผ่านบทเพลงที่มีทั้งข้อมูลวิชาการและอารมณ์ทางศิลปะ เปิดให้หน่วยงาน องค์กร และสถานศึกษา ใช้บทเพลงเพื่อการศึกษาและรณรงค์โดยไม่มีค่าใช้จ่าย! CMARE Music Lab พร้อมสนับสนุนการนำเพลงไปใช้ในกิจกรรมต่าง ๆ อาทิ การเรียนการสอน ในวิชาสิ่งแวดล้อม การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และการจัดการภัยพิบัติการรณรงค์และแคมเปญสาธารณะ เพื่อสร้างความตระหนักเรื่องฝุ่นละอองขนาดเล็ก น้ำท่วม และผลกระทบจากภาวะโลกร้อนงานสัมมนาและประชุมเชิงวิชาการ ที่ต้องการนำเสนอข้อมูลผ่านสื่อสร้างสรรค์กิจกรรมของเยาวชนและชุมชน ที่มุ่งเน้นการเสริมสร้างความเข้าใจด้านสิ่งแวดล้อม รายชื่อบทเพลงจาก CMARE Music …
Read More »นิสิตหลักสูตรเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม มมส ศึกษาดูงานสถานที่ฝังกลบขยะมูลฝอยเทศบาลเมืองมหาสารคาม
นิสิตหลักสูตรเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม มมส ศึกษาดูงานสถานที่ฝังกลบขยะมูลฝอยเทศบาลเมืองมหาสารคาม วันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2568 ที่ผ่านมา นิสิตจากรายวิชา 1705372 ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์สำหรับงานเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม และ 1705425 การประยุกต์ใช้โปรแกรมด้านสิ่งแวดล้อม เพื่อการวางแผนและจัดการคุณภาพอากาศ คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ได้เข้าศึกษาดูงาน ณ สถานที่กำจัดขยะมูลฝอยเทศบาลเมืองมหาสารคาม (ต.หนองปลิง) โดยวัตถุประสงค์ของการศึกษาดูงาน คือ 1) เพื่อเรียนรู้กระบวนการจัดการขยะมูลฝอย ตั้งแต่การรับขยะ การฝังกลบ และแนวทางการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม 2) เพื่อศึกษาการจัดการก๊าซเรือนกระจกและสารอินทรีย์ระเหยง่าย (VOCs) จากพื้นที่ฝังกลบ โดยใช้เทคโนโลยีและแบบจำลอง เช่น LandGEM และฐานข้อมูล SPECIATE 3) เพื่อสำรวจแนวทางการใช้ประโยชน์จากขยะ เช่น การผลิตพลังงานจากขยะ และแนวโน้มการพัฒนาโรงไฟฟ้าจากขยะในพื้นที่และ 4) เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมของชุมชนและแนวทางพัฒนาสถานที่ฝังกลบให้เป็นระบบที่ยั่งยืน กิจกรรมนี้เป็นส่วนหนึ่งของการเรียนรู้ภาคสนาม ที่ช่วยให้นิสิตเข้าใจการบริหารจัดการของเสียในระดับเทศบาล และสามารถนำองค์ความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมได้อย่างมีประสิทธิภาพ หลักสูตรเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม เปิดโอกาสให้นิสิตได้เรียนรู้และพัฒนาทักษะที่สามารถนำไปใช้ในงานด้านสิ่งแวดล้อม ไม่ว่าจะเป็นการประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ …
Read More »เสริมศักยภาพครูรักษ์ถิ่น สู่การพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน” – CMARE มมส ร่วมกับ คณะศึกษาศาสตร์ มข.
เสริมศักยภาพครูรักษ์ถิ่น สู่การพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน” – CMARE มมส ร่วมกับ คณะศึกษาศาสตร์ มข. คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม โดยหน่วยปฏิบัติการวิจัยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การบรรเทา และการปรับตัว (CMARE) จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ “การพัฒนาศักยภาพของครูรักษ์ถิ่น เพื่อการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน” เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2567 ที่ผ่านมา ดร.ธายุกร พระบำรุง ผู้อำนวยการหน่วยปฏิบัติการวิจัย CMARE ได้รับเกียรติเป็นวิทยากรถ่ายทอดความรู้ให้แก่นักศึกษาโครงการครูรักษ์ถิ่น คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จำนวน 35 คน พร้อมด้วยคณาจารย์ผู้ควบคุมดูแล การอบรมครั้งนี้มุ่งเน้นการพัฒนาศักยภาพนักศึกษาครูในหลายมิติ ประกอบด้วย การวิเคราะห์บริบทชุมชนผ่านเครื่องมือ SWOT Analysisการออกแบบและจัดทำโครงการพัฒนาชุมชนการประยุกต์ใช้โมเดลธุรกิจ Canvas ในการวางแผนงานการนำเทคโนโลยี AI มาสร้างสรรค์บทเพลงเพื่อการสื่อสารชุมชน นอกจากนี้ ทีมวิทยากรยังอยู่ระหว่างจัดทำตำรา “Educators as Catalysts for Sustainable Community …
Read More »CMARE ร่วมขับเคลื่อนการพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน รับงานที่ปรึกษาประเมินความพึงพอใจการบริหารบ้านเมืองเทศบาลเมืองมหาสารคาม
เทศบาลเมืองมหาสารคาม โดยกองยุทธศาสตร์และงบประมาณ ได้ว่าจ้างหน่วยปฏิบัติการวิจัยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การบรรเทา และการปรับตัว (CMARE) คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เป็นที่ปรึกษาโครงการประเมินผลความพึงพอใจกับการบริหารบ้านเมือง ประจำปีงบประมาณ 2567โครงการดังกล่าว มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคิดเห็นของประชาชนต่อการบริหารจัดการของเทศบาล ผลการดำเนินงานตามอำนาจหน้าที่ ตลอดจนรวบรวมปัญหา อุปสรรค และแนวทางในการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับการให้บริการ เพื่อนำไปสู่การพัฒนาที่ตอบสนองความต้องการของประชาชนอย่างแท้จริง คณะที่ปรึกษาประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญจากหลากหลายสาขา นำโดย ดร.ธายุกร พระบำรุง ผู้อำนวยการหน่วยปฏิบัติการวิจัย CMARE เป็นผู้บริหารโครงการ ร่วมด้วย ดร.พิมพ์พร ภูครองเพชร จากคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ นายดุสิทธิ์ สารสวัสดิ์ นางสาวณัฐสุดา วงษ์เสน และนางสาวศรัญญา มูลจันทร์ โดยจะดำเนินการประเมินผลให้แล้วเสร็จภายใน 90 วัน การศึกษาครั้งนี้ จะใช้วิธีการเก็บข้อมูลที่หลากหลาย ทั้งแบบดั้งเดิมและดิจิทัล ครอบคลุมทุกภาคส่วนในชุมชน เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ครบถ้วนและเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาเทศบาลเมืองมหาสารคามต่อไป ถือเป็นความร่วมมือระหว่างสถาบันการศึกษาและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืน ภาพและข่าว : คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มมส / ดร.ธายุกร พระบำรุง เผยแพร่โดย : ชลทิตย์ …
Read More »คณะสิ่งแวดล้อมฯ ชู MCR2030 ในเวทีผู้นำด้านการรับมือภัยพิบัติระดับนานาชาติ อินชอน 2024: International Disaster Resilience Leaders Forum Incheon 2024
คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ โดย ดร.ธายุกร พระบำรุง ผู้อำนวยการหน่วยปฏิบัติการวิจัย Climate Change Mitigation and Adaptation Research Unit (CMARE) และนักวิจัย Thailand Network for Disaster Resilience (TNDR) ได้รับเกียรติเป็นตัวแทนประเทศไทยนำเสนอผลงานในการประชุมระดับนานาชาติ ณ Songdo Convensia Center เมืองอินชอน สาธารณรัฐเกาหลี ระหว่างวันที่ 28-30 ตุลาคม 2567 ในการประชุมครั้งนี้ ดร.ธายุกร ได้นำเสนอหัวข้อ “Mahasarakham University (MSU)’s efforts to support local governments capacity building in Thailand as part of MCR2030” …
Read More »คณะสิ่งแวดล้อมฯ เสริมพลังการขับเคลื่อนแผนป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยภาคอีสานตอนล่างสู่การปฏิบัติ
คณะสิ่งแวดล้อมฯ เสริมพลังการขับเคลื่อนแผนป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยภาคอีสานตอนล่างสู่การปฏิบัติ เมื่อวันที่ 19-20 กันยายน 2567 ที่ผ่านมา ณ โรงแรมอัลวาเรซ จังหวัดบุรีรัมย์ กองนโยบายป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ส่วนนโยบายจากธรรมชาติ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้จัดโครงการสัมมนาเชิงปฏิบัติการในการขับเคลื่อนแผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยระดับพื้นที่ (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 โดย ดร.ธายุกร พระบำรุง ผู้อำนวยการหน่วยปฏิบัติการวิจัยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การบรรเทา และการปรับตัว (CMARE) คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ได้รับเชิญให้เสริมพลังพื้นที่ ในหัวข้อ “การขับเคลื่อนแผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยระดับพื้นที่สู่การปฏิบัติ” โดยได้เผยแพร่องค์ความรู้จากบทความ เรื่อง การสร้างเมืองยืดหยุ่นด้วยกลยุทธ์การศึกษา ภายใต้โครงการ MCR2030 กรณีของเมืองมหาสารคาม จากการประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานเครือข่ายพัฒนาความเข้มแข็งต่อภัยพิบัติไทย ครั้งที่ 1 ประจำปี 2566 โดยคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสุขภาพ มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช ร่วมกับเครือข่ายพัฒนาความเข้มแข็งต่อภัยพิบัติไทย (TNDR) และได้ให้คำแนะนำด้านวิชาการ เพื่อบูรณาการการสร้างเมืองรีซิเลียนซ์ต่อภัยพิบัติ (MCR2030) ซึ่งประกอบด้วย 10 …
Read More »นิสิตคณะสิ่งแวดล้อมร่วมสำรวจและตรวจวัดคุณภาพน้ำสวนสาธารณะหนองข่า
เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2567 นิสิตปริญญาตรีชั้นปีที่ 4 สาขาวิชาเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ได้ลงพื้นที่สำรวจและตรวจวัดคุณภาพน้ำเบื้องต้น พร้อมเก็บตัวอย่างน้ำที่สวนสาธารณะหนองข่า ต.ตลาด อ.เมือง จ.มหาสารคาม กิจกรรมนี้เป็นส่วนหนึ่งของการบริการวิชาการด้านสิ่งแวดล้อม เพื่อสนับสนุนข้อมูลให้กับโครงการออกแบบปรับปรุงภูมิทัศน์สวนสาธารณะหนองข่า ซึ่งดำเนินการโดยอาจารย์โกวิทย์ วาปีศิลป์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ร่วมกับเทศบาลเมืองมหาสารคาม โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อประกอบการออกแบบการปรับปรุงภูมิทัศน์บริเวณแหล่งน้ำในพื้นที่สวนสาธารณะ และกำหนดมาตรการบริหารจัดการคุณภาพน้ำให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานตามประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ฉบับที่ 8 (พ.ศ. 2537) เรื่อง กำหนดมาตรฐานคุณภาพน้ำในแหล่งน้ำผิวดิน การให้บริการทางวิชาการครั้งนี้ ยังเป็นโอกาสให้นิสิตได้พัฒนาทักษะที่จำเป็นสำหรับการทำงานในสายอาชีพ เช่น การวางแผน การแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า การบันทึกข้อมูลภาคสนาม การใช้เครื่องมือตรวจวัด และการเก็บตัวอย่าง ภาพและข่าว : คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มมส /ดร.ธายุกร พระบำรุง เผยแพร่โดย : ชลทิตย์ สีเทา ณ วันที่ : 29 …
Read More »คณะสิ่งแวดล้อมฯ เสริมพลังท้องถิ่น ผ่านระบบและกลไกเพื่อสร้างความรู้และทักษะของเยาวชนจากฐานอัตลักษณ์ท้องถิ่น สู่การบริหารจัดการที่ดี
เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2567 ที่ผ่านมา คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ โดยหน่วยปฏิบัติการวิจัยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การบรรเทา และการปรับตัว (CMARE) ได้ร่วมการประเมินรางวัลองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีการบริหารจัดการที่ดี ประจำปีงบประมาณ 2567 ในประเภทโดดเด่น กลุ่มปกครองส่วนท้องถิ่นขนาดใหญ่ (เทศบาลนคร เทศบาลเมือง อบจ.) รอบการตรวจประเมินขั้นต้นและรอบสุดท้าย ในฐานะภาคีเครือข่ายภาคการศึกษาที่สนับสนุนองค์ความรู้และระบบและกลไกในการพัฒนาท้องถิ่นแบบองค์รวม จากการดำเนินโครงการการพัฒนาศักยภาพการจัดการเรียนและการสอนแบบสหวิทยาการโดยใช้ประวัติศาสตร์และอัตลักษณ์ท้องถิ่นเป็นฐานสู่การพัฒนาชุมชนยั่งยืน ภายใต้การสนับสนุนจากโครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและการพัฒนาท้องถิ่น โดยมีสถาบันอุดมศึกษาเป็นพี่เลี้ยง ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ที่ได้บูรณาการร่วมกับคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม และกองการศึกษา เทศบาลเมืองมหาสารคาม นำร่อง 4 โรงเรียน คือ โรงเรียนเทศบาลบูรพาพิทยาคาร โรงเรียนเทศบาลบ้านส่องนางใย โรงเรียนเทศบาลสามัคคีวิทยา และโรงเรียนเทศบาลศรีสวัสดิ์วิทยา และ โรงเรียนเทศบาลบูรพาพิทยาคาร โรงเรียนเทศบาลบ้านส่องนางใย โรงเรียนเทศบาลสามัคคีวิทยา และโรงเรียนเทศบาลศรีสวัสดิ์วิทยา (เล่มหลักสูตร https://pubhtml5.com/bookcase/ofeu/) โดยมุ่งเน้นให้ครู และเยาวชน สามารถบูรณาการสาระการเรียนรู้ต่าง ๆ ที่มีการเรียนการสอนอยู่เดิมให้เชื่อมโยงกับการสร้างความรู้และความเข้าใจวิถีชีวิต …
Read More »คณะสิ่งแวดล้อมฯ เสริมศักยภาพผู้เชี่ยวชาญชีวิตให้พร้อมรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2567 คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม โดยหน่วยปฏิบัติการวิจัยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การบรรเทา และการปรับตัว (CMARE) ได้ร่วมการกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการของโรงเรียนผู้เชี่ยวชาญชีวิต (ผชช.) ประจำปี 2567 ของเทศบาลเมืองมหาสารคาม ณ ห้องประชุมอเนกประสงค์ เทศบาลเมืองมหาสารคาม ดร.ธายุกร พระบำรุง ผู้อำนวยการหน่วยปฏิบัติการวิจัยฯ พร้อมด้วยนิสิตปริญญาตรีชั้นปีที่ 4 หลักสูตรสาขาวิชาเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม ได้ร่วมเป็นวิทยากรและทีมกระบวนกร โดยมีผู้เชี่ยวชาญชีวิตจาก 31 ชุมชนในเขตเมืองมหาสารคามเข้าร่วมกว่า 70 คน กิจกรรมนี้มุ่งเน้นการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุแบบองค์รวม ทั้งด้านสุขภาพกายและใจ พร้อมทั้งส่งเสริมการมีส่วนร่วมในชุมชนและการอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น นอกจากนี้ ยังมีการบูรณาการกิจกรรมรณรงค์ “ลดโลกเดือด” ผ่านการใช้สติกเกอร์ลุงโลกเดือด เน้นการคัดแยกขยะ การใช้ตะกร้าแทนถุงพลาสติก การปลูกต้นไม้ และการงดเผาขยะ ไฮไลท์สำคัญของงาน คือ การระดมสมองเพื่อรวบรวมองค์ความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในด้านต่างๆ เพื่อสะท้อนวิถีชีวิต ประเพณี และศิลปวัฒนธรรมของเมืองมหาสารคาม ซึ่งจะนำไปสู่การอนุรักษ์และสร้างมูลค่าต่อไปในอนาคต การจัดกิจกรรมครั้งนี้ แสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของคณะสิ่งแวดล้อมฯ …
Read More »