คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ ม.มหาสารคาม ร่วมประชุมขับเคลื่อนการเตรียมความพร้อมป้องกันภัยพิบัติภาคอีสาน เมื่อวันที่ 24 เมษายน 2568 ณ โรงแรมบายาสิตา มหาวิทยาลัยขอนแก่น ดร.ธายุกร พระบำรุง ผู้อำนวยการหน่วยปฏิบัติการวิจัยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การบรรเทา และการปรับตัว (CMARE) และนักวิจัย ศูนย์วิจัยเฉพาะทางนวัตกรรมดิจิทัลเพื่อการจัดการภัยพิบัติลุ่มน้ำแบบบูรณาการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เข้าร่วมประชุมในฐานะผู้แทนมหาวิทยาลัย เพื่อหารือแนวทางการบูรณาการการป้องกันภัยพิบัติในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การประชุมจัดขึ้นโดย เครือข่ายพัฒนาความเข้มแข็งต่อภัยพิบัติไทย (TNDR) ภายใต้การอุปถัมภ์ของ มูลนิธิเตรียมความพร้อมป้องกันภัยพิบัติในประเทศไทย (TDPF) โดย ดร.พิจิตต รัตตกุล ประธานเครือข่าย และ ดร.สุทัศน์ วีสกุล รองประธานเครือข่าย ร่วมกับคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยศูนย์วิศวกรรมทรัพยากรน้ำและสิ่งแวดล้อม ซึ่งมีตัวแทนจากมหาวิทยาลัยในภาคอีสาน เช่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยมหาสารคาม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์ …
Read More »คู่มือ “เยาวชนอีสานกับภารกิจลดฝุ่น PM2.5” พร้อมให้ดาวน์โหลดแล้ว! จุดประกายการเรียนรู้ – ปลูกพลังเยาวชน – สร้างอากาศสะอาดเพื่ออนาคต
ในภาวะที่ปัญหาฝุ่น PM2.5 กลายเป็นภัยเงียบที่ส่งผลต่อสุขภาพ สิ่งแวดล้อม และคุณภาพชีวิต คู่มือฉบับนี้จึงถูกออกแบบมา เพื่อครู ผู้ปกครอง และเยาวชน ที่ต้องการ เข้าใจปัญหาอย่างง่าย และลงมือเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นรูปธรรม จุดเด่นของคู่มือ สรุปองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ อย่างกระชับ เข้าใจง่าย เหมาะกับเยาวชนกิจกรรม Active Learning ที่ส่งเสริมการคิด วิเคราะห์ ลงมือทำจริงสื่อประกอบหลากหลาย ทั้งอินโฟกราฟิก ภาพระบายสี เกม และกิจกรรมสร้างสรรค์เปิดโอกาสให้เยาวชนเป็นผู้สร้างการเปลี่ยนแปลงในโรงเรียน ชุมชน และครอบครัวของตน เหมาะสำหรับการนำไปใช้ กิจกรรมในห้องเรียน วิชาวิทยาศาสตร์ สุขศึกษา หรือบูรณาการโครงงานกิจกรรมวันสิ่งแวดล้อมโลกหรือกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน (5 ก.)โครงการส่งเสริมสุขภาพและสิ่งแวดล้อมในสถานศึกษาและชุมชน ดาวน์โหลดคู่มือได้ฟรี! https://drive.google.com/file/d/1Gyg2n-R9LET_-ss0kYRGhnlpNJsLF7D0/view?usp=sharing ข้อความจากผู้เขียน “แม้ผมจะไม่ได้เติบโตในภาคอีสาน แต่การได้ทำงานร่วมกับครู นักเรียน และชุมชนที่นี่ ทำให้ผมเห็นถึงพลังที่ยิ่งใหญ่ของเยาวชน คู่มือนี้จึงไม่ได้เขียนขึ้นเพื่อสอนให้เด็ก ๆ รู้แค่เรื่องฝุ่น แต่เพื่อชวนให้พวกเขา คิด เห็น และลงมือทำ …
Read More »ประชาสัมพันธ์การเผยแพร่หนังสือ “บทสวดมนต์: สร้างสติ สุขภาพจิต และพลังในยามวิกฤติ” Chanting: Cultivating Mindfulness, Mental Well-being, and Strength in Times of Crisis
หน่วยปฏิบัติการวิจัยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การบรรเทา และการปรับตัว (CMARE) ขอเชิญชวนผู้สนใจทั่วไป ดาวน์โหลดและใช้งานหนังสือบทสวดมนต์ร่วมสมัย ที่ออกแบบมาเพื่อเสริมสร้าง สติ สุขภาวะทางจิต และพลังใจในยามเผชิญความไม่แน่นอน จุดเด่นของหนังสือ รวมบทสวดมนต์ที่เหมาะสมกับสถานการณ์ต่าง ๆ ทั้งการใช้ในชีวิตประจำวัน การเผชิญภัยพิบัติ และการสร้างความสงบในที่ทำงานมีแนวทางการเตรียมตัว เทคนิคการตั้งเจตนา และตารางสวดมนต์สำหรับใช้จริงในชีวิตประจำวันเชื่อมโยงหลักธรรมกับข้อมูลด้านสุขภาวะและภัยพิบัติในมุมมองของยุคปัจจุบันภาพประกอบร่วมสมัย เข้าใจง่าย เหมาะสำหรับผู้อ่านทุกวัย สามารถดาวน์โหลดหนังสือฉบับเต็มได้ฟรีที่: https://drive.google.com/file/d/1Hj5-qKBLe_eS_bx0t6OvxpuSMUIyEqHV/view?usp=sharing จุดประสงค์ของการจัดทำหนังสือเล่มนี้ เพื่อใช้เป็นสื่อในการพัฒนาสุขภาวะจิตใจ ส่งเสริมสติ และสร้างแนวทางปฏิบัติในการดูแลตนเอง โดยเฉพาะในช่วงเวลาที่ผู้คนต้องเผชิญกับความเครียด ความสูญเสีย หรือเหตุการณ์ไม่คาดฝัน หากมีข้อเสนอแนะเพิ่มเติมในการใช้งานหนังสือ หรือประสงค์จะนำไปใช้ในกิจกรรมของหน่วยงาน สามารถติดต่อได้ที่หน่วยปฏิบัติการวิจัย CMARE คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม “เสียงแห่งสติ สามารถเปลี่ยนแปลงภายใน เพื่อให้เรายืนหยัดได้ในภายนอก” ภาพและข่าว : คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์/ดร.ธายุกร พระบำรุง เผยแพร่โดย : ชลทิตย์ สีเทา ณ วันที่ : 8 เมษายน 2568
Read More »คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เข้าร่วมประชุมเริ่มต้นโครงการ (Kick-off) โครงการพัฒนาระบบบัญชีเศรษฐกิจสิ่งแวดล้อม บัญชีระบบนิเวศ โดยสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในวันพฤหัสบดีที่ 6 มีนาคม 2568
คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เข้าร่วมประชุมเริ่มต้นโครงการ (Kick-off) โครงการพัฒนาระบบบัญชีเศรษฐกิจสิ่งแวดล้อม บัญชีระบบนิเวศ โดยสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในวันพฤหัสบดีที่ 6 มีนาคม 2568 ผู้แทนมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ผศ.ดร.ธนายุทธ ไชยธงรัตน์ รองอธิการบดีฝ่ายโครงสร้างพื้นฐานและการจัดการสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ร่วมกับ ดร.พรรคพงษ์ ศรีประเสริฐ ผู้ช่วยคณบดี ฝ่ายวิเทศสัมพันธ์ วิจัยและบริการวิชาการ คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เข้าร่วมประชุมเริ่มต้นโครงการ (Kick-off) โครงการพัฒนาระบบบัญชีเศรษฐกิจสิ่งแวดล้อม บัญชีระบบนิเวศ โดยสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในวันพฤหัสบดีที่ 6 มีนาคม 2568 เวลา 08.30 – 12.00 น. ณ ห้องกมลทิพย์ 3 ชั้น 2 โรงแรมเดอะ สุโกศล กรุงเทพฯ เพื่อรับฟังการชี้แจงกรอบการศึกษาและแผนการดำเนินงานของโครงการฯ ร่วมกับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องกับทรัพยากรป่าไม้ ระบบนิเวศป่าไม้ และพื้นที่สีเขียว …
Read More »คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ขอแสดงความยินดีกับผู้ได้รับรางวัลนักวิจัยที่มีผลงานตีพิมพ์สูงสุดและ นักวิจัยที่มี H-index สูงสุดในฐานข้อมูล Scopus ระดับคณะ ประจำปี พ.ศ. 2567
ในนาม คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ขอแสดงความยินดีกับผู้ได้รับรางวัลนักวิจัยที่มีผลงานตีพิมพ์สูงสุดและ นักวิจัยที่มี H-index สูงสุดในฐานข้อมูล Scopus ระดับคณะ ประจำปี พ.ศ. 2567 – รศ.ดร.ธวัดชัย ธานี 13 บทความ – ผศ.ดร.เสถียรพงษ์ ขาวหิต 6 บทความ – ผศ.อารีรัตน์ รักษาศิลป์ 4 บทความ – ผศ.ดร.เพ็ญแข ธรรมเสนานุภาพ 4 บทความ นักวิจัยที่มี H-index สูงสุดในฐานข้อมูล Scopus ระดับคณะ ประจำปี พ.ศ. 2567 – รศ.ดร.ธวัดชัย ธานี ค่า H-index เท่ากับ 13 – รศ.ดร.จิตติมา ประสาระเอ …
Read More »CMARE Music Lab เปิดโอกาสให้ใช้บทเพลงเพื่อการเรียนรู้และสร้างความตระหนักด้านสิ่งแวดล้อม โดยไม่มีค่าใช้จ่าย!
คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม โดยหน่วยปฏิบัติการวิจัย Climate Change, Mitigation, and Adaptation Research Unit (CMARE) หลักสูตรสาขาวิชาเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม เปิดตัว CMARE Music Lab โครงการนวัตกรรมสื่อเพลงเพื่อการสื่อสารด้านสิ่งแวดล้อม ที่ผสมผสานองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์เข้ากับศิลปะดนตรี และการใช้เทคโนโลยี AI เพื่อสร้างเพลงที่เข้าถึงง่ายและส่งผลกระทบเชิงบวกต่อสังคม เพลงเหล่านี้สะท้อนปัญหาสิ่งแวดล้อม เช่น PM2.5 น้ำท่วม ความร้อน และภัยแล้ง ผ่านบทเพลงที่มีทั้งข้อมูลวิชาการและอารมณ์ทางศิลปะ เปิดให้หน่วยงาน องค์กร และสถานศึกษา ใช้บทเพลงเพื่อการศึกษาและรณรงค์โดยไม่มีค่าใช้จ่าย! CMARE Music Lab พร้อมสนับสนุนการนำเพลงไปใช้ในกิจกรรมต่าง ๆ อาทิ การเรียนการสอน ในวิชาสิ่งแวดล้อม การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และการจัดการภัยพิบัติการรณรงค์และแคมเปญสาธารณะ เพื่อสร้างความตระหนักเรื่องฝุ่นละอองขนาดเล็ก น้ำท่วม และผลกระทบจากภาวะโลกร้อนงานสัมมนาและประชุมเชิงวิชาการ ที่ต้องการนำเสนอข้อมูลผ่านสื่อสร้างสรรค์กิจกรรมของเยาวชนและชุมชน ที่มุ่งเน้นการเสริมสร้างความเข้าใจด้านสิ่งแวดล้อม รายชื่อบทเพลงจาก CMARE Music …
Read More »หลักสูตรเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม ม.มหาสารคาม ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) วิเคราะห์พื้นที่จริง ลดการเผาในที่โล่ง สร้างแนวทางจัดการสิ่งแวดล้อมชุมชน
หลักสูตรเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม ม.มหาสารคาม ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) วิเคราะห์พื้นที่จริง ลดการเผาในที่โล่ง สร้างแนวทางจัดการสิ่งแวดล้อมชุมชน หลักสูตรเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ “วัสดุเหลือใช้มีค่า สร้างอากาศดี สร้างรายได้” ณ โรงเรียนขามเรียงเขียบโนนแสบงดอนมัน เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2568 โดยนิสิตชั้นปีที่ 3 จากรายวิชา 1705372 ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์สำหรับงานเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม ได้ร่วมวิเคราะห์ข้อมูลระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ด้านการใช้ประโยชน์ที่ดินและสิ่งปกคลุมดิน พร้อมศึกษาความหนาแน่นของจุดความร้อน (Fire Hotspot) โดยใช้ข้อมูลจากมิตรเอิร์ธ ระหว่างปี พ.ศ. 2545-2565 ซึ่งได้แสดงให้เห็นถึงปัญหาการเผาในโล่งแจ้งที่ส่งผลต่อคุณภาพอากาศ จากการวิเคราะห์ข้อมูล พบว่า พื้นที่รอบโรงเรียนตั้งอยู่ในเขตเกษตรกรรมที่มีการเผาฟางข้าวและเศษวัสดุทางการเกษตรอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้เกิดฝุ่น PM2.5 ที่กระทบต่อสุขภาพของชุมชน โดยนิสิตได้ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ เพื่อเชื่อมโยงข้อมูลการใช้ที่ดินและสิ่งปกคลุมดินกับจุดความร้อน ทำเข้าใจพื้นที่เสี่ยงและการพัฒนาแนวทางลดการเผาร่วมกับภาคชุมชนได้ ในกิจกรรมครั้งนี้ นิสิต ได้สาธิตกระบวนการผลิตกระดาษจากฟางข้าว ซึ่งเป็นแนวทางหนึ่งในการทดแทนการเผา พร้อมให้ความรู้เรื่องเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) แนวทางการจัดการวัสดุเหลือใช้อย่างยั่งยืน …
Read More »นิสิตหลักสูตรเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม มมส ศึกษาดูงานสถานที่ฝังกลบขยะมูลฝอยเทศบาลเมืองมหาสารคาม
นิสิตหลักสูตรเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม มมส ศึกษาดูงานสถานที่ฝังกลบขยะมูลฝอยเทศบาลเมืองมหาสารคาม วันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2568 ที่ผ่านมา นิสิตจากรายวิชา 1705372 ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์สำหรับงานเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม และ 1705425 การประยุกต์ใช้โปรแกรมด้านสิ่งแวดล้อม เพื่อการวางแผนและจัดการคุณภาพอากาศ คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ได้เข้าศึกษาดูงาน ณ สถานที่กำจัดขยะมูลฝอยเทศบาลเมืองมหาสารคาม (ต.หนองปลิง) โดยวัตถุประสงค์ของการศึกษาดูงาน คือ 1) เพื่อเรียนรู้กระบวนการจัดการขยะมูลฝอย ตั้งแต่การรับขยะ การฝังกลบ และแนวทางการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม 2) เพื่อศึกษาการจัดการก๊าซเรือนกระจกและสารอินทรีย์ระเหยง่าย (VOCs) จากพื้นที่ฝังกลบ โดยใช้เทคโนโลยีและแบบจำลอง เช่น LandGEM และฐานข้อมูล SPECIATE 3) เพื่อสำรวจแนวทางการใช้ประโยชน์จากขยะ เช่น การผลิตพลังงานจากขยะ และแนวโน้มการพัฒนาโรงไฟฟ้าจากขยะในพื้นที่และ 4) เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมของชุมชนและแนวทางพัฒนาสถานที่ฝังกลบให้เป็นระบบที่ยั่งยืน กิจกรรมนี้เป็นส่วนหนึ่งของการเรียนรู้ภาคสนาม ที่ช่วยให้นิสิตเข้าใจการบริหารจัดการของเสียในระดับเทศบาล และสามารถนำองค์ความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมได้อย่างมีประสิทธิภาพ หลักสูตรเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม เปิดโอกาสให้นิสิตได้เรียนรู้และพัฒนาทักษะที่สามารถนำไปใช้ในงานด้านสิ่งแวดล้อม ไม่ว่าจะเป็นการประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ …
Read More »ภัยพิบัติรับมือได้ ด้วยพลังชุมชน: สร้างทางเลือก สู่ทางรอด จากบทเรียนเมืองมหาสารคาม
การถอดบทเรียนจาก 31 ชุมชนในเขตเทศบาลเมืองมหาสารคาม โดยทีมเครือข่ายนักวิจัยสหวิทยาการ หน่วยปฏิบัติการวิจัยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การบรรเทา และการปรับตัว (CMARE) คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม นำไปสู่การพัฒนาแนวทางบูรณาการการจัดการความเสี่ยงภัยพิบัติที่เชื่อมโยงกับกลไกการทำงานของชุมชนและเทศบาลเมือง แนวทางนี้ใช้การวิเคราะห์แบบองค์รวม ผ่านแผนที่ทุนทางสังคมที่ชุมชนมีส่วนร่วม ครอบคลุมทั้งการประเมินภัย ความเปราะบาง และศักยภาพชุมชน พร้อมบทเรียนจากเหตุการณ์ภัยพิบัติที่ผ่านมา สามารถนำไปปรับใช้กับบริบทพื้นที่อื่นได้ สอดคล้องกับกรอบ MCR2030 ของ UNDRR มุ่งสู่การเป็นเมืองรีซิเลียนซ์ต่อภัยพิบัติอย่างยั่งยืน ดาวน์โหลดแนวทางฉบับสมบูรณ์ได้ที่ https://pubhtml5.com/uvjg/cyxx/ #DisasterResilience #CommunityBasedDRM #มหาสารคาม #การจัดการภัยพิบัติ ภาพและข่าว : คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์/ดร.ธายุกร พระบำรุง เผยแพร่โดย : ชลทิตย์ สีเทา ณ วันที่ : 2 มกราคม 2568
Read More »เสริมศักยภาพครูรักษ์ถิ่น สู่การพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน” – CMARE มมส ร่วมกับ คณะศึกษาศาสตร์ มข.
เสริมศักยภาพครูรักษ์ถิ่น สู่การพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน” – CMARE มมส ร่วมกับ คณะศึกษาศาสตร์ มข. คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม โดยหน่วยปฏิบัติการวิจัยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การบรรเทา และการปรับตัว (CMARE) จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ “การพัฒนาศักยภาพของครูรักษ์ถิ่น เพื่อการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน” เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2567 ที่ผ่านมา ดร.ธายุกร พระบำรุง ผู้อำนวยการหน่วยปฏิบัติการวิจัย CMARE ได้รับเกียรติเป็นวิทยากรถ่ายทอดความรู้ให้แก่นักศึกษาโครงการครูรักษ์ถิ่น คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จำนวน 35 คน พร้อมด้วยคณาจารย์ผู้ควบคุมดูแล การอบรมครั้งนี้มุ่งเน้นการพัฒนาศักยภาพนักศึกษาครูในหลายมิติ ประกอบด้วย การวิเคราะห์บริบทชุมชนผ่านเครื่องมือ SWOT Analysisการออกแบบและจัดทำโครงการพัฒนาชุมชนการประยุกต์ใช้โมเดลธุรกิจ Canvas ในการวางแผนงานการนำเทคโนโลยี AI มาสร้างสรรค์บทเพลงเพื่อการสื่อสารชุมชน นอกจากนี้ ทีมวิทยากรยังอยู่ระหว่างจัดทำตำรา “Educators as Catalysts for Sustainable Community …
Read More »