Breaking News
Home / บริการวิชาการ / ข่าว-บริการวิชาการ

ข่าว-บริการวิชาการ

คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ ร่วมเป็นสมาชิกเครือข่ายคาร์บอนนิวทรัลประเทศไทย (Thailand Carbon Neutral Network: TCNN)

คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์   เข้าร่วมเป็นเครือข่ายคาร์บอนนิวทรัลประเทศไทย หรือ Thailand Carbon Neutral Network ซึ่งจัดตั้งโดยองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) หรือ TGO โดยมีวัตถุประสงค์ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคท้องถิ่น/ชุมชน ในการยกระดับการลดก๊าซเรือนกระจก สร้างการเติบโตอย่างยั่งยืนบนสังคมที่เป็นมิตรต่อสภาพภูมิอากาศ และมุ่งสู่การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ตามเจตนารมณ์ของประชาคมโลกที่ปรากฏในเป้าหมายของความตกลงปารีสว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ทั้งนี้ หน่วยปฏิบัติการวิจัยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การบรรเทา และการปรับตัว (CMARE) เป็นผู้ประสานระหว่างหน่วยงานภายในและนอก รวมถึงเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนการสร้างกลไกควบคู่กับการวิจัยและการบริการวิชาการ  โดยสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่  http://tcnn.tgo.or.th/ ภาพและข่าว :  คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มมส /  ดร.ธายุกร พระบำรุง เผยแพร่โดย : ชลทิตย์ สีเทา ณ วันที่ : 15 พฤษภาคม 2566

Read More »

“The Plastic Bags” จากขยะจากเราสู่การเขยิบเพื่อโลก โดยกลุ่ม Youth for Changes MSU หลักสูตรสาขาวิชาเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม

เมื่อวันที่ 15 มกราคม ที่ผ่านมา กลุ่ม Youth for Changes MSU หลักสูตรสาขาวิชาเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม นำโดย นางสาวพิมพ์ชนก คงวัฒน์  นิสิตระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 1 ได้ผนึกพลังเยาวชนหลายคณะ เพื่อจัดกิจกรรม  “The Plastic Bags” ซึ่งมีวัตถุประสงค์ เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของของเยาวชนในมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ในการลดการใช้และเพิ่มมูลค่าถุงพลาสติก รวมถึงการลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกสู่บรรยากาศ โดยใช้แนวทาง Upcycling  (กระเป๋าสะพายจากถุงพลาสติกใช้แล้ว) ที่สอดรับกับ Roadmap การจัดการขยะพลาสติก พ.ศ. 2561-2573 ทั้งนี้ รองศาสตราจารย์ ดร.อดิศักดิ์ สิงห์สีโว คณบดีคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ เป็นประธานเปิดงาน  พร้อมด้วยคณะผู้บริหารและอาจารย์หลักสูตร  เข้าร่วมงาน  โดยกิจกรรมนี้ ได้รับการสนับสนุนจาก Young Southeast Asian Leaders Initiative (YSEALI) สถานทูตสหรัฐอเมริกา (The …

Read More »

เพิ่มขีดความสามารถให้กับนิสิตชั้นปีสุดท้าย สู่การประยุกต์ใช้เครื่องมือสมัยใหม่ เพื่อเตรียมพร้อมรับมือภัยพิบัติในสายอาชีพ ตามแนวทาง ISO 22301:2019

       คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ ได้จัดโครงการพัฒนาศักยภาพเพื่อเตรียมความพร้อมให้กับนิสิตก่อนสำเร็จการศึกษา ประจำปีการศึกษา 2565 โดยฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ ได้บูรณาการความร่วมมือกับฝ่ายบริหารและพัฒนานิสิต และฝ่ายวิชาการและประกันคุณภาพ ในการจัดการอบรมเชิงปฏิบัติการเตรียมความพร้อมด้านความรู้มาตรฐานระบบการบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจ ISO 22301:2019 ในระหว่างวันที่ 24-25 ธันวาคม 2565 ณ ห้อง ENV 210 และ 110 คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์  โดยคุณโฆษิต แก้วเต่า ผู้บริหารและที่ปรึกษา  บริษัท B. Training and Consultant จำกัด  เป็นวิทยากร และให้การสนับสนุนงบประมาณด้านอาหาร (การจัดอาหารแบบลดขยะจากบรรจุภัณฑ์) ซึ่งมาตรฐานระบบสากลนี้ สอดรับกับยุคปัจจุบัน  ตามประกาศคณะกรรมการกำหนดมาตรฐานด้านการตรวจสอบและรับรอง ฉบับที่ 40 (พ.ศ. 2564) ออกตามความในพระราชบัญญัติการมาตรฐานแห่งชาติ พ.ศ. 2551 เรื่อง กำหนดมาตรฐานการตรวจสอบและรับรองแห่งชาติ ความมั่นคงปลอดภัยและการฟื้นคืนสู่สภาวะปกติ-ระบบการบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจ-ข้อกำหนด ซึ่งมีวัตถุประสงค์ เพื่อป้องกัน ลดโอกาสในการเกิดภัยคุกคาม …

Read More »

คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ รวมพลังเรียนรู้การอนุรักษ์สายน้ำแห่งชีวิตร่วมกับเครือข่ายคนลำน้ำชี 

คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์  รวมพลังเรียนรู้การอนุรักษ์สายน้ำแห่งชีวิตร่วมกับเครือข่ายคนลำน้ำชี เมื่อวันที่ 9-10 ธ.ค. 2565 ที่ผ่านมา  ดร.ธายุกร พระบำรุง ในฐานะคณะกรรมการภาคตะวันออกเฉียงเหนือ-ตอนล่าง สถาบันลูกโลกสีเขียว/ผู้แทนสถาบันการศึกษา ได้เข้าร่วมเรียนรู้ในเวทีเสวนา “รวมพลังเรียนรู้การอนุรักษ์สายน้ำแห่งชีวิตร่วมกับเครือข่ายคนลำน้ำชี”  ซึ่งเกิดจากความร่วมมือกันของสถาบันลูกโลกสีเขียวและเครือข่ายคนลำน้ำชี   เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้และขับเคลื่อนเครือข่าย ในการอนุรักษ์ลำน้ำชีและระบบนิเวศอย่างยั่งยืน ณ ชุมชนบ้านรำเบอะ ต.เชื้อเพลิง อ.ปราสาท จ.สุรินทร์ โดยกิจกรรมเสวนานี้ ประกอบด้วย นางวรุตม์สุรางค์ ธรรมอารี ผู้อำนวยการสถาบันลูกโลกสีเขียว  ดร.รอยล จิตรดอน  สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน)  ดร.สมศักดิ์ สุขวงศ์ ผู้ก่อตั้งศูนย์วนศาสตร์ชุมชนเพื่อคนกับป่า ร่วมถึงชุมชน หน่วยงาน องค์กรภาครัฐและเอกชน สถาบันการศึกษา พร้อมทั้งผู้เกี่ยวข้องด้านการอนุรักษ์ใน 8 พื้นที่ตลอดสองฝั่งลำน้ำชีในจังหวัดสุรินทร์และบุรีรัมย์ ประกอบด้วยกลุ่มต้นน้ำและปลายน้ำที่ได้รับรางวัลด้านการอนุรักษ์ในแต่ปี ร่วมวงเสวนา   ต้นแบบด้านการอนุรักษ์ใน 8 พื้นที่ตลอดสองฝั่งลำน้ำชี  ในจังหวัดสุรินทร์และจ.บุรีรัมย์ ประกอบด้วยกลุ่มต้นน้ำที่มี นางประมวล มาลัย จ.บุรีรัมย์ …

Read More »

ขอแสดงความยินดีกับนักวิจัยที่ได้ทุนอุดหนุนจากโครงการบริการวิชาการแบบบูรณาการเพื่อสร้างนวัตกรรมและชุมชนต้นแบบสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566

ขอแสดงความยินดีกับนักวิจัยที่ได้ทุนอุดหนุนจากโครงการบริการวิชาการแบบบูรณาการเพื่อสร้างนวัตกรรมและชุมชนต้นแบบสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม  ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ ขอแสดงความยินดีกับนักวิจัยทั้ง 2 ท่าน ประกอบด้วย ผศ.ดร.อภิพงษ์ พุฒคำ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยด้านสิ่งแวดล้อมและพลังงานที่ยั่งยืน (SEER) โครงการส่งเสริมกระบวนการผลิต-ขึ้นเม็ดปุ๋ยจากขยะอินทรีย์ชุมชนและวัสดุเศษเหลือจากโรงงานน้ำตาลเพื่อสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานรากของชุมชน  (ลำดับ 21)  โดยบูรณาการความร่วมมือกับคณะเทคโนโลยีและคณะสถาปัตยกรรมศาตร์ ผังเมือง และนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ดร.ธายุกร พระบำรุง ผู้อำนวยการหน่วยปฏิบัติการวิจัยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การบรรเทา และการปรับตัว (CMARE) โครงการยกระดับชุมชนโพธิ์ศรี1 เป็นองค์กรธุรกิจชุมชนผลิตภัณฑ์แปรรูปจากข้าวเม่าที่เป็นอัตลักษณ์ของตำบลตลาด อำเภอเมืองมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม (ลำดับ 14)  โดยบูรณาการความร่วมมือกับคณะสาธารณสุขศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ คณะการบัญชีและการจัดการ และคณะสถาปัตยกรรมศาตร์ ผังเมือง และนฤมิตศิลป์  มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ภาพและข่าว : คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ / ดร.ธายุกร พระบำรุง เผยแพร่โดย : ชลทิตย์ สีเทา ณ วันที่ : 13 …

Read More »

คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ ร่วมอบรม ผ่านเครือข่าย TNDR และ UNDRR “ก่อร่างสร้างเมืองรีซิเลียนซ์”

เมื่อวันที่ 16-18 พฤศจิกายน 2565 นี้ ดร.ธายุกร พระบำรุง รองคณบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ  ได้เป็นผู้แทนในการเข้าร่วมอบรมเชิงวิชาการหัวข้อ “ท้องถิ่นกับการบริหารจัดการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติ และ Making Cities Resilience 2030 (MCR2030)” ณ โรงแรม รอยัล ออคิด เชอราตัน โฮเทล แอนด์ ทาวเวอร์ กรุงเทพฯ ซึ่งเป็นการดำเนินการ ภายใต้ความร่วมมือของเครือข่ายพัฒนาความเข้มแข็งต่อภัยพิบัติไทย (Thai Network for Disaster Resilience หรือ TNDR)  กับองค์การสหประชาชาติ  United Nations Office for Disaster Risk Reduction (UNDRR) โดยมุ่งเน้นการสร้างความเข้าใจเรื่องการสร้าง Resilience ของท้องถิ่น โดยเฉพาะการวางแผนบริหารจัดการและการสร้างความร่วมมือระหว่างภาคี พร้อมแนะนำ MCR2030 แนวคิดและเครื่องมือสำหรับการก่อร่างสร้างเมืองรีซิเลียนซ์ตลอดจนร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับผู้เข้าร่วมอบรมจำนวน …

Read More »

ประกาศคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ เรื่อง หลักเกณฑ์การให้ทุนอุดหนุนโครงการบริการวิชาการเชิงบูรณาการ เพื่อพัฒนาชุมชนต้นแบบด้านการจัดการสิ่งแวดล้อม และทรัพยากรธรรมชาติสู่การยกระดับเศรษฐกิจฐานรากตามแนวทางโมเดลเศรษฐกิจใหม่ (BCG Economy Model) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566

>>>pdf ดาวน์โหลด<<< ภาพและข่าว : คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ เผยแพร่โดย : ชลทิตย์ สีเทา ณ วันที่ : 10 พฤศจิกายน 2565

Read More »

สัญญาการรับทุนอุดหนุนโครงการบริการวิชาการเชิงบูรณาการ เพื่อพัฒนาชุมชนต้นแบบด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ สู่การยกระดับเศรษฐกิจฐานราก ตามแนวทางโมเดลเศรษฐกิจใหม่ (BCG Model) คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ตามพันธกิจของศูนย์วิจัย/หน่วยปฏิบัติการวิจัย/บริการวิชาการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566

>>>pdf ดาวน์โหลด<<< ภาพและข่าว : คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ เผยแพร่โดย : ชลทิตย์ สีเทา ณ วันที่ : 10 พฤศจิกายน 2565

Read More »

แบบเสนอขอรับทุนอุดหนุนโครงการบริการวิชาการเชิงบูรณาการ เพื่อพัฒนาชุมชนต้นแบบด้านการจัดการสิ่งแวดล้อม และทรัพยากรธรรมชาติสู่การยกระดับเศรษฐกิจฐานรากตามแนวทางโมเดลเศรษฐกิจใหม่ (BCG Economy Model) คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ตามพันธกิจของศูนย์วิจัย/หน่วยปฏิบัติการวิจัย/บริการวิชาการ สังกัดคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566

>>>pdf ดาวน์โหลด<<< ภาพและข่าว : คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ เผยแพร่โดย : ชลทิตย์ สีเทา ณ วันที่ : 10 พฤศจิกายน 2565

Read More »

หลักสูตรสาขาวิชาเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม ร่วมบริการวิชาการความร่วมมือสหวิทยาการ โครงการการยกระดับเกษตรกรพื้นที่ดินเค็มน้ำกร่อยบ้านปลาบู่ ตำบลหนองแสง อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม

หลักสูตรสาขาวิชาเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม ร่วมขับเคลื่อนโครงการบริการวิชาการ เรื่อง การยกระดับเกษตรกรพื้นที่ดินเค็มน้ำกร่อยบ้านปลาบู่ ตำบลหนองแสง อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม ซึ่งคณะวิทยาศาสตร์ เป็นหัวหน้าโครงการ โดยรับผิดชอบในส่วนของการพัฒนาการเรียนรู้และทักษะของเยาวชน ให้มีความรู้และความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติในท้องถิ่น ได้แก่ ดิน น้ำ และอากาศ ที่สัมพันธ์กับเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม ครอบคลุม องค์ความรู้ ทักษะการใช้เครื่องมือการตรวจวัดทางวิทยาศาสตร์พื้นฐาน การตีความผล และการเสนอแนะแนวทางการแก้ไขปัญหาชุมชน โดยจัดทำเป็นคู่มือหลักสูตรท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาความรู้และความเข้าใจดิน น้ำ อากาศ ของเยาวชน สำหรับการปรับตัวของชุมชนอย่างยั่งยืน กรณีชุมชนบ้านปลาบู่ ต.หนองแสง อ.วาปีปทุม จ.มหาสารคาม ที่ยังต้องมีการบูรณาการความร่วมมือกับภาคการศึกษาในระดับท้องถิ่น เพื่อให้เกิดการพัฒนาพื้นที่องค์รวมและได้รับประโยชน์ร่วมกัน รวมถึงการเปิดโอกาสให้คณะกรรมการชุมชนและคณะอาจารย์ ได้ลงพื้นที่ศึกษาดูงานการผลิตน้ำประปาที่เทศบาลตำบลหนองตูม (ทต. หนองตูม) อ.เมืองขอนแก่น จ.ขอนแก่น เพื่อยกระดับศักยภาพของระบบผลิตน้ำประปาชุมชนบ้านปลาบู่ที่ยังพบปัญหาสีและความขุ่น ให้คุณภาพน้ำสอดรับกับเกณฑ์คุณภาพน้ำประปาดื่มได้ กรมอนามัย พ.ศ. 2563 และสามารถรองรับการเป็นชุมชนท่องเที่ยววิถีวัฒนธรรม ผ่านการสนับสนุนของกลไกการปกครองส่วนท้องถิ่น และการนำอัตลักษณ์ของชุมชน “ปลาบู่” มาเป็นกลไกและพัฒนาเป็นถังขยะจักสานขนาดใหญ่รูปทรงปลาบู่ บูรณาในรูปศิลปะ …

Read More »