โรงเรียนการศึกษาคนตาบอด จังหวัดขอนแก่น ร่วมมือกับคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ และเครือข่ายภัยพิบัติ พัฒนาแผนอพยพสำหรับผู้พิการทางการมองเห็น พร้อมเชิญชวนหน่วยงานภายนอกร่วมสนับสนุนอย่างยั่งยืน ระหว่างวันที่ 14–15 พฤษภาคม 2568 โรงเรียนการศึกษาคนตาบอด จังหวัดขอนแก่น จัดกิจกรรม “การอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาแผนเผชิญเหตุและกระบวนการอพยพจากเหตุการณ์ภัยพิบัติ” สำหรับบุคลากรและนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการมองเห็น จำนวนประมาณ 50 คน โดยมีเป้าหมายเพื่อยกระดับความพร้อมของสถานศึกษาในการรับมือกับภัยพิบัติอย่างครอบคลุมและยั่งยืน กิจกรรมอบรมได้รับเกียรติจากนางชัญญานุช มูลวิชา ผู้อำนวยการโรงเรียน กล่าวเปิดงาน โดยมี ดร. ปิยวัฒน์ ขนิษฐบุตร วิทยากรหลักจากเครือข่ายพัฒนาความเข้มแข็งภัยพิบัติไทย (TNDR) ร่วมกับ ดร.ธายุกร พระบำรุง ผู้อำนวยการหน่วยวิจัย CMARE และนางสาววิภารัตน์ หนูปัทยา จากหน่วยวิจัย RDSC มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ร่วมเป็นคณะวิทยากรสนับสนุนด้านข้อมูลเชิงพื้นที่และกลไกการจัดการภัยพิบัติสำหรับผู้พิการทางการมองเห็น ในการอบรม ผู้เข้าร่วมได้เรียนรู้การวางโครงสร้างแผนเผชิญเหตุ ฝึกซ้อมการอพยพ และวิเคราะห์ข้อจำกัดเชิงพื้นที่จริง โดยออกแบบให้เหมาะสมกับผู้พิการทางการมองเห็น เช่น การใช้เสียงแจ้งเตือนเฉพาะ การนำทางด้วยการสัมผัส การเดินผ่านเส้นทางที่ปลอดภัย และจุดรวมพลที่เข้าถึงง่าย …
Read More »ขอเชิญรับชมละครเวที “เสียงจากวันพรุ่งนี้” เพื่อร่วมสร้างเมืองที่พร้อมรับมือภัยพิบัติอย่างยั่งยืน
“ละครเวทีเรื่องนี้… ไม่ใช่เพียงการแสดง แต่คือเวทีแห่งการเรียนรู้ร่วมกัน เพื่อเมืองที่ยืดหยุ่น ปลอดภัย และเข้าใจภัยพิบัติได้อย่างแท้จริง” คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ขอเชิญชวนทุกท่านร่วมรับชมละครเวทีสร้างสรรค์ “เสียงจากวันพรุ่งนี้: The Echoes from Tomorrow” ละครเวทีเพื่อส่งเสริมการรับรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับแนวคิด MCR2030 (Making Cities Resilient 2030) ละครเวทีเรื่องนี้ จัดทำขึ้นโดยความร่วมมือระหว่างคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ (หน่วยปฏิบัติการวิจัยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การบรรเทา และการปรับตัว; CMARE) คณะศิลปกรรมศาสตร์และวัฒนธรรมศาสตร์ (ภาควิชาศิลปะการแสดง) คณะวิทยาศาสตร์ (ศูนย์วิจัยเฉพาะทางนวัตกรรมดิจิทัลเพื่อการจัดการภัยพิบัติลุ่มน้ำแบบบูรณาการ) ร่วมกับสำนักงานเพื่อการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติแห่งสหประชาชาติ (UNDRR) และเครือข่ายพัฒนาความเข้มแข็งต่อภัยพิบัติไทย (TNDR) ละครเรื่องนี้ ถ่ายทอดแนวคิดเกี่ยวกับการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติ การสร้างเมืองรีซิเลียนซ์ และบทบาทของภาคส่วนต่าง ๆ ในการร่วมขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงสู่ความยั่งยืน หลังชมละคร ท่านจะได้รับประสบการณ์และความรู้ดังนี้ เข้าใจแนวคิด MCR2030 ผ่านสถานการณ์สมมติที่สะท้อนภัยพิบัติใกล้ตัวมองเห็นบทบาทของภาครัฐ ภาคประชาชน และเยาวชนในการจัดการความเสี่ยงมีส่วนร่วมในการพัฒนาองค์ความรู้เพื่อการวางรากฐานเมืองที่ปลอดภัยยิ่งขึ้น ขอเชิญร่วมตอบแบบประเมินก่อนและหลังชมละคร เพื่อร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการศึกษาประสิทธิภาพของละครเวทีครั้งนี้ แบบฟอร์มเดียว …
Read More »คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ ม.มหาสารคาม ร่วมประชุมขับเคลื่อนการเตรียมความพร้อมป้องกันภัยพิบัติภาคอีสาน
คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ ม.มหาสารคาม ร่วมประชุมขับเคลื่อนการเตรียมความพร้อมป้องกันภัยพิบัติภาคอีสาน เมื่อวันที่ 24 เมษายน 2568 ณ โรงแรมบายาสิตา มหาวิทยาลัยขอนแก่น ดร.ธายุกร พระบำรุง ผู้อำนวยการหน่วยปฏิบัติการวิจัยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การบรรเทา และการปรับตัว (CMARE) และนักวิจัย ศูนย์วิจัยเฉพาะทางนวัตกรรมดิจิทัลเพื่อการจัดการภัยพิบัติลุ่มน้ำแบบบูรณาการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เข้าร่วมประชุมในฐานะผู้แทนมหาวิทยาลัย เพื่อหารือแนวทางการบูรณาการการป้องกันภัยพิบัติในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การประชุมจัดขึ้นโดย เครือข่ายพัฒนาความเข้มแข็งต่อภัยพิบัติไทย (TNDR) ภายใต้การอุปถัมภ์ของ มูลนิธิเตรียมความพร้อมป้องกันภัยพิบัติในประเทศไทย (TDPF) โดย ดร.พิจิตต รัตตกุล ประธานเครือข่าย และ ดร.สุทัศน์ วีสกุล รองประธานเครือข่าย ร่วมกับคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยศูนย์วิศวกรรมทรัพยากรน้ำและสิ่งแวดล้อม ซึ่งมีตัวแทนจากมหาวิทยาลัยในภาคอีสาน เช่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยมหาสารคาม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์ …
Read More »คู่มือ “เยาวชนอีสานกับภารกิจลดฝุ่น PM2.5” พร้อมให้ดาวน์โหลดแล้ว! จุดประกายการเรียนรู้ – ปลูกพลังเยาวชน – สร้างอากาศสะอาดเพื่ออนาคต
ในภาวะที่ปัญหาฝุ่น PM2.5 กลายเป็นภัยเงียบที่ส่งผลต่อสุขภาพ สิ่งแวดล้อม และคุณภาพชีวิต คู่มือฉบับนี้จึงถูกออกแบบมา เพื่อครู ผู้ปกครอง และเยาวชน ที่ต้องการ เข้าใจปัญหาอย่างง่าย และลงมือเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นรูปธรรม จุดเด่นของคู่มือ สรุปองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ อย่างกระชับ เข้าใจง่าย เหมาะกับเยาวชนกิจกรรม Active Learning ที่ส่งเสริมการคิด วิเคราะห์ ลงมือทำจริงสื่อประกอบหลากหลาย ทั้งอินโฟกราฟิก ภาพระบายสี เกม และกิจกรรมสร้างสรรค์เปิดโอกาสให้เยาวชนเป็นผู้สร้างการเปลี่ยนแปลงในโรงเรียน ชุมชน และครอบครัวของตน เหมาะสำหรับการนำไปใช้ กิจกรรมในห้องเรียน วิชาวิทยาศาสตร์ สุขศึกษา หรือบูรณาการโครงงานกิจกรรมวันสิ่งแวดล้อมโลกหรือกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน (5 ก.)โครงการส่งเสริมสุขภาพและสิ่งแวดล้อมในสถานศึกษาและชุมชน ดาวน์โหลดคู่มือได้ฟรี! https://drive.google.com/file/d/1Gyg2n-R9LET_-ss0kYRGhnlpNJsLF7D0/view?usp=sharing ข้อความจากผู้เขียน “แม้ผมจะไม่ได้เติบโตในภาคอีสาน แต่การได้ทำงานร่วมกับครู นักเรียน และชุมชนที่นี่ ทำให้ผมเห็นถึงพลังที่ยิ่งใหญ่ของเยาวชน คู่มือนี้จึงไม่ได้เขียนขึ้นเพื่อสอนให้เด็ก ๆ รู้แค่เรื่องฝุ่น แต่เพื่อชวนให้พวกเขา คิด เห็น และลงมือทำ …
Read More »เปิดตัวตำราวิชาล่าสุด “AI กับการจัดการสิ่งแวดล้อม: จากแนวคิดสู่การใช้งานจริง” โดยหน่วยปฏิบัติการวิจัยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การบรรเทา และการปรับตัว (CMARE) คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
ในยุคที่ AI เปลี่ยนโลกได้… คนทำงานสิ่งแวดล้อมก็ต้องไม่หยุดเรียนรู้! หนังสือเล่มนี้ เกิดจากประสบการณ์จริงของผู้เขียนในการทำวิจัยและบริการวิชาการ พร้อมความตั้งใจที่จะช่วยให้ทุกคนสามารถเข้าใจ และประยุกต์ใช้ AI เพื่อเสริมศักยภาพในการขับเคลื่อนงานด้านสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน ภายในตำราเล่มนี้ประกอบด้วย 8 บทหลัก ที่ปูพื้นฐานไปจนถึงการนำไปใช้จริง ได้แก่ ทำไมต้องเรียนรู้ AI ในงานสิ่งแวดล้อม?เข้าใจพื้นฐาน AI แบบไม่ต้องเขียนโค้ดก็เข้าใจได้การประยุกต์ AI กับงานวิเคราะห์ข้อมูลสิ่งแวดล้อม (Text–Image–Stat)การใช้ AI ทำงานไวขึ้น แม่นยำขึ้น และสื่อสารได้ดีขึ้นเมื่อ AI ไม่พอ ต้องใช้ ‘เรา’ ในการตัดสินใจการออกแบบโครงการ AI เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงAI เพื่อการสร้างรายได้จากงานที่เรารักจิตวิญญาณของผู้ใช้ AI เพื่อสิ่งแวดล้อม ตำราเล่มนี้เหมาะสำหรับ นิสิต นักศึกษา ด้านสิ่งแวดล้อมและวิทยาศาสตร์เจ้าหน้าที่ภาครัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นผู้เชี่ยวชาญด้านสิ่งแวดล้อมที่อยากเพิ่มศักยภาพด้วยเทคโนโลยีผู้เริ่มต้นที่ต้องการเข้าใจ AI อย่างลึกซึ้งแต่เข้าใจง่าย นี่ไม่ใช่แค่หนังสือเทคโนโลยี แต่เป็น “คู่มือแห่งความหวัง” สำหรับคนที่กำลังทำหน้าที่เพื่อโลก …
Read More »ประชาสัมพันธ์: คู่มือเตรียมพร้อมรับมือแผ่นดินไหว (ฉบับชุมชน) Earthquake Preparedness Manual (Community Edition): Community Risk Assessment and Disaster Readiness through Mindfulness, Indigenous Wisdom, and Science
คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ โดยหน่วยปฏิบัติการวิจัยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การบรรเทา และการปรับตัว (CMARE) มีความยินดีนำเสนอ คู่มือเตรียมพร้อมรับมือแผ่นดินไหว (ฉบับชุมชน) ซึ่งจัดทำขึ้นโดยมุ่งหวังให้เป็นแนวทางเบื้องต้นในการประเมินความเสี่ยงในระดับพื้นที่ พร้อมสร้างความเข้าใจที่เข้าถึงง่ายสำหรับทุกภาคส่วน ทั้งภาคประชาชน ชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และผู้เกี่ยวข้องด้านการจัดการภัยพิบัติ คู่มือฉบับนี้ เน้นการบูรณาการความรู้แบบสหวิทยาการ โดยผสมผสาน หลักวิทยาศาสตร์ ภูมิปัญญาท้องถิ่น และจิตวิทยาเชิงพุทธ เพื่อให้การเตรียมความพร้อมนั้นครอบคลุมทั้งมิติทางกายภาพและจิตใจ พร้อมแนวทางประเมินพื้นที่เสี่ยง การเลือกใช้วัสดุที่เหมาะสม การสร้างสติรู้ทันภัย การใช้พืชพื้นถิ่นและธรรมชาติ ช่วยลดความเสี่ยง และการนำข้อมูลทางธรณีและเทคโนโลยีมาใช้ประโยชน์ร่วมกับชุมชน เนื้อหาในคู่มือ สามารถนำไปปรับใช้ได้จริง ทั้งในแผนงานชุมชน การวางผังเมือง การวางแผนรับมือในสถานศึกษา หน่วยงานท้องถิ่น รวมถึงการพัฒนาเครื่องมือหรือฐานข้อมูลเพื่อเตือนภัยในอนาคต หากท่านมีข้อเสนอแนะเพิ่มเติม หรือประสงค์จะนำคู่มือนี้ไปประยุกต์ใช้ในพื้นที่ของท่าน หน่วยปฏิบัติการวิจัยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การบรรเทา และการปรับตัว (CMARE) ยินดีน้อมรับความคิดเห็น เพื่อพัฒนาต่อยอดให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่สังคมไทย ดาวน์โหลดคู่มือฉบับเต็มได้ที่ https://drive.google.com/file/d/1bANQLKmlNoFQRaGxB1MbJ6COokBecY5j/view?usp=sharing “ป้องกันภัย ด้วยสติ ภูมิปัญญา และวิทยาศาสตร์” ขอขอบคุณทุกภาคส่วนที่ร่วมเป็นพลังขับเคลื่อนสู่การรับมือภัยพิบัติอย่างยั่งยืน ภาพและข่าว …
Read More »คณะสิ่งแวดล้อมฯ ขับเคลื่อนละครเวที “เสียงสะท้อนจากวันพรุ่งนี้” สื่อสารภัยพิบัติผ่านศิลปะ ชี้เมืองต้องตื่นรู้ ก่อนทุกอย่างสายเกินไป
คณะสิ่งแวดล้อมฯ ขับเคลื่อนละครเวที “เสียงสะท้อนจากวันพรุ่งนี้” สื่อสารภัยพิบัติผ่านศิลปะ ชี้เมืองต้องตื่นรู้ ก่อนทุกอย่างสายเกินไป ฝุ่นควันยังไม่ทันจาง ฟ้าก็ผ่าพายุโหม — แล้วแผ่นดินก็ไหว เราจะรอให้ทุกอย่างถาโถม หรือจะลุกขึ้น “เตรียมพร้อม”? คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม โดยหน่วยปฏิบัติการวิจัยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การบรรเทา และการปรับตัว (CMARE) ได้ร่วมกับ คณะศิลปกรรมศาสตร์และวัฒนธรรมศาสตร์ (ภาควิชาศิลปะการแสดง) คณะวิทยาศาสตร์ (ศูนย์วิจัยเฉพาะทางนวัตกรรมดิจิทัลเพื่อการจัดการภัยพิบัติลุ่มน้ำแบบบูรณาการ) สำนักงานเพื่อการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติแห่งสหประชาชาติ (UNDRR) และเครือข่ายพัฒนาความเข้มแข็งต่อภัยพิบัติไทย (TNDR) จัดแสดงละครเวทีสร้างสรรค์เรื่อง “The Echoes of Tomorrow (เสียงสะท้อนจากวันพรุ่งนี้)” เพื่อย้ำเตือนว่า ภัยพิบัติในยุคนี้ ไม่ได้มาเพียงอย่างเดียว และไม่รอให้เราพร้อม เมืองไทยเผชิญภัยซ้อน- เราต้องพร้อมหลายมิติ แผ่นดินไหวในกรุงเทพฯ และภาคเหนือ สะเทือนใจคนทั้งประเทศค่าฝุ่น PM2.5 ทะลุเกณฑ์ความปลอดภัยในหลายจังหวัดต่อเนื่องพายุฤดูร้อน ถล่มหลายพื้นที่ สร้างความเสียหายอย่างไม่คาดคิด เหตุการณ์เหล่านี้ อาจไม่เกิดทุกวัน… แต่เมื่อมันเกิด …
Read More »คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เข้าร่วมประชุมเริ่มต้นโครงการ (Kick-off) โครงการพัฒนาระบบบัญชีเศรษฐกิจสิ่งแวดล้อม บัญชีระบบนิเวศ โดยสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในวันพฤหัสบดีที่ 6 มีนาคม 2568
คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เข้าร่วมประชุมเริ่มต้นโครงการ (Kick-off) โครงการพัฒนาระบบบัญชีเศรษฐกิจสิ่งแวดล้อม บัญชีระบบนิเวศ โดยสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในวันพฤหัสบดีที่ 6 มีนาคม 2568 ผู้แทนมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ผศ.ดร.ธนายุทธ ไชยธงรัตน์ รองอธิการบดีฝ่ายโครงสร้างพื้นฐานและการจัดการสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ร่วมกับ ดร.พรรคพงษ์ ศรีประเสริฐ ผู้ช่วยคณบดี ฝ่ายวิเทศสัมพันธ์ วิจัยและบริการวิชาการ คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เข้าร่วมประชุมเริ่มต้นโครงการ (Kick-off) โครงการพัฒนาระบบบัญชีเศรษฐกิจสิ่งแวดล้อม บัญชีระบบนิเวศ โดยสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในวันพฤหัสบดีที่ 6 มีนาคม 2568 เวลา 08.30 – 12.00 น. ณ ห้องกมลทิพย์ 3 ชั้น 2 โรงแรมเดอะ สุโกศล กรุงเทพฯ เพื่อรับฟังการชี้แจงกรอบการศึกษาและแผนการดำเนินงานของโครงการฯ ร่วมกับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องกับทรัพยากรป่าไม้ ระบบนิเวศป่าไม้ และพื้นที่สีเขียว …
Read More »CMARE Music Lab เปิดโอกาสให้ใช้บทเพลงเพื่อการเรียนรู้และสร้างความตระหนักด้านสิ่งแวดล้อม โดยไม่มีค่าใช้จ่าย!
คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม โดยหน่วยปฏิบัติการวิจัย Climate Change, Mitigation, and Adaptation Research Unit (CMARE) หลักสูตรสาขาวิชาเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม เปิดตัว CMARE Music Lab โครงการนวัตกรรมสื่อเพลงเพื่อการสื่อสารด้านสิ่งแวดล้อม ที่ผสมผสานองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์เข้ากับศิลปะดนตรี และการใช้เทคโนโลยี AI เพื่อสร้างเพลงที่เข้าถึงง่ายและส่งผลกระทบเชิงบวกต่อสังคม เพลงเหล่านี้สะท้อนปัญหาสิ่งแวดล้อม เช่น PM2.5 น้ำท่วม ความร้อน และภัยแล้ง ผ่านบทเพลงที่มีทั้งข้อมูลวิชาการและอารมณ์ทางศิลปะ เปิดให้หน่วยงาน องค์กร และสถานศึกษา ใช้บทเพลงเพื่อการศึกษาและรณรงค์โดยไม่มีค่าใช้จ่าย! CMARE Music Lab พร้อมสนับสนุนการนำเพลงไปใช้ในกิจกรรมต่าง ๆ อาทิ การเรียนการสอน ในวิชาสิ่งแวดล้อม การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และการจัดการภัยพิบัติการรณรงค์และแคมเปญสาธารณะ เพื่อสร้างความตระหนักเรื่องฝุ่นละอองขนาดเล็ก น้ำท่วม และผลกระทบจากภาวะโลกร้อนงานสัมมนาและประชุมเชิงวิชาการ ที่ต้องการนำเสนอข้อมูลผ่านสื่อสร้างสรรค์กิจกรรมของเยาวชนและชุมชน ที่มุ่งเน้นการเสริมสร้างความเข้าใจด้านสิ่งแวดล้อม รายชื่อบทเพลงจาก CMARE Music …
Read More »หลักสูตรเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม ม.มหาสารคาม ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) วิเคราะห์พื้นที่จริง ลดการเผาในที่โล่ง สร้างแนวทางจัดการสิ่งแวดล้อมชุมชน
หลักสูตรเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม ม.มหาสารคาม ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) วิเคราะห์พื้นที่จริง ลดการเผาในที่โล่ง สร้างแนวทางจัดการสิ่งแวดล้อมชุมชน หลักสูตรเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ “วัสดุเหลือใช้มีค่า สร้างอากาศดี สร้างรายได้” ณ โรงเรียนขามเรียงเขียบโนนแสบงดอนมัน เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2568 โดยนิสิตชั้นปีที่ 3 จากรายวิชา 1705372 ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์สำหรับงานเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม ได้ร่วมวิเคราะห์ข้อมูลระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ด้านการใช้ประโยชน์ที่ดินและสิ่งปกคลุมดิน พร้อมศึกษาความหนาแน่นของจุดความร้อน (Fire Hotspot) โดยใช้ข้อมูลจากมิตรเอิร์ธ ระหว่างปี พ.ศ. 2545-2565 ซึ่งได้แสดงให้เห็นถึงปัญหาการเผาในโล่งแจ้งที่ส่งผลต่อคุณภาพอากาศ จากการวิเคราะห์ข้อมูล พบว่า พื้นที่รอบโรงเรียนตั้งอยู่ในเขตเกษตรกรรมที่มีการเผาฟางข้าวและเศษวัสดุทางการเกษตรอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้เกิดฝุ่น PM2.5 ที่กระทบต่อสุขภาพของชุมชน โดยนิสิตได้ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ เพื่อเชื่อมโยงข้อมูลการใช้ที่ดินและสิ่งปกคลุมดินกับจุดความร้อน ทำเข้าใจพื้นที่เสี่ยงและการพัฒนาแนวทางลดการเผาร่วมกับภาคชุมชนได้ ในกิจกรรมครั้งนี้ นิสิต ได้สาธิตกระบวนการผลิตกระดาษจากฟางข้าว ซึ่งเป็นแนวทางหนึ่งในการทดแทนการเผา พร้อมให้ความรู้เรื่องเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) แนวทางการจัดการวัสดุเหลือใช้อย่างยั่งยืน …
Read More »