Breaking News
Home / กิจกรรม : บุคลากร / กิจกรรม-บริการวิชาการ

กิจกรรม-บริการวิชาการ

“โครงการห้องปฏิบัติการสีเขียว”

“โครงการห้องปฏิบัติการสีเขียว”

“โครงการห้องปฏิบัติการสีเขียว” เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม ปี พ.ศ. 2532 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงมีพระราชดํารัส พระราชทานแก่คณะบุคคลต่าง ๆ ที่เข้าเฝ้าถวายพระพร เนื่องในวโรกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ณ ศาลาดุสิดาลัย พระตําหนักจิตรลดารโหฐาน โดยมีใจความเกี่ยวกับ “สถานการณ์สิ่งแวดล้อมของประเทศไทย และของโลกที่มีความรุนแรงขึ้น และทรงห่วงใยต่อปัญหาสิ่งแวดล้อมที่ประชาชนชาวไทยกําลังประสบอยู่ พร้อมทั้งตรัสเตือนพสกนิกรให้ร่วมมือกันแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมอย่างจริงจัง       ด้วยความสุขุมรอบคอบ โดยให้ถือเป็นหน้าที่ของทุกคนที่จะต้องปฏิบัติ มิใช้เพียงเพื่อประเทศไทย เท่านั้น หากเพื่อความอยู่รอดปลอดภัยของโลกด้วย” คณะรัฐมนตรีในช่วงเวลานั้น จึงได้มีมติ ประกาศให้ วันที่ 4 ธันวาคมของทุกปี เป็นวันสิ่งแวดล้อมไทย                คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรสาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ได้จัดกิจกรรมวันสิ่งแวดล้อมไทย ขึ้นในวันที่ 2 ธันวาคม 2566 ภายใต้ “โครงการห้องปฏิบัติการสีเขียว” โดยมีบุคลากรและนิสิตคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ จำนวน 60 คนเข้าร่วมโครงการ โดยในวันดังกล่าว …

Read More »

คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ ร่วมต้อนรับอาคันตุกะ จากมหาวิทยาลัยอิน (INTI University) ประเทศมาเลเซีย และจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางวิชาการ

คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ ร่วมต้อนรับอาคันตุกะ จากมหาวิทยาลัยอิน (INTI University) ประเทศมาเลเซีย และจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางวิชาการ

เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2566 ที่ผ่านมา คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางวิชาการกับ Prof.Lee Shiou Yih ผู้แทนจากคณะ Health & Life Sciences มหาวิทยาลัยอินติ (INTI University) ประเทศมาเลเซีย โดยในช่วงเช้า รองศาสตราจารย์ ดร.อดิศักดิ์ สิงห์สีโว คณบดีคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ พร้อม อาจารย์ ดร.พรรคพงษ์ ศรีประเสริฐ ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายวิเทศสัมพันธ์และบริการวิชาการ ตามด้วย รองศาสตราจารย์ ดร.ธวัดชัย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. เพ็ญแข ธรรมเสนานุภาพ กับเจ้าหน้าที่ของคณะ และ Prof.Lee Shiou Yih ผู้แทนจากมหาวิทยาลัยอินติ เข้าพบ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ พลเดช เชาวรัตน์ รองอธิการบดีฝ่ายประชาสัมพันธ์และพันธกิจสากล เพื่อแนะนำทำความรู้จักและสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับภาคีเครือข่ายพร้อมหารือแลกเปลี่ยนความร่วมมือทางวิชาการที่เป็นประโยชน์ต่อมหาวิทยาลัยมหาสารคาม จากนั้น …

Read More »

“The Plastic Bags” จากขยะจากเราสู่การเขยิบเพื่อโลก โดยกลุ่ม Youth for Changes MSU หลักสูตรสาขาวิชาเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม

เมื่อวันที่ 15 มกราคม ที่ผ่านมา กลุ่ม Youth for Changes MSU หลักสูตรสาขาวิชาเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม นำโดย นางสาวพิมพ์ชนก คงวัฒน์  นิสิตระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 1 ได้ผนึกพลังเยาวชนหลายคณะ เพื่อจัดกิจกรรม  “The Plastic Bags” ซึ่งมีวัตถุประสงค์ เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของของเยาวชนในมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ในการลดการใช้และเพิ่มมูลค่าถุงพลาสติก รวมถึงการลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกสู่บรรยากาศ โดยใช้แนวทาง Upcycling  (กระเป๋าสะพายจากถุงพลาสติกใช้แล้ว) ที่สอดรับกับ Roadmap การจัดการขยะพลาสติก พ.ศ. 2561-2573 ทั้งนี้ รองศาสตราจารย์ ดร.อดิศักดิ์ สิงห์สีโว คณบดีคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ เป็นประธานเปิดงาน  พร้อมด้วยคณะผู้บริหารและอาจารย์หลักสูตร  เข้าร่วมงาน  โดยกิจกรรมนี้ ได้รับการสนับสนุนจาก Young Southeast Asian Leaders Initiative (YSEALI) สถานทูตสหรัฐอเมริกา (The …

Read More »

CMARE นำเอาอัตลักษณ์ตำบลและชุมชน เพื่อขับเคลื่อนในการพัฒนาเมืองมหาสารคามอย่างยั่งยืน

CMARE นำเอาอัตลักษณ์ตำบลและชุมชน เพื่อขับเคลื่อนในการพัฒนาเมืองมหาสารคามอย่างยั่งยืน   ในวันที่ 17 มกราคม 2566 ที่ผ่านมา  หน่วยปฏิบัติการวิจัยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การบรรเทา และการปรับตัว (CMARE) โดย ดร.ธายุกร พระบำรุง  ผู้อำนวยการหน่วยฯ  ได้จัดกิจกรรมสะท้อนบทเรียนการดำเนินการและถ่ายทอดองค์ความรู้ เทคโนโลยี และนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาพื้นที่เมืองตำบลตลาดอย่างยั่งยืน ณ ห้องประชุมอเนกประสงค์ เทศบาลเมืองมหาสารคาม ต.ตลาด อ.เมือง จ.มหาสารคาม โดยมีนางพิชชาภัสร์ ธีรศาสตรานนท์  รองนายกเทศมนตรีเมืองมหาสารคาม เป็นประธาน และรองศาสตราจารย์ ดร.อดิศักดิ์ สิงห์สีโว คณบดีคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ กล่าวรายงาน กิจกรรมนี้ อยู่ในโครงการการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG)  ภายใต้ชื่อโครงการบูรณาการ  เพื่อยกระดับวิถีชีวิตด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนและการท่องเที่ยวเชิงวิถีชุมชนเมือง ดำเนินการระหว่างเดือนกรกฎาคม-กันยายน 2565 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม  และได้บูรณาการความร่วมมือกับคณะวิทยาศาสตร์  คณะศึกษาศาสตร์ …

Read More »

ขอแสดงความยินดีกับนักวิจัยที่ได้ทุนอุดหนุนจากโครงการบริการวิชาการแบบบูรณาการเพื่อสร้างนวัตกรรมและชุมชนต้นแบบสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566

ขอแสดงความยินดีกับนักวิจัยที่ได้ทุนอุดหนุนจากโครงการบริการวิชาการแบบบูรณาการเพื่อสร้างนวัตกรรมและชุมชนต้นแบบสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม  ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ ขอแสดงความยินดีกับนักวิจัยทั้ง 2 ท่าน ประกอบด้วย ผศ.ดร.อภิพงษ์ พุฒคำ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยด้านสิ่งแวดล้อมและพลังงานที่ยั่งยืน (SEER) โครงการส่งเสริมกระบวนการผลิต-ขึ้นเม็ดปุ๋ยจากขยะอินทรีย์ชุมชนและวัสดุเศษเหลือจากโรงงานน้ำตาลเพื่อสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานรากของชุมชน  (ลำดับ 21)  โดยบูรณาการความร่วมมือกับคณะเทคโนโลยีและคณะสถาปัตยกรรมศาตร์ ผังเมือง และนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ดร.ธายุกร พระบำรุง ผู้อำนวยการหน่วยปฏิบัติการวิจัยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การบรรเทา และการปรับตัว (CMARE) โครงการยกระดับชุมชนโพธิ์ศรี1 เป็นองค์กรธุรกิจชุมชนผลิตภัณฑ์แปรรูปจากข้าวเม่าที่เป็นอัตลักษณ์ของตำบลตลาด อำเภอเมืองมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม (ลำดับ 14)  โดยบูรณาการความร่วมมือกับคณะสาธารณสุขศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ คณะการบัญชีและการจัดการ และคณะสถาปัตยกรรมศาตร์ ผังเมือง และนฤมิตศิลป์  มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ภาพและข่าว : คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ / ดร.ธายุกร พระบำรุง เผยแพร่โดย : ชลทิตย์ สีเทา ณ วันที่ : 13 …

Read More »

บ้านไหมขามเรียง: วิสาหกิจชุมชนสู่การเป็นองค์กรธุรกิจตามแนวทางการใช้เศรษฐกิจโมเดลใหม่

ฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ ได้บูรณาการความร่วมมือสหวิทยาการทั้งภายในและต่างคณะ และหน่วยงานเครือข่ายภายนอก เพื่อร่วมยกระดับศักยภาพของวิสาหกิจชุมชนผ้าทอมือสีย้อมธรรมชาติขามเรียง ภายใต้โครงการบริการวิชาการ “การใช้เศรษฐกิจโมเดลใหม่ (BCG Economy Model) เพื่อพัฒนาศักยภาพของชุมชนจากอัตลักษณ์ท้องถิ่น ทรัพยากรธรรมชาติ และวัฒนธรรม” ซึ่งมุ่งเน้นให้วิสาหกิจชุมชนฯ สามารถบริหารจัดการองค์กรของตนเองได้อย่างเป็นระบบ ตามแนวทางเศรษฐกิจโมเดลใหม่ (BCG Economy Model) โดยสามารถใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติในท้องถิ่น เป็นวัตถุดิบสำหรับการย้อมสีธรรมชาติอย่างยั่งยืน การสร้างอัตลักษณ์และสะท้อนผ่านตราผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ที่แทรกแนวคิดการออกแบบด้านสิ่งแวดล้อม (Ecodesign) ซึ่งเน้นการลดการใช้พลาสติก และการจัดการสิ่งแวดล้อมในกระบวนการผลิต เพื่อเพิ่มโอกาสการแข่งขันด้านการตลาด โดยได้จัดสื่อประชาสัมพันธ์ ที่ผู้สนใจ สามารถทำความรู้จักองค์กรธุรกิจแห่งนี้ ตามลิงก์นี้ https://www.facebook.com/watch/?v=621046442765838 ภาพและข่าว : คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ / ดร.ธายุกร พระบำรุง เผยแพร่โดย : ชลทิตย์ สีเทา ณ วันที่ : 2 ตุลาคม 2565

Read More »

พัฒนาความรู้และทักษะด้านวิชาชีพของนิสิตหลักสูตร วท.บ. สาขาวิชาเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม

พัฒนาความรู้และทักษะด้านวิชาชีพของนิสิตหลักสูตร วท.บ. สาขาวิชาเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม หลักสูตร วท.บ. เทคโนโนโลยีสิ่งแวดล้อม ได้จัดการเรียนและการสอนที่เปิดโอกาสให้นิสิตระดับปริญญาตรี  ชั้นปีที่ 3  (ปีการศึกษา 2564)  ได้ฝึกประสบการณ์วิชาชีพในหน่วยงานต่าง ๆ ครอบคลุมทั้งภาครัฐ เอกชน และวิสาหกิจ  ตามความสนใจของนิสิต ซึ่งจะช่วยให้นิสิต ได้เรียนรู้สภาพการทำงานในสถานที่จริง สร้างความคุ้นเคยและพัฒนาทักษะในสายวิชาชีพ  และสร้างโอกาสในการพัฒนาตนเองในด้านต่าง ๆ  เพื่อให้พร้อมต่อการทำงานเมื่อสำเร็จการศึกษา  โดยคณาจารย์ในหลักสูตรฯ  ได้เข้านิเทศสถานที่ฝึกประสบการณ์  ทั้งรูปแบบลงพื้นที่และออนไลน์  เพื่อรับฟังการสะท้อนบทเรียนประสบการณ์จากนิสิต  การเรียนรู้ปัญหา/อุปสรรค  และการดำเนินโครงการขนาดเล็ก  ซึ่งมุ่งเน้นให้นิสิต ได้นำเอาองค์ความรู้หรือกระบวนการที่เกิดจากการจัดการเรียนและการสอน ไปประยุกต์ใช้กับโจทย์ปัญหาในสถานที่จริง ทั้งพี่เลี้ยงกำหนดให้และค้นหาโจทย์เอง  เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินการด้านสิ่งแวดล้อมหรือด้านที่เกี่ยวข้อง  รวมถึงการค้นหาคำตอบที่สำคัญ เพื่อต่อยอดสู่การสร้างคุณค่าต่อกิจกรรมของหน่วยงานที่ฝึกประสบการณ์  นอกจากนี้ การนิเทศ ยังเป็นการแลกเปลี่ยน อัพเดตข้อมูลข่าวสาร และการสร้างเครือข่ายระหว่างหน่วยงาน ทั้งด้านการจัดการเรียนและการสอน การวิจัย และการบริการวิชาการ   ซึ่งจะช่วยให้ได้ข้อมูลสำหรับการปรับปรุง ที่จะยกระดับศักยภาพของนิสิตของหลักสูตร ทั้งด้านความรู้และความสามารถที่สอดรับกับยุคสมัย สอดรับความต้องการของผู้เรียน และสามารถปฏิบัติงานสอดรับกับความต้องการของผู้ใช้บัณฑิตและโอกาสการเติบโตของหน่วยงานต่อไป ติดตามข่าวสารหลักสูตรหรือสมัครเรียนต่อ …

Read More »

ศูนย์วิจัยสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืนอนุภูมิภาคแม่น้ำโขง ร่วมพัฒนาจัดทำข้อเสนอโครงการวิจัยการส่งเสริมและพัฒนาแหล่งน้ำขนาดเล็กในประเทศกัมพูชา ลาว และไทย

ศูนย์วิจัยสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืนอนุภูมิภาคแม่น้ำโขง ร่วมพัฒนาจัดทำข้อเสนอโครงการวิจัยการส่งเสริมและพัฒนาแหล่งน้ำขนาดเล็กในประเทศกัมพูชา ลาว และไทย   ศูนย์วิจัยประชาสังคม (CSNM) มหาวิทยาลัยขอนแก่น (https://csnm.kku.ac.th/) ดำเนินการตามนโยบายกระทรวง อว. โดยได้ระดมความเชี่ยวชาญในมหาวิทยาลัยในภูมิภาค เพื่อทำงานวิจัยในระดับนานาชาติร่วมกัน และได้เชิญศูนย์วิจัยสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืนอนุภูมิภาคแม่น้ำโขง คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ ม.มหาสารคาม โดย ผศ.ดร.ยรรยงค์ อินทร์ม่วง ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยฯ  และเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านทรัพยากรน้ำ  ร่วมพัฒนาและจัดทำข้อเสนอโครงการวิจัยการส่งเสริมและพัฒนาแหล่งน้ำขนาดเล็กในประเทศกัมพูชา ลาว และไทย ภายใต้โครงการแม่โขง-เกาหลี (https://www.mekonginstitute.org/what-we-do/development-fund/mekong-republic-of-korea-cooperation-fund/) ภายใต้งบประมาณ 15 ล้านบาท ปัจจุบันได้รับอนุมัติทุนแล้ว  โดยล่าสุด ศูนย์ CSNM ได้แจ้งและเชิญศูนย์วิจัยฯ ร่วมจัดทำข้อเสนอขอทุนวิจัยขนาดใหญ่ จากองค์การอนุรักษ์สากล (https://www.iucn.org/news/asia/202111/cepf-and-iucn-announce-a-new-call-proposals-indo-burma-biodiversity-hotspot) เพื่อดำเนินการในประเทศไทย ในพื้นที่แม่น้ำโขงบริเวณอำเภอปากชม จังหวัดเลย  โดยหากได้รับอนุมัติ จะเป็นการสร้างบทบาทที่สำคัญในระดับภูมิภาคของทั้งสองมหาวิทยาลัยมีชื่อเสียง รวมถึงการเป็นที่ยอมรับในมิติทาง International Outlook มากยิ่งขึ้น ที่มา: ศูนย์วิจัยสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืนอนุภูมิภาคแม่น้ำโขง ข่าว: ฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ …

Read More »

ศูนย์วิจัยสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืนอนุภาคแม่น้ำโขง ร่วมเป็นเครือข่าย SUMERNET-SEI

ศูนย์วิจัยสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืนอนุภาคแม่น้ำโขง ร่วมเป็นเครือข่าย SUMERNET-SEI ศูนย์วิจัยสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืนอนุภาคแม่น้ำโขง สังกัดคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ ได้ร่วมประชุมเครือข่าย SUMERNET-SEI  ในการแลกเปลี่ยนข้อมูล รายงานผลการดำเนินการ และโอกาสความร่วมมือด้านวิจัย ในวันที่ 4 พฤศจิกายน 2564 ที่ผ่านมา โดยเป็นการดำเนินงานในหลายมิติ เพื่อสนับสนุนสู่ความยั่งยืนของภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง ประกอบด้วย  Strengthening Human Rights and Peace Research and Education in Southeast Asia (SHAPE-SEA), EXPLORE Forest Landscape Governance Network และ  Economy & Environment Partnership for Southeast Asia (EEPSEA). สามารถรับฟังย้อนหลังได้ที่  https://www.youtube.com/watch?v=YAVvZDyP5Rw (ภาษาอังกฤษ) ที่มา: ฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ/อ.ดร.ธายุกร พระบำรุง …

Read More »

นิสิตคณะสิ่งแวดล้อมฯ สำรวจพื้นที่และถ่ายทอดความรู้การขยายอีเอ็ม เพื่อใช้ฟื้นฟูสภาพแวดล้อมในพื้นที่ประสบภัยน้ำท่วม

นิสิตคณะสิ่งแวดล้อมฯ สำรวจพื้นที่และถ่ายทอดความรู้การขยายอีเอ็ม เพื่อใช้ฟื้นฟูสภาพแวดล้อมในพื้นที่ประสบภัยน้ำท่วม  เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน ที่ผ่านมา นิสิตคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์  ได้สำรวจพื้นที่ประสบภัยน้ำท่วม บ้านมะกอก ต.ขามเรียง  โดยมีผู้แทนชุมชนร่วมดำเนินการ  ปัจจุบัน ระดับน้ำลดลงจากเดิมจากการเร่งสูบน้ำและไม่มีน้ำมาสบทบ  แต่หลายครัวเรือน ยังเผชิญปัญหาเรื่องกลิ่น การท่วมขังในบางพื้นที่  ความจำเป็นต้องฟื้นฟูพื้นที่การเกษตร และการเพาะปลูกผักเพื่อเลี้ยงชีพ  เพื่อฟื้นคืนสภาพปกติให้เร็วที่สุด อีกทั้งบางครัวเรือน ยังไม่สามารถเข้าไปบริเวณบ้านของตนเองได้  จึงเป็นโจทย์ปัญหาท้องถิ่น ที่ทำให้นิสิตของคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์  ต้องพัฒนาตนเอง โดยจากองค์ความรู้จากการจัดการเรียนและการสอน เพื่อร่วมเรียนรู้และ ถอดบทเรียนจากสถานการณ์จริง และสะท้อนเป็นชุดข้อมูลเพื่อเตรียมรับมือกับภัยพิบัติ  โดยได้พัฒนาตนเองในการนำเอาเทคโนโลยีท้องถิ่น ซึ่งคือ หัวเชื้ออีเอ็ม ที่ได้ทำการขยายแล้ว ไปถ่ายทอดให้กับชุมชน โดยอีเอ็มเอง  สามารถนำเอาไปใช้ประโยชน์ได้ในหลายวัตถุประสงค์ ทั้งการลดปัญหากลิ่น การบำบัดน้ำ การย่อยสลายสิ่งสกปรกในสภาพสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม การใช้ประโยชน์ในแง่การเกษตร และการเป็นหัวเชื้อสำหรับการทำน้ำหมักชีวภาพ จากวัสดุเหลือใช้ในครัวเรือน รวมถึงมีวิธีการทำไม่ยุ่งยาก ชุมชนสามารถทำได้เอง เทคโนโลยีนี้ ได้รับความสนใจจากชุมชน โดยเฉพาะเกษตรกรที่มีการนำไปใช้อยู่แล้ว  แต่ส่วนที่ทำไว้ได้ถูกน้ำพัดพาไปและเสียหายจากภัยน้ำท่วม  ด้วยเหตุนี้ การมอบหัวเชื้อน้ำอีเอ็มขยายให้กับชุมชน …

Read More »