Breaking News
Home / ข่าว / กิจกรรม : งานวิจัย / นิสิตคณะสิ่งแวดล้อมฯ สำรวจพื้นที่และถ่ายทอดความรู้การขยายอีเอ็ม เพื่อใช้ฟื้นฟูสภาพแวดล้อมในพื้นที่ประสบภัยน้ำท่วม

นิสิตคณะสิ่งแวดล้อมฯ สำรวจพื้นที่และถ่ายทอดความรู้การขยายอีเอ็ม เพื่อใช้ฟื้นฟูสภาพแวดล้อมในพื้นที่ประสบภัยน้ำท่วม

261571715_2981288905466988_3854426631941636487_n

นิสิตคณะสิ่งแวดล้อมฯ สำรวจพื้นที่และถ่ายทอดความรู้การขยายอีเอ็ม เพื่อใช้ฟื้นฟูสภาพแวดล้อมในพื้นที่ประสบภัยน้ำท่วม

 เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน ที่ผ่านมา นิสิตคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์  ได้สำรวจพื้นที่ประสบภัยน้ำท่วม บ้านมะกอก ต.ขามเรียง  โดยมีผู้แทนชุมชนร่วมดำเนินการ  ปัจจุบัน ระดับน้ำลดลงจากเดิมจากการเร่งสูบน้ำและไม่มีน้ำมาสบทบ  แต่หลายครัวเรือน ยังเผชิญปัญหาเรื่องกลิ่น การท่วมขังในบางพื้นที่  ความจำเป็นต้องฟื้นฟูพื้นที่การเกษตร และการเพาะปลูกผักเพื่อเลี้ยงชีพ  เพื่อฟื้นคืนสภาพปกติให้เร็วที่สุด อีกทั้งบางครัวเรือน ยังไม่สามารถเข้าไปบริเวณบ้านของตนเองได้  จึงเป็นโจทย์ปัญหาท้องถิ่น ที่ทำให้นิสิตของคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์  ต้องพัฒนาตนเอง โดยจากองค์ความรู้จากการจัดการเรียนและการสอน เพื่อร่วมเรียนรู้และ ถอดบทเรียนจากสถานการณ์จริง และสะท้อนเป็นชุดข้อมูลเพื่อเตรียมรับมือกับภัยพิบัติ  โดยได้พัฒนาตนเองในการนำเอาเทคโนโลยีท้องถิ่น ซึ่งคือ หัวเชื้ออีเอ็ม ที่ได้ทำการขยายแล้ว ไปถ่ายทอดให้กับชุมชน โดยอีเอ็มเอง  สามารถนำเอาไปใช้ประโยชน์ได้ในหลายวัตถุประสงค์ ทั้งการลดปัญหากลิ่น การบำบัดน้ำ การย่อยสลายสิ่งสกปรกในสภาพสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม การใช้ประโยชน์ในแง่การเกษตร และการเป็นหัวเชื้อสำหรับการทำน้ำหมักชีวภาพ จากวัสดุเหลือใช้ในครัวเรือน รวมถึงมีวิธีการทำไม่ยุ่งยาก ชุมชนสามารถทำได้เอง เทคโนโลยีนี้ ได้รับความสนใจจากชุมชน โดยเฉพาะเกษตรกรที่มีการนำไปใช้อยู่แล้ว  แต่ส่วนที่ทำไว้ได้ถูกน้ำพัดพาไปและเสียหายจากภัยน้ำท่วม  ด้วยเหตุนี้ การมอบหัวเชื้อน้ำอีเอ็มขยายให้กับชุมชน จะเป็นการช่วยรื้อฟื้นให้เกิดการนำเอาองค์ความรู้และทักษะที่มีทุนอยู่แล้วมาใช้ประโยชน์ รวมทั้งได้มอบกระเจี๊ยบอบแห้งจากพื้นที่นาเชือก เพื่อทำน้ำสมุนไพรไว้ต้มดื่ม  สำหรับข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับอีเอ็ม  ชุมชนในพื้นที่ สามารถศึกษาได้เองจากโปสเตอร์เผยแพร่ที่แขวนไว้ในหมู่บ้าน และผู้สนใจที่นำเอาเทคโนโลยีซึ่งได้ทบทวนและเรียบเรียงไว้  สามารถดาวน์โหลดได้ที่:

https://drive.google.com/drive/folders/1B9r7vPybvgK_DqFcoVOEPHUPfVgjCei4?usp=sharing

 261571715_2981288905466988_3854426631941636487_n 261620774_450343403177048_8835002906241206653_n 261133896_279480520785843_2613418052524689416_n 261107394_146700117678733_2736531861882185986_n 261243094_617262296284315_441270634311156103_n 261590942_934415567452808_5604410288466101342_n 261784480_3169859799908768_6655965079935517690_n 261245186_1221334088357320_3637216572810409215_n 261690222_166105802366103_5794094352367863823_n 261474487_4595886123791356_398393312586335903_n 261201063_572326780508947_9190132723856269432_n

ข่าว/ภาพ: ฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ/อ.ดร.ธายุกร พระบำรุง

เผยแพร่โดย :คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์/ ชลทิตย์ สีเทา
ณ วันที่ :  8 ธันวาคม 2564

About env@msu.ac.th

Check Also

คณะสิ่งแวดล้อมฯ ร่วมผลักดันกลไกสร้างเมืองรีซิเลียนซ์ต่อภัยพิบัติ ผ่านเวทีเสวนาสุขภาวะชุมชนเมืองตักสิลา

คณะสิ่งแวดล้อมฯ ร่วมผลักดันกลไกสร้างเมืองรีซิเลียนซ์ต่อภัยพิบัติ ผ่านเวทีเสวนาสุขภาวะชุมชนเมืองตักสิลา

คณะสิ่งแวดล้อมฯ ร่วมผลักดันกลไกสร้างเมืองรีซิเลียนซ์ต่อภัยพิบัติ ผ่านเวทีเสวนาสุขภาวะชุมชนเมืองตักสิลา เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2567 ที่ผ่านมา คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม แสดงบทบาทสำคัญในการสนับสนุนองค์ความรู้และวิชาการ เพื่อผลักดันการพัฒนาเมืองยืดหยุ่นรับมือภัยพิบัติ (Urban Resilience) ผ่านการร่วมเสวนา …

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *