Breaking News
Home / ข่าว / กิจกรรม : งานวิจัย (page 12)

กิจกรรม : งานวิจัย

ผู้อำนวยการศูนย์วิจัย IRCEM-GMS ได้รับคัดเลือกให้เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านวิจัย

ขอแสดงความยินดีกับ ผศ.ดร.ยรรยงค์ อินทร์ม่วง ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยนานาชาติด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนอนุภูมิภาคแม่น้ำโขง หรือ IRCEM-GMS  ในโอกาสที่ได้รับคัดเลือกให้ปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้เชี่ยวชาญ ในการศึกษาในโครงการ เรื่อง  “Mekong Climate Change Adaptation Mainstreaming at the National Level and Developing Transboundary Projects (June -December 2020)” โดย Mekong River Commission (MRC) สำนักงานใหญ่กรุงเวียงจันทร์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว  ซึ่งได้ประสานงานกับรัฐบาลไทย (สำนักงานคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ) ข่าว/ภาพ: ฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ เผยแพร่โดย : ชลทิตย์ สีเทา ณ วันที่ : 27  มิถุนายน 2563

Read More »

หน่วยปฏิบัติการวิจัย CMARE ได้รับทุนพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นบูรณาการระหว่างศาสตร์ สำหรับโรงเรียน

ขอแสดงความยินดีกับหน่วยปฏิบัติการวิจัยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การบรรเทา และการปรับตัว (CMARE) ที่ได้รับทุนจากสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (สป.อว) ในโครงการจัดการองค์ความรู้ท้องถิ่น  สำหรับเยาวชน สู่การปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอย่างยั่งยืน  เป็นจำนวนเงิน 60,000 บาท ซึ่งมีวัตถุประสงค์  เพื่อพัฒนาครูด้านการออกแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงกับองค์ความรู้ท้องถิ่นและความรู้สมัยใหม่ สำหรับการจัดการเรียนและการสอนเชิงบูรณาการพหุวิทยาการ ในการปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในพื้นที่ ทั้งนี้ คณะผู้ดำเนินการ ประกอบด้วย   ดร.ธายุกร พระบำรุง (คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์)  ดร.อัจฉริยา อิสสระไพบูลย์ (คณะการบัญชีและการจัดการ)  ดร.พิมพ์พร ภูครองเพชร (คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์)  คุณครูรัชนี เปาะศิริ  (โรงเรียนนาเชือกพิทยาสรรค์)  และคุณครูชุติมา นันทะแสน  (โรงเรียนโคกก่อพิทยาคม) ข่าว/ภาพ : หน่วยปฏิบัติการวิจัย CMARE/Freepik เผยแพร่โดย : ชลทิตย์ สีเทา ณ วันที่ : 25  มิถุนายน …

Read More »

ข้อมูล PM2.5 แบบทันเหตุการณ์: การรับรู้ เพื่อการเรียนรู้และรับมือ

เครือข่ายหน่วยปฏิบัติการวิจัยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การบรรเทา และการปรับตัว (Climate Change, Mitigation and Adaptation Research Unit; CMARE) สังกัดคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ ได้ติดตั้งเครื่องตรวจวัดฝุ่น (Dustboy)  สำหรับติดตามคุณภาพอากาศแบบทันเหตุการณ์ ใน 3 พื้นที่ของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม (วิทยาเขตขามเรียง) คือ คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์  คณะสาธารณสุขศาสตร์ และคณะการบัญชีและการจัดการ ซึ่งในการดำเนินการครั้งนี้ ได้รับการสนับสนุน Dustboy จากศูนย์ข้อมูลการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ  (Climate Change Data Center; CCDC) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ รวมถึงการสนับสนุนด้านเทคนิคจากสำนักคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม โดยมีวัตถุประสงค์หลัก เพื่อสนับสนุนพันธกิจการจัดการเรียนและการสอน วิจัย และบริการวิชาการด้านข้อมูลที่เกี่ยวกับการพัฒนาการเรียนรู้ด้านคุณภาพอากาศและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การป้องกันและลดผลกระทบด้านสุขภาพจากฝุ่นละอองขนาดเล็ก การจัดการข้อมูลดิจิทัลขนาดใหญ่ (Big Data) และการวางแผนและการกำหนดมาตรการการจัดการคุณภาพอากาศภายในมหาวิทยาลัยมหาสารคาม สู่การเป็นมหาวิทยาลัยอัจฉริยะและสีเขียว (Smart and Green University) รวมถึงการนำร่องเพื่อรองรับการดำเนินการตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน …

Read More »

เชือกในป่าดูนลำพัน: สัญลักษณ์ของพื้นที่นาเชือก

จากการดำเนินการโครงการบูรณาการหลักสูตร เรื่อง “การจัดการองค์ความรู้ท้องถิ่น เพื่อส่งเสริมการเป็นแหล่งเรียนรู้และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศที่ยั่งยืน โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน กรณีของตำบลนาเชือก อำเภอนาเชือก จ.มหาสารคาม” โดยความร่วมมือของคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ คณะการท่องเที่ยวและการโรงแรม คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ คณะวิทยาการสารสนเทศ และคณะการบัญชีและการจัดการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ภายใต้การสนับสนุนของบริษัท ทราเวลเทคโนโลยี เซอร์วิส จำกัด (Travel Technology Services Co., Ltd.) และได้รวบรวมข้อมูลที่เป็นต้นทุนด้านทรัพยากร ได้แก่ เชือกหรือรกฟ้า (Pentaptera tomentosa Roxb. ex DC.) ซึ่งเป็นพรรณไม้ที่สะท้อนถึงอัตลักษณ์ของพื้นที่อำเภอนาเชือก โดยคุณสมพร  พงษ์ธนาคม หัวหน้าเขตห้ามล่าสัตว์ป่าดูนลำพัน พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่เขตฯ ได้สำรวจจำนวนเชือกหรือรกฟ้า ในบริเวณพื้นที่เขตห้ามสัตว์ป่าดูนลำพัน ระหว่างวันที่ 30 พฤษภาคม-5 มิถุนายน 2563  รวมถึงได้จดบันทึกความสูงและเส้นรอบวงของเชือก พบว่า ปัจจุบัน มีจำนวนเชือก มากถึง 492 ต้น …

Read More »

ศูนย์วิจัยสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืนอนุภูมิภาคแม่น้ำโขง (IRCEM-GMS) ได้รับทุนวิจัยจากรัฐบาลสวีเดน

ขอแสดงความยินดีกับศูนย์วิจัยสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืนอนุภูมิภาคแม่น้ำโขง หรือ IRCEM-GMS (ผู้อำนวยการ:ผศ.ดร.ยรรยงค์ อินทร์ม่วง) สังกัดคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ ที่ได้ผ่านการคัดเลือกข้อเสนอโครงการวิจัย เรื่อง “Participatory Flood Risk Management: A Case for Policy Implication from Ban Phai Municipality Thailand”  ซึ่งเป็นทุนวิจัยประเภท Joint Action Project ตามการประกาศของ Stockholm Environment Institute (SEI) ในปี พ.ศ. 2563 ซึ่งมีมหาวิทยาลัยและสถาบันในประเทศอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงจำนวนมาก โดยโครงการที่ได้รับอนุมัติทุนนี้ จะเป็นโครงการต้นแบบระดับชาติในการจัดการภัยพิบัติ โดยใช้เหตุการณ์ภัยพิบัติจากน้ำท่วมอำเภอบ้านไผ่ เป็นกรณีศึกษาที่รัฐบาลสวีเดน ถือเป็นกรณีศึกษาระดับภูมิภาคในประเทศอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง โดยจะดำเนินการร่วมกันระหว่างศูนย์วิจัยกับผู้เชี่ยวชาญจากกรมทรัพยากรน้ำ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม          กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล โดยมีระยะเวลาดำเนินการ ระหว่างปี พ.ศ. 2563-2565 ข้อมูล: …

Read More »

หลักสูตรท้องถิ่น เพื่อเยียวยาผืนแผ่นดิน ชะลอโลกร้อน

หลักสูตรสาขาวิชาเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ ได้พัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น บูรณาการตามแนวทาง STEM ชื่อ “การกักเก็บคาร์บอนในมวลชีวภาพของป่าไม้” ภายใต้โครงการบูรณาการหนึ่งหลักสูตรหนึ่งชุมชน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 “โครงการต้นแบบชุมชนรักษ์สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ: ต้นน้ำห้วยคะคาง” เพื่อให้โรงเรียนต่าง ๆ ได้นำเอาไปบูรณาการร่วมกับการจัดการเรียนการสอน ซึ่งมุ่งเน้นให้ชุมชน ได้เข้าใจบริบทและตระหนักถึงคุณค่าของทรัพยากรป่าไม้ ซึ่งนับวันลดลง ที่เกิดจากความต้องการของมนุษย์และจากภัยธรรมชาติ ด้วยเหตุนี้ จึงต้องเพิ่มพื้นที่สีเขียว เพื่อพลิกฟื้นคืนปัจจัยสี่ที่เกี่ยวพันกับวิถีชีวิตของชุมชน รวมถึงเป็นแหล่งกักเก็บคาร์บอนที่สำคัญ สำหรับบรรเทาภาวะโลกร้อนที่กำลังรุนแรงขึ้น โดยการปลูกต้นไม้ 1 ต้นใน 1 ปี สามารถกักเก็บก๊าซเรือนกระจกได้ถึง 9.50 กิโลกรัมคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (kg CO2 eq) และการปลูกป่า ยังเปลี่ยนเป็นทุน สนับสนุนความมั่นคงของชีวิตได้ ตาม พ.ร.บ. ป่าไม้ (ฉบับที่ 8) พ.ศ. 2562 หากต้องการทราบว่า หลักสูตรสาขาวิชาเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม บูรณาการการจัดการเรียนการสอนจากวิทยาศาสตร์สู่การทำงานร่วมกับภาคชุมชนได้อย่างไร และผันเป็นการบริการวิชาการ …

Read More »

นิสิตคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ ร่วมขับเคลื่อนการสร้างเครือข่ายการศึกษาและเยาวชนด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

ขอแสดงความชื่นชมกับนายพาทิศ สิทธิโชติ นิสิตหลักสูตรสาขาวิชาเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ ที่ได้รับคัดเลือกเป็นหนึ่งในคณะดำเนินการ เพื่อผลักดันการสร้างเครือข่ายการศึกษาและเยาวชนด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สู่การขับเคลื่อน Climate Action ที่เป็นรูปธรรม ตามกรอบ UNFCCC ซึ่งเป็นหน่วย Action for Climate Empowerment, Thailand National Focal Point ดำเนินการโดยกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ร่วมกับโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (United Nations Development Programme) สนับสนุนโดยโครงการพัฒนาเมืองคาร์บอนต่ำผ่านระบบการจัดการเมืองอย่างยั่งยืน องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ได้ทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ “การขยายผลองค์ความรู้ด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ” กับมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ภายใต้เครือข่ายหน่วยปฏิบัติการวิจัย CMARE ทั้งนี้จะมีการ JOIN US + ACT NOW ผ่าน Zoom Meeting วันพุธที่ 13 พฤษภาคม 2563 เวลา …

Read More »

ขอแสดงความยินดีกับนักวิจัย ที่ผ่านการพิจารณาโครงการ ภายใต้โครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและพัฒนาท้องถิ่น โดนสถาบันอุดมศึกษาเป็นพี้เลียง ปี 2563 สนับสนุนโดย สป.อว.

คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ ขอแสดงความยินดีกับโครงการห้องเรียนธรรมชาติ: บทเรียนท้องถิ่นด้านการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ (ประเภทที่ 2) โดยศูนย์สหวิทยาการวิจัยเพื่อความยั่งยืนทางสิ่งแวดล้อม (MRCES) (ดร.วิจิตรา สิงห์หิรัญนุสรณ์) และโครงการจัดการองค์ความรู้ท้องถิ่น สำหรับเยาวชนสู่การปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอย่างยั่งยืน (ประเภทที่ 3) โดยหน่วยปฏิบัติการวิจัยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การบรรเทา และการปรับตัว (CMARE) (ดร.ธายุกร พระบำรุง) ที่ได้ผ่านการพิจารณา จากการดำเนินการของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ภายใต้โครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและพัฒนาท้องถิ่น โดยสถาบันอุดมศึกษาเป็นพี้เลียง ปี 2563 โดยมีมหาวิทยาลัยขอนแก่น ในฐานะแม่ข่ายเครือข่ายภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน จากโครงการทั้งหมด 3 โครงการ โดยได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สป.อว) ข่าว: ฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ ข้อมูลและข่าว :  คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์  มหาวิทยาลัยมหาสารคาม/ดร.ธายุกร พระบำรุง เผยแพร่ข่าวโดย : ชลทิตย์ สีเทา ณ วันที่ : 30 เมษายน 2563

Read More »

การติดตามฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 ในพื้นที่มหาวิทยาลัยมหาสารคาม โดยเครื่อง Dustboy

เครือข่ายหน่วยปฏิบัติการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การบรรเทา และการปรับตัว (CMARE) โดยการสนับสนุนจากศูนย์ข้อมูลการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (CCDC) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กำลังดำเนินการติดตั้งเครื่องวัดระดับฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 ในพื้นที่มหาวิทยาลัยมหาสารคาม จำนวน 3 จุด ได้แก่ คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ และงานบริการหอพักนิสิต โดยจะเป็นตัวแทนของพื้นที่พักอาศัยหนาแน่นและพื้นที่ออกกำลังกาย ซึ่งเป็นการติดตั้งเพิ่มเติมจากที่มีการดำเนินการอยู่แล้วในพื้นที่จังหวัดมหาสารคาม คือ เทศบาลเมืองมหาสารคาม องค์การบริหารส่วนตำบลแก้งแก และสำนักงานสาธารณสุขอำเภอวาปีปทุม ทั้งนี้ เพื่อเฝ้าระวังระดับความเข้มข้นของฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM2.5) ในพื้นที่มหาวิทยาลัยมหาสารคาม จากทั้งแหล่งกำเนิดทั้งในพื้นที่ (Local Emission) และการเคลื่อนย้ายระยะไกล (Long-Range Transport) เช่น การเผามวลชีวภาพในที่โล่งแจ้ง (Biomass Open Burning) รวมถึงเพื่อสร้างกลไกในด้านการสร้างการรับรู้ของบุคลากรทุกระดับ การเตรียมพร้อมรับมือ การกำหนดมาตรการด้านการจัดการปัญหาฝุ่นละออง และการต่อยอดด้านการวิจัยคุณภาพอากาศ โดยข้อมูลการตรวจวัด จากถูกรายงานแบบ Real Time บนเว็บไซต์ cmuccdc.org นอกจากนี้ ยังได้บูรณาการร่วมในงานวิจัยของนายอภิสิทธิ์ …

Read More »

สำรวจข้อมูล เพื่อการเตรียมรับมือของเกษตรกรต่อสถานการณ์โควิด19 และประกอบการของบสนับสนุนด้านนวัตกรรม เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรแบบครบวงจร

สำรวจข้อมูล เพื่อการเตรียมรับมือของเกษตรกรต่อสถานการณ์โควิด19 และประกอบการของบสนับสนุนด้านนวัตกรรม เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรแบบครบวงจร เครือข่ายหน่วยปฏิบัติการวิจัยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การบรรเทา และการปรับตัว (CMARE) ร่วมกับเครือข่ายสำนักงานเกษตรจังหวัดมหาสารคาม ได้จัดทำแบบสำรวจข้อมูลพื้นฐานออนไลน์ เพื่อเตรียมพร้อมสู่การพัฒนาเทคโนโลยีบนมือถือ (Mobile Application) ในการสนับสนุนการทำการตลาดดิจิทัลให้กับเกษตรกร ในพื้นที่จังหวัดมหาสารคาม ที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด19 และการใช้ประโยชน์ที่ต่อเนื่องและยั่งยืน หลังจากสถานการณ์ทุเลาลง โดยมีวัตถุประสงค์ในการเก็บข้อมูล ครั้งนี้ เพื่อรวบรวมประเด็นที่จำเป็นต่อการพัฒนาระบบสนับสนุนการตลาดดิจิทัลแบบครบวงจร สำหรับผลิตผลทางการเกษตร ตลอดจนการแลกเปลี่ยนชุดความรู้ด้านการเกษตรระหว่างกลุ่มเกษตรกร การจัดการองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้อง ทั้งด้านการบริหารจัดการน้ำ การวางแผนและการประเมินความเหมาะสมของพื้นที่ด้านการทำการเกษตร การปรับปรุงคุณภาพดิน การป้องกันและควบคุมวัชพืช ศัตรูพืช และโรคพืช การใช้ประโยชน์จากของเสีย การจัดทำฉลากคาร์บอน การประยุกต์ใช้แอพพลิเคชั่นที่ได้พัฒนา โดยหน่วยงานที่สนับสนุนด้านการเกษตร และการหมุนเวียนวัตถุดิบตามแนวทางเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) การส่งเสริมระบบการทำเกษตรอินทรีย์ จากชุดความรู้ของผู้มีประสบการณ์ในพื้นที่ และการสร้างความเข้มแข็งให้กับกลุ่มเกษตรกร ทั้งนี้จะได้นำมาวิเคราะห์ทางสถิติ เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการจัดทำข้อเสนอโครงการ ในรูปแบบพหุวิทยาการ สำหรับของบสนับสนุนด้านการพัฒนานวัตกรรม และช่วยเหลือพี่น้องเกษตรกรให้สามารถปรับตัวกับสถานการณ์และพัฒนาตนเองสู่การเป็น Smart Farmer ต่อไป ขอความอนุเคราะห์พี่น้องเกษตรกรทุกท่าน ในพื้นที่จังหวัดมหาสารคาม …

Read More »