บูรณาการความร่วมมือสหวิทยาการ เพื่อพัฒนานาเชือกโมเดล: รากฐานแหล่งเรียนรู้เพื่อสร้างความเป็นอยู่และสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน
คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ในฐานะแม่ข่าย โดย ดร.ธายุกร พระบำรุง รองคณบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ ร่วมกับกลุ่มคนรักนาเชือก สานต่อความต้องการของท้องถิ่น สู่การบูรณาการความร่วมมือสหวิทยาการของนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ได้ลงพื้นที่ เพื่อร่วมขับเคลื่อนการพัฒนานาเชือกโมเดล ในหลายกิจกรรม ประกอบด้วย 1) การพัฒนาศักยภาพพื้นที่เขตห้ามล่าสัตว์ป่าดูนลำพันเป็นศูนย์การเรียนรู้ดิจิทัลและการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ โดยกระบวนการมีส่วนร่วมแบบองค์รวม โดย ดร.ธายุกร พระบำรุง และคณะ คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มมส. (อยู่ระหว่างการปรับแก้ข้อเสนอโครงการ) 2) หลักสูตรท้องถิ่นบูรณาการเพื่อการปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สำหรับโรงเรียนนาเชือกพิทยาสรรค์ (ดร.ธายุกร พระบำรุง และคณะ) คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ (การเผชิญหน้ากับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นและพร้อมรับมือ) 3) หนังสั้นฮักนาเชือก โดย ผศ.ดร.ปรีชา สาคร และคณะ คณะวิทยาการสารสนเทศ 4) หลักสูตรความหลากหลายทางชีวภาพของอ่างเก็บน้ำห้วยค้อ: งานวิจัยเพื่อชุมชนสู่หลักสูตรเพื่อการเรียนรู้ของชุมชน โดย ดร.เสถียรพงษ์ ขาวหิต และคณะ คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ (ทำไมปลาบู่ จึงรสหวาน? กับความเหมาะสมด้านสภาพแวดล้อมของอ่างเก็บน้ำห้วยค้อ) 5) ระบบฐานข้อมูลดิจิทัลภูมิปัญญาท้องถิ่น โดย ผศ.ดร.ฤทัย นิ่มน้อย และคณะ คณะวิทยาการสารสนเทศ (คุณค่าที่ต้องเก็บรักษา) บูรณาการในรายวิชา และ 6) หอศิลป์ที่มีชีวิต: แหล่งเรียนรู้ที่เป็นเชื่อมโยงวิถีชีวิตของคนนาเชือก โดย ดร.สันติ สิงห์สุ และคณะ คณะศิลปศาสตร์และวัฒนธรรมศาสตร์ (สิ่งเสนอ สื่อสารเรื่องราวของชาวนาเชือก) ทั้งนี้ ได้ร่วมเรียนรู้ สะท้อนบทเรียน และแลกเปลี่ยนกับกลุ่มคนรักนาเชือก ผู้แทนหน่วยงานภาครัฐและเอกชนในพื้นที่ ผู้นำชุมชน คณะครู และนักเรียนโรงเรียนนาเชือกพิทยาสรรค์ ในวันอังคารที่ 16 กุมภาพันธ์ 2564 เวลา 09:00-16:00 น. ณ หอประชุมรวงผึ้ง โรงเรียน นาเชือกพิทยาสรรค์ โดยได้รับการสนับสนุนจาก ดร.ปราณี รัตนธรรม ผู้อำนวยการโรงเรียนนาเชือกพิทยาสรรค์และปฏิบัติหน้าที่ประธานกลุ่มคนรักนาเชือก ทั้งนี้ ในการจัดกิจกรรม ดำเนินตามมาตรการการป้องกันและควบคุมโควิด19 อย่างเคร่งครัด ได้แก่ การใช้หน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้า การเว้นระยะห่าง การล้างมือด้วยเจลแอลกอฮอล์ และการจำกัดจำนวนผู้เข้าร่วม และคาดว่าการเติมเต็มส่วนนี้ จะช่วยขับเคลื่อนสู่การเป็นนาเชือกโมเดลได้อย่างยั่งยืน
ภาพ: โรงเรียนนาเชือกพิทยาสรรค์
ข่าว: ฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ
เผยแพร่ข่าวโดย : ชลทิตย์ สีเทา
ณ วันที่ : 18 กุมภาพันธ์ 2564