CMARE จับมือกับวิศวกรรมไฟฟ้าและคอมพิวเตอร์ พัฒนาต้นแบบเครื่องผลิตจานสมุนไพรจากพลังงานความร้อนแสงอาทิตย์ เพิ่มมูลค่าสมุนไพรท้องถิ่นและลดโลกร้อน
เครือข่ายนักวิจัย CMARE ร่วมกับนิสิตปริญญาโท สาขาวิศวกรรมไฟฟ้าและคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ประกอบด้วยนายวัฒนา เชื้อลิ้นฟ้า และนายธนารักษ์ โพธิ์สิงห์ ต่อยอดโครงการวิจัยระดับปริญญาตรี หัวข้อ “การศึกษาความเป็นได้ในการผลิตภาชนะย่อยสลายได้ทางชีวภาพจากวัตถุดิบท้องถิ่น โดยใช้ความร้อนจากแสงอาทิตย์” ของนายอดิศักดิ์ เขียวแข้ และนายวัชร ประโหมด นิสิตระดับปริญญาตรี สาขาวิชาการจัดการสิ่งแวดล้อมและทรัพยากร ภายใต้การสนับสนุนในโครงการบูรณาการหลักสูตร เรื่อง “การจัดการองค์ความรู้ท้องถิ่น เพื่อส่งเสริมการเป็นแหล่งเรียนรู้และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศที่ยั่งยืน โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน กรณีของตำบลนาเชือก อำเภอนาเชือก จ.มหาสารคาม” สู่การพัฒนาต้นแบบเครื่องผลิตจานสมุนไพรจากพลังงานความร้อนแสงอาทิตย์ ลดโลกร้อน ซึ่งมุ่งเน้นการนำเอาต้นทุนสมุนไพรในท้องถิ่นของบ้านหนองทิศสอน ต.นาเชือก อ.นาเชือก จ.มหาสารคาม มาเพิ่มมูลค่า ควบคู่กับฐานภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสมุนไพรในรูปนวัตกรรมใหม่ของชุมชน สำหรับฟื้นฟูเศรษฐกิจรากหญ้าช่วงวิกฤติโควิด และเตรียมพร้อมเป็นแหล่งเรียนรู้และท่องเที่ยวของชุมชนที่ปราศจากพลาสติกและเป็นชุมชนคาร์บอนต่ำ
ข่าว: หน่วยปฏิบัติการวิจัย CMARE/อ.ดร.ธายุกร พระบำรุง
ภาพ: สาขาวิศวกรรมไฟฟ้าและคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
ณ วันที่ : 1 ตุลาคม 2563