Breaking News
Home / ข่าว / กิจกรรม : งานวิจัย / คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ ร่วมอบรม ผ่านเครือข่าย TNDR และ UNDRR “ก่อร่างสร้างเมืองรีซิเลียนซ์”

คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ ร่วมอบรม ผ่านเครือข่าย TNDR และ UNDRR “ก่อร่างสร้างเมืองรีซิเลียนซ์”

เมื่อวันที่ 16-18 พฤศจิกายน 2565 นี้ ดร.ธายุกร พระบำรุง รองคณบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ  ได้เป็นผู้แทนในการเข้าร่วมอบรมเชิงวิชาการหัวข้อ “ท้องถิ่นกับการบริหารจัดการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติ และ Making Cities Resilience 2030 (MCR2030)” ณ โรงแรม รอยัล ออคิด เชอราตัน โฮเทล แอนด์ ทาวเวอร์ กรุงเทพฯ ซึ่งเป็นการดำเนินการ ภายใต้ความร่วมมือของเครือข่ายพัฒนาความเข้มแข็งต่อภัยพิบัติไทย (Thai Network for Disaster Resilience หรือ TNDR)  กับองค์การสหประชาชาติ  United Nations Office for Disaster Risk Reduction (UNDRR) โดยมุ่งเน้นการสร้างความเข้าใจเรื่องการสร้าง Resilience ของท้องถิ่น โดยเฉพาะการวางแผนบริหารจัดการและการสร้างความร่วมมือระหว่างภาคี พร้อมแนะนำ MCR2030 แนวคิดและเครื่องมือสำหรับการก่อร่างสร้างเมืองรีซิเลียนซ์ตลอดจนร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับผู้เข้าร่วมอบรมจำนวน 45 ท่าน ได้แก่ ตัวแทนเครือข่ายมหาวิทยาลัย 17 แห่งของ TNDR, ผู้แทนจาก ปภ., ผู้แทนจาก ศฝภ. นทพ., ผู้แทนจาก ADPC และผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่อยู่ภายใต้ความร่วมมือ SDGs Localisation ของโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ ประจำประเทศไทย (UNDP Thailand)

ทั้งนี้ ได้ขยายผลจากโครงการ  โดยหน่วยปฏิบัติการวิจัยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การบรรเทา และการปรับตัว (CMARE)  บูรณาการความร่วมมือกับหน่วยวิจัยพัฒนานโยบายสาธารณะเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน วิทยาลัยการเมืองการปกครอง  และศูนย์วิจัยเฉพาะทางนวัตกรรมดิจิตัลเพื่อการจัดการภัยพิบัติลุ่มน้ำแบบบูรณาการ  คณะวิทยาศาสตร์ สังกัดมหาวิทยาลัยมหาสารคาม  ดำเนินการในรูปโครงการ  เพื่อยกระดับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีความพร้อมและสนใจ  ในการบริหารจัดการตนเองด้านการรับมือภัยพิบัติ ตามแนวทาง Disaster Resilience Scorecard for Cities  (https://scorecard.undrr.org/) โดยนำร่องใน 3 อำเภอ  คือ เมืองมหาสารคาม กันทรวิชัย และโกสุมพิสัย จ.มหาสารคาม  ซึ่งเป็นพื้นที่ประสบอุทกภัย โดยจะได้รับการสนับสนุนทางวิชาการจาก United Nations Office for Disaster Risk Reduction (UNDRR) ผ่านเครือข่ายพัฒนาความเข้มแข็งต่อภัยพิบัติไทย (Thai Network for Disaster Resilience) และองค์กรต่างประเทศ และมีการบูรณาการสู่การจัดการเรียนและการสอน 2 วิชา ได้แก่ 1705442 การวิเคราะห์ขีดความสามารถและความเปราะบางที่เสี่ยงต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หลักสูตรสาขาวิชาเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ และ 1302403 การบริหารจัดการภัยพิบัติและภาวะฉุกเฉิน วิทยาลัยการเมืองการปกครอง เพื่อพัฒนาศักยภาพนิสิต ในการประยุกต์ใช้เครื่องมือสากล ตลอดจนการยกระดับบทบาทของหน่วยวิจัย ในการสนับสนุนด้านวิชาการในรูปแบบสหวิทยาการ รวมถึงนวัตกรรม  เทคโนโลยี สำหรับการเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการเพื่อป้องกัน รับมือ และฟื้นฟูจากเหตุการณ์ภัยพิบัติที่เกิดขึ้นในพื้นที่  ให้สอดรับกับแผนพัฒนาท้องถิ่นของแต่ละองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และแผนปฏิบัติการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยที่มีอยู่เดิม และผลักดันสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals) เป้าหมายที่ 13 Climate Action

สำหรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่นำร่อง  ประสงค์จะเข้าร่วม สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มได้ที่ ดร.ธายุกร พระบำรุง รองคณบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ เบอร์โทร 08 9401 9294 อีเมล thayukorn.p@msu.ac.th หรือ ผู้ช่วยศาสตราจารย์วชิรวัตติ์ อาริยะสิริโชติ รองคณบดีฝ่ายกลยุทธ์องค์กรและบริการวิชาการ วิทยาลัยการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม  เบอร์โทร 09 4451 1888

ภาพและข่าว : คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ / ดร.ธายุกร พระบำรุง

เผยแพร่โดย : ชลทิตย์ สีเทา

ณ วันที่ : 30 พฤศจิกายน 2565

About env@msu.ac.th

Check Also

คณะสิ่งแวดล้อมฯ ร่วมผลักดันกลไกสร้างเมืองรีซิเลียนซ์ต่อภัยพิบัติ ผ่านเวทีเสวนาสุขภาวะชุมชนเมืองตักสิลา

คณะสิ่งแวดล้อมฯ ร่วมผลักดันกลไกสร้างเมืองรีซิเลียนซ์ต่อภัยพิบัติ ผ่านเวทีเสวนาสุขภาวะชุมชนเมืองตักสิลา

คณะสิ่งแวดล้อมฯ ร่วมผลักดันกลไกสร้างเมืองรีซิเลียนซ์ต่อภัยพิบัติ ผ่านเวทีเสวนาสุขภาวะชุมชนเมืองตักสิลา เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2567 ที่ผ่านมา คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม แสดงบทบาทสำคัญในการสนับสนุนองค์ความรู้และวิชาการ เพื่อผลักดันการพัฒนาเมืองยืดหยุ่นรับมือภัยพิบัติ (Urban Resilience) ผ่านการร่วมเสวนา …

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *