CMARE นำเอาอัตลักษณ์ตำบลและชุมชน เพื่อขับเคลื่อนในการพัฒนาเมืองมหาสารคามอย่างยั่งยืน ในวันที่ 17 มกราคม 2566 ที่ผ่านมา หน่วยปฏิบัติการวิจัยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การบรรเทา และการปรับตัว (CMARE) โดย ดร.ธายุกร พระบำรุง ผู้อำนวยการหน่วยฯ ได้จัดกิจกรรมสะท้อนบทเรียนการดำเนินการและถ่ายทอดองค์ความรู้ เทคโนโลยี และนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาพื้นที่เมืองตำบลตลาดอย่างยั่งยืน ณ ห้องประชุมอเนกประสงค์ เทศบาลเมืองมหาสารคาม ต.ตลาด อ.เมือง จ.มหาสารคาม โดยมีนางพิชชาภัสร์ ธีรศาสตรานนท์ รองนายกเทศมนตรีเมืองมหาสารคาม เป็นประธาน และรองศาสตราจารย์ ดร.อดิศักดิ์ สิงห์สีโว คณบดีคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ กล่าวรายงาน กิจกรรมนี้ อยู่ในโครงการการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG) ภายใต้ชื่อโครงการบูรณาการ เพื่อยกระดับวิถีชีวิตด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนและการท่องเที่ยวเชิงวิถีชุมชนเมือง ดำเนินการระหว่างเดือนกรกฎาคม-กันยายน 2565 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และได้บูรณาการความร่วมมือกับคณะวิทยาศาสตร์ คณะศึกษาศาสตร์ …
Read More »ขอแสดงความยินดีกับนักวิจัยที่ได้ทุนอุดหนุนตามแผนการดำเนินงาน ภายใต้กิจกรรมส่งเสริมการนำ วทน. เพื่อเพิ่มศักยภาพการผลิตและเศรษฐกิจชุมชน (แพลตฟอร์มเพิ่มศักยภาพธุรกิจชุมชน Building Community Enterprise: BCE) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 (กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม)
คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ ขอแสดงความยินดีกับ ดร.ธายุกร พระบำรุง ผู้อำนวยการหน่วยปฏิบัติการวิจัยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การบรรเทา และการปรับตัว (CMARE) วิสาหกิจชุมชนภูมินวัตกรรมผลิตภัณฑ์สมุนไพรจากสารสกัดจากต้นเชือกของ อำเภอนาเชือก จังหวัดมหาสารคาม (ลำดับ 40) โดยบูรณาการความร่วมมือกับคณะเภสัชศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมือง และนฤมิตศิลป์ คณะการบัญชีและการจัดการ ศูนย์ความเป็นเลิศทางนวัตกรรมไหม มหาวิทยาลัยมหาสารคาม และวิสาหกิจชุมชนกลุ่มเกษตรอินทรีย์และการแปรรูปผลิตภัณฑ์ริมอ่างห้วยค้อ >>>pdf ดาวน์โหลด<<< ภาพและข่าว : คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ / ดร.ธายุกร พระบำรุง เผยแพร่โดย : ชลทิตย์ สีเทา ณ วันที่ : 2 มกราคม 2566
Read More »หลักสูตรเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม ลงพื้นที่ตรวจคุณภาพน้ำ เพื่อสนับสนุนการดำเนินการโครงการ U2T ตำบลตลาด
หลักสูตรสาขาเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม พร้อมด้วยคณะดำเนินการภาคประชาชนและบัณฑิตจบใหม่ ดำเนินการภายใต้โครงการ U2T ตำบลตลาด อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม ได้สำรวจพื้นที่ เก็บข้อมูล และตรวจวัดคุณภาพน้ำเบื้องต้น ประกอบด้วย อุณหภูมิ (Temperature) ค่าความเป็นกรด-ด่าง (pH) ค่าการนำไฟฟ้า (Electrical Conductivity) และค่าออกซิเจนละลาย (DO) ในวันที่ 9 สิงหาคม 2565 ที่ผ่านมา โดยมีทั้งหมด 4 จุดตรวจวัด ได้แก่ หนองกระทุ่ม (ชุมชนโพธิ์ศรี) ห้วยคะคาง กุดนางใย และคลองสมถวิล เมื่อเปรียบเทียบกับมาตรฐานคุณภาพน้ำในแหล่งน้ำผิวดิน ตามประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ฉบับที่ 8 (พ.ศ. 2537) ออกตามความในพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 เรื่อง กำหนดมาตรฐานคุณภาพน้ำในแหล่งน้ำผิวดิน พบว่า ทั้งสามตัวแปร ได้แก่ อุณหภูมิ (Temperature) …
Read More »ประชุม เครือข่ายพัฒนาความเข้มแข็งต่อภัยพิบัติไทยในการอุปถัมภ์ของมูลนิธิศูนย์เตรียมความพร้อม ป้องกันภัยพิบัติในประเทศไทย
วันนี้ 15 สิงหาคม 2565 เวลา 14.00 น. ณ ห้องประชุม ENV 106 คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ได้จัดงานประชุม เครือข่ายพัฒนาความเข้มแข็งต่อภัยพิบัติไทยในการอุปถัมภ์ของมูลนิธิศูนย์เตรียมความพร้อม ป้องกันภัยพิบัติในประเทศไทย โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.อดิศักดิ์ สิงห์สีโว คณบดีคณะสิ่งแวดล้อมฯ เป็นประธานในการกล่าวต้อนรับ ผู้เดินทางเข้าร่วมประชุม โดยมี 1.ดร.ปิยวัฒน์ ขนิษฐบุตร ตำแหน่งกรรมการบริหารเครือข่ายพัฒนาความเข้มแข็งต่อภัยพิบัติไทย 2.นายรัฎชพงศ์ ไชยเดช ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่ประสานงานเครือข่ายพัฒนาความเข้มแข็งต่อภัยพิบัติไทย และคณะผู้บริหาร คณาจารย์ ที่เข้าร่วมประชุมในครั้งนี้ ภาพและข่าว : คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์/ชลทิตย์ สีเทา เผยแพร่โดย : ชลทิตย์ สีเทา ณ วันที่ : 15 สิงหาคม 2565
Read More »หมอนปูแป้ง หนึ่งในของที่ระลึกอัตลักษณ์ของนาเชือก
หมอนปูแป้ง หนึ่งในของที่ระลึกอัตลักษณ์ของนาเชือก หน่วยปฏิบัติการวิจัยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การบรรเทา และการปรับตัว (CMARE) ร่วมกับคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สาขาวิชาเกาหลี และภูริชญาผ้าไหม (ขามเรียง) พัฒนาต้นแบบหมอนปูแป้ง เพื่อสะท้อนอัตลักษณ์ด้านทรัพยากรธรรมชาติของพื้นที่บริเวณป่าดูนลำพัน บ้านนาเชือก หมู่ที่ 1 ตำบลนาเชือก อำเภอนาเชือก จังหวัดมหาสารคาม ซึ่งเป็นพื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อมแห่งเดียวของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในประกาศกระทรวงฉบับที่ 7 เมื่อปี พ.ศ. 2539 ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 และแหล่งศึกษาธรรมชาติที่สำคัญของพื้นที่อำเภอนาเชือก ทั้งนี้ ได้ถ่ายทอดสู่การพัฒนาเป็นของที่ระลึก เพื่อสร้างความตระหนักและรับรู้ถึงคุณค่าด้านทรัพยากรธรรมชาติเฉพาะแหล่ง รวมถึงการสร้างความภาคภูมิใจของคนในพื้นที่ ในการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติร่วมกันอย่างยั่งยืน อีกทั้งยังเชื่อมให้เกิดการสร้างรายได้ของชุมชน นอกจากนี้ ยังเป็นการบูรณาการภูมิปัญญาและประสบการณ์การย้อมสีธรรมชาติในพื้นที่กับวิสาหกิจชุมชนกลุ่มปลูกหม่อนเลี้ยงไหมบ้านห้วยทราย ซึ่งมีนางบุญเที่ยง คำยอดแก้ว เป็นประธานฯ ที่ได้นำเอาเปลือกของต้นเชือกหรือรกฟ้า ซึ่งเป็นพันธุ์ไม้ที่เกี่ยวข้องกับที่มาของคำว่านาเชือก มาใช้ในการย้อมสีผ้าที่เป็นอัตลักษณ์ของพื้นที่อีกเฉดสีหนึ่ง และใช้ในวัตถุดิบหนึ่งในการสร้างสีสันให้กับหมอนปูแป้ง ซึ่งเป็นการเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ชุมชน ปัจจุบัน วิสาหกิจชุมชนกลุ่มเกษตรอินทรีย์และการแปรรูปผลิตภัณฑ์ริมอ่างห้วยค้อ อ.นาเชือก จ.มหาสารคาม เป็นผู้ผลิตหมอนปูแป้ง และวางจำหน่ายในหลายพื้นที่ของอำเภอนาเชือก …
Read More »ภาพและข่าว : คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ ผลักดันการใช้เศรษฐกิจโมเดลใหม่ เพื่อพัฒนาต้นแบบองค์กรธุรกิจชุมชน ด้วยความร่วมมือสหวิทยาการ
คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ ผลักดันการใช้เศรษฐกิจโมเดลใหม่ เพื่อพัฒนาต้นแบบองค์กรธุรกิจชุมชน ด้วยความร่วมมือสหวิทยาการ เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2565 ที่ผ่านมา คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม โดยฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ ในฐานะหัวหน้าโครงการ ได้บูรณาการความร่วมมือกับคณะการบัญชีและการจัดการ คณะศิลปกรรมศาสตร์และวัฒนธรรมศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม และเทศบาลตำบลขามเรียง เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของนักวิจัย บุคลากร และนิสิต ในการผลักดันพื้นที่ตำบลขามเรียง ให้สามารถนำเอาทรัพยากรชีวภาพ ภูมินิเวศ ภูมิปัญญา และวัฒนธรรมท้องถิ่น มาสร้างเป็นอัตลักษณ์ที่จะเป็นจุดแข็งสู่จุดขายที่เชื่อมกับแผนพัฒนาท้องถิ่น ทั้งระดับตำบล อำเภอ และจังหวัด ผ่านการจัดการเรียนและการสอน การวิจัย และการบริการวิชาการ ทั้งนี้ ได้จัดพิธีเปิดโครงการ “การใช้เศรษฐกิจโมเดลใหม่ (BCG Economy Model) เพื่อพัฒนาศักยภาพของชุมชนจากอัตลักษณ์ท้องถิ่น ทรัพยากรธรรมชาติ และวัฒนธรรม” ซึ่งเป็นโครงการบริการวิชาการเชิงรุกขึ้น โดยได้พิจารณา วิสาหกิจชุมชนผ้าทอมือย้อมสีธรรมชาติขามเรียง (คุณสุชญา โคตรวงษ์ เป็นประธาน) …
Read More »นิสิตหลักสูตรสาขาวิชาเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม เข้าร่วมนำเสนอผลงานในการประชุมเครือข่ายการป้องกันและแก้ไขปัญหามลพิษอากาศ
นิสิตหลักสูตรสาขาวิชาเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม เข้าร่วมนำเสนอผลงานในการประชุมเครือข่ายการป้องกันและแก้ไขปัญหามลพิษอากาศ นางสาวเกศริน ซ้ายหนองขาม และนางสาวอารียา วังราช นิสิตระดับปริญญาตรี หลักสูตร วท.บ. สาขาวิชาเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม ได้ร่วมนำเสนอผลงานวิจัย หัวข้อเรื่อง “การผันแปรเชิงพื้นที่และเวลาของฝุ่นละอองขนาดเล็กที่สัมพันธ์กับการใช้ประโยชน์ที่ดินและสิ่งปกคลุมดินในจังหวัดมหาสารคาม” (เนื้อหาส่วนหนึ่งในปัญหาพิเศษ เรื่อง การผันแปรเชิงพื้นที่และเวลาของฝุ่นละอองขนาดเล็กที่สัมพันธ์กับกิจกรรมการลดการเผาในจังหวัดมหาสารคาม) โดยมุ่งเน้นการพัฒนาองค์ความรู้ของท้องถิ่นในเรื่องฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM2.5 และ PM10) ซึ่งเป็นปัญหามลพิษทางอากาศที่จัดเป็นวาระแห่งชาติในปัจจุบัน ในการประชุมเครือข่ายการป้องกันและแก้ไขปัญหามลพิษอากาศ วันที่ 11 พฤษภาคม 2565 ผ่าน Zoom Meeting จัดโดยศูนย์วิชาการเพื่อขับเคลื่อนการป้องกันและแก้ไขปัญหามลพิษอากาศ (ศวอ.) ร่วมกับศูนย์เครือข่ายการจัดการคุณภาพอากาศประเทศไทย (TAQM) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และเครือข่ายคณาจารย์ นิสิต นักศึกษา วิศวกรรมสิ่งแวดล้อมประเทศไทย จากสถาบันการศึกษาต่าง ๆ ประกอบด้วย มหาวิทยาลัยมหิดล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี มหาวิทยาลัยนเรศวร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี มหาวิทยาลัยพะเยา และมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ทั้งนี้ ข้อมูลการศึกษา …
Read More »CMARE ร่วมสร้างฐานการขับเคลื่อนการพัฒนาสหวิทยาการ ร่วมกับหลักสูตรหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต ผ่านแพลตฟอร์มดิจิทัล เพื่อการพัฒนา BCG Economy Model สู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
เครือข่ายนักวิจัยสหวิทยาการ หน่วยปฏิบัติการวิจัยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การบรรเทา และการปรับตัว (CMARE) โดย ดร.ธายุกร พระบำรุง ผู้อำนวยการหน่วยปฏิบัติการวิจัย CMARE/อาจารย์หลักสูตรสาขาวิชาเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม ในฐานะผู้ประสานงานระหว่างหน่วยงานและสนับสนุนข้อมูลที่เกี่ยวข้อง ร่วมกับหลักสูตรหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต คณะการบัญชีและการจัดการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ได้บูรณาการสู่การจัดการเรียนและการสอน เป็นหัวข้อโครงการของนิสิตชั้นปีที่ 4 โดยนายกิตติศักดิ์ ขำจิตร และนายวัชรพงษ์ ภูมิรัง หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต (บธ.บ.) สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ สนใจและพร้อมพัฒนาความรู้และทักษะ ภายใต้การดูแลของอาจารย์ณัฐอาภา สัจจวาที คณะการบัญชีและการจัดการ สู่การพัฒนาเป็นแพลตฟอร์มดิจิทัลนำร่อง ในรูปเว็บไซต์ “สารสนเทศการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการปรับตัวแบบสหวิทยาการ เพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจโมเดลใหม่ สู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน” เพื่อเป็นระบบข้อมูลกลางสำหรับการรวบรวมและจัดการข้อมูลองค์ความรู้ด้านวิจัยและการปฏิบัติการเชิงพื้นที่ในมิติต่าง ๆ ได้แก่ สิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ สังคม และสุขภาพ รวมถึงนำเสนอข้อมูลนวัตกรรมเพื่อการจัดการภัยพิบัติ โปรแกรมและสื่อมัลติมีเดีย จดหมายข่าว หลักสูตรอบรม และความร่วมมือระหว่างหน่วยงาน เพื่อให้ผู้สนใจ ได้ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร รับทราบถึงสถานะด้านองค์ความรู้ นวัตกรรม เทคโนโลยี …
Read More »CMARE พัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นเชิงบูรณาการ 3 มิติ ด้านการปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ จากฐานรากการบูรณาการความร่วมมือกับท้องถิ่น
โรงเรียนนาเชือกพิทยาสรรค์ (จำนวน 237 หน้า) https://drive.google.com/drive/folders/1pwblwVhIzrdX4p152ogwj0XBTT6br2H6?usp=sharing โรงเรียนโคกก่อพิทยาคม (จำนวน 213 หน้า) https://drive.google.com/drive/folders/1xPF4Rfrz_h11bHKHU4SBi2RHRE7b1f56?usp=sharing ทั้งนี้ จะมีการขยายการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นสหวิทยาการ เพื่อการปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สำหรับกลุ่มผู้สูงวัย เพื่อสอดรับกับสังคมผู้สูงวัย โดยการเติมเต็มชุดความรู้จากนักวิจัยจิตอาสาจากหลายคณะ/หน่วยงานสนับสนุนการศึกษา ภายในมหาวิทยาลัยมหาสารคาม และส่งมอบให้โรงเรียนผู้สูงอายุ เพื่อใช้ประโยชน์ต่อไป ข่าว: หน่วยปฏิบัติการวิจัย CMARE ภาพ: https://www.freepik.com เผยแพร่ข่าวโดย : ชลทิตย์ สีเทา ณ วันที่ : 8 เมษายน 2564
Read More »กิจกรรมแลกเปลี่ยนบูรณาความร่วมมือกับสำนักวิทยบริการ เพื่อวางรากฐานสู่การเลือกวารสารนานาชาติในการตีพิมพ์ผลงานวิจัยในฐานข้อมูลที่มีมาตรฐาน
เมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2564 ที่ผ่านมา ฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ ได้จัดกิจกรรมการจัดการความรู้ ในหัวข้อ เทคนิคการเลือกวารสารนานาชาติในการตีพิมพ์ผลงานวิจัยในฐานข้อมูลที่มีมาตรฐาน ใน 2 ช่องทาง คือ การสื่อสารแบบพบปะ ณ ห้องประชุมคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ และการสื่อสารผ่านช่องทางออนไลน์ โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาแนวทางปฏิบัติร่วมกัน ควบคู่กับระบบการสนับสนุนของสำนักวิทยบริการที่มีอยู่แล้ว (https://library.msu.ac.th, ฐานข้อมูลออนไลน์และสารสนเทศเพื่อการวิจัย) สำหรับให้นักวิจัยในแต่ละศูนย์วิจัยและหน่วยปฏิบัติการวิจัย สังกัดสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ ได้นำไปพัฒนาศักยภาพของตนเองในการเผยแพร่งานวิจัยในฐานข้อมูลนานาชาติต่อไป ในกิจกรรมนี้ ผศ.ดร.ปานใจ สื่อประเสริฐสิทธิ์ รองคณบดีฝ่ายวิชาการและประกันคุณภาพการศึกษา ปฏิบัติหน้าที่แทนคณบดี กล่าวเปิดกิจกรรม และมี ดร.ธายุกร พระบำรุง รองคณบฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ ดำเนินหน้าที่เป็นคุณอำนวย (Facilitator) โดยจะได้นำข้อมูลจากการสะท้อนนั้น มาพัฒนาเป็นแนวทาง เพื่อเผยแพร่สู่การนำไปฏิบัติใช้ต่อไป ข่าว: ฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ ภาพ: ฝ่ายวิชาการและประกันคุณภาพการศึกษา เผยแพร่ข่าวโดย : ชลทิตย์ สีเทา ณ วันที่ : 29 …
Read More »