หน่วยงานปฏิบัติการวิจัยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การบรรเทา และการปรับตัว (CMARE) ตระหนักถึงความสำคัญในการสร้างการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน เพื่อแบ่งปันและร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างความเข้มแข็งของท้องถิ่นในการวางแผนและจัดการฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM2.5) ที่เป็นปัญหาระดับชาติที่หลายพื้นที่เผชิญอยู่ โดยการนำเอาแพลตฟอร์มดิจิทัลนำร่องที่ได้พัฒนาขึ้นจากความร่วมมือระหว่างคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์และคณะวิทยาการสารสนเทศ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ผ่านการจัดการเรียนและการสอน ซึ่งประกอบด้วย 3 โมดูล ได้แก่ การเฝ้าระวัง (ท้องถิ่น สามารถรับรู้สถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดเล็กในพื้นที่ของตนเองจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ และสามารถประเมินสมรรถนะในด้านต่าง ๆ เพื่อยกระดับตนเองให้พร้อมต่อการพัฒนาที่ยั่งยืน) การปลดปล่อย (ท้องถิ่น สามารถคำนวณการปลดปล่อยของฝุ่นละอองขนาดเล็กจากแหล่งกำเนิดต่าง ๆ ได้จากข้อมูลจากการแบ่งปันของหน่วยงานภาครัฐระดับจังหวัด) และยุทธการจัดการ (ประกอบด้วย องค์ความรู้ท้องถิ่นจากงานวิจัยแต่ละศาสตร์ ชุมชนต้นแบบที่สามารถบริหารจัดการตนเองเพื่อลดการเผาได้ มาตรการทางกฎหมายที่ท้องถิ่นสามารถใช้เป็นกลใกในการบริหารจัดการพื้นที่ของตนเอง และสื่อสร้างสรรค์ที่พัฒนาจากศาสตร์ต่าง ๆ ช่วยสร้างการรับรู้ ความเข้าใจ และสื่อสารข้อมูลที่ชุมชนสามารถเข้าถึงได้) ทั้งนี้ หน่วยงานปฏิบัติการวิจัยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การบรรเทา และการปรับตัว (CMARE) พร้อมให้การสนับสนุนทางวิชาการ เพื่อบูรณาการความร่วมมือและเป็นส่วนหนึ่งในการผลักดันการบรรลุตัวชี้วัดในแผนพัฒนาท้องถิ่น/แผนปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน ทั้งการจัดอบรม ในรูปแบบ Onsite และ Online โดยผู้สนใจ สามารถติดต่อ ดร.ธายุกร พระบำรุง ผู้อำนวยการหน่วยปฏิบัติการวิจัยฯ เบอร์โทร 08 9401 9294 อีเมล thayukorn.p@msu.ac.th อย่างไรก็ตาม แพลตฟอร์มที่พัฒนานี้ https://dustinfo4all.com/index.php เป็นการนำร่อง ที่ยังต้องพัฒนาประสิทธิภาพให้เต็มรูปแบบ รวมถึงข้อมูลทางวิชาการสหวิทยาการและการสนับสนุนงบประมาณ เพื่อให้พร้อมรองรับการใช้งานครอบคลุมพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ภาพและข่าว : คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มมส / ดร.ธายุกร พระบำรุง
เผยแพร่โดย : ชลทิตย์ สีเทา
ณ วันที่ : 23 มกราคม 2566