Breaking News
Home / ข่าว / CMARE พัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นเชิงบูรณาการ 3 มิติ ด้านการปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ จากฐานรากการบูรณาการความร่วมมือกับท้องถิ่น

CMARE พัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นเชิงบูรณาการ 3 มิติ ด้านการปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ จากฐานรากการบูรณาการความร่วมมือกับท้องถิ่น

Girls sitting hugging their knees, looking at the sky and having trees on dry ground
เครือข่ายนักวิจัยสหวิทยาการ หน่วยปฏิบัติการวิจัยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การปรับตัว (CMARE) ร่วมกับชุมชนตำบลนาเชือกและโคกก่อ จ.มหาสารคาม  ได้พัฒนาหลักสูตรแบบบูรณาการ  “การปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ” ภายใต้การสนับสนุนงบประมาณจากสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (สป.อว)  โดยมีครูแต่ละกลุ่มสาระวิทยาศาสตร์ สังคมศาสตร์ ภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ ร่วมออกแบบกิจกรรมบูรณาการ  สำหรับใช้ในการจัดการเรียนและการสอนให้กับนักเรียนในแต่ละระดับชั้น ซึ่งได้อาศัยบทเรียนจากการจัดการความรู้ร่วมกับภาคชุมชน ปราชญ์ท้องถิ่น องค์การปกครองท้องถิ่น และหน่วยงานภาครัฐ ร่วมสังเคราะห์เป็นกิจกรรมการพัฒนาการเรียนรู้ สำหรับโรงเรียนนาเชือกพิทยาสรรค์ (ประกอบด้วย กิจกรรมสืบสานตำนานเซียก วิถีวัฒนกรรมชาวนาเชือก ออนซอนปูทูลกระหม่อม และผลิตภัณฑ์รกฟ้า) และโรงเรียนโคกก่อพิทยาคม (ประกอบด้วย กิจกรรมสืบสานตำนานก่อ  วิถีชีวิตรอบอ่างโคกก่อ เส้นทางธรรมชาติ และผลิตภัณฑ์ชุมชน) เพื่อพัฒนาความรู้และทักษะของนักเรียน โดยใช้แหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่น ทั้งด้านทรัพยากรธรรมชาติ ภูมิปัญญา และการประกอบอาชีพ  ซึ่งเชื่อมโยงให้สอดรับกับแนวทาง STEM รวมถึงการพัฒนาสื่อการเรียนการสอนสร้างสรรค์  เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการส่งเสริมการเรียนรู้ และการใช้ Mobile Application  ที่พัฒนาขึ้น โดยหน่วยงานเครือข่ายที่มีพันธกิจด้านการเผยแพร่องค์ความรู้ ด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ได้แก่ กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) และสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน)  เพื่อพัฒนาทักษะของครูและนักเรียน สู่การใช้เครื่องมือสมัยใหม่  ในการพัฒนาศักยภาพของตนเอง ให้พร้อมปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ทั้งด้านสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ และสังคม ทั้งนี้ สามารถดาวน์โหลดเล่มคู่มือ เวอร์ชันที่ 1 ได้ตามลิงค์ด้านล่างนี้ นอกจากนี้ โรงเรียนต่าง ๆ ในพื้นที่ตำบลนาเชือกและโคกก่อ สามารถนำหลักสูตรนี้ ไปบูรณาการกับการจัดการเรียนและการสอนที่มีอยู่ได้ หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม สามารถติดต่อได้ที่ ดร.ธายุกร  พระบำรุง ผู้อำนวยการหน่วยปฏิบัติการวิจัย CMARE อีเมล thayukorn.p@msu.ac.th

 โรงเรียนนาเชือกพิทยาสรรค์  (จำนวน 237 หน้า)

https://drive.google.com/drive/folders/1pwblwVhIzrdX4p152ogwj0XBTT6br2H6?usp=sharing

 โรงเรียนโคกก่อพิทยาคม (จำนวน 213 หน้า)

https://drive.google.com/drive/folders/1xPF4Rfrz_h11bHKHU4SBi2RHRE7b1f56?usp=sharing

ทั้งนี้ จะมีการขยายการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นสหวิทยาการ เพื่อการปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สำหรับกลุ่มผู้สูงวัย เพื่อสอดรับกับสังคมผู้สูงวัย โดยการเติมเต็มชุดความรู้จากนักวิจัยจิตอาสาจากหลายคณะ/หน่วยงานสนับสนุนการศึกษา ภายในมหาวิทยาลัยมหาสารคาม และส่งมอบให้โรงเรียนผู้สูงอายุ เพื่อใช้ประโยชน์ต่อไป

ข่าว: หน่วยปฏิบัติการวิจัย CMARE
ภาพ: https://www.freepik.com

เผยแพร่ข่าวโดย : ชลทิตย์ สีเทา

ณ วันที่ : 8 เมษายน 2564

About env@msu.ac.th

Check Also

เวทีหารือทางวิชาการ สะท้อนข้อเสนอแนะเชิงนโยบายที่เป็นไปได้ สำหรับการจัดการมลพิษทางน้ำของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 

เวทีหารือทางวิชาการ สะท้อนข้อเสนอแนะเชิงนโยบายที่เป็นไปได้ สำหรับการจัดการมลพิษทางน้ำของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 

เมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2567 ที่ผ่านมา ณ ห้อง ENV110 และ Zoom Meeting คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ ได้จัดเวทีแลกเปลี่ยนด้านวิชาการ ประเด็น “การจัดการมลพิษทางน้ำเชิงนโยบายของภาคตะวันออกเฉียงเหนือจากบทเรียนสู่ความท้าทาย” …

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *