Breaking News
Home / วิจัย (page 2)

วิจัย

เชิญสมัครร่วมเป็นผู้แทน/เครือข่ายสถาบันการศึกษาพี่เลี้ยง เพื่อสนับสนุนท้องถิ่นสู่การเป็นเมืองรีซิเลียนซ์ต่อภัยพิบัติ (MCR2030)

เชิญสมัครร่วมเป็นผู้แทน/เครือข่ายสถาบันการศึกษาพี่เลี้ยง เพื่อสนับสนุนท้องถิ่นสู่การเป็นเมืองรีซิเลียนซ์ต่อภัยพิบัติ (MCR2030)

คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ โดยหน่วยปฏิบัติการวิจัยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การบรรเทา และการปรับตัว (CMARE) ในฐานะผู้ดำเนินการระดับพื้นที่และผู้ประสานระหว่างพื้นที่ ประสงค์จะผนึกกำลังอาจารย์และนักวิจัยจากสถาบันการศึกษาทั่วประเทศที่มีประสบการณ์ทำงานกับท้องถิ่นและประสงค์จะบูรณาการการผลักดันท้องถิ่นของตนเองสู่การสร้างเมืองรีซิเลียนซ์ต่อภัยพิบัติ ซึ่งปัจจุบัน “ภัยพิบัติ” มีความรุนแรงและบ่อยครั้งยิ่งขึ้น จึงจำเป็นต้องสร้างความพร้อมด้านการบริหารจัดการของท้องถิ่น โดยอาศัยองค์ความรู้ด้านวิจัย เทคโนโลยี และนวัตกรรมในพื้นที่จากสถาบันการศึกษาในพื้นที่นั้น ๆ  ที่มีความรู้และความเข้าใจบริบทของพื้นที่อย่างลึกซึ้ง เพื่อเสริมพลังให้กับท้องถิ่น ตามแนวทางของสำนักงานเพื่อการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติแห่งสหประชาชาติ (UNDRR)  ซึ่งสถาบันการศึกษาพี่เลี้ยงเอง จะได้รับการเสริมศักยภาพในด้านต่าง ๆ  เพื่อส่งเสริมท้องถิ่นสู่การสร้างเมืองรีซิเลียนซ์ต่อภัยพิบัติ (MCR2030) อย่างยั่งยืน ผ่านการสนับสนุนด้านวิชาการและเทคนิคจากเครือข่ายพัฒนาความเข้มแข็งต่อภัยพิบัติไทย (TNDR) สำนักงานเพื่อการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติแห่งสหประชาชาติ (UNDRR) ศูนย์เตรียมความพร้อมภัยพิบัติแห่งเอเชีย (ADPC) กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย  สมาคมสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย และสถาบันการศึกษาที่มีประสบการณ์กับการทำงานกับท้องถิ่น โดยสนใจ เข้าร่วมผนึกกำลัง   เพื่อสร้างท้องถิ่นสู่เมืองรีซิเลียนซ์ต่อภัยพิบัติไปด้วยกัน ได้ที่ลิงก์นี้    https://docs.google.com/forms/d/e/1FAIpQLScX0VRy5HuLFtaO7Td02Dj2nSoAOp_wezgp779StfGrbDx9DQ/viewform ภาพและข่าว : คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มมส / ดร.ธายุกร พระบำรุง เผยแพร่โดย : ชลทิตย์ สีเทา ณ วันที่ …

Read More »

ขอแสดงความยินดี “นักประดิษฐ์ อถล. รักษ์น้ำ รักษ์ดิน รักษ์โลก”

ขอแสดงความยินดี "นักประดิษฐ์ อถล. รักษ์น้ำ รักษ์ดิน รักษ์โลก"

ขอแสดงความยินดี “นักประดิษฐ์ อถล. รักษ์น้ำ รักษ์ดิน รักษ์โลก” คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ โดยหน่วยปฏิบัติการวิจัยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การบรรเทา และการปรับตัว (CMARE) ขอแสดงความยินดีกับโรงเรียนสาธิตเทศบาลศรีสวัสดิ์วิทยา ที่ได้รับมอบประกาศนียบัตรรางวัล “นักประดิษฐ์ อถล. รักษ์น้ำ รักษ์ดิน รักษ์โลก” จากรองผู้ว่าราชการจังหวัดมหาสารคาม นายนพสิทธิ์ อุดมสุวรรณกุล ในคราวการประชุมผู้บริหารท้องถิ่นจังหวัดมหาสารคาม วันที่ 15 พฤษภาคม 2567 ณ ห้องประชุมพระบรมธาตุนาดูน ศาลากลางจังหวัด โดยมีท่านรองฯ โกพัสต์ สมสาร์ รองนายกเทศมนตรี ผู้บริหารเทศบาลเมืองมหาสารคาม ว่าที่ร้อยเอก ธิปกรณ์ บุญทัน ผู้แทนสถานศึกษา นายศรายุธ ปางทอง ครูผู้สอน เด็กชายภูมิธรรม ระหา เด็กชายยุธนา ธิติธรรมรักษ์ และเด็กชาย สิริมงคล นามบุดดี นักประดิษฐ์ เข้ารับรางวัลในครั้งนี้ …

Read More »

ขอแสดงความยินดีที่ได้รับเลือกเป็นคำขวัญวันสิ่งแวดล้อมโลกภาษาไทย

ขอแสดงความยินดีที่ได้รับเลือกเป็นคำขวัญวันสิ่งแวดล้อมโลกภาษาไทย

ขอแสดงความยินดีกับ ดร.ธายุกร พระบำรุง ผู้อำนวยการหน่วยปฏิบัติการวิจัยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การบรรเทา และการปรับตัว (CMARE) ที่ได้ร่วมกิจกรรมประกวดคำขวัญวันสิ่งแวดล้อมโลกภาษาไทย ประจำปี 2567  จากแนวคิดภาษาอังกฤษ LAND RESTORATION,DESERTIFICATION & DROUGHT RESILIENCE ของกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม ซึ่งมีผู้เข้าร่วมกิจกรรมส่งคำขวัญทั้งหมด จำนวน 79 คำขวัญ โดยได้รับเลือกเป็นหนึ่งในคำขวัญ  “พลิกฟื้นผืนดิน   สู้วิกฤตภัยแล้ง”  สำหรับเป็นคำขวัญที่ชนะเลิศกิจกรรมประกวดคำขวัญวันสิ่งแวดล้อมโลก (ภาษาไทย)  ที่ได้ผสมคำสำคัญมาจากคำขวัญ  “พลิกฟื้นผืนดิน ทำกินยั่งยืน ตื่นรู้ภัยแล้ง” (ดร.ธายุกร พระบำรุง)  และ “พลิกฟื้นปฐพี ฟื้นฟูแผ่นดิน สู้วิกฤตภัยแล้ง”  (คุณศิริวรรณ เกตุชัยโกศล)  ภาพและข่าว : คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มมส / ดร.ธายุกร พระบำรุง เผยแพร่โดย : ชลทิตย์ สีเทา ณ วันที่ : 30 …

Read More »

คณะสิ่งแวดล้อมฯ ร่วมผลักดันชุมชนและเครือข่ายของผู้เชี่ยวชาญด้านภูมิอากาศ

คณะสิ่งแวดล้อมฯ ร่วมผลักดันชุมชนและเครือข่ายของผู้เชี่ยวชาญด้านภูมิอากาศ

เมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2567 ณ ห้องประชุม Harmony I โรงแรม Mövenpick BDMS Wellness Resort กรุงเทพมหานคร คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ โดย ดร.ธายุกร พระบำรุง ผู้อำนวยการหน่วยปฏิบัติการวิจัยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การบรรเทา และการปรับตัว (CMARE) ได้รับเชิญให้เข้าร่วมประชุมหารือผู้เชี่ยวชาญเพื่อพัฒนาความร่วมมือการจัดทำและให้บริการข้อมูลภูมิอากาศของประเทศไทย ซึ่งจัดขึ้นโดยกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม ภายใต้การดำเนินการของกองขับเคลื่อนการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ศูนย์วิจัยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อมและองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ) ประจำประเทศไทย การประชุมในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจสถานภาพของการดำเนินงานด้านแบบจำลองภูมิอากาศและข้อมูลภูมิอากาศ ณ ปัจจุบัน และหารือแนวทางการบูรณาการข้อมูลภูมิอากาศและการทำงานร่วมกันในการสนับสนุนการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของไทย  โดยมีผู้เชี่ยวชาญด้านแบบจำลองภูมิอากาศและข้อมูลภูมิอากาศ จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ  องค์กรระหว่างประเทศ  พร้อมผู้เชี่ยวชาญจากมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ร่วมให้ความเห็นเกี่ยวกับการจัดทำและให้บริการข้อมูลภูมิอากาศของประเทศไทย มีผู้เข้าร่วมการประชุมทั้งสิ้น 57 คน ทั้งนี้ คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ จะเป็นหน่วยงานผู้ดำเนินการและผู้ประสานผู้เชี่ยวชาญด้านแบบจำลองภูมิอากาศและข้อมูลภูมิอากาศภายในมหาวิทยาลัยมหาสารคาม เพื่อผลักดันให้เกิดชุมชนและเครือข่ายของผู้เชี่ยวชาญด้านภูมิอากาศ ผ่านกลไกการดำเนินการของกองขับเคลื่อนการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ศูนย์วิจัยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อมและองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ) ประจำประเทศไทย …

Read More »

คณะสิ่งแวดล้อมฯ เสริมศักยภาพของครู(รักษ์)ถิ่น สู่การบูรณาการการจัดการเรียนและการสอนควบคู่กับการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน

คณะสิ่งแวดล้อมฯ เสริมศักยภาพของครู(รักษ์)ถิ่น สู่การบูรณาการการจัดการเรียนและการสอนควบคู่กับการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน

เมื่อวันที่ 20-22 มีนาคม 2567 ณ ห้อง ED1219 ชั้น 2 คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น  คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ โดย ดร.ธายุกร พระบำรุง ผู้อำนวยการหน่วยปฏิบัติการวิจัยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การบรรเทา และการปรับตัว (CMARE) ได้รับมอบหมายให้เป็นวิทยากร ในการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการ หัวข้อ “การบูรณาการทักษะการสื่อสาร เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงในชุมชนสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน” ให้กับนักศึกษา จำนวน 31 คนผู้ที่จะไปปฏิบัติหน้าที่ครู เมื่อสำเร็จการศึกษาในจังหวัด ต่าง ๆ ได้แก่  หนองคาย อุดรธานี ขอนแก่น เลย  บึงกาฬ หนองบัวลำภู และมหาสารคาม ภายใต้โครงการพัฒนานักศึกษาทุนครูรัก(ษ์) ถิ่น ปีการศึกษา 2566 จัดโดยฝ่ายการศึกษาและการบริการวิชาการ (รศ.ดร.ดนิตา ดวงวิไล ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายพัฒนาวิชาชีพครูและบริการวิชาการ) คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ทั้งนี้ …

Read More »

คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ พัฒนากลไกเพื่อสนับสนุนเมืองมหาสารคามสู่การเป็นเมืองริซีเลียนซ์ต่อภัยพิบัติเชิงบูรณาการ

คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ พัฒนากลไกเพื่อสนับสนุนเมืองมหาสารคามสู่การเป็นเมืองริซีเลียนซ์ต่อภัยพิบัติเชิงบูรณาการ

คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ โดยหน่วยปฏิบัติการวิจัยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ   การบรรเทา และการปรับตัว (CMARE) ร่วมกับศูนย์วิจัยเฉพาะทางนวัตกรรมดิจิทัล เพื่อการจัดการภัยพิบัติลุ่มน้ำแบบบูรณาการ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ภายใต้การสนับสนุนด้านเทคนิคจากสำนักงานเพื่อการลดความเสี่ยงแห่งสหประชาชาติ (United Nations Office for Disaster Risk Reduction; UNDRR) และเครือข่ายพัฒนาความเข้มแข็งต่อภัยพิบัติไทย (Thai Network for Disaster Resilience) พัฒนากลไกเพื่อสนับสนุนเมืองมหาสารคามสู่การเป็นเมืองริซีเลียนซ์ต่อภัยพิบัติเชิงบูรณาการ โดยเทศบาลเมืองมหาสารคาม ได้ถูกคัดเลือกให้เป็นผู้แทนภาคท้องถิ่น ในการถอดบทเรียนการสร้างเมืองรีซิเลียนซ์ต่อภัยพิบัติ นำเสนอโดยนายสันติ ระวังภัย นักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยปฏิบัติการ เทศบาลเมืองมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม ใน Regional Workshop  “Urban Resilience to Climate Extremes in Southeast Asia” ที่จัดขึ้นระหว่างวันที่ 27-28 กุมภาพันธ์ 2567 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ …

Read More »

คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ หนุน Soft Power ที่เริ่มจากการปูโครงสร้างพื้นฐานเชิงบูรณาการ สู่การเศรษฐกิจชุมชน โดยอัตลักษณ์ชุมชน

คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ หนุน Soft Power ที่เริ่มจากการปูโครงสร้างพื้นฐานเชิงบูรณาการ สู่การเศรษฐกิจชุมชน โดยอัตลักษณ์ชุมชน

เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2566 คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ โดยหน่วยปฏิบัติการวิจัยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การบรรเทา และการปรับตัว (CMARE)  บูรณาการความร่วมมือกับคณะสาธารณสุขศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ คณะการบัญชีและการจัดการ และคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมือง และนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม วิสาหกิจชุมชนผลิตภัณฑ์แปรรูปข้าวเม่าอัตลักษณ์เมืองมหาสารคาม และเทศบาลเมืองมหาสารคาม จัดกิจกรรม “การเสริมศักยภาพองค์กรธุรกิจชุมชนผลิตภัณฑ์แปรรูปอาหารและการขยายผล เพื่อยกระดับเศรษฐกิจชุมชนตำบลตลาด โดยใช้กลยุทธ์อัตลักษณ์ชุมชน”  โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อถ่ายทอดระบบการจัดการแหล่งวัตถุดิบและการบริหารจัดการธุรกิจชุมชนที่ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมระบบการผลิตและสถานที่ผลิตให้สอดรับการปฏิบัติที่ดีในการผลิตอาหารและเตรียมพร้อมสำหรับการขอการรับรอง อย. มีเอกลักษณ์ ดึงดูดลูกค้า และเป็นแหล่งเรียนรู้ของชุมชน  และการแปรรูปและเก็บรักษาผลิตภัณฑ์ข้าวเม่าให้คงคุณภาพและสอดรับความต้องการของลูกค้ากลุ่มใหม่ โดยได้นำร่องการพัฒนากลไกพื้นฐานในการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากของชุมชนโพธิ์ศรี 1  โดยใช้อัตลักษณ์ชุมชน หรือ DNA เพื่อการขับเคลื่อนการพัฒนาเมือง โดยความร่วมมือกับภาคีเครือข่าย ได้แก่ วิทยาลัยเทคนิคมหาสารคาม มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม และหอการค้าจังหวัดมหาสารคาม  โดยมี นายกมล ตราชู รองนายกเทศมนตรีเมืองมหาสารคาม รองศาสตราจารย์ ดร.อดิศักดิ์ สิงห์สีโว คณบดีคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ดร.ธายุกร พระบำรุง …

Read More »

คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ ร่วมกับสำนักงานลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติแห่งสหประชาชาติ เสริมพลังเทศบาลนครพิษณุโลกและการพัฒนาเครือข่ายสถาบันการศึกษาเป็นพี้เลี้ยง เพื่อพัฒนาเมืองยืดหยุ่น (City Resilience)

เมื่อวันที่ 1 กันยายน 2566  ณ ห้องประชุมจุฬามณี 1 สำนักงานเทศบาลนครพิษณุโลก จ.พิษณุโลก คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ โดย ดร.ธายุกร พระบำรุง  ผู้อำนวยการหน่วยปฏิบัติการวิจัยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การบรรเทา และการปรับตัว (CMARE)/อาจารย์หลักสูตรสาขาวิชาเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม ได้บูรณาการความร่วมมือกับสำนักงานลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติแห่งสหประชาชาติ (UNDRR) มหาวิทยาลัยนเรศวร (โครงการ SECRA และ โครงการ FOUNTAIN ภายใต้การสนับสนุนของโปรแกรม ERASMUS+ จาก EU) และเครือข่ายพัฒนาความเข้มแข็งต่อภัยพิบัติไทย (TNDR)  ในฐานะวิทยากรกระบวนการ  ในโครงการการอบรมเชิงปฏิบัติการ “ การบูรณาการสู่การสร้างเมืองยืดหยุ่น (MCR2030) ตามแนวทางสำนักงานลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติแห่งสหประชาชาติเพื่อลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติอย่างยั่งยืน” สำหรับผู้บริหาร หัวหน้าส่วนราชการ และพนักงานเทศบาลนครพิษณุโลก โดยมี  นางเปรมฤดี ชามพูนท นายกเทศมนตรีนครพิษณุโลก เป็นประธานเปิดงาน และในกิจกรรม ประกอบด้วย  การกล่าวปฐมบท  “บทบาทความร่วมมือระหว่างสถาบันวิชาการกับการพัฒนาเมืองสู่เมืองที่ลดความเสี่ยงภัยอย่างยั่งยืน”  โดย …

Read More »

คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ ร่วมกับภาคีเครือข่าย ต้อนรับคณะกรรมการประเมินด้วยอัตลักษณ์ของอำเภอนาเชือก 

เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2566 คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ โดย ดร.ธายุกร พระบำรุง  ผู้อำนวยการหน่วยปฏิบัติการวิจัยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การบรรเทา และการปรับตัว (CMARE)/อาจารย์หลักสูตรสาขาวิชาเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม  ร่วมกับคณะเภสัชศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ คณะการบัญชีและการจัดการ และคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมือง และนฤมิตศิลป์ ศูนย์ความเป็นเลิศทางนวัตกรรมไหม มหาวิทยาลัยมหาสารคาม และวิสาหกิจชุมชนกลุ่มเกษตรอินทรีย์และการแปรรูปผลิตภัณฑ์ริมอ่างห้วยค้อ ในการดำเนินโครงการวิสาหกิจชุมชนภูมินวัตกรรมผลิตภัณฑ์สมุนไพรจากสารสกัดจากต้นเชือกของอำเภอนาเชือก จ.มหาสารคาม  จับมือกับภาคีเครือข่ายทั้งหน่วยงานภาคท้องถิ่น ได้แก่ องค์การบริหารส่วนตำบลเขวาไร่  เทศบาลตำบลนาเชือก  องค์การบริหารส่วนตำบลนาเชือก  หน่วยงานภาครัฐ ได้แก่ สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอนาเชือก   สถาบันการศึกษา ได้แก่ โรงเรียนบ้านหนองแสง กลุ่มผู้ประกอบการในชุมชน ได้แก่ บ้านกุดน้ำใส (กลุ่มอาชีพทอผ้า) วิสาหกิจชุมชนกลุ่มอาชีพเพื่อพัฒนาป่าชุมชน (บ้านหนองทิศสอน) วิสาหกิจชุมชนกลุ่มผู้ใช้น้ำบาดาลพลังแสงอาทิตย์ (โซลาร์เซลล์) และไร่นาสวนผสม  ได้ร่วมกันต้อนรับคณะกรรมการประเมินโครงการ ประกอบด้วย นายจิรวัฒน์ วัฒนบุตร ผู้เชี่ยวชาญ จากสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) …

Read More »

สร้างความพร้อมเศรษฐกิจชุมชนตามแนวทางเศรษฐกิจโมเดลใหม่ (BCG Model) ด้วยผลิตภัณฑ์จากสารสกัดจากเปลือกต้นเชือก

สร้างความพร้อมเศรษฐกิจชุมชนตามแนวทางเศรษฐกิจโมเดลใหม่ (BCG Model) ด้วยผลิตภัณฑ์จากสารสกัดจากเปลือกต้นเชือก

เมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม 2566  ที่ผ่านมา  คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์  โดย ดร.ธายุกร พระบำรุง ผู้อำนวยการหน่วยปฏิบัติการวิจัยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การบรรเทา และการปรับตัว (CMARE) หัวหน้าโครงการโครงการวิสาหกิจชุมชนภูมินวัตกรรมผลิตภัณฑ์สมุนไพรจากสารสกัดจากต้นเชือกของอำเภอนาเชือก จ.มหาสารคาม ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากงบประมาณการส่งเสริมการนำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อเพิ่มศักยภาพการผลิตและเศรษฐกิจชุมชน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2566 จากสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดยโครงการนี้ เป็นการบูรณาการความร่วมมือระหว่างคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ คณะการบัญชีและการจัดการ และคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมือง และนฤมิตศิลป์ ศูนย์ความเป็นเลิศทางนวัตกรรมไหม มหาวิทยาลัยมหาสารคาม และวิสาหกิจชุมชนกลุ่มเกษตรอินทรีย์และการแปรรูปผลิตภัณฑ์ริมอ่างห้วยค้อ ภายใต้การสนับสนุนการสร้างกลไกการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนของภาคีเครือข่าย ประกอบด้วย องค์การบริหารส่วนตำบลเขวาไร่ และสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอนาเชือก โดยจะขยายการสร้างการเรียนรู้และการสร้างความร่วมมือกับโรงเรียนบ้านหนองแสง  โรงเรียนนาเชือกพิทยาสรรค์  วิสาหกิจชุมชนกลุ่มอาชีพเพื่อพัฒนาป่าชุมชน (บ้านหนองทิศสอน) และวิสาหกิจชุมชนกลุ่มปลูกหม่อนเลี้ยงไหมบ้านห้วยทราย เพื่อผลักดันให้เกิดการพัฒนาชุมชน        แบบองค์รวมอย่างยั่งยืน ในกิจกรรม นายณัฐวุฒิ มนไธสง นายกองค์การบริหารส่วนตำบลเขวาไร่  และนายสถาพร …

Read More »