Breaking News
Home / ข่าว / กิจกรรม : งานวิจัย / CMARE ร่วมเวทีเสวนา Climate Crisis and University Engagement: Case Study on PM2.5

CMARE ร่วมเวทีเสวนา Climate Crisis and University Engagement: Case Study on PM2.5

CMARE ร่วมเวทีเสวนา Climate Crisis and University Engagement: Case Study on PM2.5

คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ โดย ดร.ธายุกร พระบำรุง ผู้อำนวยหน่วยปฏิบัติการวิจัยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การบรรเทา และการปรับตัว (CMARE) ร่วมเวทีเสวนา Climate Crisis and University Engagement: Case Study on PM2.5 ในประชุมวิชาการระดับชาติ Engagement Thailand ครั้งที่ 9 (The 9th Engagement Thailand Annual Conference 2024 Driving Society Engagement Innovation toward Sustainability) ในวันที่ 6 มิถุนายน  2567 เวลา 13:00-14:30 น. ณ ห้องประชุมแกรนด์นันทา โรงแรมเซ็นทารา ริเวอร์ไซด์ จ.เชียงใหม่โดยภารกิจหลักของหน่วยปฏิบัติการวิจัยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การบรรเทา และการปรับตัว (CMARE) คือ การวิจัยด้านคุณภาพอากาศและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในรูปแบบหวิทยาการ ที่เผยแพร่ทั้งในระดับประเทศและนานาชาติ เพื่อสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน  ร่วมกับภาคีเครือข่าย เช่น  สาขาวิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมและการจัดการภัยพิบัติ  มหาวิทยาลัยมหิดล (วิทยาเขตกาญจนบุรี) และสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) การพัฒนาองค์ความรู้ท้องถิ่น โดยเฉพาะพื้นที่เมืองมหาสารคามและ           ภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่บูรณาการกับการวิจัยและการจัดการเรียนและการสอนทั้งภายในและระหว่างหน่วยงาน การพัฒนาคู่มือหลักสูตรท้องถิ่นสหวิทยาการ สำหรับโรงเรียน เพื่อปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การพัฒนากลไกเพื่อสนับสนุนการบูรณาการองค์ความรู้สู่นโยบายท้องถิ่นและการนำไปปฏิบัติเพื่อสนับสนุนการพัฒนาแบบองค์รวม เช่น ธรรมนูญสุขภาพ เพื่อการจัดการฝุ่นละอองขนาดเล็ก การพัฒนาระบบการบริหารจัดการด้านสิ่งแวดล้อมสำหรับวิสาหกิจชุมชน การเป็นภาคีเครือข่ายด้านวิชาการให้กับเทศบาลเมืองมหาสารคามและสถาบันลูกโลกสีเขียว และการเตรียมความพร้อมด้านระบบบริหารจัดการของท้องถิ่น โดยการพัฒนาระบบสารสนเทศนำร่องเพื่อเชื่อมองค์ความรู้ด้านวิจัยในพื้นที่ที่บูรณาการข้อมูลทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม เช่น www.talontalad.com   mu4life (https://mu4life.cmarehub.com) localizeedu (https://localizeedu.cmarehub.com) และ dustinfo4all (https://dustinfo4all.com) และการสนับสนุนด้านการพัฒนาศักยภาพของหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ผ่านหลักสูตรการอบรม โดยเวทีเสวนานี้ หน่วยวิจัย ในฐานะผู้แทนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จะกล่าวถึง การผลักดันให้เกิดกลไก “สถาบันการศึกษาพี่เลี้ยงให้กับท้องถิ่น เพื่อร่วมเรียนรู้ แบ่งปัน และเตรียมพร้อมท้องถิ่นสู่การพัฒนาเมืองรีซิเลียนซ์ต่อภัยพิบัติ (Making Cities Resilient 2030; MCR2030) ที่ครอบคลุมฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM2.5) ในฐานะเป็นหนึ่งในภัยพิบัติที่ต้องบริหารจัดการความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้น  ตามแนวทางของ UNDRR ภายใต้การสนับสนุนด้านวิชาการจากเครือข่ายพัฒนาความเข้มแข็งต่อภัยพิบัติไทย (TNDR) สำนักงานเพื่อการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติแห่งสหประชาชาติ (UNDRR) ศูนย์เตรียมความพร้อมภัยพิบัติแห่งเอเชีย (ADPC)  กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย  สมาคมสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย และเครือข่ายหน่วยงานภาครัฐอื่น ๆ เช่น กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม

ภาพและข่าว : คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มมส / ดร.ธายุกร พระบำรุง

เผยแพร่โดย : ชลทิตย์ สีเทา

ณ วันที่ : 4 มิถุนายน 2567

About env@msu.ac.th

Check Also

กิจกรรม ลากเส้น...เล่นสี

กิจกรรม ลากเส้น…เล่นสี

วันอาทิตย์ที่ 22 กันยายน 2567 นำโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ยุวดี ไชยเชษฐ์ หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม ได้จัดกิจกรรม ลากเส้น…เล่นสี ให้แก่นิสิตหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม ชั้นปีที่ …

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *