เมื่อวันที่ 1 กันยายน 2566 ณ ห้องประชุมจุฬามณี 1 สำนักงานเทศบาลนครพิษณุโลก จ.พิษณุโลก คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ โดย ดร.ธายุกร พระบำรุง ผู้อำนวยการหน่วยปฏิบัติการวิจัยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การบรรเทา และการปรับตัว (CMARE)/อาจารย์หลักสูตรสาขาวิชาเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม ได้บูรณาการความร่วมมือกับสำนักงานลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติแห่งสหประชาชาติ (UNDRR) มหาวิทยาลัยนเรศวร (โครงการ SECRA และ โครงการ FOUNTAIN ภายใต้การสนับสนุนของโปรแกรม ERASMUS+ จาก EU) และเครือข่ายพัฒนาความเข้มแข็งต่อภัยพิบัติไทย (TNDR) ในฐานะวิทยากรกระบวนการ ในโครงการการอบรมเชิงปฏิบัติการ “ การบูรณาการสู่การสร้างเมืองยืดหยุ่น (MCR2030) ตามแนวทางสำนักงานลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติแห่งสหประชาชาติเพื่อลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติอย่างยั่งยืน” สำหรับผู้บริหาร หัวหน้าส่วนราชการ และพนักงานเทศบาลนครพิษณุโลก โดยมี นางเปรมฤดี ชามพูนท นายกเทศมนตรีนครพิษณุโลก เป็นประธานเปิดงาน และในกิจกรรม ประกอบด้วย การกล่าวปฐมบท “บทบาทความร่วมมือระหว่างสถาบันวิชาการกับการพัฒนาเมืองสู่เมืองที่ลดความเสี่ยงภัยอย่างยั่งยืน” โดย รองศาสตราจารย์ ดร.ศรินทร์ทิพย์ แทนธานี อธิการบดีมหาวิทยาลัยนเรศวร และเครือข่ายนักวิชาการด้านภัยพิบัติต่อการสนับสนุนการพัฒนาเมืองเพื่อเตรียมความพร้อมต่อการรับมือภัยพิบัติอย่างยั่งยืน” โดย ดร.พิจิตต รัตตกุล ประธานเครือข่ายพัฒนาความเข้มแข็งต่อภัยพิบัติไทย และกิจกรรมเสริมพลังเทศบาลนครพิษณุโลก ได้แก่ การจัดอบรมเชิงปฏิบัติงาน “แนวคิด หลักการสำคัญในการสร้างเมืองยืดหยุ่น (MCR 2030) และบทเรียนและผลลัพธ์ของการสร้างเมืองยืดหยุ่นของเมืองต่าง ๆ” โดย คุณสุนิสา สุดรัก สำนักงานเพื่อการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติแห่งสหประชาชาติ (UNDRR) และวิทยากรกระบวนการ กิจกรรมกลุ่ม Work Shop “การวิเคราะห์สถานะปัจจุบันและการบูรณาการการปฏิบัติงานของภาคท้องถิ่นกับการสร้างเมืองยืดหยุ่นแบบองค์รวม” โดย ดร.ธายุกร พระบำรุง ผู้อำนวยการหน่วยปฏิบัติการวิจัยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การบรรเทาและการปรับตัว (CMARE) คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม และวิทยากรกระบวนการ (อ.ธนวัฒน์ ขวัญบุญ และ อ.ดร.อรวรรณ ศิริสวัสดิ์ อภิชยกุล มหาวิทยาลัยนเรศวร) กิจกรรมกลุ่ม Work Shop “การประเมินเบื้องต้นของเมืองด้านการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติ โดยใช้ Disaster Resilience Scorecard และการจัดทำแผนการดำเนินงานการสร้างเมือง ยืดหยุ่นของภาคท้องถิ่น โดย ทีมวิทยากร และการสะท้อนบทเรียนของภาคท้องถิ่นเพื่อการสร้างเมืองยืดหยุ่นแบบองค์รวม โดยทีมวิทยากร เสริมพลังเทศบาลนครพิษณุโลกและการพัฒนาเครือข่ายสถาบันการศึกษาเป็นพี้เลี้ยง เพื่อพัฒนาเมืองยืดหยุ่น (City Resilience) ต่อการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติอย่างยั่งยืน
ภาพและข่าว : คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มมส/ ดร.ธายุกร พระบำรุง
เผยแพร่โดย : ชลทิตย์ สีเทา
ณ วันที่ : 5 กันยายน 2566