Breaking News
Home / Uncategorized / คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ หนุน Soft Power ที่เริ่มจากการปูโครงสร้างพื้นฐานเชิงบูรณาการ สู่การเศรษฐกิจชุมชน โดยอัตลักษณ์ชุมชน

คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ หนุน Soft Power ที่เริ่มจากการปูโครงสร้างพื้นฐานเชิงบูรณาการ สู่การเศรษฐกิจชุมชน โดยอัตลักษณ์ชุมชน

คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ หนุน Soft Power ที่เริ่มจากการปูโครงสร้างพื้นฐานเชิงบูรณาการ สู่การเศรษฐกิจชุมชน โดยอัตลักษณ์ชุมชน

เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2566 คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ โดยหน่วยปฏิบัติการวิจัยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การบรรเทา และการปรับตัว (CMARE)  บูรณาการความร่วมมือกับคณะสาธารณสุขศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ คณะการบัญชีและการจัดการ และคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมือง และนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม วิสาหกิจชุมชนผลิตภัณฑ์แปรรูปข้าวเม่าอัตลักษณ์เมืองมหาสารคาม และเทศบาลเมืองมหาสารคาม จัดกิจกรรม “การเสริมศักยภาพองค์กรธุรกิจชุมชนผลิตภัณฑ์แปรรูปอาหารและการขยายผล เพื่อยกระดับเศรษฐกิจชุมชนตำบลตลาด โดยใช้กลยุทธ์อัตลักษณ์ชุมชน”  โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อถ่ายทอดระบบการจัดการแหล่งวัตถุดิบและการบริหารจัดการธุรกิจชุมชนที่ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมระบบการผลิตและสถานที่ผลิตให้สอดรับการปฏิบัติที่ดีในการผลิตอาหารและเตรียมพร้อมสำหรับการขอการรับรอง อย. มีเอกลักษณ์ ดึงดูดลูกค้า และเป็นแหล่งเรียนรู้ของชุมชน  และการแปรรูปและเก็บรักษาผลิตภัณฑ์ข้าวเม่าให้คงคุณภาพและสอดรับความต้องการของลูกค้ากลุ่มใหม่ โดยได้นำร่องการพัฒนากลไกพื้นฐานในการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากของชุมชนโพธิ์ศรี 1  โดยใช้อัตลักษณ์ชุมชน หรือ DNA เพื่อการขับเคลื่อนการพัฒนาเมือง โดยความร่วมมือกับภาคีเครือข่าย ได้แก่ วิทยาลัยเทคนิคมหาสารคาม มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม และหอการค้าจังหวัดมหาสารคาม  โดยมี นายกมล ตราชู รองนายกเทศมนตรีเมืองมหาสารคาม รองศาสตราจารย์ ดร.อดิศักดิ์ สิงห์สีโว คณบดีคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ดร.ธายุกร พระบำรุง หัวหน้าโครงการฯ นำหน่วยงานภาครัฐและเอกชนเข้าร่วมโครงการ เพื่อถ่ายทอดระบบการจัดการแหล่งวัตถุดิบและการบริหารจัดการธุรกิจชุมชนที่ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ระบบการผลิตและสถานที่ผลิตให้สอดรับการปฏิบัติที่ดีในการผลิตอาหารและเตรียมพร้อมสำหรับการขอการรับรอง อย. มีเอกลักษณ์ ดึงดูดลูกค้า และเป็นแหล่งเรียนรู้ของชุมชน และการแปรรูปและเก็บรักษาผลิตภัณฑ์ข้าวเม่าให้คงคุณภาพและสอดรับความต้องการของลูกค้ากลุ่มใหม่ โดยได้นำร่องการพัฒนากลไกการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากของชุมชนโพธิ์ศรี 1 โดยใช้อัตลักษณ์ชุมชน หรือ DNA เพื่อการขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองมหาสารคามอย่างยั่งยืน  โดยสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก  https://talontalad.com/

ภาพและข่าว :คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ / ดร.ธายุกร พระบำรุง

เผยแพร่โดย : ชลทิตย์ สีเทา

ณ วันที่ : 4 ธันวาคม 2566

About env@msu.ac.th

Check Also

ภาพและข่าว : งานประชุมคณะกรรมการประจำคณะ คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มมส ณ วันที่ 11 กันยายน 2567

ภาพและข่าว : งานประชุมคณะกรรมการประจำคณะ คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มมส ณ วันที่ 11 กันยายน 2567

เมื่อวันพุธที่ 11 กันยายน 2567 เวลา 13.30 น ณ ห้องประชุม ENV 106  คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ได้จัดการประชุมคณะกรรมการประจำคณะ คณะสิ่งแวดล้อมฯ …

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *