Breaking News
Home / ข่าว / กิจกรรม : งานวิจัย / คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ พัฒนากลไกเพื่อสนับสนุนเมืองมหาสารคามสู่การเป็นเมืองริซีเลียนซ์ต่อภัยพิบัติเชิงบูรณาการ

คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ พัฒนากลไกเพื่อสนับสนุนเมืองมหาสารคามสู่การเป็นเมืองริซีเลียนซ์ต่อภัยพิบัติเชิงบูรณาการ

คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ โดยหน่วยปฏิบัติการวิจัยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ   การบรรเทา และการปรับตัว (CMARE) ร่วมกับศูนย์วิจัยเฉพาะทางนวัตกรรมดิจิทัล เพื่อการจัดการภัยพิบัติลุ่มน้ำแบบบูรณาการ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ภายใต้การสนับสนุนด้านเทคนิคจากสำนักงานเพื่อการลดความเสี่ยงแห่งสหประชาชาติ (United Nations Office for Disaster Risk Reduction; UNDRR) และเครือข่ายพัฒนาความเข้มแข็งต่อภัยพิบัติไทย (Thai Network for Disaster Resilience) พัฒนากลไกเพื่อสนับสนุนเมืองมหาสารคามสู่การเป็นเมืองริซีเลียนซ์ต่อภัยพิบัติเชิงบูรณาการ โดยเทศบาลเมืองมหาสารคาม ได้ถูกคัดเลือกให้เป็นผู้แทนภาคท้องถิ่น ในการถอดบทเรียนการสร้างเมืองรีซิเลียนซ์ต่อภัยพิบัติ นำเสนอโดยนายสันติ ระวังภัย นักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยปฏิบัติการ เทศบาลเมืองมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม ใน Regional Workshop  “Urban Resilience to Climate Extremes in Southeast Asia” ที่จัดขึ้นระหว่างวันที่ 27-28 กุมภาพันธ์ 2567 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ กรุงเทพฯ ที่ผ่านมา ระหว่าง  โดย The Asian Disaster Preparedness Center (ADPC)  ซึ่งได้รับการสนับสนุนงบประมาณจาก the Norwegian Agency for Development Cooperation (Norad)  

กิจกรรมครั้งนี้ มีผู้เข้าร่วมจากหลายประเทศ ได้แก่ ประเทศอินโดนีเซีย  กัมพูชา  ฟิลิปปินส์  เวียดนาม  สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว  ไทย และหน่วยงานระหว่างประเทศ ซึ่งเทศบาลเมืองมหาสารคาม ได้เข้าร่วมโครงการริเริ่ม MCR2030 และได้ ประเมินตนเองตามหลักการของสำนักงานเพื่อการลดความเสี่ยงแห่งสหประชาชาติ (United Nations Office for Disaster Risk Reduction; UNDRR) โดยมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ได้พยายามพัฒนากลไกสนับสนุน เพื่อบูรณาการการสร้างเมืองรีซิเลียนซ์ในด้านต่าง ๆ เพื่อให้เกิดการพัฒนาแบบองค์รวม  ได้แก่

1) การพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนจากอัตลักษณ์เมือง ส่วนระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม ของกองสวัสดิการสังคม เทศบาลเมืองมหาสารคาม  แสดงไว้ใน https://talontalad.com/envi   

2) การพัฒนาเมืองสิ่งแวดล้อมยั่งยืนของกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม ซึ่งดำเนินการโดยสำนักสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลเมืองมหาสารคาม เกณฑ์ประกอบด้วย เมืองอยู่ดี (7 ตัวชี้วัด) คนมีสุข (9 ตัวชี้วัด) สิ่งแวดล้อมยิ่งยืน (7 ตัวชี้วัด) และเทศบาลแห่งการเรียนรู้และการบริหารจัดการที่ดี (11 ตัวชี้วัด) ทั้งนี้ ตัวชี้วัดที่ 6 ในเมืองอยู่ดี  ได้ระบุถึงความจำเป็นด้านการจัดการภัยพิบัติและ  สาธารณภัย  ในปี 2566 ที่ผ่านมา  เทศบาลเมืองมหาสารคาม ได้รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 เมืองสิ่งแวดล้อมยั่งยืน   

3) การพัฒนากลไกด้านการศึกษา โดยใช้อัตลักษณ์ชุมชน ในส่วนของข้อมูลสร้างการเรียนรู้ของชุมชนของกองการศึกษา เทศบาลเมืองมหาสารคาม ผ่านใต้โครงการการพัฒนาศักยภาพการจัดการเรียนและการสอนแบบสหวิทยาการโดยใช้ประวัติศาสตร์และอัตลักษณ์ท้องถิ่นเป็นฐานสู่การพัฒนาชุมชนยั่งยืน รายละเอียด  https://pubhtml5.com/bookcase/ofeu/   

4) การนำร่องการพัฒนาแผนความต่อเนื่องธุรกิจ (Business Continuity Plan) ของวิสาหกิจชุมชนผลิตภัณฑ์แปรรูปข้าวเม่าอัตลักษณ์เมืองมหาสารคาม  ภายใต้โครงการการยกระดับชุมชนโพธิ์ศรี1 เป็นองค์กรธุรกิจชุมชนผลิตภัณฑ์แปรรูปจากข้าวเม่าที่เป็นอัตลักษณ์ของตำบลตลาด อ.เมืองมหาสารคาม    จ.มหาสารคาม ซึ่งจะขยายผลสู่การจัดอบรมผู้ประกอบการในพื้นที่เมืองมหาสารคาม ผ่านระบบออนไลน์ โดยทีมวิทยากรจาก  บริษัท B. Training and Consultant จำกัด และหน่วยปฏิบัติการวิจัยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ   การบรรเทา และการปรับตัว (CMARE) ภายใต้การดำเนินการของสำนักสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลเมืองมหาสารคาม  ภายในเดือนมีนาคม-เมษายน 2567  และมีแผนจะพัฒนาเครือข่ายสถาบันการศึกษาเป็นพี่เลี้ยงในการสร้างเมืองรีซิเลียนซ์ต่อภัยพิบัติ  ครอบคลุมทุกสถาบันการศึกษาในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ภาพและข่าว : คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มมส / ดร.ธายุกร พระบำรุง

เผยแพร่โดย : ชลทิตย์ สีเทา

ณ วันที่ : 29 กุมภาพันธ์ 2567

About env@msu.ac.th

Check Also

ภาพและข่าว : งานประชุมคณะกรรมการประจำคณะ คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มมส ณ วันที่ 11 กันยายน 2567

ภาพและข่าว : งานประชุมคณะกรรมการประจำคณะ คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มมส ณ วันที่ 11 กันยายน 2567

เมื่อวันพุธที่ 11 กันยายน 2567 เวลา 13.30 น ณ ห้องประชุม ENV 106  คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ได้จัดการประชุมคณะกรรมการประจำคณะ คณะสิ่งแวดล้อมฯ …

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *