Breaking News
Home / ข้อมูลงานวิจัย / สร้างความพร้อมเศรษฐกิจชุมชนตามแนวทางเศรษฐกิจโมเดลใหม่ (BCG Model) ด้วยผลิตภัณฑ์จากสารสกัดจากเปลือกต้นเชือก

สร้างความพร้อมเศรษฐกิจชุมชนตามแนวทางเศรษฐกิจโมเดลใหม่ (BCG Model) ด้วยผลิตภัณฑ์จากสารสกัดจากเปลือกต้นเชือก

เมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม 2566  ที่ผ่านมา  คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์  โดย ดร.ธายุกร พระบำรุง ผู้อำนวยการหน่วยปฏิบัติการวิจัยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การบรรเทา และการปรับตัว (CMARE) หัวหน้าโครงการโครงการวิสาหกิจชุมชนภูมินวัตกรรมผลิตภัณฑ์สมุนไพรจากสารสกัดจากต้นเชือกของอำเภอนาเชือก จ.มหาสารคาม ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากงบประมาณการส่งเสริมการนำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อเพิ่มศักยภาพการผลิตและเศรษฐกิจชุมชน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2566 จากสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดยโครงการนี้ เป็นการบูรณาการความร่วมมือระหว่างคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ คณะการบัญชีและการจัดการ และคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมือง และนฤมิตศิลป์ ศูนย์ความเป็นเลิศทางนวัตกรรมไหม มหาวิทยาลัยมหาสารคาม และวิสาหกิจชุมชนกลุ่มเกษตรอินทรีย์และการแปรรูปผลิตภัณฑ์ริมอ่างห้วยค้อ ภายใต้การสนับสนุนการสร้างกลไกการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนของภาคีเครือข่าย ประกอบด้วย องค์การบริหารส่วนตำบลเขวาไร่ และสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอนาเชือก โดยจะขยายการสร้างการเรียนรู้และการสร้างความร่วมมือกับโรงเรียนบ้านหนองแสง  โรงเรียนนาเชือกพิทยาสรรค์  วิสาหกิจชุมชนกลุ่มอาชีพเพื่อพัฒนาป่าชุมชน (บ้านหนองทิศสอน) และวิสาหกิจชุมชนกลุ่มปลูกหม่อนเลี้ยงไหมบ้านห้วยทราย เพื่อผลักดันให้เกิดการพัฒนาชุมชน        แบบองค์รวมอย่างยั่งยืน ในกิจกรรม นายณัฐวุฒิ มนไธสง นายกองค์การบริหารส่วนตำบลเขวาไร่  และนายสถาพร สินธุศิริ พัฒนาการอำเภอนาเชือก ได้ร่วมเป็นเกียรติและกล่าวถึงฉากทัศน์ในการบูรณาการความร่วมมือเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนของพื้นที่เขวาไร่และอำเภอนาเชือกที่ครอบคลุมมิติสังคมและสิ่งแวดล้อม สอดรับกับแผนพัฒนาท้องถิ่น เศรษฐกิจโมเดลใหม่ (BCG Model) และเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals; SDGs) อีกทั้งสมาชิกวิสาหกิจชุมชนกลุ่มเกษตรอินทรีย์และการแปรรูปผลิตภัณฑ์ริมอ่างห้วยค้อ ยังได้ร่วมทดลองใช้ ประเมินความพึงพอใจ และคัดเลือกผลิตภัณฑ์ของกลุ่มฯ   ซึ่งผลิตภัณฑ์ที่พัฒนาขึ้น ได้นำเอาคุณค่าจากสารสกัดจากเปลือกต้นเชือก (Terminalia alata Heyne ex Roth) หรืออีกชื่อ “รกฟ้า (Rokfa)”   ซึ่งเป็นพรรณไม้ในท้องถิ่นที่สะท้อนถึงภูมินิเวศและที่มาของคำว่า “นาเชือก” สู่การพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์สมุนไพรด้านความงาม เพื่อต้านอนุมูลอิสระ สาเหตุของริ้วรอยก่อนวัย ฟื้นบำรุงผิว และขจัดสิ่งสกปรกที่ตกค้าง ด้วยกระบวนการวิจัยทางวิทยาศาสตร์   โดยมีผลิตภัณฑ์จากสารสกัดจากเปลือกต้นเชือก ในตราผลิตภัณฑ์  RF (ROKFA) ได้แก่ 

Anti-pollution detox shampoo แชมพูต้านมลภาวะ เป็นแชมพูที่มีส่วนประกอบของสารสกัดจากเปลือกต้นรกฟ้า ช่วยต้านอนุมูลอิสระ ฟื้นบำรุงเส้นผม ขจัดสิ่งที่ตกค้างบนเส้นผม เหมาะสำหรับเส้นผมที่ต้องเผชิญมลภาวะ ฝุ่น ควัน และแสงแดด เป็นประจำ
Anti-pollution detox body cleanser สบู่เหลวต้านมลภาวะ เป็นสบู่ที่มีส่วนประกอบของสารสกัดจากเปลือกต้นรกฟ้า ช่วยต้านอนุมูลอิสระ ฟื้นบำรุงผิว    ขจัดสิ่งสกปรกตกค้างบนผิว

Anti-pollution body scrub สบู่ขัดผิวที่มีส่วนประกอบของผงเปลือกต้นรกฟ้า ช่วยขจัดเซลล์ผิวที่ตายแล้ว สิ่งสกปรกตกค้างบนผิว ช่วยต้านอนุมูลอิสระ เผยผิวกระจ่างใส  

โดยจะเปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่นี้ในเดือนสิงหาคมนี้

ภาพและข่าว : คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์/ดร.ธายุกร พระบำรุง

เผยแพร่โดย : ชลทิตย์ สีเทา

ณ วันที่ : 17 กรกฎาคม 2566

About env@msu.ac.th

Check Also

ภาพและข่าว : งานประชุมคณะกรรมการประจำคณะ คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มมส ณ วันที่ 11 กันยายน 2567

ภาพและข่าว : งานประชุมคณะกรรมการประจำคณะ คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มมส ณ วันที่ 11 กันยายน 2567

เมื่อวันพุธที่ 11 กันยายน 2567 เวลา 13.30 น ณ ห้องประชุม ENV 106  คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ได้จัดการประชุมคณะกรรมการประจำคณะ คณะสิ่งแวดล้อมฯ …

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *