Breaking News
Home / Uncategorized / คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ ร่วมกับภาคีเครือข่าย ต้อนรับคณะกรรมการประเมินด้วยอัตลักษณ์ของอำเภอนาเชือก 

คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ ร่วมกับภาคีเครือข่าย ต้อนรับคณะกรรมการประเมินด้วยอัตลักษณ์ของอำเภอนาเชือก 

เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2566 คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ โดย ดร.ธายุกร พระบำรุง  ผู้อำนวยการหน่วยปฏิบัติการวิจัยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การบรรเทา และการปรับตัว (CMARE)/อาจารย์หลักสูตรสาขาวิชาเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม  ร่วมกับคณะเภสัชศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ คณะการบัญชีและการจัดการ และคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมือง และนฤมิตศิลป์ ศูนย์ความเป็นเลิศทางนวัตกรรมไหม มหาวิทยาลัยมหาสารคาม และวิสาหกิจชุมชนกลุ่มเกษตรอินทรีย์และการแปรรูปผลิตภัณฑ์ริมอ่างห้วยค้อ ในการดำเนินโครงการวิสาหกิจชุมชนภูมินวัตกรรมผลิตภัณฑ์สมุนไพรจากสารสกัดจากต้นเชือกของอำเภอนาเชือก จ.มหาสารคาม  จับมือกับภาคีเครือข่ายทั้งหน่วยงานภาคท้องถิ่น ได้แก่ องค์การบริหารส่วนตำบลเขวาไร่  เทศบาลตำบลนาเชือก  องค์การบริหารส่วนตำบลนาเชือก  หน่วยงานภาครัฐ ได้แก่ สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอนาเชือก   สถาบันการศึกษา ได้แก่ โรงเรียนบ้านหนองแสง กลุ่มผู้ประกอบการในชุมชน ได้แก่ บ้านกุดน้ำใส (กลุ่มอาชีพทอผ้า) วิสาหกิจชุมชนกลุ่มอาชีพเพื่อพัฒนาป่าชุมชน (บ้านหนองทิศสอน) วิสาหกิจชุมชนกลุ่มผู้ใช้น้ำบาดาลพลังแสงอาทิตย์ (โซลาร์เซลล์) และไร่นาสวนผสม  ได้ร่วมกันต้อนรับคณะกรรมการประเมินโครงการ ประกอบด้วย นายจิรวัฒน์ วัฒนบุตร ผู้เชี่ยวชาญ จากสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) นางสาวเบญจวรรณ วงศ์คำ  ผู้เชี่ยวชาญ จาก สกสว. นางสาวอัญชลี งอยผาลา นักวิเคราะห์นโยบายและแผน จาก กปว.สป.อว. นางสาววิลาวรรณ งอยผาลา นักวิเคราะห์นโยบายและแผน จาก กปว.สป.อว. โดยมีนายณัฐวุฒิ มนไธสง นายกองค์การบริหารส่วนตำบลเขวาไร่ ประธานกล่าวต้อนรับ และรายงานผลการดำเนินการ โดย ดร.ธายุกร พระบำรุง โครงการ พร้อมด้วยนางวิลาวรรณ พิพัฒน์ชัยกร ประธานวิสาหกิจชุมชนฯ ในฐานะผู้รับการถ่ายทอดองค์ความรู้  เทคโนโลยี และนวัตกรรม และสะท้อนผลการดำเนินการ  โดยการต้อนรับครั้งนี้ กลุ่มสตรีจากหลากหลายพื้นที่ ได้ร่วมแสดงฟ้อนปูแป้ง ซึ่งเป็นอัตลักษณ์ของอำเภอนาเชือก และการจัดนิทรรศการผลิตภัณฑ์ที่พัฒนาจากสารสกัดจากเปลือกต้นเชือก (Terminalia alata Heyne ex Roth) หรืออีกชื่อ “รกฟ้า (Rokfa)” ในตราผลิตภัณฑ์   RF (ROKFA)  และผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรจากภาคีเครือข่าย  และร่วมรับประทานอาหาร ซึ่งเป็นอาหารพื้นบ้านของพื้นที่เขวาไร่ ในรูปแบบการจัดเลี้ยงอาหารแบบบุฟเฟ่ต์ (Buffet) ซึ่งมุ่งเน้นการลดขยะจากกล่องโฟมและพลาสติก  โดยคาดหวังที่จะต่อยอดสู่การพัฒนานำร่องโดยการบูรณาการความร่วมมือของทุกภาคส่วน สู่การสร้างวิสาหกิจชุมชนเชิงนิเวศน์  (Eco-Local Enterprise) ของอำเภอนาเชือกที่วิสาหกิจชุมชนหรือกลุ่มผู้ประกอบการมีการรวมตัวกัน โดยมีการบริหารจัดการที่เพิ่มประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากรร่วมกัน และมีการสร้างโอกาสความเป็นไปได้ในการหมุนเวียนของเสียหนึ่งมาเป็นวัตถุดิบ ซึ่งเน้นการเกิดสมดุลยภาพในเชิงเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และสังคม สู่การสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน สอดรับกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs)

ภาพและข่าว :  คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มมส/ ดร.ธายุกร พระบำรุง

เผยแพร่โดย : ชลทิตย์ สีเทา

ณ วันที่ : 24 สิงหาคม 2566

About env@msu.ac.th

Check Also

ประกาศคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เรื่อง รายชื่อผู้มีสิทธิสอบภาคความเหมาะสมกับตำแหน่ง ตำแหน่งลูกจ้างชั่วคราว สังกัด คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ประจำปีงบประมาณ 2568

ประกาศคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เรื่อง รายชื่อผู้มีสิทธิสอบภาคความเหมาะสมกับตำแหน่ง ตำแหน่งลูกจ้างชั่วคราว สังกัด คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ประจำปีงบประมาณ 2568

>pdf ดาวน์โหลด<<<   ภาพและข่าว : คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มมส เผยแพร่โดย : ชลทิตย์ สีเทา ณ วันที่ : 18 กันยายน …

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *