Breaking News
Home / บริการวิชาการ / ข่าว-บริการวิชาการ (page 2)

ข่าว-บริการวิชาการ

บ้านไหมขามเรียง: วิสาหกิจชุมชนสู่การเป็นองค์กรธุรกิจตามแนวทางการใช้เศรษฐกิจโมเดลใหม่

ฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ ได้บูรณาการความร่วมมือสหวิทยาการทั้งภายในและต่างคณะ และหน่วยงานเครือข่ายภายนอก เพื่อร่วมยกระดับศักยภาพของวิสาหกิจชุมชนผ้าทอมือสีย้อมธรรมชาติขามเรียง ภายใต้โครงการบริการวิชาการ “การใช้เศรษฐกิจโมเดลใหม่ (BCG Economy Model) เพื่อพัฒนาศักยภาพของชุมชนจากอัตลักษณ์ท้องถิ่น ทรัพยากรธรรมชาติ และวัฒนธรรม” ซึ่งมุ่งเน้นให้วิสาหกิจชุมชนฯ สามารถบริหารจัดการองค์กรของตนเองได้อย่างเป็นระบบ ตามแนวทางเศรษฐกิจโมเดลใหม่ (BCG Economy Model) โดยสามารถใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติในท้องถิ่น เป็นวัตถุดิบสำหรับการย้อมสีธรรมชาติอย่างยั่งยืน การสร้างอัตลักษณ์และสะท้อนผ่านตราผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ที่แทรกแนวคิดการออกแบบด้านสิ่งแวดล้อม (Ecodesign) ซึ่งเน้นการลดการใช้พลาสติก และการจัดการสิ่งแวดล้อมในกระบวนการผลิต เพื่อเพิ่มโอกาสการแข่งขันด้านการตลาด โดยได้จัดสื่อประชาสัมพันธ์ ที่ผู้สนใจ สามารถทำความรู้จักองค์กรธุรกิจแห่งนี้ ตามลิงก์นี้ https://www.facebook.com/watch/?v=621046442765838 ภาพและข่าว : คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ / ดร.ธายุกร พระบำรุง เผยแพร่โดย : ชลทิตย์ สีเทา ณ วันที่ : 2 ตุลาคม 2565

Read More »

U2T ตำบลตลาด สะท้อน DNA ระดับตำบลและชุมชน เพื่อผลักดันการท่องเที่ยววิถีวัฒธรรมและเรื่องราวผลิตภัณฑ์ชุมชน สู่การสร้างรายได้ชุมชน

U2T ตำบลตลาด สะท้อน DNA ระดับตำบลและชุมชน เพื่อผลักดันการท่องเที่ยววิถีวัฒธรรมและเรื่องราวผลิตภัณฑ์ชุมชน สู่การสร้างรายได้ชุมชน   คณะดำเนินการ โครงการการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG) กรณีตำบลตลาด อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม หรือ U2T ตำบลตลาด โดยมีคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ (หลักสูตรสาขาวิชาเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม) เป็นหัวหน้าโครงการ ซึ่งได้บูรณาการความร่วมมือกับคณะวิทยาศาสตร์  คณะศึกษาศาสตร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะการบัญชีและการจัดการ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม  กองสวัสดิการสังคม สำนักการสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม สำนักช่างเทศบาลเมืองมหาสารคาม และผู้รับจ้างภาคบัณฑิตจบใหม่และภาคประชาชน  ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาเพิ่มศักยภาพและขีดความสามารถในการแข่งขันด้านผลิตภัณฑ์อาหารพื้นถิ่น  ด้วยองค์ความรู้วิทยาศาสตร์  เทคโนโลยีการสื่อสาร และนวัตกรรมระบบการจัดการข้อมูลท้องถิ่น  และ 2) พัฒนาสินค้า บริการชุมชน การจัดการท่องเที่ยวเชิงวิถีชุมชนเมือง และทักษะด้านการผลิตผลิตภัณฑ์และการตลาด ด้วยอัตลักษณ์และเรื่องราวของพื้นที่ โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม …

Read More »

นิสิตหลักสูตรสาขาวิชาเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม ร่วมบริการวิชาการ เพื่อยกระดับศักยภาพการผลิตผลิตภัณฑ์สุ่ธุรกิจชุมชนสีเขียว

เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2565 ที่ผ่านมา   นิสิตหลักสูตรสาขาวิชาเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม ได้ร่วมบริการวิชาการ  ในฐานะผู้ช่วยวิทยากร ในการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การพัฒนาศักยภาพธุรกิจชุมชนเพื่อการผลิตและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและต้นทุนการผลิตต่ำ   ภายใต้โครงการความยั่งยืนในทองปฏิบัติเพื่อเป้าหมายการพัฒนาสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม จัดโดยศูนย์พัฒนาชนบทผสมผสานมหาสารคาม ณ ศูนย์ประชุมแก่งเลิงจาน ต.แก่งเลิงจาน อ.เมือง จ.มหาสารคาม  เพื่อให้ความรู้  สร้างความตระหนัก และปฏิบัติใช้ จากการรับทราบปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์ชุมชนตลอดวัฎจักรของผลิตภัณฑ์ชุมชนให้แก่ 8 กลุ่มอาชีพ  โดยได้ยกตัวอย่างการชี้บ่งประเด็นปัญหาสิ่งแวดล้อม  ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม และแนวทางที่เป็นไปได้ในการบริหารจัดการธุรกิจชุมชนสู่กระบวนการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ในแต่ละผลิตภัณฑ์ชุมชน  ครอบคลุมถึงการเลือกใช้บรรจุภัณฑ์ และการเพิ่มมูลค่าของเศษวัสดุหรือของเสียจากกระบวนการผลิตในรูปผลิตภัณฑ์ใหม่  ซึ่งกลุ่มอาชีพผู้เข้าร่วม ได้มีการดำเนินการอยู่แล้ว โดยสอดรับกับแนวคิดของการประยุกต์ใช้เศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy)  อาทิเช่น ปุ๋ยหมักจากเศษกก กระเป๋าจากเศษผ้า และเครื่องประดับจากเศษผ้าฝ้าย/ไหม  เป็นต้น ทั้งนี้ เป็นกิจกรรมที่บูรณาการภายใต้การจัดการเรียนและการสอนในรายวิชา 1705476  ระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมตามมาตรฐานสากล มุ่งเน้นการฝึกทักษะให้กับผู้เรียน  และมีมุมมองในการประยุกต์ใช้ระบบมาตรฐานการจัดการสิ่งแวดล้อมกับองค์กรธุรกิจชุมชน  โดยท่านที่สนใจผลิตภัณฑ์ชุมชน  สามารถติดต่อได้ตามรายละเอียดนี้ …

Read More »

CMARE ขอแสดงความยินดีกับนิสิตทุกคณะ ที่ผ่านการคัดเลือกโครงการประกวด ACAQLE Symposium

CMARE ขอแสดงความยินดีกับนิสิตทุกคณะ ที่ผ่านการคัดเลือกโครงการประกวด ACAQLE Symposium หน่วยปฏิบัติการวิจัยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การบรรเทา และการปรับตัว (CMARE) ในฐานะผู้ประสานของเครือข่ายภาคีวิจัยบรรยากาศแห่งประเทศไทย (Thailand Consortium for Atmospheric Research; TCAR) และสนับสนุนองค์ความรู้และการบูรณาการสหวิทยาการ เพื่อการจัดการคุณภาพอากาศในระดับพื้นที่  ขอแสดงความยินดีและชื่นชมกับนิสิตทุกทีม ผู้แทนของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม   ที่ได้เข้าส่งผลงานประกวดโครงการ   American Corners Air Quality Learning Empowerment Symposium ซึ่งเป็นโครงการภายใต้ความร่วมมือระหว่างสถานทูตสหรัฐอเมริกา ประจำประเทศไทย และสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน)  ที่จะจัดขึ้นในวันที่ 20-23 กรกฎาคม 2565  ณ โรงแรมฟูร่ามาเชียงใหม่ (รอการยืนยัน) ประกอบด้วย 4 โครงการ  คือ 1. การประเมินและทำนายความเข้มข้นของปริมาณฝุ่น PM2.5 โดยใช้ภาพถ่ายจากดาวเทียม Sentinal-5P ด้วย Machine …

Read More »

พัฒนาความรู้และทักษะด้านวิชาชีพของนิสิตหลักสูตร วท.บ. สาขาวิชาเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม

พัฒนาความรู้และทักษะด้านวิชาชีพของนิสิตหลักสูตร วท.บ. สาขาวิชาเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม หลักสูตร วท.บ. เทคโนโนโลยีสิ่งแวดล้อม ได้จัดการเรียนและการสอนที่เปิดโอกาสให้นิสิตระดับปริญญาตรี  ชั้นปีที่ 3  (ปีการศึกษา 2564)  ได้ฝึกประสบการณ์วิชาชีพในหน่วยงานต่าง ๆ ครอบคลุมทั้งภาครัฐ เอกชน และวิสาหกิจ  ตามความสนใจของนิสิต ซึ่งจะช่วยให้นิสิต ได้เรียนรู้สภาพการทำงานในสถานที่จริง สร้างความคุ้นเคยและพัฒนาทักษะในสายวิชาชีพ  และสร้างโอกาสในการพัฒนาตนเองในด้านต่าง ๆ  เพื่อให้พร้อมต่อการทำงานเมื่อสำเร็จการศึกษา  โดยคณาจารย์ในหลักสูตรฯ  ได้เข้านิเทศสถานที่ฝึกประสบการณ์  ทั้งรูปแบบลงพื้นที่และออนไลน์  เพื่อรับฟังการสะท้อนบทเรียนประสบการณ์จากนิสิต  การเรียนรู้ปัญหา/อุปสรรค  และการดำเนินโครงการขนาดเล็ก  ซึ่งมุ่งเน้นให้นิสิต ได้นำเอาองค์ความรู้หรือกระบวนการที่เกิดจากการจัดการเรียนและการสอน ไปประยุกต์ใช้กับโจทย์ปัญหาในสถานที่จริง ทั้งพี่เลี้ยงกำหนดให้และค้นหาโจทย์เอง  เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินการด้านสิ่งแวดล้อมหรือด้านที่เกี่ยวข้อง  รวมถึงการค้นหาคำตอบที่สำคัญ เพื่อต่อยอดสู่การสร้างคุณค่าต่อกิจกรรมของหน่วยงานที่ฝึกประสบการณ์  นอกจากนี้ การนิเทศ ยังเป็นการแลกเปลี่ยน อัพเดตข้อมูลข่าวสาร และการสร้างเครือข่ายระหว่างหน่วยงาน ทั้งด้านการจัดการเรียนและการสอน การวิจัย และการบริการวิชาการ   ซึ่งจะช่วยให้ได้ข้อมูลสำหรับการปรับปรุง ที่จะยกระดับศักยภาพของนิสิตของหลักสูตร ทั้งด้านความรู้และความสามารถที่สอดรับกับยุคสมัย สอดรับความต้องการของผู้เรียน และสามารถปฏิบัติงานสอดรับกับความต้องการของผู้ใช้บัณฑิตและโอกาสการเติบโตของหน่วยงานต่อไป ติดตามข่าวสารหลักสูตรหรือสมัครเรียนต่อ …

Read More »

ทูลเกล้าถวาย “ผ้าทอมือสีย้อมจากเมล็ดมะขาม ลายดอกผักติ้ว นวัตกรรมผ้าทออัตลักษณ์บ้านขามเรียง ต.ขามเรียง อ.กันทรวิชัย จ.มหาสารคาม”

ทูลเกล้าถวาย “ผ้าทอมือสีย้อมจากเมล็ดมะขาม ลายดอกผักติ้ว นวัตกรรมผ้าทออัตลักษณ์บ้านขามเรียง ต.ขามเรียง อ.กันทรวิชัย จ.มหาสารคาม

ทูลเกล้าถวาย “ผ้าทอมือสีย้อมจากเมล็ดมะขาม ลายดอกผักติ้ว นวัตกรรมผ้าทออัตลักษณ์บ้านขามเรียง  ต.ขามเรียง อ.กันทรวิชัย จ.มหาสารคาม”  เมื่อวันที่ 21 เมษายน 2565 ที่ผ่านมา คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ โดย อาจารย์ ดร.ธายุกร พระบำรุง รองคณบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ ปฏิบัติหน้าที่ในฐานะผู้แทนชุมชน  พร้อมด้วยนางสุชญา โคตรวงษ์    ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผ้าทอมือสีย้อมธรรมชาติขามเรียง  ได้ทูลเกล้าถวายผ้าทอสีย้อมจากเมล็ดมะขาม ลายดอกผักติ้ว (ลายประจำอำเภอกันทรวิชัย) ที่เกิดจากการร่วมแรงร่วมใจของสมาชิกในกลุ่ม ในการย้อมและทอผ้าผืนนี้ ในโอกาสงานพิธีพระราชทานปริญญาบัตร ประจำปีการศึกษา 2563-2564 มหาวิทยาลัยมหาสารคาม  ซึ่งนวัตกรรมผ้าทอสีย้อมธรรมชาตินี้ เกิดจากภูมิปัญญาและประสบการณ์ด้านการย้อมสีและทอของกลุ่มฯ ที่สั่งสมมากว่า 30 ปี ที่ได้เชื่อมกับรากฐานความเป็นมาและทรัพยากรชีวภาพในท้องถิ่นเป็นครั้งแรก  เพื่อสะท้อนและฟื้นฟูอัตลักษณ์บ้านขามเรียง (ขาม คือ มะขาม และเรียง คือ การเรียงกัน) ให้เกิดการรับรู้สาธารณะ   และด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณและประสงค์จะอนุรักษ์รากฐานความเป็นมาของ ต.ขามเรียง  ศิลปหัตถกรรม และภูมิปัญญาด้านการย้อมและทอผ้า เพื่อสนองพระราชดำริของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า …

Read More »

ศูนย์วิจัยสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืนอนุภูมิภาคแม่น้ำโขง ร่วมพัฒนาจัดทำข้อเสนอโครงการวิจัยการส่งเสริมและพัฒนาแหล่งน้ำขนาดเล็กในประเทศกัมพูชา ลาว และไทย

ศูนย์วิจัยสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืนอนุภูมิภาคแม่น้ำโขง ร่วมพัฒนาจัดทำข้อเสนอโครงการวิจัยการส่งเสริมและพัฒนาแหล่งน้ำขนาดเล็กในประเทศกัมพูชา ลาว และไทย   ศูนย์วิจัยประชาสังคม (CSNM) มหาวิทยาลัยขอนแก่น (https://csnm.kku.ac.th/) ดำเนินการตามนโยบายกระทรวง อว. โดยได้ระดมความเชี่ยวชาญในมหาวิทยาลัยในภูมิภาค เพื่อทำงานวิจัยในระดับนานาชาติร่วมกัน และได้เชิญศูนย์วิจัยสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืนอนุภูมิภาคแม่น้ำโขง คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ ม.มหาสารคาม โดย ผศ.ดร.ยรรยงค์ อินทร์ม่วง ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยฯ  และเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านทรัพยากรน้ำ  ร่วมพัฒนาและจัดทำข้อเสนอโครงการวิจัยการส่งเสริมและพัฒนาแหล่งน้ำขนาดเล็กในประเทศกัมพูชา ลาว และไทย ภายใต้โครงการแม่โขง-เกาหลี (https://www.mekonginstitute.org/what-we-do/development-fund/mekong-republic-of-korea-cooperation-fund/) ภายใต้งบประมาณ 15 ล้านบาท ปัจจุบันได้รับอนุมัติทุนแล้ว  โดยล่าสุด ศูนย์ CSNM ได้แจ้งและเชิญศูนย์วิจัยฯ ร่วมจัดทำข้อเสนอขอทุนวิจัยขนาดใหญ่ จากองค์การอนุรักษ์สากล (https://www.iucn.org/news/asia/202111/cepf-and-iucn-announce-a-new-call-proposals-indo-burma-biodiversity-hotspot) เพื่อดำเนินการในประเทศไทย ในพื้นที่แม่น้ำโขงบริเวณอำเภอปากชม จังหวัดเลย  โดยหากได้รับอนุมัติ จะเป็นการสร้างบทบาทที่สำคัญในระดับภูมิภาคของทั้งสองมหาวิทยาลัยมีชื่อเสียง รวมถึงการเป็นที่ยอมรับในมิติทาง International Outlook มากยิ่งขึ้น ที่มา: ศูนย์วิจัยสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืนอนุภูมิภาคแม่น้ำโขง ข่าว: ฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ …

Read More »

เทศบาลตำบลนาเชือก เข้าพบคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์และคณะสาธารณสุขศาสตร์ เพื่อบูรณาการความร่วมมือสู่การพัฒนารูปแบบการจัดการขยะที่เหมาะสมกับพื้นที่

เมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2564 เวลา 15.00 น. ที่ผ่านมา คุณเพิ่มพล ไกรวงษ์  นายกเทศมนตรีตำบลนาเชือก              อ.นาเชือก จ.มหาสารคาม  พร้อมด้วยคณะทำงาน เดินทางเข้าพบปะ เพื่อหารือในประเด็นการจัดการขยะ ซึ่งกำลังเป็นปัญหาในพื้นที่ ร่วมกับ 2 หน่วยงาน คือ คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ และคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม โดยมีรองศาสตราจารย์ ดร. อดิศักดิ์ สิงห์สีโว คณบดีคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์  พร้อม ดร.ธายุกร พระบำรุง รองคณบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ  และรองศาสตราจารย์ ดร. สุมัทนา กลางคาร คณบดีคณะสาธารณสุขศาสตร์ พร้อมด้วยคณะผู้บริหารและผู้เกี่ยวข้อง ร่วมต้อนรับ หารือ และหาแนวทางร่วมกัน โดยผลจากการหารือนั้น ได้ระบุถึงความสำคัญของข้อมูลขยะในพื้นที่ ซึ่งจะเป็นข้อมูลพื้นฐานในการค้นหาวิธีการกำจัดขยะในพื้นที่ได้อย่างเหมาะสม เกิดประโยชน์ร่วมกัน และทุกภาคส่วนมีส่วนร่วม และควรดำเนินการไปร่วมกับมิติการพัฒนาพื้นที่ในด้านอื่น ๆ ซึ่งต้องพิจารณาร่วมกับข้อมูลการวิเคราะห์จุดอ่อน …

Read More »

มมส MOU ร่วมเป็นภาคีวิจัยบรรยากาศแห่งประเทศไทย (Thailand Consortium for Atmospheric Research; TCAR) ฉบับที่ 2

เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2564 ที่ผ่านมา ศาสตราจารย์ ดร. อนงค์ฤทธิ์  แข็งแรง รองอธิการบดีฝ่ายพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน วิจัย และนวัตกรรม ปฏิบัติหน้าที่แทนอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ได้ร่วมพิธีลงนามในบันทึกความเขัาใจภาคีความร่วมมือวิจัยบรรยากาศแห่งประเทศไทย ฉบับที่สอง ในรูปแบบออนไลน์ ระหว่างภาคีวิจัยฯ และกรมอุตุนิยมวิทยา ซึ่งเป็นหน่วยงานที่มีศักยภาพ มีความเชี่ยวชาญทางด้านการพยากรณ์อากาศ การรายงานปรากฏการณ์ธรรมชาติต่าง ๆ ทั้งยังมีความพร้อมด้านอุปกรณ์เครื่องมือและข้อมูลที่จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการดำเนินงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง หลังจากได้ลงนามจัดตั้งด้วยบันทึกความเข้าใจฉบับแรกเมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2563 มุ่งหมายเสริมศักยภาพการวางแผนร่วมกัน เพื่อบูรณาการกำลังคนและทรัพยากรทางการวิจัย  เตรียมเสนอแผนที่นำทางของการวิจัยที่เชื่อมโยงกับการศึกษาค้นคว้า หาสาเหตุที่มาของคุณภาพอากาศ และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เจาะลึกถึงต้นตอของปัญหา PM2.5 และภัยพิบัติทางธรรมชาติในประเทศไทย โดยสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร.) กระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม เป็นแกนนำระดมคณาจารย์ นักวิชาการ และผู้เชี่ยวชาญจาก 3 องค์การมหาชน 2 หน่วยงานรัฐ …

Read More »

ขอแสดงความยินดีกับผู้ได้รับทุนจาก สป.อว.

    ขอแสดงความยินดีนักวิจัยในศูนย์วิจัย/หน่วยวิจัย สังกัดคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ ที่ได้รับทุนสนับสนุนในโครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและการพัฒนาท้องถิ่นโดยมีสถาบันอุดมศึกษาเป็นพี่เลี้ยง ประจำปี 2564 ปีที่ 2 โดยสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (สป.อว.)  ซึ่งมีมหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นแม่ข่ายเครือข่ายอุดมศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน  ประกอบด้วย 1. โครงการห้องเรียนธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมท้องถิ่น: การสอนโดยอาศัยธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นฐานการเรียนรู้ ดร.วิจิตรา สิงห์หิรัญนุสรณ์ผู้อำนวยการศูนย์สหวิทยาการวิจัยเพื่อความยั่งยืนทางสิ่งแวดล้อม (MRCES)งบประมาณ 306,000 บาท 2. โครงการการพัฒนาระบบการจัดการข้อมูลดิจิทัล  เพื่อสนับสนุนการจัดการเรียนการสอนแบบสหวิทยาการ สู่การปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ดร.ธายุกร พระบำรุงผู้อำนวยการหน่วยปฏิบัติวิจัยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การบรรเทา และ การปรับตัว (CMARE)งบประมาณ 68,000 บาท >>>pdf ดาวน์โหลด<<<  ข่าวและภาพ: ฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ เผยแพร่ข่าวโดย : ชลทิตย์ สีเทา ณ วันที่ : 12 พฤษภาคม 2564   …

Read More »