Breaking News
Home / ข้อมูลงานวิจัย (page 6)

ข้อมูลงานวิจัย

หลักสูตรเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม ลงพื้นที่ตรวจคุณภาพน้ำ เพื่อสนับสนุนการดำเนินการโครงการ U2T ตำบลตลาด

หลักสูตรสาขาเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม พร้อมด้วยคณะดำเนินการภาคประชาชนและบัณฑิตจบใหม่  ดำเนินการภายใต้โครงการ U2T ตำบลตลาด อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม ได้สำรวจพื้นที่ เก็บข้อมูล และตรวจวัดคุณภาพน้ำเบื้องต้น ประกอบด้วย อุณหภูมิ (Temperature)  ค่าความเป็นกรด-ด่าง  (pH)   ค่าการนำไฟฟ้า (Electrical Conductivity) และค่าออกซิเจนละลาย (DO)   ในวันที่ 9 สิงหาคม 2565 ที่ผ่านมา   โดยมีทั้งหมด  4 จุดตรวจวัด ได้แก่ หนองกระทุ่ม (ชุมชนโพธิ์ศรี)  ห้วยคะคาง กุดนางใย และคลองสมถวิล  เมื่อเปรียบเทียบกับมาตรฐานคุณภาพน้ำในแหล่งน้ำผิวดิน ตามประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ฉบับที่ 8 (พ.ศ. 2537) ออกตามความในพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 เรื่อง กำหนดมาตรฐานคุณภาพน้ำในแหล่งน้ำผิวดิน พบว่า ทั้งสามตัวแปร ได้แก่ อุณหภูมิ (Temperature) …

Read More »

นิสิตหลักสูตรเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม เป็นตัวแทนในการประกวดในโครงการ American Corners Air Quality Learning Empowerment (ACAQLE) Symposium

ในระหว่างวันที่ 20-23 ก.ค. ที่ผ่านมา  ทีมเยาวชนจากมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ที่ผ่านการอบรมในโครงการ   American Corners Air Quality Learning Empowerment (ACAQLE) โดยเป็นโครงการภายใต้ความร่วมมือระหว่างสถานทูตสหรัฐอเมริกา ประจำประเทศไทย และสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) ซึ่งจัดขึ้นเมื่อวันที่ 23-25 พฤษภาคม 2565 ณ Mahasarakham University American Corner คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม  ทั้งนี้ มี 3 ทีมเยาวชน ที่เป็นผู้แทนประกวดผลงานและผ่านคัดเลือกให้เข้าร่วมโครงการ ACAQLE Symposium ระหว่างวันที่ 20-23 กรกฎาคม 2565  ณ โรงแรมฟูร่ามาเชียงใหม่ จ.เชียงใหม่  ประกอบด้วย 1.การประเมินและทำนายความเข้มข้นของปริมาณฝุ่น PM2.5 โดยใช้ภาพถ่าย จากดาวเทียม Sentinel-5P ด้วยวิธีการถดถอยแบบป่าสุ่ม นายสุรศักดิ์ …

Read More »

ภาพและข่าว : คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ ผลักดันการใช้เศรษฐกิจโมเดลใหม่ เพื่อพัฒนาต้นแบบองค์กรธุรกิจชุมชน ด้วยความร่วมมือสหวิทยาการ

คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ ผลักดันการใช้เศรษฐกิจโมเดลใหม่ เพื่อพัฒนาต้นแบบองค์กรธุรกิจชุมชน ด้วยความร่วมมือสหวิทยาการ เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2565 ที่ผ่านมา  คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม  โดยฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ ในฐานะหัวหน้าโครงการ ได้บูรณาการความร่วมมือกับคณะการบัญชีและการจัดการ คณะศิลปกรรมศาสตร์และวัฒนธรรมศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม และเทศบาลตำบลขามเรียง เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของนักวิจัย บุคลากร และนิสิต ในการผลักดันพื้นที่ตำบลขามเรียง  ให้สามารถนำเอาทรัพยากรชีวภาพ ภูมินิเวศ ภูมิปัญญา และวัฒนธรรมท้องถิ่น มาสร้างเป็นอัตลักษณ์ที่จะเป็นจุดแข็งสู่จุดขายที่เชื่อมกับแผนพัฒนาท้องถิ่น ทั้งระดับตำบล อำเภอ และจังหวัด  ผ่านการจัดการเรียนและการสอน การวิจัย และการบริการวิชาการ ทั้งนี้ ได้จัดพิธีเปิดโครงการ “การใช้เศรษฐกิจโมเดลใหม่ (BCG Economy Model)  เพื่อพัฒนาศักยภาพของชุมชนจากอัตลักษณ์ท้องถิ่น ทรัพยากรธรรมชาติ และวัฒนธรรม” ซึ่งเป็นโครงการบริการวิชาการเชิงรุกขึ้น โดยได้พิจารณา วิสาหกิจชุมชนผ้าทอมือย้อมสีธรรมชาติขามเรียง (คุณสุชญา โคตรวงษ์ เป็นประธาน) …

Read More »

พัฒนาความรู้และทักษะด้านวิชาชีพของนิสิตหลักสูตร วท.บ. สาขาวิชาเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม

พัฒนาความรู้และทักษะด้านวิชาชีพของนิสิตหลักสูตร วท.บ. สาขาวิชาเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม หลักสูตร วท.บ. เทคโนโนโลยีสิ่งแวดล้อม ได้จัดการเรียนและการสอนที่เปิดโอกาสให้นิสิตระดับปริญญาตรี  ชั้นปีที่ 3  (ปีการศึกษา 2564)  ได้ฝึกประสบการณ์วิชาชีพในหน่วยงานต่าง ๆ ครอบคลุมทั้งภาครัฐ เอกชน และวิสาหกิจ  ตามความสนใจของนิสิต ซึ่งจะช่วยให้นิสิต ได้เรียนรู้สภาพการทำงานในสถานที่จริง สร้างความคุ้นเคยและพัฒนาทักษะในสายวิชาชีพ  และสร้างโอกาสในการพัฒนาตนเองในด้านต่าง ๆ  เพื่อให้พร้อมต่อการทำงานเมื่อสำเร็จการศึกษา  โดยคณาจารย์ในหลักสูตรฯ  ได้เข้านิเทศสถานที่ฝึกประสบการณ์  ทั้งรูปแบบลงพื้นที่และออนไลน์  เพื่อรับฟังการสะท้อนบทเรียนประสบการณ์จากนิสิต  การเรียนรู้ปัญหา/อุปสรรค  และการดำเนินโครงการขนาดเล็ก  ซึ่งมุ่งเน้นให้นิสิต ได้นำเอาองค์ความรู้หรือกระบวนการที่เกิดจากการจัดการเรียนและการสอน ไปประยุกต์ใช้กับโจทย์ปัญหาในสถานที่จริง ทั้งพี่เลี้ยงกำหนดให้และค้นหาโจทย์เอง  เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินการด้านสิ่งแวดล้อมหรือด้านที่เกี่ยวข้อง  รวมถึงการค้นหาคำตอบที่สำคัญ เพื่อต่อยอดสู่การสร้างคุณค่าต่อกิจกรรมของหน่วยงานที่ฝึกประสบการณ์  นอกจากนี้ การนิเทศ ยังเป็นการแลกเปลี่ยน อัพเดตข้อมูลข่าวสาร และการสร้างเครือข่ายระหว่างหน่วยงาน ทั้งด้านการจัดการเรียนและการสอน การวิจัย และการบริการวิชาการ   ซึ่งจะช่วยให้ได้ข้อมูลสำหรับการปรับปรุง ที่จะยกระดับศักยภาพของนิสิตของหลักสูตร ทั้งด้านความรู้และความสามารถที่สอดรับกับยุคสมัย สอดรับความต้องการของผู้เรียน และสามารถปฏิบัติงานสอดรับกับความต้องการของผู้ใช้บัณฑิตและโอกาสการเติบโตของหน่วยงานต่อไป ติดตามข่าวสารหลักสูตรหรือสมัครเรียนต่อ …

Read More »

CMARE ร่วมเป็นแนวร่วมผลักดันกลไกสหวิทยาการ เพื่อจัดการ PM2.5 ในภาคอีสาน ร่วมกับ NARIT

CMARE ร่วมเป็นแนวร่วมผลักดันกลไกสหวิทยาการ เพื่อจัดการ PM2.5 ในภาคอีสาน ร่วมกับ NARIT  เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 2565 ดร.ธายุกร พระบำรุง ผู้อำนวยการหน่วยปฏิบัติการวิจัยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การบรรเทา และการปรับตัว (CMARE)/อาจารย์หลักสูตร สาขาวิชาเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม  ได้ร่วมเป็นวิทยากรพิเศษ เพื่อสื่อสารข้อมูลบทเรียนการวิจัยและการบริการวิชาการ ผ่านโครงการวิจัยและงานวิจัยของนิสิตระดับปริญญาตรี คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ ที่ผ่านมา (ปี พ.ศ. 2556-2565)  รวมถึงการบูรณาการความร่วมมือในรูปแบบสหวิทยาการกับหลายคณะและหน่วยงานภาครัฐ โดยใช้มหาสารคาม  เป็นจังหวัดนำร่อง  ในโครงการจัดอบรม American Corners Air Quality Learning Empowerment (ACAQLE) ซึ่งได้จัดขื้นระหว่างวันที่ 23-25 พฤษภาคม 2565  ที่ผ่านมา ณ ศูนย์ข้อมูลและวัฒนธรรมอเมริกัน คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม  โดยมีนิสิตจากคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ คณะสาธารณสุขศาสตร์  และคณะวิทยาการสารสนเทศ เข้าร่วมกว่า …

Read More »

ลงพื้นที่ เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของเยาวชน จากทุนฝีมือแรงงาน สู่การพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมของอำเภอนาเชือก

ลงพื้นที่ เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของเยาวชน จากทุนฝีมือแรงงาน สู่การพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมของอำเภอนาเชือก   เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2565  ดร.ธายุกร พระบำรุง อาจารย์หลักสูตรสาขาวิชาเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม  ลงพื้นที่ร่วมกับครูรัชนี เปาะศิริ พร้อมด้วยนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.5)  โรงเรียนนาเชือกพิทยาสรรค์ เพื่อร่วมต้อนรับสมาคมส่งเสริมผ้าไทยจังหวัดมหาสารคาม ที่ได้ลงเยี่ยมพื้นที่อำเภอนาเชือกเป็นแห่งแรก ทั้งนี้ ได้ร่วมสะท้อนบทเรียนในการพัฒนาพื้นที่อำเภอนาเชือก ในฐานะเป็นผู้เชื่อมประสานความร่วมมือสหวิทยาการจากหลายหน่วยงาน ที่มุ่งเน้นการนำเอาอัตลักษณ์ของพื้นที่มาสื่อสารและสร้างการรับรู้สาธารณะ  สู่การสร้างเศรษฐกิจและสังคมรากหญ้าที่บูรณาการกับมิติด้านสิ่งแวดล้อม  โดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วมกับทุกภาคส่วน  ตลอดจนได้ร่วม สังเกตการณ์ในหลายพื้นที่ ได้แก่ บ้านกุดน้ำใส (กลุ่มอาชีพทอผ้า) และบ้านเหล่าค้อ (กลุ่มปลูกมะม่วง)   ซึ่งกิจกรรมหลัก คือ การเก็บข้อมูลประวัติความเป็นมาของวิสาหกิจชุมชนกลุ่มปลูกหม่อนเลี้ยงไหมบ้านห้วยทราย  การศึกษากรรมวิธีการย้อมสีผ้าทอมือจากเปลือกของต้นเชือก ซึ่งเป็นพรรณไม้ที่มีความเกี่ยวข้องกับที่มาของคำว่านาเชือก  “พื้นที่นา ที่มีต้นเชือกอยู่จำนวนมาก” จึงได้ริเริ่มให้นำเอาเปลือกของต้นเชือก มาสร้างอัตลักษณ์ของสีย้อมขึ้น โดยนักเรียน ได้ร่วมสัมภาษณ์แม่บุญเที่ยง คำยอดแก้ว (ประธานวิสาหกิจฯ) และการสาธิตการย้อมสีจากเปลือกของต้นเชือก โดยคุณกาญจณี คำยอดแก้ว …

Read More »

ศูนย์วิจัยสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืนอนุภูมิภาคแม่น้ำโขง ร่วมพัฒนาจัดทำข้อเสนอโครงการวิจัยการส่งเสริมและพัฒนาแหล่งน้ำขนาดเล็กในประเทศกัมพูชา ลาว และไทย

ศูนย์วิจัยสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืนอนุภูมิภาคแม่น้ำโขง ร่วมพัฒนาจัดทำข้อเสนอโครงการวิจัยการส่งเสริมและพัฒนาแหล่งน้ำขนาดเล็กในประเทศกัมพูชา ลาว และไทย   ศูนย์วิจัยประชาสังคม (CSNM) มหาวิทยาลัยขอนแก่น (https://csnm.kku.ac.th/) ดำเนินการตามนโยบายกระทรวง อว. โดยได้ระดมความเชี่ยวชาญในมหาวิทยาลัยในภูมิภาค เพื่อทำงานวิจัยในระดับนานาชาติร่วมกัน และได้เชิญศูนย์วิจัยสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืนอนุภูมิภาคแม่น้ำโขง คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ ม.มหาสารคาม โดย ผศ.ดร.ยรรยงค์ อินทร์ม่วง ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยฯ  และเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านทรัพยากรน้ำ  ร่วมพัฒนาและจัดทำข้อเสนอโครงการวิจัยการส่งเสริมและพัฒนาแหล่งน้ำขนาดเล็กในประเทศกัมพูชา ลาว และไทย ภายใต้โครงการแม่โขง-เกาหลี (https://www.mekonginstitute.org/what-we-do/development-fund/mekong-republic-of-korea-cooperation-fund/) ภายใต้งบประมาณ 15 ล้านบาท ปัจจุบันได้รับอนุมัติทุนแล้ว  โดยล่าสุด ศูนย์ CSNM ได้แจ้งและเชิญศูนย์วิจัยฯ ร่วมจัดทำข้อเสนอขอทุนวิจัยขนาดใหญ่ จากองค์การอนุรักษ์สากล (https://www.iucn.org/news/asia/202111/cepf-and-iucn-announce-a-new-call-proposals-indo-burma-biodiversity-hotspot) เพื่อดำเนินการในประเทศไทย ในพื้นที่แม่น้ำโขงบริเวณอำเภอปากชม จังหวัดเลย  โดยหากได้รับอนุมัติ จะเป็นการสร้างบทบาทที่สำคัญในระดับภูมิภาคของทั้งสองมหาวิทยาลัยมีชื่อเสียง รวมถึงการเป็นที่ยอมรับในมิติทาง International Outlook มากยิ่งขึ้น ที่มา: ศูนย์วิจัยสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืนอนุภูมิภาคแม่น้ำโขง ข่าว: ฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ …

Read More »

ศูนย์วิจัยสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืนอนุภาคแม่น้ำโขง ร่วมเป็นเครือข่าย SUMERNET-SEI

ศูนย์วิจัยสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืนอนุภาคแม่น้ำโขง ร่วมเป็นเครือข่าย SUMERNET-SEI ศูนย์วิจัยสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืนอนุภาคแม่น้ำโขง สังกัดคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ ได้ร่วมประชุมเครือข่าย SUMERNET-SEI  ในการแลกเปลี่ยนข้อมูล รายงานผลการดำเนินการ และโอกาสความร่วมมือด้านวิจัย ในวันที่ 4 พฤศจิกายน 2564 ที่ผ่านมา โดยเป็นการดำเนินงานในหลายมิติ เพื่อสนับสนุนสู่ความยั่งยืนของภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง ประกอบด้วย  Strengthening Human Rights and Peace Research and Education in Southeast Asia (SHAPE-SEA), EXPLORE Forest Landscape Governance Network และ  Economy & Environment Partnership for Southeast Asia (EEPSEA). สามารถรับฟังย้อนหลังได้ที่  https://www.youtube.com/watch?v=YAVvZDyP5Rw (ภาษาอังกฤษ) ที่มา: ฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ/อ.ดร.ธายุกร พระบำรุง …

Read More »

นิสิตคณะสิ่งแวดล้อมฯ สำรวจพื้นที่และถ่ายทอดความรู้การขยายอีเอ็ม เพื่อใช้ฟื้นฟูสภาพแวดล้อมในพื้นที่ประสบภัยน้ำท่วม

นิสิตคณะสิ่งแวดล้อมฯ สำรวจพื้นที่และถ่ายทอดความรู้การขยายอีเอ็ม เพื่อใช้ฟื้นฟูสภาพแวดล้อมในพื้นที่ประสบภัยน้ำท่วม  เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน ที่ผ่านมา นิสิตคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์  ได้สำรวจพื้นที่ประสบภัยน้ำท่วม บ้านมะกอก ต.ขามเรียง  โดยมีผู้แทนชุมชนร่วมดำเนินการ  ปัจจุบัน ระดับน้ำลดลงจากเดิมจากการเร่งสูบน้ำและไม่มีน้ำมาสบทบ  แต่หลายครัวเรือน ยังเผชิญปัญหาเรื่องกลิ่น การท่วมขังในบางพื้นที่  ความจำเป็นต้องฟื้นฟูพื้นที่การเกษตร และการเพาะปลูกผักเพื่อเลี้ยงชีพ  เพื่อฟื้นคืนสภาพปกติให้เร็วที่สุด อีกทั้งบางครัวเรือน ยังไม่สามารถเข้าไปบริเวณบ้านของตนเองได้  จึงเป็นโจทย์ปัญหาท้องถิ่น ที่ทำให้นิสิตของคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์  ต้องพัฒนาตนเอง โดยจากองค์ความรู้จากการจัดการเรียนและการสอน เพื่อร่วมเรียนรู้และ ถอดบทเรียนจากสถานการณ์จริง และสะท้อนเป็นชุดข้อมูลเพื่อเตรียมรับมือกับภัยพิบัติ  โดยได้พัฒนาตนเองในการนำเอาเทคโนโลยีท้องถิ่น ซึ่งคือ หัวเชื้ออีเอ็ม ที่ได้ทำการขยายแล้ว ไปถ่ายทอดให้กับชุมชน โดยอีเอ็มเอง  สามารถนำเอาไปใช้ประโยชน์ได้ในหลายวัตถุประสงค์ ทั้งการลดปัญหากลิ่น การบำบัดน้ำ การย่อยสลายสิ่งสกปรกในสภาพสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม การใช้ประโยชน์ในแง่การเกษตร และการเป็นหัวเชื้อสำหรับการทำน้ำหมักชีวภาพ จากวัสดุเหลือใช้ในครัวเรือน รวมถึงมีวิธีการทำไม่ยุ่งยาก ชุมชนสามารถทำได้เอง เทคโนโลยีนี้ ได้รับความสนใจจากชุมชน โดยเฉพาะเกษตรกรที่มีการนำไปใช้อยู่แล้ว  แต่ส่วนที่ทำไว้ได้ถูกน้ำพัดพาไปและเสียหายจากภัยน้ำท่วม  ด้วยเหตุนี้ การมอบหัวเชื้อน้ำอีเอ็มขยายให้กับชุมชน …

Read More »