Breaking News
Home / Uncategorized / เสริมพลังเพื่อสร้างเศรษฐกิจชุมชน ด้วยภูมินวัตกรรมผลิตภัณฑ์จากสารสกัดจากต้นเชือกหรือรกฟ้า อ.นาเชือก จ.มหาสารคาม

เสริมพลังเพื่อสร้างเศรษฐกิจชุมชน ด้วยภูมินวัตกรรมผลิตภัณฑ์จากสารสกัดจากต้นเชือกหรือรกฟ้า อ.นาเชือก จ.มหาสารคาม

เมื่อวันที่ 16 สิงหาคม 2566 ณ ห้องประชุมองค์การบริหารส่วนตำบลเขวาไร่ คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ ร่วมกับคณะเภสัชศาสตร์  คณะวิทยาศาสตร์ คณะการบัญชีและการจัดการ  และคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมือง และนฤมิตศิลป์ ศูนย์ความเป็นเลิศทางนวัตกรรมไหม มหาวิทยาลัยมหาสารคาม และวิสาหกิจชุมชนกลุ่มเกษตรอินทรีย์และการแปรรูปผลิตภัณฑ์ริมอ่างห้วยค้อ โดย ดร.ธายุกร พระบำรุง ผู้อำนวยการหน่วยปฏิบัติการวิจัยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การบรรเทา และการปรับตัว (CMARE) หัวหน้าโครงการ ได้จัดกิจกรรมการถ่ายทอดองค์ความรู้ เทคโนโลยี และนวัตกรรมในโครงการวิสาหกิจชุมชนภูมินวัตกรรมผลิตภัณฑ์สมุนไพรจากสารสกัดจากต้นเชือกของอำเภอนาเชือก จ.มหาสารคาม ขึ้น โดยมีนายณัฐวุฒิ มนไธสง นายกองค์การบริหารส่วนตำบลเขวาไร่ เป็นประธานกล่าวเปิดกิจกรรม และมีภาคีเครือข่ายจากหลายหน่วยงานภาครัฐเข้าร่วม ประกอบด้วย  ผู้แทนสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอนาเชือก พัฒนาการอำเภอยางสีสุราช นายกเทศบาลตำบลนาเชือก นายกองค์การบริหารส่วนตำบลนาเชือก นายกสมาคมส่งเสริมผ้าไทย ประธานวิสาหกิจชุมชนกลุ่มปลูกสมุนไพรบ้านหนองทิศสอน ประธานวิสาหกิจชุมชนกลุ่มทอผ้าไหมผ้าฝ้ายบ้านห้วยทราย  ผู้แทนโรงเรียนบ้านหนองแสง และได้พัฒนากลไกที่จะสนับสนุนการพัฒนาศักยภาพของสมาชิกวิสาหกิจด้านเกษตรอินทรีย์อย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ได้จัดให้มีการบรรยายพิเศษ  หัวข้อ “มุมมองและแนวทางการทำสวนผักด้วยระบบอินทรีย์เพื่อสนับสนุนอาหารปลอดภัยและแหล่งรายได้ของชุมชนในพื้นที่อำเภอนาเชือก  โดย ดร.ศุภชัย สุทธิเจริญ คณะเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เพื่อเสริมพลังชุมชนในการทำเกษตรอินทรีย์ นอกจากนี้ ยังมีกิจกรรมการปลูกต้นเชือกร่วมกัน  โครงการนี้   ได้รับการสนับสนุนจากงบประมาณการส่งเสริมการนำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อเพิ่มศักยภาพการผลิตและเศรษฐกิจชุมชน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 จากสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ซึ่งได้นำเอาคุณค่าจากสารสกัดจากเปลือกต้นเชือก (Terminalia alata Heyne ex Roth) หรืออีกชื่อ “รกฟ้า (Rokfa)” ซึ่งเป็นพรรณไม้ในท้องถิ่นที่สะท้อนถึงภูมินิเวศและที่มาของคำว่า “นาเชือก” (เรื่องราวนาเชือกhttps://www.youtube.com/watch?v=3uQSdx1-QZs) มาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์สมุนไพรด้านความงาม เพื่อต้านอนุมูลอิสระจากมลภาวะ ทั้งฝุ่นละอองขนาดเล็ก ควัน และแสงแดด ซึ่งเป็นสาเหตุของริ้วรอยก่อนวัย รวมถึงการฟื้นบำรุงผิว และขจัดสิ่งสกปรกที่ตกค้าง ด้วยอาศัยการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ ในตราผลิตภัณฑ์  RF (ROKFA) และตราวิสาหกิจ ที่สะท้อนถึงอัตลักษณ์ของพื้นที่นาเชือก คือ ปูทูลกระหม่อมและต้นเชือก  ที่ดำเนินการควบคู่กับการพัฒนาระบบการบริหารจัดการขององค์กรธุรกิจชุมชน การจัดการทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม  การบริหารคุณภาพในการผลิตผลิตภัณฑ์  และการสร้างการตลาด  ให้สอดรับกับแผนพัฒนาท้องถิ่น เศรษฐกิจโมเดลใหม่ (BCG Model) และเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals; SDGs)  โดยผลิตภัณฑ์ ประกอบด้วย สบู่เหลว แชมพูสระผมพร้อมบำรุง และสครับผิว  ซึ่งผู้ผลิตและจัดจำหน่าย โดยวิสาหกิจชุมชนกลุ่มเกษตรอินทรีย์และการแปรรูปผลิตภัณฑ์ริมอ่างห้วยค้อ อ.เขวาไร่ อ.นาเชือก จ.มหาสารคาม ซึ่งมีคุณวิลาวรรณ พิพัฒน์ชัยกร เป็นประธานวิสาหกิจชุมชนฯ  โทร. 08 1739 4645 สถานที่ผลิต: ฟาร์มแคร์ ฟาร์มาซูติคอล คณะเภสัชศาสตร์  มหาวิทยาลัยมหาสารคาม และภาพถ่ายผลิตภัณฑ์ โดยนายอิสระพงษ์ ใจขาน และนายจตุรเทพ ศรีพุทธา

ภาพและข่าว :  คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มมส/ ดร.ธายุกร พระบำรุง

เผยแพร่โดย : ชลทิตย์ สีเทา

ณ วันที่ : 21 สิงหาคม 2566

About env@msu.ac.th

Check Also

โครงการภาคสนามสิ่งแวดล้อม ระหว่างวันที่ 5-16 พฤศจิกายน 2567 ณ โรงเรียนอนุบาลเมืองอาจสามารถ อำเภออาจสามารถจังหวัดร้อยเอ็ด

โครงการภาคสนามสิ่งแวดล้อม ระหว่างวันที่ 5-16 พฤศจิกายน 2567 ณ โรงเรียนอนุบาลเมืองอาจสามารถ อำเภออาจสามารถจังหวัดร้อยเอ็ด

โครงการภาคสนามสิ่งแวดล้อม ระหว่างวันที่ 5-16 พฤศจิกายน 2567 ณ โรงเรียนอนุบาลเมืองอาจสามารถ อำเภออาจสามารถจังหวัดร้อยเอ็ด หลักสูตร วท.บ. สิ่งแวดล้อมศึกษา คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ได้จัดโครงการภาคสนามสิ่งแวดล้อม ระหว่างวันที่ …

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *