Breaking News
Home / งานวิจัย (page 9)

งานวิจัย

หลักสูตร วท.บ. การจัดการสิ่งแวดล้อมและทรัพยากร ได้กิจกรรมการฝึกอบรม Field Course in Conservation Biology & Global Health: At the Human-Environment Interface ครั้งที่ 9

หลักสูตร วท.บ. การจัดการสิ่งแวดล้อมและทรัพยากร ได้กิจกรรมการฝึกอบรม Field Course in Conservation Biology & Global Health: At the Human-Environment Interface ครั้งที่ 9 ซึ่งเป็นการจัดร่วมกันระหว่างคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม และ Center for Global Field Study, Depts of Psychology & Global Health, and WaNPRC, University of Washington และ กลุ่มวิจัย SciSeeIt, Utilization of Phytochemical Diversity and Toxicology Research Programมหาวิทยาลัยขอนแก่น ในระหว่างวันที่ 26-30 …

Read More »

อบรมเชิงปฏิบัติการ “สายใยผูกพันสู่การบ่มเพาะนักสืบคาร์บอนน้อยรุ่นที่ 2 ”

อบรมเชิงปฏิบัติการ “สายใยผูกพันสู่การบ่มเพาะนักสืบคาร์บอนน้อยรุ่นที่ 2 ” เมื่อวันศุกร์ที่ 28 สิงหาคม 2563 ที่ผ่านมา คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ โดยหน่วยปฏิบัติการวิจัยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การบรรเทา และการปรับตัว (CMARE) ได้จัดอบรมเชิงปฏิบัติการในโครงการมหิงสาสายสืบ เพื่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและยุววิจัย “กิจกรรมนักสืบคาร์บอนน้อย” จากรุ่นที่ 1 สู่รุ่นที่ 2 ภายใต้การสนับสนุนด้านงบประมาณจากกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อมให้กับโรงเรียนโคกก่อพิทยาคม ซึ่งเป็นโรงเรียนเครือข่ายที่สานต่อจากโครงการบูรณาการหนึ่งหลักสูตรหนึ่งชุมชน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 โครงการต้นแบบชุมชนรักษ์สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติของหลักสูตรสาขาวิชาเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม โดยได้ดำเนินการในรูปของฐานความรู้ ประกอบด้วย 3 ฐาน โดย 2 ฐาน อยู่ภายใต้การดูแลของของหลักสูตรสาขาวิชาเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม และมีนิสิตชั้นปีที่ 4 ในหลักสูตร เป็นผู้ดำเนินการ คือ โค้ชคาร์บอนแคร์โลก:  นางสาวสุพรรษา เทียมกระโทก และนางสาวภิชญา เจาจาฤก และโค้ชน้ำดีดื่มได้:  นายเอกพันธ์ พิลา และนางสาวแอนนา ขันทีท้าว …

Read More »

ดูนลำพันโมเดล: แหล่งเรียนรู้ดิจิทัลและแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศร่วมสมัยของจังหวัดมหาสารคาม

โครงการพัฒนาศักยภาพพื้นที่เขตห้ามล่าสัตว์ป่าดูนลำพันเป็นศูนย์การเรียนรู้ดิจิทัลและการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ โดยกระบวนการมีส่วนร่วมแบบองค์รวม  หรือ ”ดูนลำพันโมเดล” เป็นหนึ่งใน 9 โครงการ ที่ผ่านเกณฑ์การพิจารณาเบื้องต้น จากคณะอนุกรรมการการกลั่นกรองโครงการด้านทรัพยากรธรรมชาติ สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในการประชุมครั้งที่ 2/2563  ซึ่งโครงการนี้ มีรูปแบบการดำเนินการในลักษณะของแผนบูรณาการระหว่างศาสตร์ ประกอบด้วย คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ (หัวหน้าแผนงาน) สถาบันวิจัยวลัยรุกขเวช คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ คณะการท่องเที่ยวและการโรงแรม คณะวิทยาการสารสนเทศ สำนักคอมพิวเตอร์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ คณะการบัญชีและการจัดการ คณะศิลปกรรมศาสตร์ และวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ หมู่บ้านนานาชาติ เปรมปรีดี จ.กาฬสินธุ์  องค์การบริหารส่วนตำบลนาเชือก และโรงเรียนนาเชือกพิทยาสรรค์ และหน่วยงานราชการ ได้แก่ สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดมหาสารคาม โดยได้ของบสนับสนุน จำนวน 5,000,000 บาท จากกองทุนสิ่งแวดล้อม เพื่อยกระดับพื้นที่แห่งนี้ ให้เป็นแหล่งเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ที่ครบวงจร ซึ่งผนวกกับการพัฒนาและการใช้ข้อมูล Bigdata และโมเดลเศรษฐกิจใหม่ (BCG) ติดตามข้อมูลของโครงการได้ที่เพจ “ปูแป้งแบ่งปัน” …

Read More »

พัฒนาขีดความสามารถของท้องถิ่น โดยแอพพลิเคชั่นมือถือ เพื่อสนับสนุนการจัดการขยะหน้ากากอนามัยใช้แล้ว: ลดการแพร่กระจายเชื้อโควิด19

เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2563 ที่ผ่านมา  คณะดำเนินการโครงการ “การพัฒนา Mobile Application การจัดการหน้ากากอนามัยใช้แล้ว (ขยะติดเชื้อ) สำหรับประชาชนและกลุ่มผู้จัดการขยะชุมชน: กรณีศึกษา จังหวัดมหาสารคาม” ซึ่งประกอบด้วย ดร.จุฑามาส แก้วสุข คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์  รองศาสตราจารย์ ดร.ปิยภัทร บุษบาบดินทร์  คณะวิทยาศาสตร์  ดร.ธายุกร          พระบำรุง คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.รัตนโชติ เทียนมงคล คณะวิทยาการสารสนเทศ และอาจารย์เอกลักษณ์ แสงเดือนฉาย มหาวิทยาลัยศรีปทุม (ขอนแก่น) ผู้ร่วมพัฒนาแอพพลิเคชั่น โดยได้รับการสนับสนุนจากสำนักสร้างสรรค์โอกาสและนวัตกรรม (สำนัก 6) สำนักกองทุนสนับสนุนการสร้างสุขภาพ (สสส.) ได้จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ (Workshop) เพื่อพัฒนาศักยภาพด้านการใช้ Mobile Application สำหรับการจัดการหน้ากากอนามัยใช้แล้ว (ขยะติดเชื้อ) ขึ้น ในเวลา 13.00-16.00 น. …

Read More »

ผู้อำนวยการศูนย์วิจัย IRCEM-GMS ได้รับคัดเลือกให้เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านวิจัย

ขอแสดงความยินดีกับ ผศ.ดร.ยรรยงค์ อินทร์ม่วง ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยนานาชาติด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนอนุภูมิภาคแม่น้ำโขง หรือ IRCEM-GMS  ในโอกาสที่ได้รับคัดเลือกให้ปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้เชี่ยวชาญ ในการศึกษาในโครงการ เรื่อง  “Mekong Climate Change Adaptation Mainstreaming at the National Level and Developing Transboundary Projects (June -December 2020)” โดย Mekong River Commission (MRC) สำนักงานใหญ่กรุงเวียงจันทร์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว  ซึ่งได้ประสานงานกับรัฐบาลไทย (สำนักงานคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ) ข่าว/ภาพ: ฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ เผยแพร่โดย : ชลทิตย์ สีเทา ณ วันที่ : 27  มิถุนายน 2563

Read More »

หน่วยปฏิบัติการวิจัย CMARE ได้รับทุนพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นบูรณาการระหว่างศาสตร์ สำหรับโรงเรียน

ขอแสดงความยินดีกับหน่วยปฏิบัติการวิจัยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การบรรเทา และการปรับตัว (CMARE) ที่ได้รับทุนจากสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (สป.อว) ในโครงการจัดการองค์ความรู้ท้องถิ่น  สำหรับเยาวชน สู่การปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอย่างยั่งยืน  เป็นจำนวนเงิน 60,000 บาท ซึ่งมีวัตถุประสงค์  เพื่อพัฒนาครูด้านการออกแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงกับองค์ความรู้ท้องถิ่นและความรู้สมัยใหม่ สำหรับการจัดการเรียนและการสอนเชิงบูรณาการพหุวิทยาการ ในการปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในพื้นที่ ทั้งนี้ คณะผู้ดำเนินการ ประกอบด้วย   ดร.ธายุกร พระบำรุง (คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์)  ดร.อัจฉริยา อิสสระไพบูลย์ (คณะการบัญชีและการจัดการ)  ดร.พิมพ์พร ภูครองเพชร (คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์)  คุณครูรัชนี เปาะศิริ  (โรงเรียนนาเชือกพิทยาสรรค์)  และคุณครูชุติมา นันทะแสน  (โรงเรียนโคกก่อพิทยาคม) ข่าว/ภาพ : หน่วยปฏิบัติการวิจัย CMARE/Freepik เผยแพร่โดย : ชลทิตย์ สีเทา ณ วันที่ : 25  มิถุนายน …

Read More »

ข้อมูล PM2.5 แบบทันเหตุการณ์: การรับรู้ เพื่อการเรียนรู้และรับมือ

เครือข่ายหน่วยปฏิบัติการวิจัยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การบรรเทา และการปรับตัว (Climate Change, Mitigation and Adaptation Research Unit; CMARE) สังกัดคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ ได้ติดตั้งเครื่องตรวจวัดฝุ่น (Dustboy)  สำหรับติดตามคุณภาพอากาศแบบทันเหตุการณ์ ใน 3 พื้นที่ของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม (วิทยาเขตขามเรียง) คือ คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์  คณะสาธารณสุขศาสตร์ และคณะการบัญชีและการจัดการ ซึ่งในการดำเนินการครั้งนี้ ได้รับการสนับสนุน Dustboy จากศูนย์ข้อมูลการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ  (Climate Change Data Center; CCDC) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ รวมถึงการสนับสนุนด้านเทคนิคจากสำนักคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม โดยมีวัตถุประสงค์หลัก เพื่อสนับสนุนพันธกิจการจัดการเรียนและการสอน วิจัย และบริการวิชาการด้านข้อมูลที่เกี่ยวกับการพัฒนาการเรียนรู้ด้านคุณภาพอากาศและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การป้องกันและลดผลกระทบด้านสุขภาพจากฝุ่นละอองขนาดเล็ก การจัดการข้อมูลดิจิทัลขนาดใหญ่ (Big Data) และการวางแผนและการกำหนดมาตรการการจัดการคุณภาพอากาศภายในมหาวิทยาลัยมหาสารคาม สู่การเป็นมหาวิทยาลัยอัจฉริยะและสีเขียว (Smart and Green University) รวมถึงการนำร่องเพื่อรองรับการดำเนินการตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน …

Read More »

เชือกในป่าดูนลำพัน: สัญลักษณ์ของพื้นที่นาเชือก

จากการดำเนินการโครงการบูรณาการหลักสูตร เรื่อง “การจัดการองค์ความรู้ท้องถิ่น เพื่อส่งเสริมการเป็นแหล่งเรียนรู้และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศที่ยั่งยืน โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน กรณีของตำบลนาเชือก อำเภอนาเชือก จ.มหาสารคาม” โดยความร่วมมือของคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ คณะการท่องเที่ยวและการโรงแรม คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ คณะวิทยาการสารสนเทศ และคณะการบัญชีและการจัดการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ภายใต้การสนับสนุนของบริษัท ทราเวลเทคโนโลยี เซอร์วิส จำกัด (Travel Technology Services Co., Ltd.) และได้รวบรวมข้อมูลที่เป็นต้นทุนด้านทรัพยากร ได้แก่ เชือกหรือรกฟ้า (Pentaptera tomentosa Roxb. ex DC.) ซึ่งเป็นพรรณไม้ที่สะท้อนถึงอัตลักษณ์ของพื้นที่อำเภอนาเชือก โดยคุณสมพร  พงษ์ธนาคม หัวหน้าเขตห้ามล่าสัตว์ป่าดูนลำพัน พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่เขตฯ ได้สำรวจจำนวนเชือกหรือรกฟ้า ในบริเวณพื้นที่เขตห้ามสัตว์ป่าดูนลำพัน ระหว่างวันที่ 30 พฤษภาคม-5 มิถุนายน 2563  รวมถึงได้จดบันทึกความสูงและเส้นรอบวงของเชือก พบว่า ปัจจุบัน มีจำนวนเชือก มากถึง 492 ต้น …

Read More »

ศูนย์วิจัยสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืนอนุภูมิภาคแม่น้ำโขง (IRCEM-GMS) ได้รับทุนวิจัยจากรัฐบาลสวีเดน

ขอแสดงความยินดีกับศูนย์วิจัยสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืนอนุภูมิภาคแม่น้ำโขง หรือ IRCEM-GMS (ผู้อำนวยการ:ผศ.ดร.ยรรยงค์ อินทร์ม่วง) สังกัดคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ ที่ได้ผ่านการคัดเลือกข้อเสนอโครงการวิจัย เรื่อง “Participatory Flood Risk Management: A Case for Policy Implication from Ban Phai Municipality Thailand”  ซึ่งเป็นทุนวิจัยประเภท Joint Action Project ตามการประกาศของ Stockholm Environment Institute (SEI) ในปี พ.ศ. 2563 ซึ่งมีมหาวิทยาลัยและสถาบันในประเทศอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงจำนวนมาก โดยโครงการที่ได้รับอนุมัติทุนนี้ จะเป็นโครงการต้นแบบระดับชาติในการจัดการภัยพิบัติ โดยใช้เหตุการณ์ภัยพิบัติจากน้ำท่วมอำเภอบ้านไผ่ เป็นกรณีศึกษาที่รัฐบาลสวีเดน ถือเป็นกรณีศึกษาระดับภูมิภาคในประเทศอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง โดยจะดำเนินการร่วมกันระหว่างศูนย์วิจัยกับผู้เชี่ยวชาญจากกรมทรัพยากรน้ำ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม          กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล โดยมีระยะเวลาดำเนินการ ระหว่างปี พ.ศ. 2563-2565 ข้อมูล: …

Read More »