Breaking News
Home / ข่าว / กิจกรรม : งานวิจัย / คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ ส่งเสริมการสร้างศักยภาพของเยาวชนตามแนวทางเศรษฐกิจโมเดลใหม่ ผ่านกิจกรรมของหน่วยปฏิบัติการวิจัย

คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ ส่งเสริมการสร้างศักยภาพของเยาวชนตามแนวทางเศรษฐกิจโมเดลใหม่ ผ่านกิจกรรมของหน่วยปฏิบัติการวิจัย

243519695_826853984654123_5479630158152951083_n

คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ โดยหน่วยปฏิบัติการวิจัยการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ การบรรเทา และการปรับตัว (CMARE) ร่วมกับโรงเรียนนาเชือกพิทยาสรรค์ อ.นาเชือก จ.มหาสารคาม ขับเคลื่อนผ่านเครือข่ายชุมชน  ในการพัฒนาความรู้และทักษะของนักเรียน ระดับมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 5 ผ่านกิจกรรมในหลักสูตรท้องถิ่นสหวิทยาการ เพื่อการปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ภายใต้โครงการการพัฒนาระบบการจัดการข้อมูลดิจิทัล เพื่อสนับสนุนการจัดการเรียนการสอนแบบสหวิทยาการ สู่การปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ต่อเนื่องปีที่ 2  โดยการนำองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ ผนวกกับภูมิปัญญา เชื่อมโยงกับภูมินิเวศ  ต่อยอดสู่การเพิ่มมูลค่า การออกแบบบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นที่มีเอกลักษณ์เฉพาะ ซึ่งคือ สบู่สมุนไพรรกฟ้า (ต้นเชือก)  เป็นสัญลักษณ์ของนาเชือก ตามแนวทางเศรษฐกิจโมเดลใหม่  ทั้งนี้กลุ่มนักเรียน จะพัฒนาทักษะด้านการทำการตลาดและการบริหารจัดการเพื่อจำหน่ายผลิตภัณฑ์ดังกล่าวผ่านช่องทางตลาดออนไลน์ โดยใช้เพจที่จะถูกสร้างขึ้น โดยอาศัยการบริหารและจัดการในรูปของกลุ่มนักเรียน ที่ได้แบ่งบทบาทหน้าที่กัน ซึ่งจะเป็นการฝึกทักษะด้านอาชีพและทักษะวิจัยและการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ ทั้งนี้ การจำหน่าย จะเป็นแหล่งรายได้เสริมให้กับครอบครัว  รวมถึงเป็นการสร้างอัตลักษณ์ของพื้นที่นาเชือกผ่านผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น ในรูปของฝาก หรือของที่ระลึกที่มีเรื่องราวเชิงพื้นที่

ที่มา: หน่วยปฏิบัติการวิจัย CMARE
ภาพ: โรงเรียนนาเชือกพิทยาสรรค์

เผยแพร่โดย : คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์/ดร.ธายุกร พระบำรุง/ชลทิตย์ สีเทา

ณ วันที่ : 14 ตุลาคม 2564

About env@msu.ac.th

Check Also

คณะสิ่งแวดล้อมฯ ร่วมผลักดันกลไกสร้างเมืองรีซิเลียนซ์ต่อภัยพิบัติ ผ่านเวทีเสวนาสุขภาวะชุมชนเมืองตักสิลา

คณะสิ่งแวดล้อมฯ ร่วมผลักดันกลไกสร้างเมืองรีซิเลียนซ์ต่อภัยพิบัติ ผ่านเวทีเสวนาสุขภาวะชุมชนเมืองตักสิลา

คณะสิ่งแวดล้อมฯ ร่วมผลักดันกลไกสร้างเมืองรีซิเลียนซ์ต่อภัยพิบัติ ผ่านเวทีเสวนาสุขภาวะชุมชนเมืองตักสิลา เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2567 ที่ผ่านมา คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม แสดงบทบาทสำคัญในการสนับสนุนองค์ความรู้และวิชาการ เพื่อผลักดันการพัฒนาเมืองยืดหยุ่นรับมือภัยพิบัติ (Urban Resilience) ผ่านการร่วมเสวนา …

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *