Breaking News
Home / ข่าว / กิจกรรม : งานวิจัย / CMARE พัฒนาสื่อการสร้างการเรียนรู้ สำหรับเยาวชนและเกษตรกร เพื่อช่วยให้เข้าใจทรัพยากรดิน ด้วยพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์

CMARE พัฒนาสื่อการสร้างการเรียนรู้ สำหรับเยาวชนและเกษตรกร เพื่อช่วยให้เข้าใจทรัพยากรดิน ด้วยพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์

CMARE พัฒนาสื่อการสร้างการเรียนรู้ สำหรับเยาวชน
หน่วยปฏิบัติการวิจัยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การบรรเทา และการปรับตัว (CMARE) โดย ดร.ธายุกร    พระบำรุง ผู้อำนวยการหน่วยปฏิบัติการวิจัยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การบรรเทา และการปรับตัว (CMARE) สังกัดคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ได้รวบรวมองค์ความรู้ที่เผยแพร่โดยกรมพัฒนาที่ดิน รวมถึงงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น สู่การพัฒนาเป็นสื่อการสร้างการเรียนรู้  ชื่อ “นาฬิกาตรวจสอบคุณภาพดินเบื้องต้น หรือที่เด็กๆ เรียกว่า วงล้อตรวจดิน”  โดยมีอาจารย์เอกลักษณ์ แสงเดือนฉาย สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี เป็นผู้ออกแบบกราฟฟิก ภายใต้โครงการ “การจัดการองค์ความรู้ท้องถิ่นสำหรับเยาวชน สู่การปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอย่างยั่งยืน” ซึ่งเป็นโครงการปีที่ 1 ที่ได้รับการสนับสนุนงบประมาณ จากสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อสนับสนุนการพัฒนาความรู้และทักษะของเยาวชน ชุมชน และบุคคลทั่วไป ให้เกิดความเข้าใจในสถานภาพดิน โดยเฉพาะในท้องถิ่น  การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นเนื่องจากกิจกรรมที่มนุษย์และธรรมชาติสร้างขึ้น เกิดความตระหนักถึงคุณค่าของทรัพยากรดิน  และสามารถปรับปรุงดินโดยไม่ใช้สารเคมีให้มีความอุดมสมบูรณ์และเหมาะสมต่อการใช้ประโยชน์ที่ยั่งยืน และบรรลุตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals) ตลอดจนเพื่อน้อมรำลึกถึงพระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร (ร.9) ด้านการอนุรักษ์ดิน  ซึ่งวงการปฐพีวิทยานานาชาติ มีฉันทานุมัติเลือกวันที่ 5 ธันวาคมของทุกปี ซึ่งตรงกับวันคล้ายวันพระราชสมภพของพระองค์ท่าน เป็นวันดินโลก และนักปฐพีวิทยาของไทย มีส่วนร่วมในการเชิดชูพระอัจฉริยภาพด้านการอนุรักษ์และพัฒนาทรัพยากรดินขององค์พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร

ปัจจุบัน สื่อที่พัฒนาขึ้นนี้ อยู่ระหว่างการยื่นขอลิขสิทธิ์ (Copyright) ของหน่วยปฏิบัติการวิจัย CMARE เพื่อให้เกิดประโยชน์กับผู้ที่สนใจ ได้แก่ ครู นักเรียน เยาวชน และเกษตรกรที่สนใจ สอดรับกับพันธกิจของหน่วยปฏิบัติการวิจัย CMARE  โดยหากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม สามารถติดต่อได้ที่ ดร.ธายุกร พระบำรุง (อ.เป๊าะ) เบอร์โทร 08 9401 9294 อีเมล thayukorn.p@msu.ac.th

 คลิปสาธิตการใช้นาฬิกาดิน พัฒนาโดยนักเรียนโรงเรียนโคกก่อพิทยาคม:

https://www.youtube.com/watch?v=VR3NkXmxvh0กด Subscribe ช่อง CMARE Official เพื่อไม่พลาดข้อมูลดี ๆ https://www.youtube.com/channel/UCFJW2qy7HulJse8u7CQ3hNg

ข่าว: หน่วยปฏิบัติการวิจัย CMARE
ภาพ: โรงเรียนโคกก่อพิทยาคม

229394259_220139533247117_1221020595213495030_n

ภาพและข่าว : คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์/ดร.ธายุกร พระบำรุง
เผยแพร่โดย : ชลทิตย์ สีเทา

ณ วันที่ : 16 สิงหาคม 2564

About env@msu.ac.th

Check Also

คณะสิ่งแวดล้อมฯ ร่วมผลักดันกลไกสร้างเมืองรีซิเลียนซ์ต่อภัยพิบัติ ผ่านเวทีเสวนาสุขภาวะชุมชนเมืองตักสิลา

คณะสิ่งแวดล้อมฯ ร่วมผลักดันกลไกสร้างเมืองรีซิเลียนซ์ต่อภัยพิบัติ ผ่านเวทีเสวนาสุขภาวะชุมชนเมืองตักสิลา

คณะสิ่งแวดล้อมฯ ร่วมผลักดันกลไกสร้างเมืองรีซิเลียนซ์ต่อภัยพิบัติ ผ่านเวทีเสวนาสุขภาวะชุมชนเมืองตักสิลา เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2567 ที่ผ่านมา คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม แสดงบทบาทสำคัญในการสนับสนุนองค์ความรู้และวิชาการ เพื่อผลักดันการพัฒนาเมืองยืดหยุ่นรับมือภัยพิบัติ (Urban Resilience) ผ่านการร่วมเสวนา …

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *