เครือข่ายนักวิจัยสหวิทยาการ หน่วยปฏิบัติการวิจัยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การบรรเทา และการปรับตัว (CMARE) ร่วมกับวิสาหกิจชุมชนกลุ่มเกษตรอินทรีย์และการแปรรูปผลิตภัณฑ์ริมอ่างห้วยค้อ โดยมีคุณวิลาวรรณ พิพัฒน์ชัยกร ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนฯ ได้จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2564 ซึ่งเป็นการรวมกลุ่มกันของพี่น้องเกษตรกรบ้านหนองแสง บ้านเห็ดใคร และบ้านห้วยหลาว ต.เขวาไร่ อ.นาเชือก จ.มหาสารคาม เพื่อรองรับการเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศ (พัทยา1 และ 2) และส่งเสริมวิถีชีวิตการเกษตรริมอ่าง ที่พึ่งพาธรรมชาติ และโรงเรียนนาเชือกพิทยาสรรค์ โดยครูรัชนี เปาะศิริ ได้ขยายการจัดการเรียนและการสอน ในหลักสูตรท้องถิ่น สหวิทยาการ เพื่อการปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ 3 มิติ (เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม) ให้กับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 4 จำนวน 6 คน ซึ่งเป็นกลุ่มนำร่องที่มีความสนใจและพร้อมพัฒนาตนเอง เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการแก้ไขปัญหาท้องถิ่น ที่ผ่านการอบรมเชิงปฏิบัติการการใช้เครื่องมือตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อมและสื่อสร้างการเรียนรู้ ในการตรวจสอบคุณภาพดินเบื้องต้นหรือนาฬิกาดิน โดยหน่วยปฏิบัติการวิจัย CMARE ได้ลงพื้นที่เก็บข้อมูล สัมภาษณ์ ตรวจวัดคุณภาพดินและน้ำเบื้องต้น และถ่ายทอดความรู้สู่กลุ่มเกษตรกร จำนวน 15 คน ซึ่งได้ใช้พื้นที่ริมอ่างห้วยค้อสำหรับการทำสวนผัก เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2564 ที่ผ่านมา ทั้งนี้ เยาวชนทั้ง 6 คน ได้สะท้อนบทเรียน ที่เป็นแนวทางในการพัฒนาพื้นที่ริมอ่างห้วยค้อ ได้แก่ การร่วมมือของเกษตรกรในพื้นที่และขับเคลื่อนโดยใช้หลักการเช่นเดียวกับเกษตรกรแปลงใหญ่ การปรับปรุงดินโดยวัสดุในพื้นที่ที่มุ่งเน้นการลดต้นทุนและสามารถทำได้เอง การพัฒนาความรู้และทักษะเพาะเลี้ยงแหนแดง การทำปฏิทินการปลูกผัก และการป้องกันและปราบปรามศัตรูพืชโดยวิธีทางชีวภาพ เพื่อให้ได้ผักปลอดสารพิษ ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม และขยายฤดูกาลปลูกเป็นช่วงฤดูแล้ง ซึ่งมีโอกาสด้านการตลาดและราคาของผลผลิตได้ที่สูงกว่า โดยยุวชนต้นแบบกลุ่มนี้ จะเป็นวิทยากรอบรมให้กับเยาวชนโรงเรียนบ้านหนองแสง ซึ่งเป็นสถานศึกษาในพื้นที่ โดยเครือข่ายนักวิจัย สหวิทยาการ หน่วยปฏิบัติการวิจัย CMARE วิสาหกิจชุมชน และโรงเรียน จะเป็นผู้เชื่อมประสานต้นทุนที่มีอยู่ เช่น ปราชญ์ท้องถิ่น ผู้ที่มีประสบการณ์การทำการเกษตรอินทรีย์ การทำปุ๋ยหมักและน้ำหมัก และไร่คุณพ่อ ซึ่งปัจจุบัน เป็นศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านการเกษตรที่สำคัญของพื้นที่ โดยจะพัฒนาเป็นเครือข่ายสนับสนุนกลุ่มเกษตรกร ให้มีความรู้และทักษะการทำสอนผัก จนเกิดความเข้มแข็ง ยั่งยืน และผลักดันพื้นที่ที่สอดรับกับเป้าหมายที่กำหนดร่วมกันได้
ข่าว/ภาพ: หน่วยปฏิบัติการวิจัย CMARE
ภาพและข่าว : คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์/ดร.ธายุกร พระบำรุง
ณ วันที่ : 21 กันยายน 2564