Breaking News
Home / Uncategorized / สะท้อนอัตลักษณ์ต้นทุนนาเชือกสู่นาเชือกโมเดล ผ่านซีรีย์ภาพยนตร์ เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

สะท้อนอัตลักษณ์ต้นทุนนาเชือกสู่นาเชือกโมเดล ผ่านซีรีย์ภาพยนตร์ เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

 ปก

ชุมชนคนรักนาเชือก โดยโรงเรียนนาเชือกพิทยาสรรค์ ในฐานะแม่ข่าย  ภายใต้การสนับสนุนเครือข่ายนักวิจัย สหวิทยาการ หน่วยปฏิบัติการวิจัยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การบรรเทา และการปรับตัว (CMARE) สังกัดคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยหาสารคาม  ได้สะท้อนอัตลักษณ์ของท้องถิ่น ในรูปของภาพยนตร์  เรื่อง “วัด เถอะ นะ ทำ” โดยความร่วมมือกับภาควิชานิเทศศาสตร์ คณะวิทยาการสารสนเทศ มมส. โดย ผศ.ดร.ปรีชา สาคร และคณะนิสิต  ร่วมกับชุมชนชาวนาเชือก ซึ่งได้เปิดกองถ่ายทำ เมื่อวันที่ 23-25 มีนาคม 2564 ที่ผ่านมา  โดยการดำเนินการครั้งนี้ เป็นการบูรณาการระหว่างศาสตร์ในรายวิชาสู่การบริการวิชาการ จากฐานข้อมูลวิจัย ร่วมกับบทเรียนจากการจัดการความรู้ร่วมกับชุมชนในหลักสูตรท้องถิ่นแบบบูรณาการ 3 มิติ (สิ่งแวดล้อม สังคม และเศรษฐกิจ) “การปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ” สำหรับโรงเรียน นาเชือกพิทยาสรรค์ ต.นาเชือก อ.นาเชือก จ.มหาสารคาม ที่พัฒนาขึ้นโดยความร่วมมือของคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และคณะการบัญชีและการจัดการ มมส.  เพื่อใช้ประกอบการจัดการเรียนและการสอนในโรงเรียน  ในฐานะแม่ข่ายที่จะขยายผลไปยังโรงเรียนอื่น ๆ  ในพื้นที่ตำบลนาเชือก  ซึ่งอยู่ภายใต้โครงการจัดการองค์ความรู้ท้องถิ่น  สำหรับเยาวชน สู่การปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอย่างยั่งยืน ที่ได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (สป.อว) ทั้งนี้ เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของชาวนาเชือก ในการสื่อสารอัตลักษณ์ต้นทุนนาเชือกสู่คนในพื้นที่และสาธารณชน สร้างความเข้าใจในคุณค่าของพื้นที่ตนเอง  และการพัฒนาเศรษฐกิจรากฐาน ครอบคลุม ด้านทรัพยากรธรรมชาติ ที่มีความโดดเด่น ได้แก่ ปูทูลกระหม่อม ซึ่งพบได้แห่งเดียวในโลก ศิลปวัฒนธรรมที่ต้องอนุรักษ์ พัฒนา และจัดการอย่างเป็นระบบ และการนำคุณค่าทรัพยากรธรรมชาติโดยเฉพาะที่บ่งชี้ลักษณะทางภูมิศาสตร์ เพื่อพัฒนาเป็นภูมินวัตกรรมผลิตภัณฑ์  สู่การเป็นนาเชือกโมเดลจากฐานพหุศาสตร์พัฒนา สำหรับบทบาทในด้านสิ่งแวดล้อมนั้น เป็นการเติมเต็มและวางรากฐานการพัฒนาที่เอื้อให้เกิดความยั่งยืน  สอดรับกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนในทุกเป้าหมาย ทั้งด้านความเปราะบางของด้านสิ่งแวดล้อมของพื้นที่ในการรองรับการเปลี่ยนแปลงในด้านต่าง ๆ   (ได้แก่ ดิน น้ำ อากาศ และป่าไม้)  การพัฒนาระบบข้อมูลภูมิปัญญาดิจิทัล เพื่อเป็นรากฐานในการพัฒนาภูมินวัตกรรมผลิตภัณฑ์ ที่พร้อมแข่งขัน ควบคู่กับการบริการด้านการท่องเที่ยว  การอนุรักษ์และขยายพันธุ์ปลาบู่และเชือก ซึ่งเป็นอัตลักษณ์เชิงพื้นที่   ทั้งเพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้และใช้ประโยชน์ในการสร้างอาชีพและรายได้ของคนในท้องถิ่น  ปัจจุบัน  วิสาหกิจชุมชนกลุ่มปลูกหม่อนเลี้ยงไหมบ้านห้วยทราย ได้นำเอาคุณค่าของเชือก ซึ่งเป็นพรรณไม้ที่ผูกพันกับที่มาของพื้นที่นาเชือก มาเป็นสีย้อมธรรมชาติและเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ โดยสามารถสั่งซื้อผลิตภัณฑ์ได้ที่ https://www.facebook.com/OTOPBanhuaysaiMoo6

ข่าว: หน่วยปฏิบัติการวิจัย CMARE
ภาพ: ภาควิชานิเทศศาสตร์ คณะวิทยาการสารสนเทศ มมส. และโรงเรียนนาเชือกพิทยาสรรค์

เผยแพร่ข่าวโดย : ชลทิตย์ สีเทา

ณ วันที่ : 29 มีนาคม 2564

8290 S__207634439 S__207634436 S__43573269 S__20299795 S__6955188 164029097_10160197287578268_8572192097980103592_o 163869258_10160197268513268_3886028713508549626_o 162649249_10160197607033268_8380419244418010353_o 162443721_10160199205878268_4060877707893160992_o 1158979 167176 167175 166579 166344 105719 105709 105708 105660 105655 104581 104576 104518 104515 104492 104489 104399 104396 104394 100422 100417 34333 34331 34329 ผ้า S__22200339 105707 8318ิ 8314 104519

 

About env@msu.ac.th

Check Also

ภาพและข่าว : งานประชุมคณะกรรมการประจำคณะ คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มมส ณ วันที่ 11 กันยายน 2567

ภาพและข่าว : งานประชุมคณะกรรมการประจำคณะ คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มมส ณ วันที่ 11 กันยายน 2567

เมื่อวันพุธที่ 11 กันยายน 2567 เวลา 13.30 น ณ ห้องประชุม ENV 106  คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ได้จัดการประชุมคณะกรรมการประจำคณะ คณะสิ่งแวดล้อมฯ …

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *