Breaking News
Home / งานวิจัย (page 6)

งานวิจัย

ประชุม เครือข่ายพัฒนาความเข้มแข็งต่อภัยพิบัติไทยในการอุปถัมภ์ของมูลนิธิศูนย์เตรียมความพร้อม ป้องกันภัยพิบัติในประเทศไทย

  วันนี้ 15 สิงหาคม 2565 เวลา 14.00 น. ณ ห้องประชุม ENV 106  คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม  ได้จัดงานประชุม เครือข่ายพัฒนาความเข้มแข็งต่อภัยพิบัติไทยในการอุปถัมภ์ของมูลนิธิศูนย์เตรียมความพร้อม ป้องกันภัยพิบัติในประเทศไทย โดยมี  รองศาสตราจารย์ ดร.อดิศักดิ์ สิงห์สีโว คณบดีคณะสิ่งแวดล้อมฯ เป็นประธานในการกล่าวต้อนรับ ผู้เดินทางเข้าร่วมประชุม โดยมี 1.ดร.ปิยวัฒน์ ขนิษฐบุตร ตำแหน่งกรรมการบริหารเครือข่ายพัฒนาความเข้มแข็งต่อภัยพิบัติไทย 2.นายรัฎชพงศ์ ไชยเดช ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่ประสานงานเครือข่ายพัฒนาความเข้มแข็งต่อภัยพิบัติไทย และคณะผู้บริหาร คณาจารย์ ที่เข้าร่วมประชุมในครั้งนี้ ภาพและข่าว : คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์/ชลทิตย์ สีเทา เผยแพร่โดย : ชลทิตย์ สีเทา ณ วันที่ : 15 สิงหาคม 2565

Read More »

นิสิตหลักสูตรเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม เป็นตัวแทนในการประกวดในโครงการ American Corners Air Quality Learning Empowerment (ACAQLE) Symposium

ในระหว่างวันที่ 20-23 ก.ค. ที่ผ่านมา  ทีมเยาวชนจากมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ที่ผ่านการอบรมในโครงการ   American Corners Air Quality Learning Empowerment (ACAQLE) โดยเป็นโครงการภายใต้ความร่วมมือระหว่างสถานทูตสหรัฐอเมริกา ประจำประเทศไทย และสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) ซึ่งจัดขึ้นเมื่อวันที่ 23-25 พฤษภาคม 2565 ณ Mahasarakham University American Corner คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม  ทั้งนี้ มี 3 ทีมเยาวชน ที่เป็นผู้แทนประกวดผลงานและผ่านคัดเลือกให้เข้าร่วมโครงการ ACAQLE Symposium ระหว่างวันที่ 20-23 กรกฎาคม 2565  ณ โรงแรมฟูร่ามาเชียงใหม่ จ.เชียงใหม่  ประกอบด้วย 1.การประเมินและทำนายความเข้มข้นของปริมาณฝุ่น PM2.5 โดยใช้ภาพถ่าย จากดาวเทียม Sentinel-5P ด้วยวิธีการถดถอยแบบป่าสุ่ม นายสุรศักดิ์ …

Read More »

ศึกษาดูงานระบบการผลิตน้ำประปา ณ เทศบาลตำบลหนองตูม อ.เมือง จ.ขอนแก่น

เมื่อวันที่ 26  กรกฎาคม 2565 ที่ผ่านมา  คณาจารย์หลักสูตรสาขาวิชาเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม (อ.ดร.ธายุกร พระบำรุง ผศ.ดร.ปานใจ สื่อประเสริฐสิทธิ์ และ อ.ดร.พรรคพงษ์ ศรีประเสริฐ)  พร้อมด้วยคณะดำเนินการผลิตน้ำประปาชุมชน จำนวน 4 ท่าน จากบ้านปลาบู่ ต.หนองแสง อ.วาปีปทุม จ.มหาสารคาม เดินทางไปศึกษาดูงาน ณ เทศบาลตำบลหนองตูม อ.เมือง จ.ขอนแก่น ซึ่งเป็นเครือข่ายด้านการบริหารจัดการการผลิตน้ำประปาที่เป็นระบบและมีประสิทธิภาพ  โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อให้คณะดำเนินการผลิตน้ำประปาชุมชน  ได้นำเอาประเด็นปัญหาในการผลิตน้ำประปา    มาหารือ แลกเปลี่ยน และค้นหาแนวทางร่วมกับที่สอดรับกับบริบทปัญหาของพื้นที่บ้านปลาบู่ ตลอดจนคณาจารย์ ได้พัฒนาตนเอง และสร้างเครือข่ายกับหน่วยงานภาคท้องถิ่น รวมถึงได้นำเอาบทเรียนการศึกษาดูงาน ไปบูรณาการในจัดการเรียนและการสอนในรายวิชาเกี่ยวกับน้ำประปา  ที่มุ่งเน้นให้นิสิต ได้มีมุมมองในการประยุกต์จริงในสายอาชีพ  ทั้งนี้ ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากโครงการบริการวิชาการร่วม ระหว่างคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ (หัวหน้าโครงการ) และคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์    เรื่อง “การพัฒนาศักยภาพพื้นที่ดินเค็มน้ำกร่อยบ้านปลาบู่ ต.หนองแสง อ.วาปีปทุม …

Read More »

หมอนปูแป้ง หนึ่งในของที่ระลึกอัตลักษณ์ของนาเชือก

หมอนปูแป้ง หนึ่งในของที่ระลึกอัตลักษณ์ของนาเชือก หน่วยปฏิบัติการวิจัยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การบรรเทา และการปรับตัว (CMARE) ร่วมกับคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สาขาวิชาเกาหลี และภูริชญาผ้าไหม (ขามเรียง) พัฒนาต้นแบบหมอนปูแป้ง  เพื่อสะท้อนอัตลักษณ์ด้านทรัพยากรธรรมชาติของพื้นที่บริเวณป่าดูนลำพัน บ้านนาเชือก หมู่ที่ 1 ตำบลนาเชือก อำเภอนาเชือก จังหวัดมหาสารคาม ซึ่งเป็นพื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อมแห่งเดียวของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  ในประกาศกระทรวงฉบับที่ 7 เมื่อปี พ.ศ. 2539 ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 และแหล่งศึกษาธรรมชาติที่สำคัญของพื้นที่อำเภอนาเชือก ทั้งนี้ ได้ถ่ายทอดสู่การพัฒนาเป็นของที่ระลึก เพื่อสร้างความตระหนักและรับรู้ถึงคุณค่าด้านทรัพยากรธรรมชาติเฉพาะแหล่ง  รวมถึงการสร้างความภาคภูมิใจของคนในพื้นที่ ในการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติร่วมกันอย่างยั่งยืน  อีกทั้งยังเชื่อมให้เกิดการสร้างรายได้ของชุมชน   นอกจากนี้ ยังเป็นการบูรณาการภูมิปัญญาและประสบการณ์การย้อมสีธรรมชาติในพื้นที่กับวิสาหกิจชุมชนกลุ่มปลูกหม่อนเลี้ยงไหมบ้านห้วยทราย ซึ่งมีนางบุญเที่ยง คำยอดแก้ว เป็นประธานฯ ที่ได้นำเอาเปลือกของต้นเชือกหรือรกฟ้า ซึ่งเป็นพันธุ์ไม้ที่เกี่ยวข้องกับที่มาของคำว่านาเชือก มาใช้ในการย้อมสีผ้าที่เป็นอัตลักษณ์ของพื้นที่อีกเฉดสีหนึ่ง และใช้ในวัตถุดิบหนึ่งในการสร้างสีสันให้กับหมอนปูแป้ง ซึ่งเป็นการเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ชุมชน ปัจจุบัน วิสาหกิจชุมชนกลุ่มเกษตรอินทรีย์และการแปรรูปผลิตภัณฑ์ริมอ่างห้วยค้อ อ.นาเชือก    จ.มหาสารคาม เป็นผู้ผลิตหมอนปูแป้ง และวางจำหน่ายในหลายพื้นที่ของอำเภอนาเชือก  …

Read More »

CMARE ขอแสดงความยินดีกับนิสิตทุกคณะ ที่ผ่านการคัดเลือกโครงการประกวด ACAQLE Symposium

CMARE ขอแสดงความยินดีกับนิสิตทุกคณะ ที่ผ่านการคัดเลือกโครงการประกวด ACAQLE Symposium หน่วยปฏิบัติการวิจัยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การบรรเทา และการปรับตัว (CMARE) ในฐานะผู้ประสานของเครือข่ายภาคีวิจัยบรรยากาศแห่งประเทศไทย (Thailand Consortium for Atmospheric Research; TCAR) และสนับสนุนองค์ความรู้และการบูรณาการสหวิทยาการ เพื่อการจัดการคุณภาพอากาศในระดับพื้นที่  ขอแสดงความยินดีและชื่นชมกับนิสิตทุกทีม ผู้แทนของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม   ที่ได้เข้าส่งผลงานประกวดโครงการ   American Corners Air Quality Learning Empowerment Symposium ซึ่งเป็นโครงการภายใต้ความร่วมมือระหว่างสถานทูตสหรัฐอเมริกา ประจำประเทศไทย และสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน)  ที่จะจัดขึ้นในวันที่ 20-23 กรกฎาคม 2565  ณ โรงแรมฟูร่ามาเชียงใหม่ (รอการยืนยัน) ประกอบด้วย 4 โครงการ  คือ 1. การประเมินและทำนายความเข้มข้นของปริมาณฝุ่น PM2.5 โดยใช้ภาพถ่ายจากดาวเทียม Sentinal-5P ด้วย Machine …

Read More »

ภาพและข่าว : คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ ผลักดันการใช้เศรษฐกิจโมเดลใหม่ เพื่อพัฒนาต้นแบบองค์กรธุรกิจชุมชน ด้วยความร่วมมือสหวิทยาการ

คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ ผลักดันการใช้เศรษฐกิจโมเดลใหม่ เพื่อพัฒนาต้นแบบองค์กรธุรกิจชุมชน ด้วยความร่วมมือสหวิทยาการ เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2565 ที่ผ่านมา  คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม  โดยฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ ในฐานะหัวหน้าโครงการ ได้บูรณาการความร่วมมือกับคณะการบัญชีและการจัดการ คณะศิลปกรรมศาสตร์และวัฒนธรรมศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม และเทศบาลตำบลขามเรียง เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของนักวิจัย บุคลากร และนิสิต ในการผลักดันพื้นที่ตำบลขามเรียง  ให้สามารถนำเอาทรัพยากรชีวภาพ ภูมินิเวศ ภูมิปัญญา และวัฒนธรรมท้องถิ่น มาสร้างเป็นอัตลักษณ์ที่จะเป็นจุดแข็งสู่จุดขายที่เชื่อมกับแผนพัฒนาท้องถิ่น ทั้งระดับตำบล อำเภอ และจังหวัด  ผ่านการจัดการเรียนและการสอน การวิจัย และการบริการวิชาการ ทั้งนี้ ได้จัดพิธีเปิดโครงการ “การใช้เศรษฐกิจโมเดลใหม่ (BCG Economy Model)  เพื่อพัฒนาศักยภาพของชุมชนจากอัตลักษณ์ท้องถิ่น ทรัพยากรธรรมชาติ และวัฒนธรรม” ซึ่งเป็นโครงการบริการวิชาการเชิงรุกขึ้น โดยได้พิจารณา วิสาหกิจชุมชนผ้าทอมือย้อมสีธรรมชาติขามเรียง (คุณสุชญา โคตรวงษ์ เป็นประธาน) …

Read More »

CMARE ร่วมเป็นแนวร่วมผลักดันกลไกสหวิทยาการ เพื่อจัดการ PM2.5 ในภาคอีสาน ร่วมกับ NARIT

CMARE ร่วมเป็นแนวร่วมผลักดันกลไกสหวิทยาการ เพื่อจัดการ PM2.5 ในภาคอีสาน ร่วมกับ NARIT  เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 2565 ดร.ธายุกร พระบำรุง ผู้อำนวยการหน่วยปฏิบัติการวิจัยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การบรรเทา และการปรับตัว (CMARE)/อาจารย์หลักสูตร สาขาวิชาเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม  ได้ร่วมเป็นวิทยากรพิเศษ เพื่อสื่อสารข้อมูลบทเรียนการวิจัยและการบริการวิชาการ ผ่านโครงการวิจัยและงานวิจัยของนิสิตระดับปริญญาตรี คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ ที่ผ่านมา (ปี พ.ศ. 2556-2565)  รวมถึงการบูรณาการความร่วมมือในรูปแบบสหวิทยาการกับหลายคณะและหน่วยงานภาครัฐ โดยใช้มหาสารคาม  เป็นจังหวัดนำร่อง  ในโครงการจัดอบรม American Corners Air Quality Learning Empowerment (ACAQLE) ซึ่งได้จัดขื้นระหว่างวันที่ 23-25 พฤษภาคม 2565  ที่ผ่านมา ณ ศูนย์ข้อมูลและวัฒนธรรมอเมริกัน คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม  โดยมีนิสิตจากคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ คณะสาธารณสุขศาสตร์  และคณะวิทยาการสารสนเทศ เข้าร่วมกว่า …

Read More »

ลงพื้นที่ เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของเยาวชน จากทุนฝีมือแรงงาน สู่การพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมของอำเภอนาเชือก

ลงพื้นที่ เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของเยาวชน จากทุนฝีมือแรงงาน สู่การพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมของอำเภอนาเชือก   เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2565  ดร.ธายุกร พระบำรุง อาจารย์หลักสูตรสาขาวิชาเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม  ลงพื้นที่ร่วมกับครูรัชนี เปาะศิริ พร้อมด้วยนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.5)  โรงเรียนนาเชือกพิทยาสรรค์ เพื่อร่วมต้อนรับสมาคมส่งเสริมผ้าไทยจังหวัดมหาสารคาม ที่ได้ลงเยี่ยมพื้นที่อำเภอนาเชือกเป็นแห่งแรก ทั้งนี้ ได้ร่วมสะท้อนบทเรียนในการพัฒนาพื้นที่อำเภอนาเชือก ในฐานะเป็นผู้เชื่อมประสานความร่วมมือสหวิทยาการจากหลายหน่วยงาน ที่มุ่งเน้นการนำเอาอัตลักษณ์ของพื้นที่มาสื่อสารและสร้างการรับรู้สาธารณะ  สู่การสร้างเศรษฐกิจและสังคมรากหญ้าที่บูรณาการกับมิติด้านสิ่งแวดล้อม  โดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วมกับทุกภาคส่วน  ตลอดจนได้ร่วม สังเกตการณ์ในหลายพื้นที่ ได้แก่ บ้านกุดน้ำใส (กลุ่มอาชีพทอผ้า) และบ้านเหล่าค้อ (กลุ่มปลูกมะม่วง)   ซึ่งกิจกรรมหลัก คือ การเก็บข้อมูลประวัติความเป็นมาของวิสาหกิจชุมชนกลุ่มปลูกหม่อนเลี้ยงไหมบ้านห้วยทราย  การศึกษากรรมวิธีการย้อมสีผ้าทอมือจากเปลือกของต้นเชือก ซึ่งเป็นพรรณไม้ที่มีความเกี่ยวข้องกับที่มาของคำว่านาเชือก  “พื้นที่นา ที่มีต้นเชือกอยู่จำนวนมาก” จึงได้ริเริ่มให้นำเอาเปลือกของต้นเชือก มาสร้างอัตลักษณ์ของสีย้อมขึ้น โดยนักเรียน ได้ร่วมสัมภาษณ์แม่บุญเที่ยง คำยอดแก้ว (ประธานวิสาหกิจฯ) และการสาธิตการย้อมสีจากเปลือกของต้นเชือก โดยคุณกาญจณี คำยอดแก้ว …

Read More »

นิสิตหลักสูตรสาขาวิชาเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม เข้าร่วมนำเสนอผลงานในการประชุมเครือข่ายการป้องกันและแก้ไขปัญหามลพิษอากาศ

นิสิตหลักสูตรสาขาวิชาเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม เข้าร่วมนำเสนอผลงานในการประชุมเครือข่ายการป้องกันและแก้ไขปัญหามลพิษอากาศ นางสาวเกศริน ซ้ายหนองขาม และนางสาวอารียา วังราช นิสิตระดับปริญญาตรี หลักสูตร วท.บ. สาขาวิชาเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม   ได้ร่วมนำเสนอผลงานวิจัย หัวข้อเรื่อง “การผันแปรเชิงพื้นที่และเวลาของฝุ่นละอองขนาดเล็กที่สัมพันธ์กับการใช้ประโยชน์ที่ดินและสิ่งปกคลุมดินในจังหวัดมหาสารคาม” (เนื้อหาส่วนหนึ่งในปัญหาพิเศษ เรื่อง การผันแปรเชิงพื้นที่และเวลาของฝุ่นละอองขนาดเล็กที่สัมพันธ์กับกิจกรรมการลดการเผาในจังหวัดมหาสารคาม) โดยมุ่งเน้นการพัฒนาองค์ความรู้ของท้องถิ่นในเรื่องฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM2.5 และ PM10) ซึ่งเป็นปัญหามลพิษทางอากาศที่จัดเป็นวาระแห่งชาติในปัจจุบัน ในการประชุมเครือข่ายการป้องกันและแก้ไขปัญหามลพิษอากาศ วันที่ 11 พฤษภาคม 2565  ผ่าน Zoom Meeting  จัดโดยศูนย์วิชาการเพื่อขับเคลื่อนการป้องกันและแก้ไขปัญหามลพิษอากาศ (ศวอ.) ร่วมกับศูนย์เครือข่ายการจัดการคุณภาพอากาศประเทศไทย (TAQM) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และเครือข่ายคณาจารย์ นิสิต นักศึกษา วิศวกรรมสิ่งแวดล้อมประเทศไทย  จากสถาบันการศึกษาต่าง ๆ ประกอบด้วย มหาวิทยาลัยมหิดล  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย   มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี มหาวิทยาลัยนเรศวร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง  มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์   มหาวิทยาลัยเชียงใหม่  มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี มหาวิทยาลัยพะเยา และมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี  ทั้งนี้ ข้อมูลการศึกษา …

Read More »

ขอแสดงความยินดีกับหน่วยปฏิบัติการวิจัย CMARE

ขอแสดงความยินดีกับหน่วยปฏิบัติการวิจัย CMARE   ขอแสดงความยินดีกับหน่วยปฏิบัติการวิจัย CMARE ในการส่งข้อเสนอโครงการวิสาหกิจชุมชนภูมินวัตกรรมผลิตภัณฑ์สมุนไพรจากสารสกัดจากต้นเชือกของ อำเภอนาเชือก จ.มหาสารคาม และผ่านเกณฑ์การคัดกรองและพิจารณา  เพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณตามแผนการดำเนินงาน ภายใต้กิจกรรมส่งเสริมการนำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม (วทน.) เพื่อเพิ่มศักยภาพการผลิตและเศรษฐกิจชุมชน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ในแพลตฟอร์มศักยภาพธุรกิจชุมชน (Building Community Enterprise: BCE)  สนับสนุนงบประมาณโดยสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ซึ่งเป็นหนึ่งในโครงการทั้งหมด 184 โครงการ จากสถาบันการศึกษาทั้งหมด 80 แห่งทั่วประเทศ  โดยข้อเสนอโครงการนี้ เป็นการบูรณาการความร่วมมือของคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์กับหน่วยงานต่าง ๆ  ได้แก่ คณะเภสัชศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมือง และนฤมิตศิลป์ คณะการบัญชีและการจัดการ ศูนย์ความเป็นเลิศทางนวัตกรรมไหม สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอนาเชือก และวิสาหกิจชุมชนกลุ่มเกษตรอินทรีย์และการแปรรูปผลิตภัณฑ์ริมอ่างห้วยค้อ  โดยมุ่งเน้นการพัฒนาสู่การขับเคลื่อนจังหวัดมหาสารคามเป็นเมืองสมุนไพร  ควบคู่กับการพัฒนาเศรษฐกิจโมเดลใหม่ (BCG Economy Model) …

Read More »