Breaking News
Home / ข่าว / กิจกรรม : งานวิจัย / ผนึกพลังโรงเรียนในสังกัดเทศบาลเมืองมหาสารคาม เพื่อพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นแบบสหวิทยาการ โดยใช้อัตลักษณ์และวัฒนธรรมชุมชนเป็นฐานสู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน

ผนึกพลังโรงเรียนในสังกัดเทศบาลเมืองมหาสารคาม เพื่อพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นแบบสหวิทยาการ โดยใช้อัตลักษณ์และวัฒนธรรมชุมชนเป็นฐานสู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน

เมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม 2566 คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ โดย ดร.ธายุกร พระบำรุง ผู้อำนวยการหน่วยปฏิบัติการวิจัยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การบรรเทา และการปรับตัว (CMARE) ในฐานะหัวหน้าโครงการการพัฒนาศักยภาพการจัดการเรียนและการสอนแบบสหวิทยาการโดยใช้ประวัติศาสตร์และอัตลักษณ์ท้องถิ่นเป็นฐานสู่การพัฒนาชุมชนยั่งยืน  ต่อยอดจากโครงการบูรณาการ เพื่อยกระดับวิถีชีวิตด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนและการท่องเที่ยวเชิงวิถีชุมชน ต.ตลาด อ.เมือง จ.มหาสารคาม (U2T ตำบลตลาด) ภายใต้การสนับสนุนจากโครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและการพัฒนาท้องถิ่น โดยมีสถาบันอุดมศึกษาเป็นพี่เลี้ยง ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ซึ่งได้บูรณาการความร่วมมือกับคณะศึกษาศาสตร์  มหาวิทยาลัยมหาสารคาม  โรงเรียนเทศบาลบูรพาพิทยาคาร โรงเรียนเทศบาลบ้านส่องนางใย โรงเรียนเทศบาลสามัคคีวิทยา และโรงเรียนเทศบาลศรีสวัสดิ์วิทยา  และกองการศึกษา เทศบาลเมืองมหาสารคาม  ได้จัดการประชุม หารือ อบรมเชิงปฏิบัติการ เพื่อพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นแบบสหวิทยาการ โดยใช้อัตลักษณ์และวัฒนธรรมชุมชนเป็นฐานในแต่ละโรงเรียน  ณ  โรงเรียนเทศบาลบ้านส่องนางใย ต.ตลาด อ.เมืองมหาสารคาม จ.มหาสารคาม ทั้งนี้ นายชูชาติ ราชจันทร์ วัฒนธรรมจังหวัดมหาสารคาม  และนายจักรพันธ์ เศษสรรพ์  ศึกษานิเทศก์ชำนาญการพิเศษ  ผู้แทนเทศบาลเมืองมหาสารคาม ได้ร่วมเป็นเกียรติและผนวกฉากทัศน์การดำเนินการกับทิศทางการพัฒนาจังหวัดและท้องถิ่น  การจัดกิจกรรมครั้งนี้ มีคณะผู้บริหารและคณะครู จำนวน 40 คนจาก 4 โรงเรียนเข้าร่วม และมีการบรรยายพิเศษ ในหัวข้อ หลักการการออกแบบหลักสูตรและการประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียนในแต่ละระดับการศึกษา โดย รศ.ดร.อัฐพล อินต๊ะเสนา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม   และการกำหนดผลลัพธ์การเรียนรู้แบบสหวิทยาการตามกลุ่มสาระที่จะบูรณาการร่วม ตามแนวทาง STEM  โดย ผศ.ดร.วิทยา วรพันธุ์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม  โดยผลลัพธ์ครั้งนี้ มุ่งเน้นการพัฒนาศักยภาพการจัดการเรียนละการสอนแบบสหวิทยาการของครูแต่ละกลุ่มสาระ  จำนวน 40 คน และนักเรียน 400 คน  เพื่อเป็นกลไกในการพัฒนาการเรียนรู้ของชุมชนและเป็นนวัตกรรมการศึกษา  โดยใช้ประวัติศาสตร์และอัตลักษณ์ท้องถิ่นของเมืองมหาสารคามเป็นฐาน สู่การเป็นเมืองตักสิลานครที่พัฒนาแบบบูรณาการที่ควบคู่กับการยกระดับสู่การท่องเที่ยววิถีวัฒนธรรม และสร้างเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมของเมืองมหาสารคามอย่างยั่งยืน  (https://talontalad.com)

ภาพและข่าว :  คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มมส / ดร.ธายุกร พระบำรุง

เผยแพร่โดย : ชลทิตย์ สีเทา

ณ วันที่ : 11 กรกฎาคม 2566

About env@msu.ac.th

Check Also

โครงการภาคสนามสิ่งแวดล้อม ระหว่างวันที่ 5-16 พฤศจิกายน 2567 ณ โรงเรียนอนุบาลเมืองอาจสามารถ อำเภออาจสามารถจังหวัดร้อยเอ็ด

โครงการภาคสนามสิ่งแวดล้อม ระหว่างวันที่ 5-16 พฤศจิกายน 2567 ณ โรงเรียนอนุบาลเมืองอาจสามารถ อำเภออาจสามารถจังหวัดร้อยเอ็ด

โครงการภาคสนามสิ่งแวดล้อม ระหว่างวันที่ 5-16 พฤศจิกายน 2567 ณ โรงเรียนอนุบาลเมืองอาจสามารถ อำเภออาจสามารถจังหวัดร้อยเอ็ด หลักสูตร วท.บ. สิ่งแวดล้อมศึกษา คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ได้จัดโครงการภาคสนามสิ่งแวดล้อม ระหว่างวันที่ …

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *