Breaking News
Home / กิจกรรม : บุคลากร / กิจกรรม-วิจัย (page 7)

กิจกรรม-วิจัย

สะท้อนอัตลักษณ์ต้นทุนนาเชือกสู่นาเชือกโมเดล ผ่านซีรีย์ภาพยนตร์ เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

  ชุมชนคนรักนาเชือก โดยโรงเรียนนาเชือกพิทยาสรรค์ ในฐานะแม่ข่าย  ภายใต้การสนับสนุนเครือข่ายนักวิจัย สหวิทยาการ หน่วยปฏิบัติการวิจัยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การบรรเทา และการปรับตัว (CMARE) สังกัดคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยหาสารคาม  ได้สะท้อนอัตลักษณ์ของท้องถิ่น ในรูปของภาพยนตร์  เรื่อง “วัด เถอะ นะ ทำ” โดยความร่วมมือกับภาควิชานิเทศศาสตร์ คณะวิทยาการสารสนเทศ มมส. โดย ผศ.ดร.ปรีชา สาคร และคณะนิสิต  ร่วมกับชุมชนชาวนาเชือก ซึ่งได้เปิดกองถ่ายทำ เมื่อวันที่ 23-25 มีนาคม 2564 ที่ผ่านมา  โดยการดำเนินการครั้งนี้ เป็นการบูรณาการระหว่างศาสตร์ในรายวิชาสู่การบริการวิชาการ จากฐานข้อมูลวิจัย ร่วมกับบทเรียนจากการจัดการความรู้ร่วมกับชุมชนในหลักสูตรท้องถิ่นแบบบูรณาการ 3 มิติ (สิ่งแวดล้อม สังคม และเศรษฐกิจ) “การปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ” สำหรับโรงเรียน นาเชือกพิทยาสรรค์ ต.นาเชือก อ.นาเชือก จ.มหาสารคาม ที่พัฒนาขึ้นโดยความร่วมมือของคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ …

Read More »

CMARE พัฒนาวางรากฐานระบบการจัดการสู่โรงเรียนปลอดขยะและคาร์บอนต่ำ โดยกระบวนการมีส่วนร่วม สำหรับโรงเรียนหัวเรือพิทยาคม

CMARE พัฒนาวางรากฐานระบบการจัดการสู่โรงเรียนปลอดขยะและคาร์บอนต่ำ โดยกระบวนการมีส่วนร่วมสำหรับโรงเรียนหัวเรือพิทยาคม โรงเรียนหัวเรือพิทยาคม ได้วางระบบการจัดการขยะโดยกระบวนการมีส่วนร่วมของทุกฝ่าย สู่การเป็นโรงเรียนปลอดขยะและคาร์บอนต่ำ โดยการสนับสนุนด้านเทคนิคจากหน่วยปฏิบัติการวิจัยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การบรรเทา และการปรับตัว (CMARE) สังกัดคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ในรูปแบบการบริการวิชาการกึ่งวิจัย ซึ่งบูรณาการในรายวิชา 1705476 ระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมตามมาตรฐานสากล และได้ประยุกต์ระบบดังกล่าว เป็นฐานในการพัฒนากลไกการจัดการขยะของโรงเรียนแห่งนี้ ควบคู่กับการพัฒนาศักยภาพของนิสิต ในฐานะพี่เลี้ยง ประกอบด้วย 3 ทีม คือ โค้ชนำทาง (เป็นอยู่รู้ทัน) โค้ชชื้ทาง (คัดแยกแลกสุข) โค้ชให้ทาง (แบ่งปันปั้นทาง) จากการดำเนินการร่วมกับโรงเรียนหัวเรือพิทยาคม รวมถึงการพัฒนาศักยภาพของนักเรียนแกนนำ สู่การเป็นยุวนวัตกรโรงเรียนปลอดขยะ ทั้งด้านข้อมูลขยะ การกำหนดแนวทางการจัดการขยะ และการสื่อสารข้อมูล จากการสำรวจความเห็นของบุคลากรทั้งหมด 125 คน ซึ่งแบ่งเป็น ชาย ร้อยละ 36.8 และหญิง ร้อยละ 63.2 โดยเป็นครู ร้อยละ 12.8 และนักเรียนระดับประถมศึกษาตอนต้น (ป.1-3) ร้อยละ2.4 นักเรียนระดับประถมศึกษาตอนปลาย (ป.4-6) ร้อยละ 3.2 นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น (ม.1-3) ร้อยละ 38.4 นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย …

Read More »

ขับเคลื่อนบ้านเหล่า (ตำบลโคกพระ) สู่พื้นที่ดินดี ผักปลอดภัย รายได้เกิด โดยการผสานสหวิทยาการ

  ขับเคลื่อนบ้านเหล่า (ตำบลโคกพระ) สู่พื้นที่ดินดี ผักปลอดภัย รายได้เกิด  โดยการผสานสหวิทยาการ หลักสูตรสาขาวิชาเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม  จัดเวทีสะท้อนบทเรียนวิจัย โดยผสานกลไกสนับสนุนด้านเกษตรของสถานีพัฒนาที่ดินจังหวัดมหาสารคามและสำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 5 และฐานบทเรียนการดำเนินการของเครือข่ายความปลอดภัยและความมั่นคงทางอาหาร ประกอบด้วย สถาบันการจัดการความรู้เกษตรกรรมยั่งยืนภาคอีสาน โรงเรียนบ้านเหล่า และสภาฮักแพงเบิ่งแญงคนมหาสารคาม ภายใต้การดำเนินการโครงการวิจัย ในหัวข้อ “การศึกษาคุณภาพดิน การเจริญเติบโตและความปลอดภัยของผักกาดเขียวกวางตุ้ง (Brassica chinensis L. var. parachinesis Tsen & Lee) ในดินที่ปรับปรุงด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร กรณีศึกษา:  บ้านเหล่า ตำบลโคกพระ อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม”   โดยมีวัตถุประสงค์  เพื่อให้กลุ่มเกษตรกรนำร่อง  (ส่งดินไปตรวจวิเคราะห์) เกษตรอำเภอกันทรวิชัย ครู  เยาวชน และผู้สนใจ ที่เป็นคนในพื้นที่ตำบลบ้านเหล่า ได้รับทราบต้นทุนด้านสิ่งแวดล้อม การพึ่งพาวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เกิดความตระหนักถึงอันตรายจากสารเคมีที่ใช้  คุณค่าทางโภชนาการของผักที่ปลูก และมีมุมมองในการวางแผนการทำสวนผักและพร้อมปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สู่การทำสวนผักที่เป็นระบบและครบวงจร  โดยมีวิทยากรจากหลายศาสตร์ ร่วมเรียนรู้และแลกเปลี่ยนในมิติต่าง …

Read More »

การจัดการข้อมูลฝุ่นละออง ในรูปเว็บไซต์ จากฐานการบูรณาการระหว่างศาสตร์ กรณีมหาวิทยาลัยมหาสารคาม

การจัดการข้อมูลฝุ่นละออง ในรูปเว็บไซต์ จากฐานการบูรณาการระหว่างศาสตร์ กรณีมหาวิทยาลัยมหาสารคาม เครือข่ายหน่วยปฏิบัติการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การบรรเทา และการปรับตัว (CMARE) ได้รับการสนับสนุนจากศูนย์ข้อมูลการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (CCDC) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในการติดตั้งสถานีตรวจวัดฝุ่นละอองขนาดเล็ก Dustboy แบบทันเหตุการณ์ จำนวน 3 จุด ในพื้นที่มหาวิทยาลัยมหาสารคาม วิทยาเขตขามเรียง  ได้แก่ คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์  คณะสาธารณสุขศาสตร์ และคณะการบัญชีและการจัดการ เพื่อเป็นการติดตามสถานการณ์คุณภาพอากาศ การวิจัย และการวางแผนการจัดการคุณภาพอากาศในพื้นที่มหาวิทยาลัย  และจะติดตั้งในพื้นที่เขตห้ามล่าสัตว์ป่าดูนลำพัน ซึ่งเป็นพื้นที่อ่อนไหว เพิ่มอีก 1 จุด  สำหรับเฝ้าระวังฝุ่นละอองขนาดเล็ก ในส่วนนี้ ได้บูรณาการระหว่างศาสตร์ โดยอาศัยข้อมูลฝุ่นละอองขนาดเล็กจากงานวิจัยของอาจารย์และนิสิต คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ ผนวกในโครงการวิจัยของนิสิตระดับ            ปริญญาตรี คือ นายอภิสิทธิ์ สีดาคา นิสิตระดับปริญญาตรี สาขาวิชาสารสนเทศศาสตร์ คณะวิทยาการสารสนเทศ เรื่อง การป้องกันฝุ่นละออง PM2.5 จากการออกกาลังกายกลางแจ้ง ภายใต้การกำกับดูแลของ ผศ.ดร.ฉันทนา เวชโอสถศักดา …

Read More »

โรงเรียนโคกก่อฯ ศึกษาดูงาน พัฒนาความรู้ สู่การปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

โรงเรียนโคกก่อฯ ศึกษาดูงาน พัฒนาความรู้ สู่การปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ โดยเครือข่ายนักวิจัยหน่วยปฏิบัติการวิจัยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การบรรเทา และการปรับตัว (CMARE)  นำคณะครูและนักเรียน โรงเรียนโคกก่อพิทยาคม ภายใต้โครงการการจัดการองค์ความรู้ท้องถิ่น สำหรับเยาวชน สู่การปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอย่างยั่งยืน โครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและการพัฒนาท้องถิ่น โดยมีสถาบันอุดมศึกษาเป็นพี่เลี้ยง เครือข่ายเพื่อการพัฒนาอุดมศึกษา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 ซึ่งสนับสนุนโดยสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (สป.อว) เข้าเยี่ยมชมศึกษาดูงาน ณ ศูนย์ความเป็นเลิศทางนวัตกรรมไหม ในวันที่ 17 ธันวาคม 2563 เวลา 09:00 – 12:00 น. โดยโรงเรียนดังกล่าว เป็นหนึ่งในโรงเรียนนำร่อง ที่คณะครูสหวิทยาการและชุมชน ได้ออกแบบหลักสูตรท้องถิ่นแบบบูรณาการ “การปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ” ครอบคลุมมิติด้านสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ และสังคม  ที่จำเพาะกับบริบทของพื้นที่ตำบลโคกก่อ พร้อมทั้งได้รับมอบป้ายชื่อก่อเดือย ซึ่งเป็นพันธุ์ไม้ที่เป็นสัญลักษณ์ของพื้นที่  เพื่อปักไว้ประจำต้นที่ได้นำมาปลูกไว้ โดยในปัจจุบัน …

Read More »

เสริมศักยภาพความรู้ด้านน้ำ “สอนน้องรู้น้ำ ปี 3 เพื่อสร้างความเข้าใจและปรับตัวกับภัยแล้งและอุทกภัย

เสริมศักยภาพความรู้ด้านน้ำ “สอนน้องรู้น้ำ ปี 3   เพื่อสร้างความเข้าใจและปรับตัวกับภัยแล้งและอุทกภัย เมื่อวันที่ 10 กันยายน 2563 ที่ผ่านมา สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) หรือ สสน. ภายใต้การประสานงานของเครือข่ายนักวิจัยหน่วยปฏิบัติการวิจัยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การบรรเทา และการปรับตัว (CMARE) คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ ได้จัดโครงการ “สอนน้องรู้น้ำ” ปี 3 ณ  SC3-302 ห้องประชุมสัมมนา อาคารปฏิบัติการกลางทางวิทยาศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ซึ่งมีผู้เข้าร่วมอบรมจากหลายคณะ ประกอบด้วย คณาจารย์ นิสิตปริญญาตรี และปริญญาโท จำนวน 80 คน จากคณะวิทยาศาสตร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ และคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ ทั้งนี้ศาสตราจารย์ ดร.อนงค์ฤทธิ์ แข็งแรง รองอธิการบดีฝ่ายพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน วิจัย และนวัตกรรม  ได้เป็นประธานกล่าวต้อนรับคณะวิทยากร การอบรมครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อเผยแพร่ความรู้ด้านข้อมูลน้ำของประเทศสู่ภาคการศึกษา …

Read More »

อบรมเชิงปฏิบัติการโครงการคัดแยกขยะโดยชุมชน จากฐานทุนท้องถิ่น สำหรับองค์การบริหารส่วนตำบลดอนหว่าน

อบรมเชิงปฏิบัติการโครงการคัดแยกขยะโดยชุมชน จากฐานทุนท้องถิ่น สำหรับองค์การบริหารส่วนตำบลดอนหว่าน เมื่อวันที่ 11 กันยายน 2568 ที่ผ่านมา ฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ โดย ดร.ธายุกร พระบำรุง รองคณบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ ได้เป็นวิทยากรอบรมในโครงการรณรงค์คัดแยกขยะโดยชุมชน ประจำปีงบประมาณ 2563  ณ ห้องประชุมอเนกประสงค์ขององค์การบริหารส่วนตำบลดอนหว่าน ซึ่งเป็นการบริการวิชาการตามความต้องการขององค์การบริหารส่วนตำบลดอนหว่าน ต.ดอนหว่าน อ.เมือง จ.มหาสารคาม โดยรูปแบบการอบรมครั้งนี้  เป็นการบูรณาความร่วมมือกับ อบต. ดอนหว่าน ควบคู่กับการใช้ทุนที่หน่วยงานมีอยู่เดิมและการเริ่มต้นจัดการขยะในระดับครัวเรือน ทั้งนี้ มีผู้เข้าร่วมการอบรม ประกอบด้วย กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน อาสาสมัครสาธารณาสุขประจำหมู่บ้าน จาก 9 หมู่บ้าน จำนวนทั้งสิ้น  100 คน และการดำเนินการนี้ มุ่งเน้นการลดขยะจากกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อเป็นการเริ่มต้นการจัดการขยะของชุมชน อาทิเช่น การใช้ถุงผ้าแทนการใช้ถุงพลาสติก การจัดการอาหารแบบบุฟเฟ่ต์ที่ให้ผู้เข้าร่วมอบรมประมาณปริมาณการบริโภคให้เหมาะสมกับตนเอง  เพื่อลดขยะจากภาชนะบรรจุอาหาร และเศษอาหาร นอกจากนี้ …

Read More »

อบรมเชิงปฏิบัติการ “สายใยผูกพันสู่การบ่มเพาะนักสืบคาร์บอนน้อยรุ่นที่ 2 ”

อบรมเชิงปฏิบัติการ “สายใยผูกพันสู่การบ่มเพาะนักสืบคาร์บอนน้อยรุ่นที่ 2 ” เมื่อวันศุกร์ที่ 28 สิงหาคม 2563 ที่ผ่านมา คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ โดยหน่วยปฏิบัติการวิจัยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การบรรเทา และการปรับตัว (CMARE) ได้จัดอบรมเชิงปฏิบัติการในโครงการมหิงสาสายสืบ เพื่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและยุววิจัย “กิจกรรมนักสืบคาร์บอนน้อย” จากรุ่นที่ 1 สู่รุ่นที่ 2 ภายใต้การสนับสนุนด้านงบประมาณจากกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อมให้กับโรงเรียนโคกก่อพิทยาคม ซึ่งเป็นโรงเรียนเครือข่ายที่สานต่อจากโครงการบูรณาการหนึ่งหลักสูตรหนึ่งชุมชน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 โครงการต้นแบบชุมชนรักษ์สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติของหลักสูตรสาขาวิชาเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม โดยได้ดำเนินการในรูปของฐานความรู้ ประกอบด้วย 3 ฐาน โดย 2 ฐาน อยู่ภายใต้การดูแลของของหลักสูตรสาขาวิชาเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม และมีนิสิตชั้นปีที่ 4 ในหลักสูตร เป็นผู้ดำเนินการ คือ โค้ชคาร์บอนแคร์โลก:  นางสาวสุพรรษา เทียมกระโทก และนางสาวภิชญา เจาจาฤก และโค้ชน้ำดีดื่มได้:  นายเอกพันธ์ พิลา และนางสาวแอนนา ขันทีท้าว …

Read More »

กองทุนสิ่งแวดล้อม ลงพื้นที่ให้คำแนะนำ เพื่อกำหนดผลลัพธ์โครงการ “ดูนลำพันโมเดล” ให้เกิดความยั่งยืน

กองทุนสิ่งแวดล้อม ลงพื้นที่ให้คำแนะนำ เพื่อกำหนดผลลัพธ์โครงการ “ดูนลำพันโมเดล” ให้เกิดความยั่งยืน เมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2563 คณะผู้ดำเนินการในโครงการพัฒนาศักยภาพพื้นที่เขตห้ามล่าสัตว์ป่าดูนลำพันเป็นศูนย์การเรียนรู้ดิจิทัลและการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ โดยกระบวนการมีส่วนร่วมแบบองค์รวม  หรือ “ดูนลำพันโมเดล” มุ่งเน้นผลลัพธ์ 4ปู คือ “ปูทูลกระหม่อม ปูรากฐานการอนุรักษ์และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ปูรากฐานเศรษฐกิจรากหญ้า และปูราฐานการศึกษาด้วยดิจิทัล” โดยได้ผ่านเกณฑ์การพิจารณาเบื้องต้น จากคณะอนุกรรมการการกลั่นกรองโครงการด้านทรัพยากรธรรมชาติ สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในการประชุมครั้งที่ 2/2563  ซึ่งโครงการนี้ ดำเนินการในแผนบูรณาการ และมีคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ เป็นหัวหน้าแผน ซึ่งได้บูรณาการร่วมมือนักวิจัยระหว่างศาสตร์ ได้แก่ สถาบันวิจัยวลัยรุกขเวช คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ คณะการท่องเที่ยวและการโรงแรม คณะวิทยาการสารสนเทศ สำนักคอมพิวเตอร์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์  คณะการบัญชีและการจัดการ คณะศิลปกรรมศาสตร์ และวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม หมู่บ้านนานาชาติ เปรมปรีดี จ.กาฬสินธุ์ องค์การบริหารส่วนตำบลนาเชือก และโรงเรียนนาเชือกพิทยาสรรค์ และหน่วยงานราชการ ได้แก่ สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดมหาสารคาม …

Read More »

อบรมเชิงปฏิบัติการ “ยุวนวัตกรโรงเรียนปลอดขยะและคาร์บอนต่ำ”

อบรมเชิงปฏิบัติการ “ยุวนวัตกรโรงเรียนปลอดขยะและคาร์บอนต่ำ” โรงเรียนหัวเรือพิทยาคม สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดมหาสารคาม   ได้จัดโครงการธนาคารขยะ โดยได้บูรณาการความร่วมมือกับคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ภายใต้การดำเนินการของหน่วยปฏิบัติการวิจัยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การบรรเทา และการปรับตัว (CMARE) ทั้งนี้ ได้สนับสนุนงบประมาณ จำนวน 50,000 บาท สำหรับการพัฒนาระบบการจัดการขยะของโรงเรียนให้พร้อมเป็นต้นแบบโรงเรียนปลอดขยะและคาร์บอนต่ำให้เป็นรูปธรรม จากการดำเนินการที่ผ่านมา ได้แต่งตั้งคณะกรรมการบริหารจัดการขยะของโรงเรียน ซึ่งประกอบด้วย ผู้มีส่วนได้เสีย คือ คณะผู้บริหาร คณะครู และผู้นำนักเรียน  ตลอดได้แสดงความมุ่งมั่นผ่านการกำหนดโยบายด้านการการบริหารและจัดการขยะของโรงเรียน ซึ่งคือ   “สะอาด เกิดประโยชน์ เกิดรายได้”  และได้จัดการอบรมครั้งแรก เพื่อสร้างความเข้าใจและกำหนดเป้าหมายร่วมกันของคณะกรรมการและบุคลากรที่เกี่ยวข้อง ในวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2563 และครั้งที่สอง ได้จัดขึ้นในวันที่ 21 สิงหาคม 2563 ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นการอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนายุวนวัตกรโรงเรียนปลอดขยะและคาร์บอนต่ำหรือแกนนำนักเรียน เพื่อให้ความรู้ ทักษะ และสร้างการมีส่วนร่วมของนักเรียน สำหรับขับเคลื่อนสู่โรงเรียนปลอดขยะ  โดยกลุ่มเป้าหมาย คือ นักเรียนที่ได้รับคัดเลือก …

Read More »