Breaking News
Home / กิจกรรม : บุคลากร / กิจกรรม-วิจัย (page 10)

กิจกรรม-วิจัย

CMARE พัฒนาวางรากฐานระบบการจัดการสู่โรงเรียนปลอดขยะและคาร์บอนต่ำ โดยกระบวนการมีส่วนร่วม สำหรับโรงเรียนหัวเรือพิทยาคม

CMARE พัฒนาวางรากฐานระบบการจัดการสู่โรงเรียนปลอดขยะและคาร์บอนต่ำ โดยกระบวนการมีส่วนร่วมสำหรับโรงเรียนหัวเรือพิทยาคม โรงเรียนหัวเรือพิทยาคม ได้วางระบบการจัดการขยะโดยกระบวนการมีส่วนร่วมของทุกฝ่าย สู่การเป็นโรงเรียนปลอดขยะและคาร์บอนต่ำ โดยการสนับสนุนด้านเทคนิคจากหน่วยปฏิบัติการวิจัยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การบรรเทา และการปรับตัว (CMARE) สังกัดคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ในรูปแบบการบริการวิชาการกึ่งวิจัย ซึ่งบูรณาการในรายวิชา 1705476 ระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมตามมาตรฐานสากล และได้ประยุกต์ระบบดังกล่าว เป็นฐานในการพัฒนากลไกการจัดการขยะของโรงเรียนแห่งนี้ ควบคู่กับการพัฒนาศักยภาพของนิสิต ในฐานะพี่เลี้ยง ประกอบด้วย 3 ทีม คือ โค้ชนำทาง (เป็นอยู่รู้ทัน) โค้ชชื้ทาง (คัดแยกแลกสุข) โค้ชให้ทาง (แบ่งปันปั้นทาง) จากการดำเนินการร่วมกับโรงเรียนหัวเรือพิทยาคม รวมถึงการพัฒนาศักยภาพของนักเรียนแกนนำ สู่การเป็นยุวนวัตกรโรงเรียนปลอดขยะ ทั้งด้านข้อมูลขยะ การกำหนดแนวทางการจัดการขยะ และการสื่อสารข้อมูล จากการสำรวจความเห็นของบุคลากรทั้งหมด 125 คน ซึ่งแบ่งเป็น ชาย ร้อยละ 36.8 และหญิง ร้อยละ 63.2 โดยเป็นครู ร้อยละ 12.8 และนักเรียนระดับประถมศึกษาตอนต้น (ป.1-3) ร้อยละ2.4 นักเรียนระดับประถมศึกษาตอนปลาย (ป.4-6) ร้อยละ 3.2 นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น (ม.1-3) ร้อยละ 38.4 นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย …

Read More »

ขับเคลื่อนบ้านเหล่า (ตำบลโคกพระ) สู่พื้นที่ดินดี ผักปลอดภัย รายได้เกิด โดยการผสานสหวิทยาการ

  ขับเคลื่อนบ้านเหล่า (ตำบลโคกพระ) สู่พื้นที่ดินดี ผักปลอดภัย รายได้เกิด  โดยการผสานสหวิทยาการ หลักสูตรสาขาวิชาเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม  จัดเวทีสะท้อนบทเรียนวิจัย โดยผสานกลไกสนับสนุนด้านเกษตรของสถานีพัฒนาที่ดินจังหวัดมหาสารคามและสำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 5 และฐานบทเรียนการดำเนินการของเครือข่ายความปลอดภัยและความมั่นคงทางอาหาร ประกอบด้วย สถาบันการจัดการความรู้เกษตรกรรมยั่งยืนภาคอีสาน โรงเรียนบ้านเหล่า และสภาฮักแพงเบิ่งแญงคนมหาสารคาม ภายใต้การดำเนินการโครงการวิจัย ในหัวข้อ “การศึกษาคุณภาพดิน การเจริญเติบโตและความปลอดภัยของผักกาดเขียวกวางตุ้ง (Brassica chinensis L. var. parachinesis Tsen & Lee) ในดินที่ปรับปรุงด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร กรณีศึกษา:  บ้านเหล่า ตำบลโคกพระ อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม”   โดยมีวัตถุประสงค์  เพื่อให้กลุ่มเกษตรกรนำร่อง  (ส่งดินไปตรวจวิเคราะห์) เกษตรอำเภอกันทรวิชัย ครู  เยาวชน และผู้สนใจ ที่เป็นคนในพื้นที่ตำบลบ้านเหล่า ได้รับทราบต้นทุนด้านสิ่งแวดล้อม การพึ่งพาวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เกิดความตระหนักถึงอันตรายจากสารเคมีที่ใช้  คุณค่าทางโภชนาการของผักที่ปลูก และมีมุมมองในการวางแผนการทำสวนผักและพร้อมปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สู่การทำสวนผักที่เป็นระบบและครบวงจร  โดยมีวิทยากรจากหลายศาสตร์ ร่วมเรียนรู้และแลกเปลี่ยนในมิติต่าง …

Read More »

การจัดการข้อมูลฝุ่นละออง ในรูปเว็บไซต์ จากฐานการบูรณาการระหว่างศาสตร์ กรณีมหาวิทยาลัยมหาสารคาม

การจัดการข้อมูลฝุ่นละออง ในรูปเว็บไซต์ จากฐานการบูรณาการระหว่างศาสตร์ กรณีมหาวิทยาลัยมหาสารคาม เครือข่ายหน่วยปฏิบัติการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การบรรเทา และการปรับตัว (CMARE) ได้รับการสนับสนุนจากศูนย์ข้อมูลการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (CCDC) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในการติดตั้งสถานีตรวจวัดฝุ่นละอองขนาดเล็ก Dustboy แบบทันเหตุการณ์ จำนวน 3 จุด ในพื้นที่มหาวิทยาลัยมหาสารคาม วิทยาเขตขามเรียง  ได้แก่ คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์  คณะสาธารณสุขศาสตร์ และคณะการบัญชีและการจัดการ เพื่อเป็นการติดตามสถานการณ์คุณภาพอากาศ การวิจัย และการวางแผนการจัดการคุณภาพอากาศในพื้นที่มหาวิทยาลัย  และจะติดตั้งในพื้นที่เขตห้ามล่าสัตว์ป่าดูนลำพัน ซึ่งเป็นพื้นที่อ่อนไหว เพิ่มอีก 1 จุด  สำหรับเฝ้าระวังฝุ่นละอองขนาดเล็ก ในส่วนนี้ ได้บูรณาการระหว่างศาสตร์ โดยอาศัยข้อมูลฝุ่นละอองขนาดเล็กจากงานวิจัยของอาจารย์และนิสิต คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ ผนวกในโครงการวิจัยของนิสิตระดับ            ปริญญาตรี คือ นายอภิสิทธิ์ สีดาคา นิสิตระดับปริญญาตรี สาขาวิชาสารสนเทศศาสตร์ คณะวิทยาการสารสนเทศ เรื่อง การป้องกันฝุ่นละออง PM2.5 จากการออกกาลังกายกลางแจ้ง ภายใต้การกำกับดูแลของ ผศ.ดร.ฉันทนา เวชโอสถศักดา …

Read More »

โรงเรียนโคกก่อฯ ศึกษาดูงาน พัฒนาความรู้ สู่การปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

โรงเรียนโคกก่อฯ ศึกษาดูงาน พัฒนาความรู้ สู่การปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ โดยเครือข่ายนักวิจัยหน่วยปฏิบัติการวิจัยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การบรรเทา และการปรับตัว (CMARE)  นำคณะครูและนักเรียน โรงเรียนโคกก่อพิทยาคม ภายใต้โครงการการจัดการองค์ความรู้ท้องถิ่น สำหรับเยาวชน สู่การปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอย่างยั่งยืน โครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและการพัฒนาท้องถิ่น โดยมีสถาบันอุดมศึกษาเป็นพี่เลี้ยง เครือข่ายเพื่อการพัฒนาอุดมศึกษา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 ซึ่งสนับสนุนโดยสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (สป.อว) เข้าเยี่ยมชมศึกษาดูงาน ณ ศูนย์ความเป็นเลิศทางนวัตกรรมไหม ในวันที่ 17 ธันวาคม 2563 เวลา 09:00 – 12:00 น. โดยโรงเรียนดังกล่าว เป็นหนึ่งในโรงเรียนนำร่อง ที่คณะครูสหวิทยาการและชุมชน ได้ออกแบบหลักสูตรท้องถิ่นแบบบูรณาการ “การปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ” ครอบคลุมมิติด้านสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ และสังคม  ที่จำเพาะกับบริบทของพื้นที่ตำบลโคกก่อ พร้อมทั้งได้รับมอบป้ายชื่อก่อเดือย ซึ่งเป็นพันธุ์ไม้ที่เป็นสัญลักษณ์ของพื้นที่  เพื่อปักไว้ประจำต้นที่ได้นำมาปลูกไว้ โดยในปัจจุบัน …

Read More »

เสริมศักยภาพความรู้ด้านน้ำ “สอนน้องรู้น้ำ ปี 3 เพื่อสร้างความเข้าใจและปรับตัวกับภัยแล้งและอุทกภัย

เสริมศักยภาพความรู้ด้านน้ำ “สอนน้องรู้น้ำ ปี 3   เพื่อสร้างความเข้าใจและปรับตัวกับภัยแล้งและอุทกภัย เมื่อวันที่ 10 กันยายน 2563 ที่ผ่านมา สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) หรือ สสน. ภายใต้การประสานงานของเครือข่ายนักวิจัยหน่วยปฏิบัติการวิจัยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การบรรเทา และการปรับตัว (CMARE) คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ ได้จัดโครงการ “สอนน้องรู้น้ำ” ปี 3 ณ  SC3-302 ห้องประชุมสัมมนา อาคารปฏิบัติการกลางทางวิทยาศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ซึ่งมีผู้เข้าร่วมอบรมจากหลายคณะ ประกอบด้วย คณาจารย์ นิสิตปริญญาตรี และปริญญาโท จำนวน 80 คน จากคณะวิทยาศาสตร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ และคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ ทั้งนี้ศาสตราจารย์ ดร.อนงค์ฤทธิ์ แข็งแรง รองอธิการบดีฝ่ายพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน วิจัย และนวัตกรรม  ได้เป็นประธานกล่าวต้อนรับคณะวิทยากร การอบรมครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อเผยแพร่ความรู้ด้านข้อมูลน้ำของประเทศสู่ภาคการศึกษา …

Read More »

อบรมเชิงปฏิบัติการโครงการคัดแยกขยะโดยชุมชน จากฐานทุนท้องถิ่น สำหรับองค์การบริหารส่วนตำบลดอนหว่าน

อบรมเชิงปฏิบัติการโครงการคัดแยกขยะโดยชุมชน จากฐานทุนท้องถิ่น สำหรับองค์การบริหารส่วนตำบลดอนหว่าน เมื่อวันที่ 11 กันยายน 2568 ที่ผ่านมา ฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ โดย ดร.ธายุกร พระบำรุง รองคณบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ ได้เป็นวิทยากรอบรมในโครงการรณรงค์คัดแยกขยะโดยชุมชน ประจำปีงบประมาณ 2563  ณ ห้องประชุมอเนกประสงค์ขององค์การบริหารส่วนตำบลดอนหว่าน ซึ่งเป็นการบริการวิชาการตามความต้องการขององค์การบริหารส่วนตำบลดอนหว่าน ต.ดอนหว่าน อ.เมือง จ.มหาสารคาม โดยรูปแบบการอบรมครั้งนี้  เป็นการบูรณาความร่วมมือกับ อบต. ดอนหว่าน ควบคู่กับการใช้ทุนที่หน่วยงานมีอยู่เดิมและการเริ่มต้นจัดการขยะในระดับครัวเรือน ทั้งนี้ มีผู้เข้าร่วมการอบรม ประกอบด้วย กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน อาสาสมัครสาธารณาสุขประจำหมู่บ้าน จาก 9 หมู่บ้าน จำนวนทั้งสิ้น  100 คน และการดำเนินการนี้ มุ่งเน้นการลดขยะจากกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อเป็นการเริ่มต้นการจัดการขยะของชุมชน อาทิเช่น การใช้ถุงผ้าแทนการใช้ถุงพลาสติก การจัดการอาหารแบบบุฟเฟ่ต์ที่ให้ผู้เข้าร่วมอบรมประมาณปริมาณการบริโภคให้เหมาะสมกับตนเอง  เพื่อลดขยะจากภาชนะบรรจุอาหาร และเศษอาหาร นอกจากนี้ …

Read More »

อบรมเชิงปฏิบัติการ “สายใยผูกพันสู่การบ่มเพาะนักสืบคาร์บอนน้อยรุ่นที่ 2 ”

อบรมเชิงปฏิบัติการ “สายใยผูกพันสู่การบ่มเพาะนักสืบคาร์บอนน้อยรุ่นที่ 2 ” เมื่อวันศุกร์ที่ 28 สิงหาคม 2563 ที่ผ่านมา คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ โดยหน่วยปฏิบัติการวิจัยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การบรรเทา และการปรับตัว (CMARE) ได้จัดอบรมเชิงปฏิบัติการในโครงการมหิงสาสายสืบ เพื่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและยุววิจัย “กิจกรรมนักสืบคาร์บอนน้อย” จากรุ่นที่ 1 สู่รุ่นที่ 2 ภายใต้การสนับสนุนด้านงบประมาณจากกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อมให้กับโรงเรียนโคกก่อพิทยาคม ซึ่งเป็นโรงเรียนเครือข่ายที่สานต่อจากโครงการบูรณาการหนึ่งหลักสูตรหนึ่งชุมชน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 โครงการต้นแบบชุมชนรักษ์สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติของหลักสูตรสาขาวิชาเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม โดยได้ดำเนินการในรูปของฐานความรู้ ประกอบด้วย 3 ฐาน โดย 2 ฐาน อยู่ภายใต้การดูแลของของหลักสูตรสาขาวิชาเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม และมีนิสิตชั้นปีที่ 4 ในหลักสูตร เป็นผู้ดำเนินการ คือ โค้ชคาร์บอนแคร์โลก:  นางสาวสุพรรษา เทียมกระโทก และนางสาวภิชญา เจาจาฤก และโค้ชน้ำดีดื่มได้:  นายเอกพันธ์ พิลา และนางสาวแอนนา ขันทีท้าว …

Read More »

กองทุนสิ่งแวดล้อม ลงพื้นที่ให้คำแนะนำ เพื่อกำหนดผลลัพธ์โครงการ “ดูนลำพันโมเดล” ให้เกิดความยั่งยืน

กองทุนสิ่งแวดล้อม ลงพื้นที่ให้คำแนะนำ เพื่อกำหนดผลลัพธ์โครงการ “ดูนลำพันโมเดล” ให้เกิดความยั่งยืน เมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2563 คณะผู้ดำเนินการในโครงการพัฒนาศักยภาพพื้นที่เขตห้ามล่าสัตว์ป่าดูนลำพันเป็นศูนย์การเรียนรู้ดิจิทัลและการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ โดยกระบวนการมีส่วนร่วมแบบองค์รวม  หรือ “ดูนลำพันโมเดล” มุ่งเน้นผลลัพธ์ 4ปู คือ “ปูทูลกระหม่อม ปูรากฐานการอนุรักษ์และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ปูรากฐานเศรษฐกิจรากหญ้า และปูราฐานการศึกษาด้วยดิจิทัล” โดยได้ผ่านเกณฑ์การพิจารณาเบื้องต้น จากคณะอนุกรรมการการกลั่นกรองโครงการด้านทรัพยากรธรรมชาติ สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในการประชุมครั้งที่ 2/2563  ซึ่งโครงการนี้ ดำเนินการในแผนบูรณาการ และมีคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ เป็นหัวหน้าแผน ซึ่งได้บูรณาการร่วมมือนักวิจัยระหว่างศาสตร์ ได้แก่ สถาบันวิจัยวลัยรุกขเวช คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ คณะการท่องเที่ยวและการโรงแรม คณะวิทยาการสารสนเทศ สำนักคอมพิวเตอร์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์  คณะการบัญชีและการจัดการ คณะศิลปกรรมศาสตร์ และวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม หมู่บ้านนานาชาติ เปรมปรีดี จ.กาฬสินธุ์ องค์การบริหารส่วนตำบลนาเชือก และโรงเรียนนาเชือกพิทยาสรรค์ และหน่วยงานราชการ ได้แก่ สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดมหาสารคาม …

Read More »

อบรมเชิงปฏิบัติการ “ยุวนวัตกรโรงเรียนปลอดขยะและคาร์บอนต่ำ”

อบรมเชิงปฏิบัติการ “ยุวนวัตกรโรงเรียนปลอดขยะและคาร์บอนต่ำ” โรงเรียนหัวเรือพิทยาคม สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดมหาสารคาม   ได้จัดโครงการธนาคารขยะ โดยได้บูรณาการความร่วมมือกับคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ภายใต้การดำเนินการของหน่วยปฏิบัติการวิจัยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การบรรเทา และการปรับตัว (CMARE) ทั้งนี้ ได้สนับสนุนงบประมาณ จำนวน 50,000 บาท สำหรับการพัฒนาระบบการจัดการขยะของโรงเรียนให้พร้อมเป็นต้นแบบโรงเรียนปลอดขยะและคาร์บอนต่ำให้เป็นรูปธรรม จากการดำเนินการที่ผ่านมา ได้แต่งตั้งคณะกรรมการบริหารจัดการขยะของโรงเรียน ซึ่งประกอบด้วย ผู้มีส่วนได้เสีย คือ คณะผู้บริหาร คณะครู และผู้นำนักเรียน  ตลอดได้แสดงความมุ่งมั่นผ่านการกำหนดโยบายด้านการการบริหารและจัดการขยะของโรงเรียน ซึ่งคือ   “สะอาด เกิดประโยชน์ เกิดรายได้”  และได้จัดการอบรมครั้งแรก เพื่อสร้างความเข้าใจและกำหนดเป้าหมายร่วมกันของคณะกรรมการและบุคลากรที่เกี่ยวข้อง ในวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2563 และครั้งที่สอง ได้จัดขึ้นในวันที่ 21 สิงหาคม 2563 ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นการอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนายุวนวัตกรโรงเรียนปลอดขยะและคาร์บอนต่ำหรือแกนนำนักเรียน เพื่อให้ความรู้ ทักษะ และสร้างการมีส่วนร่วมของนักเรียน สำหรับขับเคลื่อนสู่โรงเรียนปลอดขยะ  โดยกลุ่มเป้าหมาย คือ นักเรียนที่ได้รับคัดเลือก …

Read More »

อบรมเชิงปฏิบัติการสำหรับนิสิตแกนนำ “นวัตกรรมสิ่งแวดล้อมสู่นวัตกรการจัดการขยะ”

อบรมเชิงปฏิบัติการสำหรับนิสิตแกนนำ “นวัตกรรมสิ่งแวดล้อมสู่นวัตกรการจัดการขยะ” ชมรมสานฝันคนสร้างป่า  สังกัดองค์การนิสิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ได้จัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ เพื่อให้ความรู้นิสิตแกนนำโครงการ ลดรับ ลดให้ ลดใช้ถุงพลาสติก  ในวันที่ 15 สิงหาคม 2563 ที่ผ่านมา ณ ห้อง Env408 ชั้น 4 คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม โดยมีผู้เข้าร่วมโครงการ จำนวนทั้งหมด 20 คน   โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับการจัดการขยะพลาสติก ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมจากขยะ รวมถึงยกระดับศักยภาพของนิสิตแกนนำสู่การเป็นนวัตกรการจัดการขยะ  สำหรับการพัฒนามหาวิทยาลัยสีเขียวอย่างยั่งยืน ทั้งนี้ คุณสุนทร เดชชัย ผู้อำนวยการกองกิจการนิสิต เป็นประธานกล่าวเปิดงาน และมี ดร.ธายุกร พระบำรุง รองคณบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ/ผู้อำนวยการหน่วยปฏิบัติการวิจัยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การบรรเทา และการปรับตัว (CMARE)/ที่ปรึกษาชมรม เป็นวิทยากรในการอบรม ซึ่งบรรลุตามวัตถุประสงค์ของการจัดโครงการ ข่าว : ฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ ภาพ : ชมรมสานฝันคนสร้างป่า เผยแพร่โดย …

Read More »