ขับเคลื่อนบ้านเหล่า (ตำบลโคกพระ) สู่พื้นที่ดินดี ผักปลอดภัย รายได้เกิด โดยการผสานสหวิทยาการ
หลักสูตรสาขาวิชาเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม จัดเวทีสะท้อนบทเรียนวิจัย โดยผสานกลไกสนับสนุนด้านเกษตรของสถานีพัฒนาที่ดินจังหวัดมหาสารคามและสำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 5 และฐานบทเรียนการดำเนินการของเครือข่ายความปลอดภัยและความมั่นคงทางอาหาร ประกอบด้วย สถาบันการจัดการความรู้เกษตรกรรมยั่งยืนภาคอีสาน โรงเรียนบ้านเหล่า และสภาฮักแพงเบิ่งแญงคนมหาสารคาม ภายใต้การดำเนินการโครงการวิจัย ในหัวข้อ “การศึกษาคุณภาพดิน การเจริญเติบโตและความปลอดภัยของผักกาดเขียวกวางตุ้ง (Brassica chinensis L. var. parachinesis Tsen & Lee) ในดินที่ปรับปรุงด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร กรณีศึกษา: บ้านเหล่า ตำบลโคกพระ อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม” โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อให้กลุ่มเกษตรกรนำร่อง (ส่งดินไปตรวจวิเคราะห์) เกษตรอำเภอกันทรวิชัย ครู เยาวชน และผู้สนใจ ที่เป็นคนในพื้นที่ตำบลบ้านเหล่า ได้รับทราบต้นทุนด้านสิ่งแวดล้อม การพึ่งพาวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เกิดความตระหนักถึงอันตรายจากสารเคมีที่ใช้ คุณค่าทางโภชนาการของผักที่ปลูก และมีมุมมองในการวางแผนการทำสวนผักและพร้อมปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สู่การทำสวนผักที่เป็นระบบและครบวงจร โดยมีวิทยากรจากหลายศาสตร์ ร่วมเรียนรู้และแลกเปลี่ยนในมิติต่าง ๆ ประกอบด้วย 4 หัวข้อ ได้แก่ 1) บริบทพื้นที่ของบ้านเหล่า: ต้นทุนดิน น้ำ วัสดุปรับปรุง และสารพิษตกค้างในเลือด โดย ดร.ธายุกร พระบำรุง (หัวหน้าโครงการวิจัย) 2) ผลกระทบของการใช้สารเคมีต่อสิ่งแวดล้อมในระยะสั้นและยาว โดย ผศ.ดร.นิพนธ์ ตันไพบูลย์กุล คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ 3) คุณค่าทางโภชนาการ ความมั่นคงและความปลอดภัยของแหล่งอาหาร โดย ดร.นิจฉรา ทูลธรรม คณะสาธารณสุขศาสตร์ และ 4) จากบทเรียนสู่ภาคปฏิบัติ: ปลูกผักอย่างไรให้ประสบความสำเร็จและปลอดภัย: การลดต้นทุนในการผลิต การวางแผนการปลูก/บำรุงรักษา การแปรรูป การตลาด และโอกาสของบ้านเหล่า โดย ดร.ศุภชัย สุทธิเจริญ คณะเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม และเจ้าของเพจไร่คุณพ่อ ได้จัดเวทีประชุม “บ่มกล้าความฮัก ปลูกผักบ้านเหล่า” บูรณาการระหว่างศาสตร์ ในวันจันทร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ 2564 เวลา 13.00-16.00 น. ณ ห้องประชุมโรงเรียนบ้านเหล่า นอกจากนี้ เยาวชนของโรงเรียนบ้านเหล่า เป็นกลุ่มเป้าหมาย ของสำนักงานเกษตรอำเภอกันทรวิชัย ที่จะขับเคลื่อนสู่การเป็นยุวเกษตรกรของพื้นที่ ทั้งนี้ ในการจัดกิจกรรม ดำเนินตามมาตรการการป้องกันและควบคุมโควิด19 อย่างเคร่งครัด ได้แก่ การใช้หน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้า การเว้นระยะห่าง การล้างมือด้วยเจลแอลกอฮอล์ และการจำกัดจำนวนผู้เข้าร่วม และคาดหวังว่า กิจกรรมนี้ จะเป็นสร้างจุดประกายให้เกษตรกรในพื้นที่ ได้เข้าใจและพัฒนาพื้นที่ในการทำสวนผัก โดยการมีส่วนร่วม ได้อย่างเป็นระบบและยั่งยืนต่อไป
ภาพ/ข่าว ดร.ธายุกร พระบำรุง
เผยแพร่ข่าวโดย : ชลทิตย์ สีเทา
ณ วันที่ : 18 กุมภาพันธ์ 2564