Breaking News
Home / ข่าว / กิจกรรม : งานวิจัย (page 10)

กิจกรรม : งานวิจัย

อบรมเชิงปฏิบัติการสำหรับนิสิตแกนนำ “นวัตกรรมสิ่งแวดล้อมสู่นวัตกรการจัดการขยะ”

อบรมเชิงปฏิบัติการสำหรับนิสิตแกนนำ “นวัตกรรมสิ่งแวดล้อมสู่นวัตกรการจัดการขยะ” ชมรมสานฝันคนสร้างป่า  สังกัดองค์การนิสิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ได้จัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ เพื่อให้ความรู้นิสิตแกนนำโครงการ ลดรับ ลดให้ ลดใช้ถุงพลาสติก  ในวันที่ 15 สิงหาคม 2563 ที่ผ่านมา ณ ห้อง Env408 ชั้น 4 คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม โดยมีผู้เข้าร่วมโครงการ จำนวนทั้งหมด 20 คน   โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับการจัดการขยะพลาสติก ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมจากขยะ รวมถึงยกระดับศักยภาพของนิสิตแกนนำสู่การเป็นนวัตกรการจัดการขยะ  สำหรับการพัฒนามหาวิทยาลัยสีเขียวอย่างยั่งยืน ทั้งนี้ คุณสุนทร เดชชัย ผู้อำนวยการกองกิจการนิสิต เป็นประธานกล่าวเปิดงาน และมี ดร.ธายุกร พระบำรุง รองคณบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ/ผู้อำนวยการหน่วยปฏิบัติการวิจัยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การบรรเทา และการปรับตัว (CMARE)/ที่ปรึกษาชมรม เป็นวิทยากรในการอบรม ซึ่งบรรลุตามวัตถุประสงค์ของการจัดโครงการ ข่าว : ฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ ภาพ : ชมรมสานฝันคนสร้างป่า เผยแพร่โดย …

Read More »

คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มมส พัฒนาศักยภาพและยกระดับผลิตภัณฑ์ชุมชน การผลิตเสื่อกกด้วยนาโนเทคโนโลยี

คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มมส พัฒนาศักยภาพและยกระดับผลิตภัณฑ์ชุมชน การผลิตเสื่อกกด้วยนาโนเทคโนโลยี  วันนี้ (5 มิถุนายน 2563) คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม จัดโครงการพัฒนาศักยภาพและยกระดับผลิตภัณฑ์ชุมชน การผลิตเสื่อกกด้วยนาโนเทคโนโลยี โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.อดิศักดิ์ สิงห์สีโว คณบดีคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เป็นประธานกล่าวเปิดงาน พร้อมด้วย จ่าเอกบัวทอง หารสุโพธิ์ นายกเทศมนตรีตำบลขามเรียง นางสาวกัญญาภัทร ขันอาษา ที่ปรึกษาโครงการฯ นำผู้เข้าอบรมซึ่งเป็นสมาชิกศูนย์ข้าวชุมชนบ้านเขียบ ร่วมในพิธีเปิดงาน ณ ศูนย์ข้าวชุมชนบ้านเขียบ/นาแปลงใหญ่ ตำบลขามเรียง อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปานใจ สื่อประเสริฐสิทธิ์ คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ผู้รับผิดชอบโครงการฯ กล่าวว่า การจัดโครงการพัฒนาศักยภาพและยกระดับผลิตภัณฑ์ชุมชนการผลิตเสื่อกกด้วยนาโนเทคโนโลยีในครั้งนี้ ได้รับการสนับสนุนการดำเนินการจากสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม สำนักงานเทศบาลตำบลขามเรียง และคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์และมหาวิทยาลัยมหาสารคาม จัดขึ้นระหว่างวันที่ 5 – 7 …

Read More »

ดูนลำพันโมเดล: แหล่งเรียนรู้ดิจิทัลและแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศร่วมสมัยของจังหวัดมหาสารคาม

โครงการพัฒนาศักยภาพพื้นที่เขตห้ามล่าสัตว์ป่าดูนลำพันเป็นศูนย์การเรียนรู้ดิจิทัลและการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ โดยกระบวนการมีส่วนร่วมแบบองค์รวม  หรือ ”ดูนลำพันโมเดล” เป็นหนึ่งใน 9 โครงการ ที่ผ่านเกณฑ์การพิจารณาเบื้องต้น จากคณะอนุกรรมการการกลั่นกรองโครงการด้านทรัพยากรธรรมชาติ สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในการประชุมครั้งที่ 2/2563  ซึ่งโครงการนี้ มีรูปแบบการดำเนินการในลักษณะของแผนบูรณาการระหว่างศาสตร์ ประกอบด้วย คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ (หัวหน้าแผนงาน) สถาบันวิจัยวลัยรุกขเวช คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ คณะการท่องเที่ยวและการโรงแรม คณะวิทยาการสารสนเทศ สำนักคอมพิวเตอร์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ คณะการบัญชีและการจัดการ คณะศิลปกรรมศาสตร์ และวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ หมู่บ้านนานาชาติ เปรมปรีดี จ.กาฬสินธุ์  องค์การบริหารส่วนตำบลนาเชือก และโรงเรียนนาเชือกพิทยาสรรค์ และหน่วยงานราชการ ได้แก่ สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดมหาสารคาม โดยได้ของบสนับสนุน จำนวน 5,000,000 บาท จากกองทุนสิ่งแวดล้อม เพื่อยกระดับพื้นที่แห่งนี้ ให้เป็นแหล่งเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ที่ครบวงจร ซึ่งผนวกกับการพัฒนาและการใช้ข้อมูล Bigdata และโมเดลเศรษฐกิจใหม่ (BCG) ติดตามข้อมูลของโครงการได้ที่เพจ “ปูแป้งแบ่งปัน” …

Read More »

พัฒนาขีดความสามารถของท้องถิ่น โดยแอพพลิเคชั่นมือถือ เพื่อสนับสนุนการจัดการขยะหน้ากากอนามัยใช้แล้ว: ลดการแพร่กระจายเชื้อโควิด19

เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2563 ที่ผ่านมา  คณะดำเนินการโครงการ “การพัฒนา Mobile Application การจัดการหน้ากากอนามัยใช้แล้ว (ขยะติดเชื้อ) สำหรับประชาชนและกลุ่มผู้จัดการขยะชุมชน: กรณีศึกษา จังหวัดมหาสารคาม” ซึ่งประกอบด้วย ดร.จุฑามาส แก้วสุข คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์  รองศาสตราจารย์ ดร.ปิยภัทร บุษบาบดินทร์  คณะวิทยาศาสตร์  ดร.ธายุกร          พระบำรุง คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.รัตนโชติ เทียนมงคล คณะวิทยาการสารสนเทศ และอาจารย์เอกลักษณ์ แสงเดือนฉาย มหาวิทยาลัยศรีปทุม (ขอนแก่น) ผู้ร่วมพัฒนาแอพพลิเคชั่น โดยได้รับการสนับสนุนจากสำนักสร้างสรรค์โอกาสและนวัตกรรม (สำนัก 6) สำนักกองทุนสนับสนุนการสร้างสุขภาพ (สสส.) ได้จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ (Workshop) เพื่อพัฒนาศักยภาพด้านการใช้ Mobile Application สำหรับการจัดการหน้ากากอนามัยใช้แล้ว (ขยะติดเชื้อ) ขึ้น ในเวลา 13.00-16.00 น. …

Read More »

ผู้อำนวยการศูนย์วิจัย IRCEM-GMS ได้รับคัดเลือกให้เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านวิจัย

ขอแสดงความยินดีกับ ผศ.ดร.ยรรยงค์ อินทร์ม่วง ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยนานาชาติด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนอนุภูมิภาคแม่น้ำโขง หรือ IRCEM-GMS  ในโอกาสที่ได้รับคัดเลือกให้ปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้เชี่ยวชาญ ในการศึกษาในโครงการ เรื่อง  “Mekong Climate Change Adaptation Mainstreaming at the National Level and Developing Transboundary Projects (June -December 2020)” โดย Mekong River Commission (MRC) สำนักงานใหญ่กรุงเวียงจันทร์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว  ซึ่งได้ประสานงานกับรัฐบาลไทย (สำนักงานคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ) ข่าว/ภาพ: ฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ เผยแพร่โดย : ชลทิตย์ สีเทา ณ วันที่ : 27  มิถุนายน 2563

Read More »

หน่วยปฏิบัติการวิจัย CMARE ได้รับทุนพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นบูรณาการระหว่างศาสตร์ สำหรับโรงเรียน

ขอแสดงความยินดีกับหน่วยปฏิบัติการวิจัยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การบรรเทา และการปรับตัว (CMARE) ที่ได้รับทุนจากสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (สป.อว) ในโครงการจัดการองค์ความรู้ท้องถิ่น  สำหรับเยาวชน สู่การปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอย่างยั่งยืน  เป็นจำนวนเงิน 60,000 บาท ซึ่งมีวัตถุประสงค์  เพื่อพัฒนาครูด้านการออกแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงกับองค์ความรู้ท้องถิ่นและความรู้สมัยใหม่ สำหรับการจัดการเรียนและการสอนเชิงบูรณาการพหุวิทยาการ ในการปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในพื้นที่ ทั้งนี้ คณะผู้ดำเนินการ ประกอบด้วย   ดร.ธายุกร พระบำรุง (คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์)  ดร.อัจฉริยา อิสสระไพบูลย์ (คณะการบัญชีและการจัดการ)  ดร.พิมพ์พร ภูครองเพชร (คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์)  คุณครูรัชนี เปาะศิริ  (โรงเรียนนาเชือกพิทยาสรรค์)  และคุณครูชุติมา นันทะแสน  (โรงเรียนโคกก่อพิทยาคม) ข่าว/ภาพ : หน่วยปฏิบัติการวิจัย CMARE/Freepik เผยแพร่โดย : ชลทิตย์ สีเทา ณ วันที่ : 25  มิถุนายน …

Read More »

ข้อมูล PM2.5 แบบทันเหตุการณ์: การรับรู้ เพื่อการเรียนรู้และรับมือ

เครือข่ายหน่วยปฏิบัติการวิจัยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การบรรเทา และการปรับตัว (Climate Change, Mitigation and Adaptation Research Unit; CMARE) สังกัดคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ ได้ติดตั้งเครื่องตรวจวัดฝุ่น (Dustboy)  สำหรับติดตามคุณภาพอากาศแบบทันเหตุการณ์ ใน 3 พื้นที่ของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม (วิทยาเขตขามเรียง) คือ คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์  คณะสาธารณสุขศาสตร์ และคณะการบัญชีและการจัดการ ซึ่งในการดำเนินการครั้งนี้ ได้รับการสนับสนุน Dustboy จากศูนย์ข้อมูลการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ  (Climate Change Data Center; CCDC) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ รวมถึงการสนับสนุนด้านเทคนิคจากสำนักคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม โดยมีวัตถุประสงค์หลัก เพื่อสนับสนุนพันธกิจการจัดการเรียนและการสอน วิจัย และบริการวิชาการด้านข้อมูลที่เกี่ยวกับการพัฒนาการเรียนรู้ด้านคุณภาพอากาศและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การป้องกันและลดผลกระทบด้านสุขภาพจากฝุ่นละอองขนาดเล็ก การจัดการข้อมูลดิจิทัลขนาดใหญ่ (Big Data) และการวางแผนและการกำหนดมาตรการการจัดการคุณภาพอากาศภายในมหาวิทยาลัยมหาสารคาม สู่การเป็นมหาวิทยาลัยอัจฉริยะและสีเขียว (Smart and Green University) รวมถึงการนำร่องเพื่อรองรับการดำเนินการตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน …

Read More »

เชือกในป่าดูนลำพัน: สัญลักษณ์ของพื้นที่นาเชือก

จากการดำเนินการโครงการบูรณาการหลักสูตร เรื่อง “การจัดการองค์ความรู้ท้องถิ่น เพื่อส่งเสริมการเป็นแหล่งเรียนรู้และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศที่ยั่งยืน โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน กรณีของตำบลนาเชือก อำเภอนาเชือก จ.มหาสารคาม” โดยความร่วมมือของคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ คณะการท่องเที่ยวและการโรงแรม คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ คณะวิทยาการสารสนเทศ และคณะการบัญชีและการจัดการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ภายใต้การสนับสนุนของบริษัท ทราเวลเทคโนโลยี เซอร์วิส จำกัด (Travel Technology Services Co., Ltd.) และได้รวบรวมข้อมูลที่เป็นต้นทุนด้านทรัพยากร ได้แก่ เชือกหรือรกฟ้า (Pentaptera tomentosa Roxb. ex DC.) ซึ่งเป็นพรรณไม้ที่สะท้อนถึงอัตลักษณ์ของพื้นที่อำเภอนาเชือก โดยคุณสมพร  พงษ์ธนาคม หัวหน้าเขตห้ามล่าสัตว์ป่าดูนลำพัน พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่เขตฯ ได้สำรวจจำนวนเชือกหรือรกฟ้า ในบริเวณพื้นที่เขตห้ามสัตว์ป่าดูนลำพัน ระหว่างวันที่ 30 พฤษภาคม-5 มิถุนายน 2563  รวมถึงได้จดบันทึกความสูงและเส้นรอบวงของเชือก พบว่า ปัจจุบัน มีจำนวนเชือก มากถึง 492 ต้น …

Read More »

ศูนย์วิจัยสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืนอนุภูมิภาคแม่น้ำโขง (IRCEM-GMS) ได้รับทุนวิจัยจากรัฐบาลสวีเดน

ขอแสดงความยินดีกับศูนย์วิจัยสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืนอนุภูมิภาคแม่น้ำโขง หรือ IRCEM-GMS (ผู้อำนวยการ:ผศ.ดร.ยรรยงค์ อินทร์ม่วง) สังกัดคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ ที่ได้ผ่านการคัดเลือกข้อเสนอโครงการวิจัย เรื่อง “Participatory Flood Risk Management: A Case for Policy Implication from Ban Phai Municipality Thailand”  ซึ่งเป็นทุนวิจัยประเภท Joint Action Project ตามการประกาศของ Stockholm Environment Institute (SEI) ในปี พ.ศ. 2563 ซึ่งมีมหาวิทยาลัยและสถาบันในประเทศอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงจำนวนมาก โดยโครงการที่ได้รับอนุมัติทุนนี้ จะเป็นโครงการต้นแบบระดับชาติในการจัดการภัยพิบัติ โดยใช้เหตุการณ์ภัยพิบัติจากน้ำท่วมอำเภอบ้านไผ่ เป็นกรณีศึกษาที่รัฐบาลสวีเดน ถือเป็นกรณีศึกษาระดับภูมิภาคในประเทศอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง โดยจะดำเนินการร่วมกันระหว่างศูนย์วิจัยกับผู้เชี่ยวชาญจากกรมทรัพยากรน้ำ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม          กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล โดยมีระยะเวลาดำเนินการ ระหว่างปี พ.ศ. 2563-2565 ข้อมูล: …

Read More »

หลักสูตรท้องถิ่น เพื่อเยียวยาผืนแผ่นดิน ชะลอโลกร้อน

หลักสูตรสาขาวิชาเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ ได้พัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น บูรณาการตามแนวทาง STEM ชื่อ “การกักเก็บคาร์บอนในมวลชีวภาพของป่าไม้” ภายใต้โครงการบูรณาการหนึ่งหลักสูตรหนึ่งชุมชน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 “โครงการต้นแบบชุมชนรักษ์สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ: ต้นน้ำห้วยคะคาง” เพื่อให้โรงเรียนต่าง ๆ ได้นำเอาไปบูรณาการร่วมกับการจัดการเรียนการสอน ซึ่งมุ่งเน้นให้ชุมชน ได้เข้าใจบริบทและตระหนักถึงคุณค่าของทรัพยากรป่าไม้ ซึ่งนับวันลดลง ที่เกิดจากความต้องการของมนุษย์และจากภัยธรรมชาติ ด้วยเหตุนี้ จึงต้องเพิ่มพื้นที่สีเขียว เพื่อพลิกฟื้นคืนปัจจัยสี่ที่เกี่ยวพันกับวิถีชีวิตของชุมชน รวมถึงเป็นแหล่งกักเก็บคาร์บอนที่สำคัญ สำหรับบรรเทาภาวะโลกร้อนที่กำลังรุนแรงขึ้น โดยการปลูกต้นไม้ 1 ต้นใน 1 ปี สามารถกักเก็บก๊าซเรือนกระจกได้ถึง 9.50 กิโลกรัมคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (kg CO2 eq) และการปลูกป่า ยังเปลี่ยนเป็นทุน สนับสนุนความมั่นคงของชีวิตได้ ตาม พ.ร.บ. ป่าไม้ (ฉบับที่ 8) พ.ศ. 2562 หากต้องการทราบว่า หลักสูตรสาขาวิชาเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม บูรณาการการจัดการเรียนการสอนจากวิทยาศาสตร์สู่การทำงานร่วมกับภาคชุมชนได้อย่างไร และผันเป็นการบริการวิชาการ …

Read More »