หลักสูตรสาขาวิชาเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม ร่วมขับเคลื่อนโครงการบริการวิชาการ เรื่อง การยกระดับเกษตรกรพื้นที่ดินเค็มน้ำกร่อยบ้านปลาบู่ ตำบลหนองแสง อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม ซึ่งคณะวิทยาศาสตร์ เป็นหัวหน้าโครงการ โดยรับผิดชอบในส่วนของการพัฒนาการเรียนรู้และทักษะของเยาวชน ให้มีความรู้และความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติในท้องถิ่น ได้แก่ ดิน น้ำ และอากาศ ที่สัมพันธ์กับเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม ครอบคลุม องค์ความรู้ ทักษะการใช้เครื่องมือการตรวจวัดทางวิทยาศาสตร์พื้นฐาน การตีความผล และการเสนอแนะแนวทางการแก้ไขปัญหาชุมชน โดยจัดทำเป็นคู่มือหลักสูตรท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาความรู้และความเข้าใจดิน น้ำ อากาศ ของเยาวชน สำหรับการปรับตัวของชุมชนอย่างยั่งยืน กรณีชุมชนบ้านปลาบู่ ต.หนองแสง อ.วาปีปทุม จ.มหาสารคาม ที่ยังต้องมีการบูรณาการความร่วมมือกับภาคการศึกษาในระดับท้องถิ่น เพื่อให้เกิดการพัฒนาพื้นที่องค์รวมและได้รับประโยชน์ร่วมกัน รวมถึงการเปิดโอกาสให้คณะกรรมการชุมชนและคณะอาจารย์ ได้ลงพื้นที่ศึกษาดูงานการผลิตน้ำประปาที่เทศบาลตำบลหนองตูม (ทต. หนองตูม) อ.เมืองขอนแก่น จ.ขอนแก่น เพื่อยกระดับศักยภาพของระบบผลิตน้ำประปาชุมชนบ้านปลาบู่ที่ยังพบปัญหาสีและความขุ่น ให้คุณภาพน้ำสอดรับกับเกณฑ์คุณภาพน้ำประปาดื่มได้ กรมอนามัย พ.ศ. 2563 และสามารถรองรับการเป็นชุมชนท่องเที่ยววิถีวัฒนธรรม ผ่านการสนับสนุนของกลไกการปกครองส่วนท้องถิ่น และการนำอัตลักษณ์ของชุมชน “ปลาบู่” มาเป็นกลไกและพัฒนาเป็นถังขยะจักสานขนาดใหญ่รูปทรงปลาบู่ บูรณาในรูปศิลปะ โดยอาศัยภูมิปัญญาท้องถิ่นและฝีมือด้านอาชีพของชุมชน เพื่อสร้างการตื่นรู้ด้านการจัดการขยะ โดยเฉพาะการคัดแยกขยะ ประเภทจำหน่ายได้ ซึ่งเป็นอีกส่วนของรายได้ที่จะเกิดขึ้น รวมถึงการ สร้างความท้าทายในด้านการกำหนดเป้าหมาย สำหรับเยาวชน ในการนำเอารายได้ที่ได้ สะสมเพื่อซื้ออุปกรณ์กีฬา/อุปกรณ์การเรียน ทั้งนี้ ได้ ได้ร่วมสะท้อนบทเรียนการดำเนินการในการปิดโครงการ เมื่อวันที่ 2 ตุลาคม 2565 ที่ผ่านมา ที่มา หลักสูตรสาขาวิชาเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม
ภาพและข่าว : คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ / ดร.ธายุกร พระบำรุง
เผยแพร่โดย : ชลทิตย์ สีเทา
ณ วันที่ : 5 ตุลาคม 2565