Breaking News
Home / งานวิจัย (page 8)

งานวิจัย

สะท้อนอัตลักษณ์ต้นทุนนาเชือกสู่นาเชือกโมเดล ผ่านซีรีย์ภาพยนตร์ เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

  ชุมชนคนรักนาเชือก โดยโรงเรียนนาเชือกพิทยาสรรค์ ในฐานะแม่ข่าย  ภายใต้การสนับสนุนเครือข่ายนักวิจัย สหวิทยาการ หน่วยปฏิบัติการวิจัยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การบรรเทา และการปรับตัว (CMARE) สังกัดคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยหาสารคาม  ได้สะท้อนอัตลักษณ์ของท้องถิ่น ในรูปของภาพยนตร์  เรื่อง “วัด เถอะ นะ ทำ” โดยความร่วมมือกับภาควิชานิเทศศาสตร์ คณะวิทยาการสารสนเทศ มมส. โดย ผศ.ดร.ปรีชา สาคร และคณะนิสิต  ร่วมกับชุมชนชาวนาเชือก ซึ่งได้เปิดกองถ่ายทำ เมื่อวันที่ 23-25 มีนาคม 2564 ที่ผ่านมา  โดยการดำเนินการครั้งนี้ เป็นการบูรณาการระหว่างศาสตร์ในรายวิชาสู่การบริการวิชาการ จากฐานข้อมูลวิจัย ร่วมกับบทเรียนจากการจัดการความรู้ร่วมกับชุมชนในหลักสูตรท้องถิ่นแบบบูรณาการ 3 มิติ (สิ่งแวดล้อม สังคม และเศรษฐกิจ) “การปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ” สำหรับโรงเรียน นาเชือกพิทยาสรรค์ ต.นาเชือก อ.นาเชือก จ.มหาสารคาม ที่พัฒนาขึ้นโดยความร่วมมือของคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ …

Read More »

CMARE พัฒนาวางรากฐานระบบการจัดการสู่โรงเรียนปลอดขยะและคาร์บอนต่ำ โดยกระบวนการมีส่วนร่วม สำหรับโรงเรียนหัวเรือพิทยาคม

CMARE พัฒนาวางรากฐานระบบการจัดการสู่โรงเรียนปลอดขยะและคาร์บอนต่ำ โดยกระบวนการมีส่วนร่วมสำหรับโรงเรียนหัวเรือพิทยาคม โรงเรียนหัวเรือพิทยาคม ได้วางระบบการจัดการขยะโดยกระบวนการมีส่วนร่วมของทุกฝ่าย สู่การเป็นโรงเรียนปลอดขยะและคาร์บอนต่ำ โดยการสนับสนุนด้านเทคนิคจากหน่วยปฏิบัติการวิจัยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การบรรเทา และการปรับตัว (CMARE) สังกัดคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ในรูปแบบการบริการวิชาการกึ่งวิจัย ซึ่งบูรณาการในรายวิชา 1705476 ระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมตามมาตรฐานสากล และได้ประยุกต์ระบบดังกล่าว เป็นฐานในการพัฒนากลไกการจัดการขยะของโรงเรียนแห่งนี้ ควบคู่กับการพัฒนาศักยภาพของนิสิต ในฐานะพี่เลี้ยง ประกอบด้วย 3 ทีม คือ โค้ชนำทาง (เป็นอยู่รู้ทัน) โค้ชชื้ทาง (คัดแยกแลกสุข) โค้ชให้ทาง (แบ่งปันปั้นทาง) จากการดำเนินการร่วมกับโรงเรียนหัวเรือพิทยาคม รวมถึงการพัฒนาศักยภาพของนักเรียนแกนนำ สู่การเป็นยุวนวัตกรโรงเรียนปลอดขยะ ทั้งด้านข้อมูลขยะ การกำหนดแนวทางการจัดการขยะ และการสื่อสารข้อมูล จากการสำรวจความเห็นของบุคลากรทั้งหมด 125 คน ซึ่งแบ่งเป็น ชาย ร้อยละ 36.8 และหญิง ร้อยละ 63.2 โดยเป็นครู ร้อยละ 12.8 และนักเรียนระดับประถมศึกษาตอนต้น (ป.1-3) ร้อยละ2.4 นักเรียนระดับประถมศึกษาตอนปลาย (ป.4-6) ร้อยละ 3.2 นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น (ม.1-3) ร้อยละ 38.4 นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย …

Read More »

ขอแสดงความยินดีกับผู้อำนวยการศูนย์ MRCES

ขอแสดงความยินดีกับผู้อำนวยการศูนย์ MRCES  ขอแสดงความยินดีกับอาจารย์ ดร.วิจิตรา สิงห์หิรัญนุสรณ์ ผู้อำนวยการศูนย์สหวิทยาการการวิจัยเพื่อความยั่งยืนทางสิ่งแวดล้อม (MRCES) สังกัดคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์  ในฐานะผู้จัดการโครงการ   ที่ได้รับว่าจ้างเป็นที่ปรึกษากับสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการพื้นที่ชุ่มน้ำของประเทศไทย: การจัดทำแนวทางปฏิบัติที่ดีในการฟื้นฟูและบริการจัดการพื้นที่ชุ่มน้ำในเมือง (ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) งบประมาณ 4,412,000 บาท ข่าว: ฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ เผยแพร่ข่าวโดย : ชลทิตย์ สีเทา ณ วันที่ : 11 กุมภาพันธ์ 2564

Read More »

การจัดการข้อมูลฝุ่นละออง ในรูปเว็บไซต์ จากฐานการบูรณาการระหว่างศาสตร์ กรณีมหาวิทยาลัยมหาสารคาม

การจัดการข้อมูลฝุ่นละออง ในรูปเว็บไซต์ จากฐานการบูรณาการระหว่างศาสตร์ กรณีมหาวิทยาลัยมหาสารคาม เครือข่ายหน่วยปฏิบัติการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การบรรเทา และการปรับตัว (CMARE) ได้รับการสนับสนุนจากศูนย์ข้อมูลการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (CCDC) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในการติดตั้งสถานีตรวจวัดฝุ่นละอองขนาดเล็ก Dustboy แบบทันเหตุการณ์ จำนวน 3 จุด ในพื้นที่มหาวิทยาลัยมหาสารคาม วิทยาเขตขามเรียง  ได้แก่ คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์  คณะสาธารณสุขศาสตร์ และคณะการบัญชีและการจัดการ เพื่อเป็นการติดตามสถานการณ์คุณภาพอากาศ การวิจัย และการวางแผนการจัดการคุณภาพอากาศในพื้นที่มหาวิทยาลัย  และจะติดตั้งในพื้นที่เขตห้ามล่าสัตว์ป่าดูนลำพัน ซึ่งเป็นพื้นที่อ่อนไหว เพิ่มอีก 1 จุด  สำหรับเฝ้าระวังฝุ่นละอองขนาดเล็ก ในส่วนนี้ ได้บูรณาการระหว่างศาสตร์ โดยอาศัยข้อมูลฝุ่นละอองขนาดเล็กจากงานวิจัยของอาจารย์และนิสิต คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ ผนวกในโครงการวิจัยของนิสิตระดับ            ปริญญาตรี คือ นายอภิสิทธิ์ สีดาคา นิสิตระดับปริญญาตรี สาขาวิชาสารสนเทศศาสตร์ คณะวิทยาการสารสนเทศ เรื่อง การป้องกันฝุ่นละออง PM2.5 จากการออกกาลังกายกลางแจ้ง ภายใต้การกำกับดูแลของ ผศ.ดร.ฉันทนา เวชโอสถศักดา …

Read More »

พัฒนาอัตลักษณ์ของพื้นที่นาเชือกสู่การเป็นแหล่งเรียนรู้และท่องเที่ยวเชิงนิเวศที่ยั่งยืน

 พัฒนาอัตลักษณ์ของพื้นที่นาเชือกสู่การเป็นแหล่งเรียนรู้และท่องเที่ยวเชิงนิเวศที่ยั่งยืน   เมื่อวันที่ 13 มกราคม 2563 กลุ่มคนรักนาเชือก ได้จัดการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ ในเรื่อง 1. การยื่นขออนุญาต ใช้พื้นที่ของกรมป่าไม้ 2. การพัฒนาแหล่งเรียนรู้ป่าดูนลำพันและการจัดสร้างปูทูลกระหม่อมที่ใหญ่ที่สุดในโลก และ ความก้าวหน้าของการพัฒนาแลนดมาร์คเมืองนาเชือก ณ โรงเรียนนำเชือกพิทยาสรรค์ อำเภอนาเชือก จังหวัดมหาสารคาม ณ หอประชุมรวงผึ้ง โรงเรียนนาเชือกพิทยาสรรค์ อำเภอนาเชือก จังหวัดมหาสารคาม ทั้งนี้ ได้เชิญ ดร.ธายุกร พระบำรุง รองคณบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ/ผู้อำนวยการหน่วยปฏิบัติการวิจัยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การบรรเทา และการปรับตัว (CMARE) เป็นวิทยากรบรรยายและสะท้อนข้อมูลอัตลักษณ์และประเด็นที่ชุมชนต้องพิจารณา สำหรับการพัฒนาพื้นที่ โดยอาศัยทุนเดิมจากฐานการพัฒนาของคณะทำงานหลากหลายทีม ที่ได้ใช้นาเชือก เป็นพื้นที่ดำเนินการ ทั้งนี้ มุ่งเน้นให้ทุกฝ่าย ได้มีส่วนร่วมในการกำหนดทิศทางการพัฒนาพื้นที่นาเชือกที่ยั่งยืน ที่ต้องเกิดจากความร่วมมือสหวิทยาการและความร่วมมือของภาคท้องถิ่น ที่ครอบคลุมมิติทั้งเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมร่วมกัน ข่าว/ภาพ: ฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ          เผยแพร่ข่าวโดย …

Read More »

โรงเรียนนาเชือกฯ พัฒนาทักษะอาชีพ เพื่อปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

โรงเรียนนาเชือกฯ พัฒนาทักษะอาชีพ เพื่อปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เครือข่ายนักวิจัยหน่วยปฏิบัติการวิจัยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การบรรเทา และการปรับตัว (CMARE)  นำคณะครูและนักเรียน โรงเรียนนาเชือกพิทยาสรรค์ ภายใต้โครงการการจัดการองค์ความรู้ท้องถิ่น สำหรับเยาวชน สู่การปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอย่างยั่งยืน โดยความร่วมมือของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์และคณะการบัญชีและการจัดการ รวมถึงภาคชุมชน ในโครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและการพัฒนาท้องถิ่น โดยมีสถาบันอุดมศึกษาเป็นพี่เลี้ยง เครือข่ายเพื่อการพัฒนาอุดมศึกษา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 ซึ่งสนับสนุนโดยสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (สป.อว) เข้าเยี่ยมชมศึกษาดูงาน ณ ศูนย์ความเป็นเลิศทางนวัตกรรมไหม ในวันที่ 24  ธันวาคม 2563 เวลา 09:00 -12:00 น. โดยโรงเรียนนี้  เป็นอีกหนึ่งโรงเรียนนำร่อง  ที่คณะครูสหวิทยาการและชุมชน ได้ร่วมกันออกแบบหลักสูตรท้องถิ่นแบบบูรณาการ “การปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ” ครอบคลุมมิติด้านสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ และสังคม  ที่จำเพาะกับบริบทของพื้นที่ตำบลนาเชือก โดยปัจจุบัน กลุ่มนักเรียน ได้ขับเคลื่อนนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น ผนวกกับชุดความรู้ภูมิปัญญาและคุณค่าสมุนไพรในท้องถิ่น ซึ่งคือ …

Read More »

MOU/MOC คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์

>>> pdf ดาวน์โหลด <<< เผยแพร่ข่าวโดย : ชลทิตย์ สีเทา/อ.ดร.ธายุกร พระบำรุง ณ วันที่ : 20 ธันวาคม 2563

Read More »

มมส MOU ร่วมเป็นภาคีวิจัยบรรยากาศแห่งประเทศไทย (Thailand Consortium for Atmospheric Research; TCAR)

มมส MOU ร่วมเป็นภาคีวิจัยบรรยากาศแห่งประเทศไทย (Thailand Consortium for Atmospheric Research; TCAR) เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2563 เวลา 09.00 น. ณ ห้องกมลทิพย์บอลรูม ชั้น 2 โรงแรม เดอะ สุโกศล กรุงเทพฯ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธีรพัฒน์ ชมภูคำ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายวิจัยและพัฒนาพื้นที่นาสีนวน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม และ ดร.ธายุกร พระบำรุง รองคณบดีคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์/ผู้อำนวยการเครือข่ายนักวิจัย หน่วยปฏิบัติการวิจัยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การบรรเทา และการปรับตัว (CMARE) มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ร่วมพิธีลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) กับ ดร.ศรัณย์ โปษยะจินดา ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งประเทศไทย (องค์การมหาชน) ร่วมกับสถาบันการศึกษาและหน่วยงานภาครัฐ รวม 28 แห่ง โดยมีศาสตราจารย์พิเศษ …

Read More »

การให้การสนับสนุนการพัฒนาระบบอาหารปลอดภัย ในรูปเครือข่าย

สมัชชาพัฒนาระบบอาหารปลอดภัยเพื่อสุขภาวะในโรงเรียนและศูนย์พัฒนาเด็กเล็กจังหวัดมหาสารคาม ได้จัดประชุมสะท้อนบทเรียนของเครือข่าย ซึ่งรวมถึงการจัดเสวนาและจัดนิทรรศการ  ในวันที่ 26-27 ตุลาคม 2563 ที่ผ่านมา ณ บ้านสวนซุมแซง หมู่ 7 ต.ท่าขอนยาง อ.กันทรวิชัย จ.มหาสารคาม  โดยมี ดร.ธายุกร พระบำรุง รองคณบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ ในฐานะเครือข่ายส่วนของสถาบันการศึกษา ได้เข้าร่วมกิจกรรม เพื่อเชื่อมการสนับสนุนไปยังศูนย์วิจัย/หน่วยปฏิบัติการวิจัย/หน่วยบริการวิชาการ  สังกัดคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์  ในด้านการให้บริการวิชาการและวิจัย โดยปัจจุบัน การปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมการผลิตและการบริโภค  เป็นสาเหตุให้เกษตรกร ใช้สารเคมีในการทำการเกษตรมากขึ้น ส่งผลกระทบต่อทั้งตัวเกษตรกร ผู้ผลิตภัณฑ์ และผู้บริโภค การขยายตัวของผู้ประกอบการ จำหน่ายเคมีภัณฑ์ที่มาขอจดทะเบียนกับสำนักงานพาณิชย์จังหวัด จำนวนไม่น้อยกว่า 250 แห่ง กระจายทั่วทุกอำเภอ จากการสุ่มตรวจสารเคมีอันตรายตกค้างในผักและผลไม้ 10 ชนิด ที่จำหน่ายในตลาดสด 2 แห่ง ของจังหวัดมหาสารคาม คือ ตลาดสดเทศบาลเมืองมหาสารคามและตลาดเกษตร พบว่า ผักที่นิยมบริโภคทั้ง 10 ชนิด …

Read More »