Breaking News
Home / งานวิจัย (page 7)

งานวิจัย

พัฒนาอัตลักษณ์ของพื้นที่นาเชือกสู่การเป็นแหล่งเรียนรู้และท่องเที่ยวเชิงนิเวศที่ยั่งยืน

 พัฒนาอัตลักษณ์ของพื้นที่นาเชือกสู่การเป็นแหล่งเรียนรู้และท่องเที่ยวเชิงนิเวศที่ยั่งยืน   เมื่อวันที่ 13 มกราคม 2563 กลุ่มคนรักนาเชือก ได้จัดการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ ในเรื่อง 1. การยื่นขออนุญาต ใช้พื้นที่ของกรมป่าไม้ 2. การพัฒนาแหล่งเรียนรู้ป่าดูนลำพันและการจัดสร้างปูทูลกระหม่อมที่ใหญ่ที่สุดในโลก และ ความก้าวหน้าของการพัฒนาแลนดมาร์คเมืองนาเชือก ณ โรงเรียนนำเชือกพิทยาสรรค์ อำเภอนาเชือก จังหวัดมหาสารคาม ณ หอประชุมรวงผึ้ง โรงเรียนนาเชือกพิทยาสรรค์ อำเภอนาเชือก จังหวัดมหาสารคาม ทั้งนี้ ได้เชิญ ดร.ธายุกร พระบำรุง รองคณบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ/ผู้อำนวยการหน่วยปฏิบัติการวิจัยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การบรรเทา และการปรับตัว (CMARE) เป็นวิทยากรบรรยายและสะท้อนข้อมูลอัตลักษณ์และประเด็นที่ชุมชนต้องพิจารณา สำหรับการพัฒนาพื้นที่ โดยอาศัยทุนเดิมจากฐานการพัฒนาของคณะทำงานหลากหลายทีม ที่ได้ใช้นาเชือก เป็นพื้นที่ดำเนินการ ทั้งนี้ มุ่งเน้นให้ทุกฝ่าย ได้มีส่วนร่วมในการกำหนดทิศทางการพัฒนาพื้นที่นาเชือกที่ยั่งยืน ที่ต้องเกิดจากความร่วมมือสหวิทยาการและความร่วมมือของภาคท้องถิ่น ที่ครอบคลุมมิติทั้งเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมร่วมกัน ข่าว/ภาพ: ฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ          เผยแพร่ข่าวโดย …

Read More »

โรงเรียนนาเชือกฯ พัฒนาทักษะอาชีพ เพื่อปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

โรงเรียนนาเชือกฯ พัฒนาทักษะอาชีพ เพื่อปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เครือข่ายนักวิจัยหน่วยปฏิบัติการวิจัยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การบรรเทา และการปรับตัว (CMARE)  นำคณะครูและนักเรียน โรงเรียนนาเชือกพิทยาสรรค์ ภายใต้โครงการการจัดการองค์ความรู้ท้องถิ่น สำหรับเยาวชน สู่การปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอย่างยั่งยืน โดยความร่วมมือของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์และคณะการบัญชีและการจัดการ รวมถึงภาคชุมชน ในโครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและการพัฒนาท้องถิ่น โดยมีสถาบันอุดมศึกษาเป็นพี่เลี้ยง เครือข่ายเพื่อการพัฒนาอุดมศึกษา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 ซึ่งสนับสนุนโดยสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (สป.อว) เข้าเยี่ยมชมศึกษาดูงาน ณ ศูนย์ความเป็นเลิศทางนวัตกรรมไหม ในวันที่ 24  ธันวาคม 2563 เวลา 09:00 -12:00 น. โดยโรงเรียนนี้  เป็นอีกหนึ่งโรงเรียนนำร่อง  ที่คณะครูสหวิทยาการและชุมชน ได้ร่วมกันออกแบบหลักสูตรท้องถิ่นแบบบูรณาการ “การปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ” ครอบคลุมมิติด้านสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ และสังคม  ที่จำเพาะกับบริบทของพื้นที่ตำบลนาเชือก โดยปัจจุบัน กลุ่มนักเรียน ได้ขับเคลื่อนนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น ผนวกกับชุดความรู้ภูมิปัญญาและคุณค่าสมุนไพรในท้องถิ่น ซึ่งคือ …

Read More »

MOU/MOC คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์

>>> pdf ดาวน์โหลด <<< เผยแพร่ข่าวโดย : ชลทิตย์ สีเทา/อ.ดร.ธายุกร พระบำรุง ณ วันที่ : 20 ธันวาคม 2563

Read More »

มมส MOU ร่วมเป็นภาคีวิจัยบรรยากาศแห่งประเทศไทย (Thailand Consortium for Atmospheric Research; TCAR)

มมส MOU ร่วมเป็นภาคีวิจัยบรรยากาศแห่งประเทศไทย (Thailand Consortium for Atmospheric Research; TCAR) เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2563 เวลา 09.00 น. ณ ห้องกมลทิพย์บอลรูม ชั้น 2 โรงแรม เดอะ สุโกศล กรุงเทพฯ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธีรพัฒน์ ชมภูคำ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายวิจัยและพัฒนาพื้นที่นาสีนวน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม และ ดร.ธายุกร พระบำรุง รองคณบดีคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์/ผู้อำนวยการเครือข่ายนักวิจัย หน่วยปฏิบัติการวิจัยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การบรรเทา และการปรับตัว (CMARE) มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ร่วมพิธีลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) กับ ดร.ศรัณย์ โปษยะจินดา ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งประเทศไทย (องค์การมหาชน) ร่วมกับสถาบันการศึกษาและหน่วยงานภาครัฐ รวม 28 แห่ง โดยมีศาสตราจารย์พิเศษ …

Read More »

การให้การสนับสนุนการพัฒนาระบบอาหารปลอดภัย ในรูปเครือข่าย

สมัชชาพัฒนาระบบอาหารปลอดภัยเพื่อสุขภาวะในโรงเรียนและศูนย์พัฒนาเด็กเล็กจังหวัดมหาสารคาม ได้จัดประชุมสะท้อนบทเรียนของเครือข่าย ซึ่งรวมถึงการจัดเสวนาและจัดนิทรรศการ  ในวันที่ 26-27 ตุลาคม 2563 ที่ผ่านมา ณ บ้านสวนซุมแซง หมู่ 7 ต.ท่าขอนยาง อ.กันทรวิชัย จ.มหาสารคาม  โดยมี ดร.ธายุกร พระบำรุง รองคณบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ ในฐานะเครือข่ายส่วนของสถาบันการศึกษา ได้เข้าร่วมกิจกรรม เพื่อเชื่อมการสนับสนุนไปยังศูนย์วิจัย/หน่วยปฏิบัติการวิจัย/หน่วยบริการวิชาการ  สังกัดคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์  ในด้านการให้บริการวิชาการและวิจัย โดยปัจจุบัน การปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมการผลิตและการบริโภค  เป็นสาเหตุให้เกษตรกร ใช้สารเคมีในการทำการเกษตรมากขึ้น ส่งผลกระทบต่อทั้งตัวเกษตรกร ผู้ผลิตภัณฑ์ และผู้บริโภค การขยายตัวของผู้ประกอบการ จำหน่ายเคมีภัณฑ์ที่มาขอจดทะเบียนกับสำนักงานพาณิชย์จังหวัด จำนวนไม่น้อยกว่า 250 แห่ง กระจายทั่วทุกอำเภอ จากการสุ่มตรวจสารเคมีอันตรายตกค้างในผักและผลไม้ 10 ชนิด ที่จำหน่ายในตลาดสด 2 แห่ง ของจังหวัดมหาสารคาม คือ ตลาดสดเทศบาลเมืองมหาสารคามและตลาดเกษตร พบว่า ผักที่นิยมบริโภคทั้ง 10 ชนิด …

Read More »

หลักสูตร วท.บ. การจัดการสิ่งแวดล้อมและทรัพยากร ได้กิจกรรมการฝึกอบรม Field Course in Conservation Biology & Global Health: At the Human-Environment Interface ครั้งที่ 9

หลักสูตร วท.บ. การจัดการสิ่งแวดล้อมและทรัพยากร ได้กิจกรรมการฝึกอบรม Field Course in Conservation Biology & Global Health: At the Human-Environment Interface ครั้งที่ 9 ซึ่งเป็นการจัดร่วมกันระหว่างคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม และ Center for Global Field Study, Depts of Psychology & Global Health, and WaNPRC, University of Washington และ กลุ่มวิจัย SciSeeIt, Utilization of Phytochemical Diversity and Toxicology Research Programมหาวิทยาลัยขอนแก่น ในระหว่างวันที่ 26-30 …

Read More »

อบรมเชิงปฏิบัติการ “สายใยผูกพันสู่การบ่มเพาะนักสืบคาร์บอนน้อยรุ่นที่ 2 ”

อบรมเชิงปฏิบัติการ “สายใยผูกพันสู่การบ่มเพาะนักสืบคาร์บอนน้อยรุ่นที่ 2 ” เมื่อวันศุกร์ที่ 28 สิงหาคม 2563 ที่ผ่านมา คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ โดยหน่วยปฏิบัติการวิจัยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การบรรเทา และการปรับตัว (CMARE) ได้จัดอบรมเชิงปฏิบัติการในโครงการมหิงสาสายสืบ เพื่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและยุววิจัย “กิจกรรมนักสืบคาร์บอนน้อย” จากรุ่นที่ 1 สู่รุ่นที่ 2 ภายใต้การสนับสนุนด้านงบประมาณจากกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อมให้กับโรงเรียนโคกก่อพิทยาคม ซึ่งเป็นโรงเรียนเครือข่ายที่สานต่อจากโครงการบูรณาการหนึ่งหลักสูตรหนึ่งชุมชน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 โครงการต้นแบบชุมชนรักษ์สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติของหลักสูตรสาขาวิชาเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม โดยได้ดำเนินการในรูปของฐานความรู้ ประกอบด้วย 3 ฐาน โดย 2 ฐาน อยู่ภายใต้การดูแลของของหลักสูตรสาขาวิชาเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม และมีนิสิตชั้นปีที่ 4 ในหลักสูตร เป็นผู้ดำเนินการ คือ โค้ชคาร์บอนแคร์โลก:  นางสาวสุพรรษา เทียมกระโทก และนางสาวภิชญา เจาจาฤก และโค้ชน้ำดีดื่มได้:  นายเอกพันธ์ พิลา และนางสาวแอนนา ขันทีท้าว …

Read More »

ดูนลำพันโมเดล: แหล่งเรียนรู้ดิจิทัลและแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศร่วมสมัยของจังหวัดมหาสารคาม

โครงการพัฒนาศักยภาพพื้นที่เขตห้ามล่าสัตว์ป่าดูนลำพันเป็นศูนย์การเรียนรู้ดิจิทัลและการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ โดยกระบวนการมีส่วนร่วมแบบองค์รวม  หรือ ”ดูนลำพันโมเดล” เป็นหนึ่งใน 9 โครงการ ที่ผ่านเกณฑ์การพิจารณาเบื้องต้น จากคณะอนุกรรมการการกลั่นกรองโครงการด้านทรัพยากรธรรมชาติ สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในการประชุมครั้งที่ 2/2563  ซึ่งโครงการนี้ มีรูปแบบการดำเนินการในลักษณะของแผนบูรณาการระหว่างศาสตร์ ประกอบด้วย คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ (หัวหน้าแผนงาน) สถาบันวิจัยวลัยรุกขเวช คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ คณะการท่องเที่ยวและการโรงแรม คณะวิทยาการสารสนเทศ สำนักคอมพิวเตอร์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ คณะการบัญชีและการจัดการ คณะศิลปกรรมศาสตร์ และวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ หมู่บ้านนานาชาติ เปรมปรีดี จ.กาฬสินธุ์  องค์การบริหารส่วนตำบลนาเชือก และโรงเรียนนาเชือกพิทยาสรรค์ และหน่วยงานราชการ ได้แก่ สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดมหาสารคาม โดยได้ของบสนับสนุน จำนวน 5,000,000 บาท จากกองทุนสิ่งแวดล้อม เพื่อยกระดับพื้นที่แห่งนี้ ให้เป็นแหล่งเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ที่ครบวงจร ซึ่งผนวกกับการพัฒนาและการใช้ข้อมูล Bigdata และโมเดลเศรษฐกิจใหม่ (BCG) ติดตามข้อมูลของโครงการได้ที่เพจ “ปูแป้งแบ่งปัน” …

Read More »