Breaking News
Home / งานวิจัย (page 10)

งานวิจัย

หลักสูตรท้องถิ่น เพื่อเยียวยาผืนแผ่นดิน ชะลอโลกร้อน

หลักสูตรสาขาวิชาเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ ได้พัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น บูรณาการตามแนวทาง STEM ชื่อ “การกักเก็บคาร์บอนในมวลชีวภาพของป่าไม้” ภายใต้โครงการบูรณาการหนึ่งหลักสูตรหนึ่งชุมชน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 “โครงการต้นแบบชุมชนรักษ์สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ: ต้นน้ำห้วยคะคาง” เพื่อให้โรงเรียนต่าง ๆ ได้นำเอาไปบูรณาการร่วมกับการจัดการเรียนการสอน ซึ่งมุ่งเน้นให้ชุมชน ได้เข้าใจบริบทและตระหนักถึงคุณค่าของทรัพยากรป่าไม้ ซึ่งนับวันลดลง ที่เกิดจากความต้องการของมนุษย์และจากภัยธรรมชาติ ด้วยเหตุนี้ จึงต้องเพิ่มพื้นที่สีเขียว เพื่อพลิกฟื้นคืนปัจจัยสี่ที่เกี่ยวพันกับวิถีชีวิตของชุมชน รวมถึงเป็นแหล่งกักเก็บคาร์บอนที่สำคัญ สำหรับบรรเทาภาวะโลกร้อนที่กำลังรุนแรงขึ้น โดยการปลูกต้นไม้ 1 ต้นใน 1 ปี สามารถกักเก็บก๊าซเรือนกระจกได้ถึง 9.50 กิโลกรัมคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (kg CO2 eq) และการปลูกป่า ยังเปลี่ยนเป็นทุน สนับสนุนความมั่นคงของชีวิตได้ ตาม พ.ร.บ. ป่าไม้ (ฉบับที่ 8) พ.ศ. 2562 หากต้องการทราบว่า หลักสูตรสาขาวิชาเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม บูรณาการการจัดการเรียนการสอนจากวิทยาศาสตร์สู่การทำงานร่วมกับภาคชุมชนได้อย่างไร และผันเป็นการบริการวิชาการ …

Read More »

นิสิตคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ ร่วมขับเคลื่อนการสร้างเครือข่ายการศึกษาและเยาวชนด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

ขอแสดงความชื่นชมกับนายพาทิศ สิทธิโชติ นิสิตหลักสูตรสาขาวิชาเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ ที่ได้รับคัดเลือกเป็นหนึ่งในคณะดำเนินการ เพื่อผลักดันการสร้างเครือข่ายการศึกษาและเยาวชนด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สู่การขับเคลื่อน Climate Action ที่เป็นรูปธรรม ตามกรอบ UNFCCC ซึ่งเป็นหน่วย Action for Climate Empowerment, Thailand National Focal Point ดำเนินการโดยกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ร่วมกับโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (United Nations Development Programme) สนับสนุนโดยโครงการพัฒนาเมืองคาร์บอนต่ำผ่านระบบการจัดการเมืองอย่างยั่งยืน องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ได้ทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ “การขยายผลองค์ความรู้ด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ” กับมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ภายใต้เครือข่ายหน่วยปฏิบัติการวิจัย CMARE ทั้งนี้จะมีการ JOIN US + ACT NOW ผ่าน Zoom Meeting วันพุธที่ 13 พฤษภาคม 2563 เวลา …

Read More »

ขอแสดงความยินดีกับนักวิจัย ที่ผ่านการพิจารณาโครงการ ภายใต้โครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและพัฒนาท้องถิ่น โดนสถาบันอุดมศึกษาเป็นพี้เลียง ปี 2563 สนับสนุนโดย สป.อว.

คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ ขอแสดงความยินดีกับโครงการห้องเรียนธรรมชาติ: บทเรียนท้องถิ่นด้านการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ (ประเภทที่ 2) โดยศูนย์สหวิทยาการวิจัยเพื่อความยั่งยืนทางสิ่งแวดล้อม (MRCES) (ดร.วิจิตรา สิงห์หิรัญนุสรณ์) และโครงการจัดการองค์ความรู้ท้องถิ่น สำหรับเยาวชนสู่การปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอย่างยั่งยืน (ประเภทที่ 3) โดยหน่วยปฏิบัติการวิจัยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การบรรเทา และการปรับตัว (CMARE) (ดร.ธายุกร พระบำรุง) ที่ได้ผ่านการพิจารณา จากการดำเนินการของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ภายใต้โครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและพัฒนาท้องถิ่น โดยสถาบันอุดมศึกษาเป็นพี้เลียง ปี 2563 โดยมีมหาวิทยาลัยขอนแก่น ในฐานะแม่ข่ายเครือข่ายภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน จากโครงการทั้งหมด 3 โครงการ โดยได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สป.อว) ข่าว: ฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ ข้อมูลและข่าว :  คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์  มหาวิทยาลัยมหาสารคาม/ดร.ธายุกร พระบำรุง เผยแพร่ข่าวโดย : ชลทิตย์ สีเทา ณ วันที่ : 30 เมษายน 2563

Read More »

จานใบไม้จากพลังความร้อนแสงอาทิตย์: ต้นแบบของการพึ่งพาธรรมชาติอย่างรู้คุณค่าและลดการใช้พลาสติก

ขอขอบคุณ บริษัท ทราเวลเทคโนโลยี เซอร์วิส จำกัด (Travel Technology Services Co., Ltd.) ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณ จำนวน 50,000 บาท เพื่อใช้ในการพัฒนาการเรียนรู้ของนิสิตระดับปริญญาตรี ในรูปของงานวิจัย ในหัวข้อ “การศึกษาความเป็นได้ในการผลิตภาชนะย่อยสลายได้ทางชีวภาพจากวัตถุดิบท้องถิ่น โดยใช้ความร้อนจากแสงอาทิตย์” ซึ่งมีผู้วิจัยคือ นายอดิศักดิ์ เขียวแข้ และนายวัชร ประโหมด นิสิตระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 4 สาขาวิชาการจัดการสิ่งแวดล้อมและทรัพยากร โดยความร่วมมือด้านการวิจัยกับสถาบันวิจัยวลัยรุกเวช และคณะวิศวกรรมศาสตร์ มมส.  มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ภายใต้ชุดโครงการบูรณาการหลักสูตร เรื่อง “การจัดการองค์ความรู้ท้องถิ่น เพื่อส่งเสริมการเป็นแหล่งเรียนรู้และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศที่ยั่งยืน โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน กรณีของตำบลนาเชือก อำเภอนาเชือก จ.มหาสารคาม” ซึ่งบูรณาการความร่วมมือกับคณะการท่องเที่ยวและการโรงแรม คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ คณะวิทยาการสารสนเทศ และคณะการบัญชีและการจัดการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ ได้แก่ เขตห้ามล่าสัตว์ป่าดูนลำพัน โรงเรียนนาเชือกพิทยาสรรค์ และองค์การบริหารส่วนตำบลนาเชือก ทั้งนี้  …

Read More »

การติดตามฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 ในพื้นที่มหาวิทยาลัยมหาสารคาม โดยเครื่อง Dustboy

เครือข่ายหน่วยปฏิบัติการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การบรรเทา และการปรับตัว (CMARE) โดยการสนับสนุนจากศูนย์ข้อมูลการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (CCDC) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กำลังดำเนินการติดตั้งเครื่องวัดระดับฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 ในพื้นที่มหาวิทยาลัยมหาสารคาม จำนวน 3 จุด ได้แก่ คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ และงานบริการหอพักนิสิต โดยจะเป็นตัวแทนของพื้นที่พักอาศัยหนาแน่นและพื้นที่ออกกำลังกาย ซึ่งเป็นการติดตั้งเพิ่มเติมจากที่มีการดำเนินการอยู่แล้วในพื้นที่จังหวัดมหาสารคาม คือ เทศบาลเมืองมหาสารคาม องค์การบริหารส่วนตำบลแก้งแก และสำนักงานสาธารณสุขอำเภอวาปีปทุม ทั้งนี้ เพื่อเฝ้าระวังระดับความเข้มข้นของฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM2.5) ในพื้นที่มหาวิทยาลัยมหาสารคาม จากทั้งแหล่งกำเนิดทั้งในพื้นที่ (Local Emission) และการเคลื่อนย้ายระยะไกล (Long-Range Transport) เช่น การเผามวลชีวภาพในที่โล่งแจ้ง (Biomass Open Burning) รวมถึงเพื่อสร้างกลไกในด้านการสร้างการรับรู้ของบุคลากรทุกระดับ การเตรียมพร้อมรับมือ การกำหนดมาตรการด้านการจัดการปัญหาฝุ่นละออง และการต่อยอดด้านการวิจัยคุณภาพอากาศ โดยข้อมูลการตรวจวัด จากถูกรายงานแบบ Real Time บนเว็บไซต์ cmuccdc.org นอกจากนี้ ยังได้บูรณาการร่วมในงานวิจัยของนายอภิสิทธิ์ …

Read More »

สำรวจข้อมูล เพื่อการเตรียมรับมือของเกษตรกรต่อสถานการณ์โควิด19 และประกอบการของบสนับสนุนด้านนวัตกรรม เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรแบบครบวงจร

สำรวจข้อมูล เพื่อการเตรียมรับมือของเกษตรกรต่อสถานการณ์โควิด19 และประกอบการของบสนับสนุนด้านนวัตกรรม เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรแบบครบวงจร เครือข่ายหน่วยปฏิบัติการวิจัยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การบรรเทา และการปรับตัว (CMARE) ร่วมกับเครือข่ายสำนักงานเกษตรจังหวัดมหาสารคาม ได้จัดทำแบบสำรวจข้อมูลพื้นฐานออนไลน์ เพื่อเตรียมพร้อมสู่การพัฒนาเทคโนโลยีบนมือถือ (Mobile Application) ในการสนับสนุนการทำการตลาดดิจิทัลให้กับเกษตรกร ในพื้นที่จังหวัดมหาสารคาม ที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด19 และการใช้ประโยชน์ที่ต่อเนื่องและยั่งยืน หลังจากสถานการณ์ทุเลาลง โดยมีวัตถุประสงค์ในการเก็บข้อมูล ครั้งนี้ เพื่อรวบรวมประเด็นที่จำเป็นต่อการพัฒนาระบบสนับสนุนการตลาดดิจิทัลแบบครบวงจร สำหรับผลิตผลทางการเกษตร ตลอดจนการแลกเปลี่ยนชุดความรู้ด้านการเกษตรระหว่างกลุ่มเกษตรกร การจัดการองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้อง ทั้งด้านการบริหารจัดการน้ำ การวางแผนและการประเมินความเหมาะสมของพื้นที่ด้านการทำการเกษตร การปรับปรุงคุณภาพดิน การป้องกันและควบคุมวัชพืช ศัตรูพืช และโรคพืช การใช้ประโยชน์จากของเสีย การจัดทำฉลากคาร์บอน การประยุกต์ใช้แอพพลิเคชั่นที่ได้พัฒนา โดยหน่วยงานที่สนับสนุนด้านการเกษตร และการหมุนเวียนวัตถุดิบตามแนวทางเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) การส่งเสริมระบบการทำเกษตรอินทรีย์ จากชุดความรู้ของผู้มีประสบการณ์ในพื้นที่ และการสร้างความเข้มแข็งให้กับกลุ่มเกษตรกร ทั้งนี้จะได้นำมาวิเคราะห์ทางสถิติ เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการจัดทำข้อเสนอโครงการ ในรูปแบบพหุวิทยาการ สำหรับของบสนับสนุนด้านการพัฒนานวัตกรรม และช่วยเหลือพี่น้องเกษตรกรให้สามารถปรับตัวกับสถานการณ์และพัฒนาตนเองสู่การเป็น Smart Farmer ต่อไป ขอความอนุเคราะห์พี่น้องเกษตรกรทุกท่าน ในพื้นที่จังหวัดมหาสารคาม …

Read More »

ขอแสดงความยินดีกับนักวิจัย ได้รับทุนจาก สสส.

ขอแสดงความยินดีกับนักวิจัย ได้รับทุนจาก สสส. ขอแสดงความยินดีกับคณะนักวิจัย มมส.  ประกอบด้วย อาจารย์ ดร.จุฑามาส แก้วสุข คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปิยภัทร บุษบาบดินทร์  คณะวิทยาศาสตร์ อาจารย์ ดร.ธายุกร พระบำรุง คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.รัตนโชติ เทียนมงคล คณะวิทยาการสารสนเทศ  ในโอกาสได้รับการคัดเลือกข้อเสนอโครงการ   ชื่อ “การพัฒนา Mobile Application การจัดการหน้ากากอนามัยใช้แล้ว (ขยะติดเชื้อ) สำหรับประชาชนและกลุ่มผู้จัดการขยะชุมชน: กรณีศึกษา จังหวัดมหาสารคาม”  ในประเภทกลุ่มงานการส่งเสริมกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูง (High-Risk Group Support) ของการยื่นข้อเสนอโครงการพลเมืองไทย สู้ภัยวิกฤต Citizen Resilience Project บาท ซึ่งสนับสนุนงบการดำเนินการ โดยสำนักสร้างสรรค์โอกาสและนวัตกรรม (สำนัก 6) สำนักกองทุนสนับสนุนการสร้างสุขภาพ (สสส.)  ภายใต้งบประมาณ 100,000 …

Read More »

อัดเสียง เลี่ยงโควิด19: การแบ่งปันการเรียนรู้ผ่านเสียง

อัดเสียง เลี่ยงโควิด19: การแบ่งปันการเรียนรู้ผ่านเสียง หน่วยปฏิบัติการวิจัย CMARE ขอเชิญชวนทุกท่าน ร่วมแบ่งปันการเรียนรู้ผ่านเสียงอ่านหนังสือในแบบฉบับของตนเอง โดยเลือกเฟ้นเนื้อหาและสาระดีและเป็นประโยชน์ที่ต้องการแบ่งปัน โดยเฉพาะการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การบรรเทา และการปรับตัว  เพื่อสร้างการรับรู้  การร่วมเรียนรู้  การสร้างความตระหนัก และการปรับใช้ในชีวิตประจำวัน  อีกทั้งยังเป็นการใช้เวลาในเกิดประโยชน์ต่อสังคม ในช่วงเวลาสถานการณ์การระบาดของโควิด19  ทั้งนี้ จะรวบรวมไว้เป็นระบบสื่อเสียง เพื่อส่งมอบต่อให้กับผู้สนใจและผู้พิการทางสายตา  โดยท่าน สามารถเลือกเอกสาร/หนังสือ/สื่อสิ่งพิมพ์ในรูปแบบต่าง ๆ  เช่น คู่มือสังคมคาร์บอนต่ำ          ที่เผยแพร่สู่สาธารณะได้และไม่มีลิขสิทธิ์  บันทึกเสียง ความยาว ไม่เกิน 1-2 ชั่วโมงในแต่ละคลิปเสียง และแชร์คลิปในรูปลิงค์  พร้อมชื่อ-นามสกุล เพื่อการอ้างอิง โดยใช้อีเมลด้านล่างนี้  หรือหากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม โปรดติดต่อ  ดร.ธายุกร พระบำรุง ผู้อำนวยการหน่วยปฏิบัติการวิจัย CMARE เบอร์โทร: 08 9401 9294 อีเมล thayukorn.p@msu.ac.th ข่าว/ภาพ:  หน่วยปฏิบัติการวิจัย CMARE …

Read More »

สบู่สมุนไพรรกฟ้า (หรือ เชือก): ภูมิปัญญาท้องถิ่นสู่ภูมินวัตกรรมด้านผิวพรรณ เพื่อสร้างความตระหนักและอนุรักษ์เชือก เพื่อคนอำเภอนาเชือก

  สบู่สมุนไพรรกฟ้า (หรือ เชือก): ภูมิปัญญาท้องถิ่นสู่ภูมินวัตกรรมด้านผิวพรรณ เพื่อสร้างความตระหนักและอนุรักษ์เชือก เพื่อคนอำเภอนาเชือก ขอขอบคุณ บริษัท ทราเวลเทคโนโลยี เซอร์วิส จำกัด (Travel Technology Services Co., Ltd.) ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณ จำนวน 50,000 บาท เพื่อใช้ในการพัฒนาการเรียนรู้ของนิสิตระดับปริญญาตรี ในรูปของงานวิจัย ในหัวข้อ “การใช้ประโยชน์และเพิ่มมูลค่าของสมุนไพรที่เป็นสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ ต.นาเชือก อ.นาเชือก จ.มหาสารคาม” ซึ่งมีผู้วิจัยคือ นางสาวพรลัดดา บุตตะโม และนางสาวอาทิตยา โสภณ นิสิตระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 4 สาขาวิชาการจัดการสิ่งแวดล้อมและทรัพยากร โดยความร่วมมือด้านการวิจัยกับศูนย์ความเป็นเลิศนวัตกรรมไหมและสถาบันวิจัยวลัยรุกขเวช มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ภายใต้ชุดโครงการบูรณาการหลักสูตร เรื่อง “การจัดการองค์ความรู้ท้องถิ่น เพื่อส่งเสริมการเป็นแหล่งเรียนรู้และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศที่ยั่งยืน โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน กรณีของตำบลนาเชือก อำเภอนาเชือก จ.มหาสารคาม” ซึ่งบูรณาการความร่วมมือกับคณะการท่องเที่ยวและการโรงแรม คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ คณะวิทยาการสารสนเทศ และคณะการบัญชีและการจัดการ …

Read More »

เรียนรู้ที่จะเป็นสังคมคาร์บอนต่ำ ในรูปแบบหนังสือเสียง (Audio Book)

เรียนรู้ที่จะเป็นสังคมคาร์บอนต่ำ ในรูปแบบหนังสือเสียง (Audio Book)   หน่วยปฏิบัติการวิจัยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การบรรเทา และการปรับตัว (CMARE) ร่วมกับศูนย์วิชาการนานาชาติด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน)  ตระหนักถึงความสำคัญของการเผยแพร่ข้อมูล การสร้างการรับรู้ และเป็นกลไกในการผลักดันให้เกิดสังคมคาร์บอนต่ำอย่างยั่งยืน จึงได้จัดหนังสือเสียง (Audio Book) โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อสร้างการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับ          ยุคปัจจุบัน ซึ่งเป็นน้ำเสียงของนางสาวดีณา จุทสิงห์ นิสิตชั้นปีที่ 4 หลักสูตรสาขาวิชาการจัดการสิ่งแวดล้อมและทรัพยากร ทั้งนี้ เนื้อหาทั้งหมด มาจากคู่มือสังคมคาร์บอนต่ำ Low Carbon Society Guidebook วิถีแห่งการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เพื่อสร้างสังคมที่มีความสุขและยั่งยืน พัฒนาโดย ศูนย์วิชาการนานาชาติด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ภายใต้บันทึกข้อตกลงความร่วมมือ “การขยายผลองค์ความรู้ด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ” ระหว่างศูนย์วิชาการนานาชาติด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) และ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ขอเชิญผู้สนใจ สามารถดาวน์โหลดและร่วมเรียนรู้ผ่านช่องทางนี้ ->>>>  https://bit.ly/2QZebqm ข่าว/ภาพ: หน่วยปฏิบัติการวิจัย …

Read More »