Breaking News
Home / ข่าว / กิจกรรม : งานวิจัย / เชือกในป่าดูนลำพัน: สัญลักษณ์ของพื้นที่นาเชือก

เชือกในป่าดูนลำพัน: สัญลักษณ์ของพื้นที่นาเชือก

103332256_296360588173216_4275351494082617653_n

จากการดำเนินการโครงการบูรณาการหลักสูตร เรื่อง “การจัดการองค์ความรู้ท้องถิ่น เพื่อส่งเสริมการเป็นแหล่งเรียนรู้และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศที่ยั่งยืน โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน กรณีของตำบลนาเชือก อำเภอนาเชือก จ.มหาสารคาม” โดยความร่วมมือของคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ คณะการท่องเที่ยวและการโรงแรม คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ คณะวิทยาการสารสนเทศ และคณะการบัญชีและการจัดการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ภายใต้การสนับสนุนของบริษัท ทราเวลเทคโนโลยี เซอร์วิส จำกัด (Travel Technology Services Co., Ltd.) และได้รวบรวมข้อมูลที่เป็นต้นทุนด้านทรัพยากร ได้แก่ เชือกหรือรกฟ้า (Pentaptera tomentosa Roxb. ex DC.) ซึ่งเป็นพรรณไม้ที่สะท้อนถึงอัตลักษณ์ของพื้นที่อำเภอนาเชือก โดยคุณสมพร  พงษ์ธนาคม หัวหน้าเขตห้ามล่าสัตว์ป่าดูนลำพัน พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่เขตฯ ได้สำรวจจำนวนเชือกหรือรกฟ้า ในบริเวณพื้นที่เขตห้ามสัตว์ป่าดูนลำพัน ระหว่างวันที่ 30 พฤษภาคม-5 มิถุนายน 2563  รวมถึงได้จดบันทึกความสูงและเส้นรอบวงของเชือก พบว่า ปัจจุบัน มีจำนวนเชือก มากถึง 492 ต้น ซึ่งยังไม่รวมกล้าไม้ ทั้งนี้ข้อมูลดังกล่าว จะถูกจัดทำเป็นฐานข้อมูลที่สำคัญของพื้นที่ สำหรับการส่งเสริมการอนุรักษ์ต้นเชือก ในโอกาสที่วันที่ 5 มิถุนายนของทุกปี เป็นวันสิ่งแวดล้อมโลก (World Environment Day) รวมถึงการส่งเสริมการปลูกในฐานะเป็นแหล่งกักเก็บคาร์บอนและประโยชน์ด้านสมุนไพร โดยส่วนต่าง ๆ ของเชือกหรือรกฟ้านั้น มีสรรพคุณทางสมุนไพร เช่น  เปลือก นำมาต้มกับน้ำกินเป็นยาบำรุงหัวใจ ยารักษาอาการท้องร่วง อาเจียน ยาขับปัสสาวะ และยาห้ามเลือด และใช้ชะล้างบาดแผล ราก ใช้เป็นยาขับเสมหะ และลำต้น ใช้ต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้กระษัยเส้น (ที่มา: https://medthai.com/รกฟ้า)

ภาพ: เขตห้ามล่าสัตว์ป่าดูนลำพัน

103603003_632077030999518_1244365862485636702_n 103157693_255383785719204_1931553500441707627_n 103053779_188828879089931_3378930221769647710_n 102975317_913210342420881_464415027707277318_n 102950534_664733914105358_5501750047906397261_n 102933483_268687561115091_6742965690685517678_n 102915307_277537243299462_1759237526741690189_n 102903636_351855009110411_1983983647031753258_n

103104219_2667119246943339_4306422708841061830_n102777560_2314900295482059_1254951017423279072_n103303190_293931302004928_6949192224469719034_n103332256_296360588173216_4275351494082617653_n

102769251_192354492021982_4258928175044660462_n103653166_210586073264059_3647726860642676774_n

ข่าว: หน่วยปฏิบัติการ CMARE

เผยแพร่โดย : ชลทิตย์ สีเทา

ณ วันที่ : 9  มิถุนายน 2563

 

 

About env@msu.ac.th

Check Also

คณะสิ่งแวดล้อมฯ ร่วมผลักดันกลไกสร้างเมืองรีซิเลียนซ์ต่อภัยพิบัติ ผ่านเวทีเสวนาสุขภาวะชุมชนเมืองตักสิลา

คณะสิ่งแวดล้อมฯ ร่วมผลักดันกลไกสร้างเมืองรีซิเลียนซ์ต่อภัยพิบัติ ผ่านเวทีเสวนาสุขภาวะชุมชนเมืองตักสิลา

คณะสิ่งแวดล้อมฯ ร่วมผลักดันกลไกสร้างเมืองรีซิเลียนซ์ต่อภัยพิบัติ ผ่านเวทีเสวนาสุขภาวะชุมชนเมืองตักสิลา เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2567 ที่ผ่านมา คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม แสดงบทบาทสำคัญในการสนับสนุนองค์ความรู้และวิชาการ เพื่อผลักดันการพัฒนาเมืองยืดหยุ่นรับมือภัยพิบัติ (Urban Resilience) ผ่านการร่วมเสวนา …

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *