หลักสูตรสาขาวิชาเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ ได้พัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น บูรณาการตามแนวทาง STEM ชื่อ “การกักเก็บคาร์บอนในมวลชีวภาพของป่าไม้” ภายใต้โครงการบูรณาการหนึ่งหลักสูตรหนึ่งชุมชน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 “โครงการต้นแบบชุมชนรักษ์สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ: ต้นน้ำห้วยคะคาง” เพื่อให้โรงเรียนต่าง ๆ ได้นำเอาไปบูรณาการร่วมกับการจัดการเรียนการสอน ซึ่งมุ่งเน้นให้ชุมชน ได้เข้าใจบริบทและตระหนักถึงคุณค่าของทรัพยากรป่าไม้ ซึ่งนับวันลดลง ที่เกิดจากความต้องการของมนุษย์และจากภัยธรรมชาติ ด้วยเหตุนี้ จึงต้องเพิ่มพื้นที่สีเขียว เพื่อพลิกฟื้นคืนปัจจัยสี่ที่เกี่ยวพันกับวิถีชีวิตของชุมชน รวมถึงเป็นแหล่งกักเก็บคาร์บอนที่สำคัญ สำหรับบรรเทาภาวะโลกร้อนที่กำลังรุนแรงขึ้น โดยการปลูกต้นไม้ 1 ต้นใน 1 ปี สามารถกักเก็บก๊าซเรือนกระจกได้ถึง 9.50 กิโลกรัมคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (kg CO2 eq) และการปลูกป่า ยังเปลี่ยนเป็นทุน สนับสนุนความมั่นคงของชีวิตได้ ตาม พ.ร.บ. ป่าไม้ (ฉบับที่ 8) พ.ศ. 2562 หากต้องการทราบว่า หลักสูตรสาขาวิชาเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม บูรณาการการจัดการเรียนการสอนจากวิทยาศาสตร์สู่การทำงานร่วมกับภาคชุมชนได้อย่างไร และผันเป็นการบริการวิชาการ ที่ให้ชุมชน ได้มีส่วนร่วม ใช้ต้นทุนท้องถิ่น ได้เรียนรู้ แลกเปลี่ยน แบ่งปัน เพื่อก้าวเป็นชุมชนต้นแบบ และเป็นเครือข่ายความร่วมมือด้านการปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ชมคลิป https://www.facebook.com/env4community/videos/226889228592995/
สำหรับโรงเรียนที่สนใจ สามารถดาวน์โหลดหลักสูตรท้องถิ่นที่ได้พัฒนาร่วมกับคณะครูและนักเรียนโรงเรียน โคกก่อพิทยาคม ต.โคกก่อ อ.เมือง จ.มหาสารคาม ซึ่งเป็นโรงเรียนนำร่อง ได้ที่ https://drive.google.com/drive/folders/1aDHIwzCbxA518BjmZlG26yEYiJ9h7Ere?usp=sharing
ผู้สนใจ สามารถติดตามพันธกิจปฏิบัติการลดโลกร้อนและร่วมเป็นเครือข่ายกับเรา ได้ที่เพจ https://www.facebook.com/env4community/ (กดไลค์และกดแชร์) หรือมีคำแนะนำดี ๆ อยากจะแบ่งปันเพื่อก้าวสู่การพัฒนาสังคมคาร์บอนต่ำที่ยั่งยืนร่วมกัน
หากหลักสูตรท้องถิ่นและสื่อออนไลน์นี้ เป็นประโยชน์ต่อท่านหรือหน่วยงาน โปรดกรอกแบบรับรองการใช้ประโยชน์งานวิจัยและบริการวิชาการออนไลน์ เพื่อการอ้างอิงและปรับปรุงการดำเนินงานให้ดียิ่งขึ้นต่อไป: https://bit.ly/3fAsNY1
ข่าว: หน่วยปฏิบัติการวิจัย CMARE
ข้อมูลและข่าว : คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม/ดร.ธายุกร พระบำรุง
เผยแพร่ข่าวโดย : ชลทิตย์ สีเทา
ณ วันที่ : 11 พฤษภาคม 2563