ขอแสดงความยินดีกับ ดร.ธายุกร พระบำรุง ผู้อำนวยหน่วยปฏิบัติการวิจัยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การบรรเทา และการปรับตัว (CMARE) ที่ได้รับทุนสนับสนุนจากสำนักงานปลัดกระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สป.อว.) ในโครงการโครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและการพัฒนาท้องถิ่นโดยมีอุดมศึกษาเป็น พี่เลี้ยง ปีงบประมาณ 2566 ชื่อโครงการ “การพัฒนาศักยภาพการจัดการเรียนและการสอนสหวิทยาการโดยใช้ประวัติศาสตร์และอัตลักษณ์ท้องถิ่นเป็นฐานสู่การพัฒนาชุมชนยั่งยืน” ซึ่งเป็นการบูรณาการความร่วมมือสหวิทยาการระหว่างคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ คณะศึกษาศาสตร์ เทศบาลเมืองมหาสารคาม และโรงเรียนนำร่องที่สังกัดเทศบาลเมืองมหาสารคาม ประกอบด้วย โรงเรียนเทศบาลบูรพาพิทยาคาร โรงเรียนบ้านส่องนางใย โรงเรียนเทศบาลสามัคคีวิทยา และโรงเรียนเทศบาลศรีสวัสดิ์วิทยา และเป็นการขยายผลจากโครงการ U2T ตำบลตลาด https://talontalad.com/ >>>pdf ดาวน์โหลด<<< ภาพและข่าว : คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มมส / ดร.ธายุกร พระบำรุง เผยแพร่โดย : ชลทิตย์ สีเทา ณ วันที่ : 16 พฤษภาคม 2566
Read More »CMARE เป็นผู้แทนศูนย์ข้อมูลและวัฒนธรรมอเมริกัน (American Corner) ม.มหาสารคาม เพื่อส่งพลังให้กับเยาวชนสู่การนักสื่อสารวิทยาศาสตร์สู่ชุมชน
เมื่อวันที่ 11 – 13 พฤษภาคม 2566 ที่ผ่านมา คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ โดย ดร.ธายุกร พระบำรุง ผู้อำนวยการหน่วยปฏิบัติการวิจัยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การบรรเทา และการปรับตัว (CMARE) ได้ปฏิบัติหน้าที่ในฐานะผู้แทนศูนย์ข้อมูลและวัฒนธรรมอเมริกัน (American Corner) ม.มหาสารคาม เพื่อร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างพลังเยาวชน ในเวทีการแข่งขัน “UniTi Talks” สร้างแรงบันดาลใจด้านสื่อสารวิทย์ฯ หัวข้อ “UniTi Talks on STI for Sustainable Community ฉากทัศน์ชุมชนที่ฉันอยากเห็น ด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม” จัดขึ้นโดยองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) หรือ NSM ร่วมกับสถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกา ประจำประเทศไทย ศูนย์ข้อมูลและวัฒนธรรมอเมริกัน (American Corner) 4 แห่ง และศูนย์วิจัยและสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDG Move) …
Read More »CMARE เป็นตัวแทนประเทศไทย ในการเข้าร่วม Regional Training Workshop on Building Cities Resilience to Climate Change and Disasters
ระหว่างวันที่ 8-11 พฤษภาคม พ.ศ. 2566 ดร.ธายุกร พระบำรุง ผู้อำนวยการหน่วยปฏิบัติการวิจัยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การบรรเทาและการปรับตัว (CMARE) ในนามของประเทศไทย ได้เข้าร่วม Regional Training Workshop on Building Cities Resilience to Climate Change and Disasters ประกอบด้วย ผู้แทนประเทศเนปาล อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ เวียดนาม และลาว ซึ่งจัดโดยความร่วมมือของ the Asian Institute of Technology (AIT), the United Nations Office for Disaster Risk Reduction (UNDRR), United Nations Development Programme …
Read More »สื่อสารสร้างการรับรู้และเข้าใจ เพื่อเตรียมพร้อมเมืองมหาสารคามสู่การเป็นเมืองยืดหยุ่น (City Resilience) แบบบูรณาการแบบองค์รวม
เมื่อวันที่ 28 เมษายน 2566 ที่ผ่านมา ดร.ธายุกร พระบำรุง ผู้อำนวยการหน่วยปฏิบัติการวิจัยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การบรรเทา และการปรับตัว (CMARE) ได้เข้าร่วมการประชุม เพื่อสะท้อนบทเรียนแนวทางการพัฒนากลไกสนับสนุนเชิงบูรณาการแบบองค์รวมสู่การเป็นเมืองยืดหยุ่น ภายใต้โครงการ MRC2030 กรณีจังหวัดมหาสารคาม ที่ได้บูรณาการความร่วมมือกับเทศบาลเมืองมหาสารคาม ในฐานะเมืองนำร่อง โดยการสนับสนุนข้อมูลและเทคนิคจากเครือข่ายพัฒนาความเข้มแข็งต่อภัยพิบัติไทย (Thai Network for Disaster Resilience; TNDR) สำนักงานลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติแห่งสหประชาชาติ (United Nations Office for Disaster Risk Reduction; UNDRR) และศูนย์วิจัยเฉพาะทางนวัตกรรมดิจิทัลเพื่อการจัดการภัยพิบัติลุ่มน้ำแบบบูรณาการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ทั้งนี้ ในการจัดการประชุม มีนายธัญสุต บริหารธนวุฒิ รองนายกเทศมนตรีเมืองมหาสารคาม เป็นประธาน และผู้บริหาร ประกอบด้วย รองปลัดเทศบาลเมืองมหาสารคาม ผู้อำนวยการกอง หัวหน้าสำนัก และเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงาน เข้าร่วมเพื่อหารือและแลกเปลี่ยนที่จะบูรณาการเป็นตัวชี้วัดของแต่ละ ส่วนราชการภายใน …
Read More »การเตรียมพร้อมกันทรวิชัย สู่การเป็นเมืองยืดหยุ่น (City Resilience)
เมื่อวันที่ 24 เมษายน 2566 ที่ผ่านมา นายเศรษฐา เณรสุวรรณ นายอำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม ได้สื่อสารบทเรียน “การจัดการอุทกภัยของพื้นที่อำเภอกันทรวิชัยและการเตรียมพื้นที่สู่การเป็นเมืองยืดหยุ่น “รู้รับ–ปรับตัว -ฟื้นเร็วทั่วอย่างยั่งยืน” ภายใต้โครงการ Making Cities Resilient 2030 (MCR2030) ผ่านข่าว “เท่าทันภัยพิบัติ” ที่เผยแพร่ทางช่อง 5 โดยการสนับสนุนข้อมูลและเทคนิคจากหน่วยปฏิบัติการวิจัยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การบรรเทา และการปรับตัว (CMARE) คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ร่วมกับเครือข่ายพัฒนาความเข้มแข็งต่อภัยพิบัติไทย (Thai Network for Disaster Resilience; TNDR) สำนักงานลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติแห่งสหประชาชาติ (United Nations Office for Disaster Risk Reduction; UNDRR) และศูนย์วิจัยเฉพาะทางนวัตกรรมดิจิทัลเพื่อการจัดการภัยพิบัติลุ่มน้ำแบบบูรณาการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม โดยการบูรณาการความร่วมมือครั้งนี้ นับเป็นการผนึกกำลังของสถาบันการศึกษาและท้องถิ่น เพื่อร่วมยกระดับศักยภาพของพื้นที่อำเภอกันทรวิชัย …
Read More »ประชุมปรึกษาแนวทางความร่วมมือด้านวิชาการที่เกี่ยวข้องกับการปลูกป่าเพื่อคาร์บอน เครดิต
วันนี้ 10 เมษายน 2566 เวลา 13.30 น. คณะผู้บริหารคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม นำโดยรองศาสตราจารย์ ดร.อดิศักดิ์ สิงห์สีโว คณบดีคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ อาจารย์ ดร.พรรคพงษ์ ศรีประเสริฐ ผู้ช่วยคณบดี ฝ่ายวิเทศสัมพันธ์ วิจัยและบริการวิชาการ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จุไรรัตน์ คุรุโคตร และอาจารย์ ดร.ธายุกร พระบำรุง ได้ร่วมประชุมหารือกับ คุณอภิชาติ คงแป้น ผู้จัดการสถาบันปลูกป่าและระบบนิเวศ ปตท. และคณะทำงาน (ตัวแทน) ของบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) (ปตท.) และ บริษัทในกลุ่ม ปตท. ร่วมหารือเกี่ยวกับ“การปรึกษาแนวทางความร่วมมือด้านวิชาการที่เกี่ยวข้องกับการปลูกป่าเพื่อคาร์บอนเครดิต” ด้วยบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) (ปตท.) และ บริษัทในกลุ่ม ปตท. มีวัตถุประสงค์ …
Read More »CMARE เชื่อมเครือข่ายการบรรเทาสาธารณภัยของกระทรวงกลาโหม เพื่อบูรณาการความร่วมสหวิทยาการการปรับตัวต่อภัยพิบัติ
เมื่อวันที่ 27-31 มีนาคม 2566 ดร.ธายุกร พระบำรุง ผู้อำนวยการหน่วยปฏิบัติการวิจัยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การบรรเทา และการปรับตัว (CMARE) ได้ร่วมสัมมนาการเครือข่ายการบรรเทาสาธารณภัยของกระทรวงกลาโหม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ดำเนินการโดยสำนักนโยบายและแผนกลาโหม ผ่านการฝึกอบรม เรื่อง “การประสานงานระหว่างพลเรือน-ทหาร ครั้งที่ 9 และการจัดนิทรรศการนวัตกรรม โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างพลเรือนกับทหารในงานด้านการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย รวมถึงการสร้างความเข้าใจในบทบาทหน้าที่ของแต่ละภาคส่วนในการจัดการความเสี่ยงจากสาธารณภัย นอกจากนี้ ยังได้จัดนิทรรศการแสดงนวัตกรรมด้านการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเพื่อเผยแพร่องค์ความรู้ รวมถึงนวัตกรรมในการตอบโต้ภัยพิบัติ ตลอดจนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างหน่วยงานและบูรณาการการทำงานร่วมกัน และแลกเปลี่ยนและเรียนรู้องค์กรภาคข้อมูลเพื่อใช้ในการบริหารจัดการความเสี่ยงจากภัยพิบัติ ได้แก่ สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) คลังข้อมูลน้ำแห่งชาติ สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) และสถานีควบคุมและรับสัญญาณดาวเทียมไทยโชต อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี พร้อมทั้งการแลกเปลี่ยนบทเรียนการดำเนินการจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ประกอบด้วย บริษัท เอ็นพีซีเซฟตี้ แอนด์ เอ็นไวรอนเมนทอล เซอร์วิส จำกัด จังหวัดระยอง ระบบบริหารจัดการสถานการณ์ฉุกเฉิน กรณีสารเคมี/น้ำมันรั่วไหล และการจัดการสาธารณภัยในพื้นที่ชายฝังทะเลของประเทศไทย …
Read More »เตรียมพร้อมมหาสารคามสู่การเป็นเมืองยืดหยุ่น โดยความร่วมมือสหวิทยาการ ตามแนวทาง UNDRR
เมื่อวันที่ 22-24 มีนาคม 2566 ที่ผ่านมา สำนักงานลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติแห่งสหประชาชาติ (United Nations Office for Disaster Risk Reduction; UNDRR ) ได้จัดอบรม “Training of Trainers on Urban Resilience and Making Cities Resilient” ณ เมืองอินชอน ประเทศเกาหลี ซึ่งมีผู้เข้าร่วม ประกอบด้วย คณะผู้บริหารและคณะทำงาน กรุงเทพมหานคร กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย สมาคมสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย และผู้แทนจากจังหวัดมหาสารคาม (ภาคการศึกษาและท้องถิ่น) ได้แก่ รศ.ดร.ปิยภัทร บุษบาบดินทร์ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเฉพาะทางนวัตกรรมดิจิทัลเพื่อการจัดการภัยพิบัติลุ่มน้ำแบบบูรณาการ นายเศรษฐา เณรสุวรรณ นายอำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม นายภาคิน ติระพงศ์ไพบูลย์ นายกเทศมนตรีเมืองมหาสารคาม พร้อมด้วยนายธัชชัย ติระพงศ์ไพบูลย์ …
Read More »คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ จับมือ NARIT เพื่อบูรณาการความร่วมมือพัฒนาองค์ความรู้ด้านคุณภาพอากาศของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2566 คณะนักวิจัยจากสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) ได้เข้าพบผู้บริหารและนักวิจัย เพื่อนำเสนอแผนงานวิจัยและกำหนดกิจกรรมวิจัย ภายใต้โครงการวิจัย เรื่อง “วิทยาศาสตร์และนวัตกรรมการศึกษามลพิษทางอากาศกับการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศสำหรับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: แหล่งกำเนิดอนุภาคฝุ่นทุติยภูมิและกลไกการเกิดฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน จากปฏิกิริยาฟิสิกส์เคมีของสารอินทรีย์ระเหยง่ายทางชีวภาพเหนือพื้นดิน” โดยมีนิสิตหลักสูตรสาขาวิชาเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อมร่วมเรียนรู้และพัฒนามุมมองด้านวิจัย ในการนี้ อาจารย์อารีรัตน์ รักษาศิลป์ รองคณบดีฝ่ายบริหาร กล่าวต้อนรับ และรับมอบเครื่องมือตรวจวัดรังสีแสงอาทิตย์ที่พืชใช้ในการสังเคราะห์แสง (Photosynthetically Active Radiation) เพื่อตรวจวัดต่อเนื่องเป็นระยะเวลา 1 ปี โดยได้พิจารณาพื้นที่มหาวิทยาลัยมหาสารคามเป็นจุดตรวจวัด ซึ่งงานวิจัยนี้ เป็นการบูรณาการความร่วมมือระหว่างสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) มหาวิทยาลัยมหาสารคาม (คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ โดยหน่วยปฏิบัติการวิจัยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การบรรเทา และการปรับตัว; CMARE) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี และมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เพื่อร่วมผลักดันให้เกิดองค์ความรู้ด้านคุณภาพอากาศภาคตะวันออกเฉียงเหนือร่วมกัน ภาพและข่าว : คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มมส เผยแพร่โดย : ชลทิตย์ สีเทา ณ …
Read More »อาจารย์คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มมส ได้รับคัดเลือกให้เข้าร่วมกิจกรรม “Training of Trainers on Urban Resilience and Making Cities Resilient” ณ ประเทศเกาหลีใต้
ดร.ธายุกร พระบำรุง ผู้อำนวยการหน่วยปฏิบัติการวิจัยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การบรรเทา และการปรับตัว (CMARE) ซึ่งเป็นอาจารย์สังกัดสาขาวิชาเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ได้รับคัดเลือกจาก UN Office for Disaster Risk Reduction (UNDRR) เพื่อเข้าร่วมกิจกรรม “Training of Trainers on Urban Resilience and Making Cities Resilient” ในระหว่างวันที่ 23-24 มีนาคม 2566 ณ เมืองอินชอน สาธารณรัฐเกาหลี ภาพและข่าว : คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มมส / ธวนนท์ เนียมโงน เผยแพร่โดย : ชลทิตย์ สีเทา ณ วันที่ : 22 กุมภาพันธ์ 2566
Read More »