Breaking News
Home / Uncategorized / คณะสิ่งแวดล้อมฯ เสริมพลังท้องถิ่น ผ่านระบบและกลไกเพื่อสร้างความรู้และทักษะของเยาวชนจากฐานอัตลักษณ์ท้องถิ่น สู่การบริหารจัดการที่ดี

คณะสิ่งแวดล้อมฯ เสริมพลังท้องถิ่น ผ่านระบบและกลไกเพื่อสร้างความรู้และทักษะของเยาวชนจากฐานอัตลักษณ์ท้องถิ่น สู่การบริหารจัดการที่ดี

คณะสิ่งแวดล้อมฯ เสริมพลังท้องถิ่น ผ่านระบบและกลไกเพื่อสร้างความรู้และทักษะของเยาวชนจากฐานอัตลักษณ์ท้องถิ่น  สู่การบริหารจัดการที่ดี

เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2567 ที่ผ่านมา คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ โดยหน่วยปฏิบัติการวิจัยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การบรรเทา และการปรับตัว (CMARE)  ได้ร่วมการประเมินรางวัลองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีการบริหารจัดการที่ดี ประจำปีงบประมาณ 2567 ในประเภทโดดเด่น กลุ่มปกครองส่วนท้องถิ่นขนาดใหญ่ (เทศบาลนคร เทศบาลเมือง อบจ.) รอบการตรวจประเมินขั้นต้นและรอบสุดท้าย ในฐานะภาคีเครือข่ายภาคการศึกษาที่สนับสนุนองค์ความรู้และระบบและกลไกในการพัฒนาท้องถิ่นแบบองค์รวม จากการดำเนินโครงการการพัฒนาศักยภาพการจัดการเรียนและการสอนแบบสหวิทยาการโดยใช้ประวัติศาสตร์และอัตลักษณ์ท้องถิ่นเป็นฐานสู่การพัฒนาชุมชนยั่งยืน ภายใต้การสนับสนุนจากโครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและการพัฒนาท้องถิ่น โดยมีสถาบันอุดมศึกษาเป็นพี่เลี้ยง ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ที่ได้บูรณาการร่วมกับคณะศึกษาศาสตร์  มหาวิทยาลัยมหาสารคาม และกองการศึกษา เทศบาลเมืองมหาสารคาม  นำร่อง  4  โรงเรียน คือ  โรงเรียนเทศบาลบูรพาพิทยาคาร โรงเรียนเทศบาลบ้านส่องนางใย โรงเรียนเทศบาลสามัคคีวิทยา และโรงเรียนเทศบาลศรีสวัสดิ์วิทยา  และ  โรงเรียนเทศบาลบูรพาพิทยาคาร โรงเรียนเทศบาลบ้านส่องนางใย โรงเรียนเทศบาลสามัคคีวิทยา และโรงเรียนเทศบาลศรีสวัสดิ์วิทยา (เล่มหลักสูตร https://pubhtml5.com/bookcase/ofeu/)  โดยมุ่งเน้นให้ครู และเยาวชน สามารถบูรณาการสาระการเรียนรู้ต่าง ๆ ที่มีการเรียนการสอนอยู่เดิมให้เชื่อมโยงกับการสร้างความรู้และความเข้าใจวิถีชีวิต ประเพณี ศิลปวัฒนธรรมที่เป็นอัตลักษณ์หรือ DNA เมืองมหาสารคาม รวมถึงทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่ของตนเอง และพร้อมปรับตัวให้ทันเหตุการณ์ ทั้งการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและภัยพิบัติ เพื่อเพิ่มโอกาสความก้าวหน้าด้านการศึกษาในระดับที่สูงขึ้นและการสร้างอาชีพในท้องถิ่น ที่มาจากฐานภูมิปัญญาท้องถิ่น เช่น การผลิตผลิตภัณฑ์แปรรูปจากข้าวเม่า ซึ่งปัจจุบัน ได้จัดตั้งเป็นวิสาหกิจชุมชนผลิตภัณฑ์แปรรูปจากข้าวเม่าอัตลักษณ์เมืองมหาสารคาม ภายใต้การการดูแลของกองสวัสดิการสังคม เทศบาลเมืองมหาสารคาม  (https://talontalad.com) โดยเป็นการปูโครงสร้างพื้นฐานที่เชื่อมโยงกับระบบการศึกษาในพื้นที่ที่เอื้อต่อการการบริหารจัดการอัตลักษณ์ เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมของชุมชน สู่การบริหารจัดการแบบองค์รวมอย่างยั่งยืน

ภาพและข่าว : คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มมส /ดร.ธายุกร พระบำรุง

เผยแพร่โดย : ชลทิตย์ สีเทา

ณ วันที่ : 28 สิงหาคม 2567

About env@msu.ac.th

Check Also

โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “ขามเรียงโมเดล: การแปรรูปฟางข้าวเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจหมุนเวียน”

โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “ขามเรียงโมเดล: การแปรรูปฟางข้าวเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจหมุนเวียน”

วันนี้อังคารที่ 8 ตุลาคม 2567 เวลา 8:00-16:00 น.  คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ได้จัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “ขามเรียงโมเดล: การแปรรูปฟางข้าวเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจหมุนเวียน” โดยความร่วมมือระหว่างหน่วยปฏิบัติการวิจัยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การบรรเทา …

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *