Breaking News
Home / ข่าว / กิจกรรม : งานวิจัย / คณะสิ่งแวดล้อมฯ เสริมศักยภาพผู้เชี่ยวชาญชีวิตให้พร้อมรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

คณะสิ่งแวดล้อมฯ เสริมศักยภาพผู้เชี่ยวชาญชีวิตให้พร้อมรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

คณะสิ่งแวดล้อมฯ เสริมศักยภาพผู้เชี่ยวชาญชีวิตให้พร้อมรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2567 คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม โดยหน่วยปฏิบัติการวิจัยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การบรรเทา และการปรับตัว (CMARE) ได้ร่วมการกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการของโรงเรียนผู้เชี่ยวชาญชีวิต (ผชช.) ประจำปี 2567 ของเทศบาลเมืองมหาสารคาม ณ ห้องประชุมอเนกประสงค์ เทศบาลเมืองมหาสารคาม

ดร.ธายุกร พระบำรุง ผู้อำนวยการหน่วยปฏิบัติการวิจัยฯ พร้อมด้วยนิสิตปริญญาตรีชั้นปีที่ 4 หลักสูตรสาขาวิชาเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม ได้ร่วมเป็นวิทยากรและทีมกระบวนกร โดยมีผู้เชี่ยวชาญชีวิตจาก 31 ชุมชนในเขตเมืองมหาสารคามเข้าร่วมกว่า 70 คน กิจกรรมนี้มุ่งเน้นการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุแบบองค์รวม ทั้งด้านสุขภาพกายและใจ พร้อมทั้งส่งเสริมการมีส่วนร่วมในชุมชนและการอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น นอกจากนี้ ยังมีการบูรณาการกิจกรรมรณรงค์ “ลดโลกเดือด” ผ่านการใช้สติกเกอร์ลุงโลกเดือด เน้นการคัดแยกขยะ การใช้ตะกร้าแทนถุงพลาสติก การปลูกต้นไม้ และการงดเผาขยะ ไฮไลท์สำคัญของงาน คือ การระดมสมองเพื่อรวบรวมองค์ความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในด้านต่างๆ เพื่อสะท้อนวิถีชีวิต ประเพณี และศิลปวัฒนธรรมของเมืองมหาสารคาม ซึ่งจะนำไปสู่การอนุรักษ์และสร้างมูลค่าต่อไปในอนาคต การจัดกิจกรรมครั้งนี้ แสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของคณะสิ่งแวดล้อมฯ ในการบูรณาการความรู้ทางวิชาการเข้ากับการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน พร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่กำลังเป็นประเด็นสำคัญระดับโลก

ภาพและข่าว : คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มมส /ดร.ธายุกร พระบำรุง

เผยแพร่โดย : ชลทิตย์ สีเทา

ณ วันที่ : 26 สิงหาคม 2567

About env@msu.ac.th

Check Also

โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “ขามเรียงโมเดล: การแปรรูปฟางข้าวเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจหมุนเวียน”

โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “ขามเรียงโมเดล: การแปรรูปฟางข้าวเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจหมุนเวียน”

วันนี้อังคารที่ 8 ตุลาคม 2567 เวลา 8:00-16:00 น.  คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ได้จัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “ขามเรียงโมเดล: การแปรรูปฟางข้าวเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจหมุนเวียน” โดยความร่วมมือระหว่างหน่วยปฏิบัติการวิจัยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การบรรเทา …

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *