Breaking News
Home / ข่าว / กิจกรรม : งานวิจัย / คณะสิ่งแวดล้อมฯ ร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อการเรียนรู้ระหว่างเมืองในการพัฒนาความยืดหยุ่นต่อภัยพิบัติในเขตเมือง ณ เมืองหนานหนิง สาธารณรัฐประชาชนจีน

คณะสิ่งแวดล้อมฯ ร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อการเรียนรู้ระหว่างเมืองในการพัฒนาความยืดหยุ่นต่อภัยพิบัติในเขตเมือง ณ เมืองหนานหนิง สาธารณรัฐประชาชนจีน

คณะสิ่งแวดล้อมฯ ร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อการเรียนรู้ระหว่างเมืองในการพัฒนาความยืดหยุ่นต่อภัยพิบัติในเขตเมือง ณ เมืองหนานหนิง สาธารณรัฐประชาชนจีน

ธนาคารพัฒนาเอเชีย (ADB) ร่วมกับสำนักงานเพื่อการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติแห่งสหประชาชาติ (UNDRR) จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการ City-to-City Learning Forum on Developing Urban Disaster Resilience” ภายใต้โครงการ Making Cities Resilient 2030 (MCR2030) ระหว่างวันที่ 29-31 กรกฎาคม 2567 ณ เมืองหนานหนิง สาธารณรัฐประชาชนจีน

การประชุมครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ระหว่างเมืองในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ในการรับมือกับความท้าทายด้านภัยพิบัติที่เพิ่มขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยเน้นการพัฒนาความยืดหยุ่นของเมืองผ่านกรอบการทำงานของ MCR2030

ในการประชุมครั้งนี้ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม โดยคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ ภายใต้การดำเนินการของหน่วยปฏิบัติการวิจัยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การบรรเทา และการปรับตัว (CMARE) ในฐานะภาคีเครือข่ายของเครือข่ายพัฒนาความเข้มแข็งต่อภัยพิบัติไทย (TNDR) ได้ร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์ โดย ดร.ธายุกร พระบำรุง ผู้อำนวยการหน่วยปฏิบัติการวิจัยฯ ได้นำเสนอในหัวข้อ “How the Thai Network for disaster resilience of 17 universities supports local governments to reduce disaster risk” ใน Theme 6: Identifying solutions to major urban disaster resilience challenges ซึ่งได้นำเสนอบทเรียนการดำเนินการของมหาวิทยาลัยมหาสารคามสำหรับพื้นที่เมืองมหาสารคาม และการขยายผลการผลักดันการสร้างเมืองที่มีความยืดหยุ่นต่อภัยพิบัติไปยังพื้นที่อื่นๆ

ปัจจุบัน MCR2030 ได้รวบรวมรัฐบาล 30 ประเทศ สมาคมเทศบาล 11 แห่ง และรัฐบาลท้องถิ่นกว่า 1,710 แห่ง ที่มุ่งมั่นในการเสริมสร้างความยืดหยุ่นต่อภัยพิบัติและสภาพอากาศในระดับท้องถิ่น นอกจากนี้ ยังมีการรับรองให้ 32 เมืองเป็นศูนย์ความยืดหยุ่น (Resilience Hubs) ที่มีความเป็นผู้นำในด้านต่าง ๆ เช่น การจัดการคลื่นความร้อน การลดความเสี่ยงจากน้ำท่วม และการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานสีเขียว

เมืองที่ได้รับการรับรองเป็น MCR2030 Resilience Hubs ประกอบด้วย: อมาดอรา (โปรตุเกส) บาร์เซโลนา (สเปน) บาร์คาเรนา (บราซิล) โบโกตา (โคลอมเบีย) บอนน์ (เยอรมนี) กาลี (โคลอมเบีย) กัมปินัส (บราซิล) ดอสเกบราดัส (โคลอมเบีย) ดูไบ (สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์) เกรเทอร์แมนเชสเตอร์ (สหราชอาณาจักร) เฮลซิงบอร์ก (สวีเดน) โฮลอน (อิสราเอล) อินชอน (เกาหลีใต้) มะกะตี (ฟิลิปปินส์) มัลโม (สวีเดน) มาตูซินญูส (โปรตุเกส) เมเดยิน (โคลอมเบีย) เม็กซิโกซิตี้ (เม็กซิโก) มิลาน (อิตาลี) มอนเตวิเดโอ (อุรุกวัย) ปอร์โตอเลเกร (บราซิล) โปเตนซา (อิตาลี) ปูดาเอล (ชิลี) กีโต (เอกวาดอร์) เรซีเฟ (บราซิล) ซัลวาดอร์ (บราซิล) ซานตาอานา (คอสตาริกา) ชาร์มเอลเชค (อียิปต์) เวนิส (อิตาลี) วรอตสวัฟ (โปแลนด์) และจูจี (จีน) การประชุมครั้งนี้ จึงเป็นโอกาสสำคัญสำหรับเมืองและสถาบันการศึกษาต่าง ๆ ในการเรียนรู้และแลกเปลี่ยนแนวปฏิบัติที่ดีในการเสริมสร้างความยืดหยุ่นต่อภัยพิบัติ ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาเมืองที่ปลอดภัยและยั่งยืนในอนาคต

ภาพและข่าว : คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มมส /ดร.ธายุกร พระบำรุง

เผยแพร่โดย : ชลทิตย์ สีเทา

ณ วันที่ : 5 สิงหาคม 2567

About env@msu.ac.th

Check Also

ประกาศคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เรื่อง รายชื่อผู้มีสิทธิสอบภาคความเหมาะสมกับตำแหน่ง ตำแหน่งลูกจ้างชั่วคราว สังกัด คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ประจำปีงบประมาณ 2568

ประกาศคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เรื่อง รายชื่อผู้มีสิทธิสอบภาคความเหมาะสมกับตำแหน่ง ตำแหน่งลูกจ้างชั่วคราว สังกัด คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ประจำปีงบประมาณ 2568

>pdf ดาวน์โหลด<<<   ภาพและข่าว : คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มมส เผยแพร่โดย : ชลทิตย์ สีเทา ณ วันที่ : 18 กันยายน …

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *