Breaking News
Home / ข่าว / กิจกรรม : งานวิจัย / คณะสิ่งแวดล้อมฯ เสริมพลังการขับเคลื่อนแผนป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยภาคอีสานตอนล่างสู่การปฏิบัติ

คณะสิ่งแวดล้อมฯ เสริมพลังการขับเคลื่อนแผนป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยภาคอีสานตอนล่างสู่การปฏิบัติ

คณะสิ่งแวดล้อมฯ เสริมพลังการขับเคลื่อนแผนป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยภาคอีสานตอนล่างสู่การปฏิบัติ
คณะสิ่งแวดล้อมฯ เสริมพลังการขับเคลื่อนแผนป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยภาคอีสานตอนล่างสู่การปฏิบัติ

เมื่อวันที่ 19-20 กันยายน 2567 ที่ผ่านมา ณ โรงแรมอัลวาเรซ  จังหวัดบุรีรัมย์  กองนโยบายป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ส่วนนโยบายจากธรรมชาติ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้จัดโครงการสัมมนาเชิงปฏิบัติการในการขับเคลื่อนแผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยระดับพื้นที่ (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 โดย ดร.ธายุกร พระบำรุง ผู้อำนวยการหน่วยปฏิบัติการวิจัยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การบรรเทา และการปรับตัว (CMARE) คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ได้รับเชิญให้เสริมพลังพื้นที่ ในหัวข้อ “การขับเคลื่อนแผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยระดับพื้นที่สู่การปฏิบัติ” โดยได้เผยแพร่องค์ความรู้จากบทความ เรื่อง  การสร้างเมืองยืดหยุ่นด้วยกลยุทธ์การศึกษา ภายใต้โครงการ MCR2030 กรณีของเมืองมหาสารคาม จากการประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานเครือข่ายพัฒนาความเข้มแข็งต่อภัยพิบัติไทย ครั้งที่ 1 ประจำปี 2566 โดยคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสุขภาพ มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช ร่วมกับเครือข่ายพัฒนาความเข้มแข็งต่อภัยพิบัติไทย (TNDR)  และได้ให้คำแนะนำด้านวิชาการ เพื่อบูรณาการการสร้างเมืองรีซิเลียนซ์ต่อภัยพิบัติ (MCR2030) ซึ่งประกอบด้วย 10 หลักการสำคัญ  คือ 1.วางโครงสร้างระบบการบริหารจัดการเพื่อความรีซิเลียนซ์ 2.สถานการณ์ความเสี่ยง 3.ศักยภาพทางการเงิน 4.การพัฒนาเมือง 5.ระบบนิเวศตามธรรมชาติ 6.ศักยภาพของหน่วยงาน 7.ศักยภาพของสังคม 8.ศักยภาพของโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญ 9.การตอบสนองต่อภัยพิบัติ และ 10.การฟื้นฟู  ในการระดมสมอง การแปลงยุทธศาสตร์ในการจัดการความเสี่ยงจากสาธารณภัยไปสู่ภาคปฏิบัติ  โครงการนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงานตามแผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ พ.ศ. 2564-2570 และเพิ่มประสิทธิภาพของแผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยระดับพื้นที่ เพื่อใช้เป็นกรอบในการดำเนินงานด้านสาธารณภัยอย่างเป็นระบบ ผู้เข้าร่วมโครงการ ประกอบด้วยปลัดอำเภอ 185 คน จาก 8 จังหวัดของภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภายใต้ความรับผิดชอบของศูนย์ ปภ. เขต 5 (นครราชสีมา) และศูนย์ ปภ. เขต 13 (อุบลราชธานี) ได้แก่  จังหวัดบุรีรัมย์ ศรีสะเกษ สุรินทร์ ชัยภูมิ  นครราชสีมา อุบลราชธานี ยโสธร และอำนาจเจริญ ทั้งนี้ ได้ร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์ สะท้อนข้อเท็จจริง ปัญหาและอุปสรรค รวมถึงจุดอ่อนและจุดแข็งในการดำเนินการระดับอำเภอ และการมีส่วนร่วมของคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ครั้งนี้ เป็นกลไกสำคัญในฐานะสถาบันการศึกษาในการสนับสนุนการพัฒนาและการนำแผนป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยไปสู่การปฏิบัติอย่างมีประสิทธิภาพในระดับท้องถิ่น ซึ่งจะส่งผลต่อการเสริมสร้างความปลอดภัยและความยืดหยุ่นของพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างต่อไป

ภาพและข่าว : คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มมส /ดร.ธายุกร พระบำรุง

เผยแพร่โดย : ชลทิตย์ สีเทา

ณ วันที่ : 24 สิงหาคม 2567

About env@msu.ac.th

Check Also

โครงการภาคสนามสิ่งแวดล้อม ระหว่างวันที่ 5-16 พฤศจิกายน 2567 ณ โรงเรียนอนุบาลเมืองอาจสามารถ อำเภออาจสามารถจังหวัดร้อยเอ็ด

โครงการภาคสนามสิ่งแวดล้อม ระหว่างวันที่ 5-16 พฤศจิกายน 2567 ณ โรงเรียนอนุบาลเมืองอาจสามารถ อำเภออาจสามารถจังหวัดร้อยเอ็ด

โครงการภาคสนามสิ่งแวดล้อม ระหว่างวันที่ 5-16 พฤศจิกายน 2567 ณ โรงเรียนอนุบาลเมืองอาจสามารถ อำเภออาจสามารถจังหวัดร้อยเอ็ด หลักสูตร วท.บ. สิ่งแวดล้อมศึกษา คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ได้จัดโครงการภาคสนามสิ่งแวดล้อม ระหว่างวันที่ …

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *